การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เกิดจาการเกิดเทคโนโลยี 5G
สิ่งแรกที่ต้องเกิดขึ้นคือต้องมีการสื่อสารระบบ 5G ที่ใช้งานในวงกว้าง หรือ แบบเชิงพาณิชย์ โดยเทคโนโลยี 5G พนักงานในองค์กรต้องมีสมาร์ทโฟนที่สามารถรองรับคลื่นดังกล่าวได้ นอกจากนี้เทคโนโลยี Wi-Fi 6 เป็นมาตรฐานใหม่ที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ โดย Wi-Fi 6 เป็นตัวปรับปรุงระบบอินเทอร์เน็ตที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่มีความหนาแน่นสูง
ที่ผ่านมาทาง CBRS (Citizens Broadband Radio Service) หรือที่รู้จักในชื่อ OnGo ซึ่งทาง CBRS ได้ทำการทำการขายส่งโดยการขยายบริการ LTE บนแถบคลื่นความถี่ใหม่ โดยเฉพาะคลื่น 3.5 GHz มีประโยชน์อย่างมากกับการให้บริการ IoT ในปัจจุบัน และนำคลื่น 3.5 GHz มากระจายสัญญาณ Wi-Fi ภายในอาคาร
เทคโนโลยีทั่วไป โดยเฉพาะปี 2019 โทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งการให้บริการในระบบ LTE และ 5G รวมถึงการให้บริการสัญญาณ Wi-Fi หากอยู่บริเวณเดียวกันจะสามารถเชื่อมต่อ Network โดยไม่สะดุดโดยการเข้ารหัสเป็นลักษณะเดียวกัน และตารางความถี่ก็จะส่งสัญญาณที่ตรงกัน
ทั้ง 2 ระบบนี้จะทำการบีบการรับ-ส่งข้อมูล ตามความถี่ที่ถูกกำหนดไว้แต่ละสถานี และแต่ละรอยต่อระหว่างสัญญาณแต่ละสถานี ซึ่งทำให้สามารถรับส่งสัญญาณได้ทั้งอุปกรณ์และสถานี LTE,5G และ Wi-Fi6 ได้อย่างราบรื่น ซึ่ง Wi-Fi6 มีความสามารถในการจัดสรรคลื่นความถี่ได้ (วัดได้ในรูปแบบ measured by the millisecond) เป็นไปมาตรฐาน 3GPP ซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งกับพื้นที่ที่มีความสามารถสูง
จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีไร้สาย 2 รูปแบบทั้งคลื่นที่มีใบอนุญาตอย่าง LET,5G และคลื่นที่ไม่ต้องได้รับใบอนุญาต Wi-Fi สามารถมาบรรจบกันได้
แต่ 2 เทคโนโลยีนี้ยังมีต้นทุนที่มีความแตกต่างกัน สิ่งที่น่าสนใจคือการลงทุนโครงข่ายภายในองค์กร ต้องสามารถเพิ่มขีดความสามารถของเน็ตองค์กร ตามแนวโน้มตามความเติบโตของ Data ที่ใช้งานได้อย่างถูกต้อง
- การขยายโครงข่าย Wi-Fi ของมหาลัยและสาขาต่างๆ ขององค์กรธุรกิจ
ปรากฏการณ์ของเทคโนโลยี Wi-Fi 6 ถือเป็นการปรับปรุงอินเทอร์เน็ตทางด้านความเร็วและค่า latency ที่สนับสนุนการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่หนาแน่น ให้มีความเหมาะสมในการเชื่อมต่อภายในที่ร่มหรือภายในอาคาร
ผู้ใช้งานต้องมีอุปกรณ์รับ-ส่งการเชื่อมต่อ Wi-Fi 6 เพื่อให้ได้รับช่องสัญญาณแบนด์วิธสูงที่สูงมากขึ้น ทำให้สามารถเล่นเกม, การสื่อสารผ่าน VDO และ AR / VR ได้ดียิ่งขึ้น
เมื่อจำนวนอุปกรณ์ที่ความสามารถรับส่งสัญญาณได้ดีขึ้นแล้ว การให้บริการอินเทอร์เน็ตภายในองค์กร จะต้องมีระบบเซ็นเซอร์รวบรวมข้อมูลตามเวลาจริง เพื่อสตรีมมิ่งและวิเคราะห์การใช้งานในพื้นที่ซับซ้อนของสัญญาณได้
ซึ่งต่อไปการขยายสัญญาณภายในสำนักงาน เมื่อมีความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มีความหน่าแน่น โดยปกติก็ต้องมีการขยายการให้บริการ 5G หรือ LTE ผ่าน Distributed Antenna Systems (DAS) หรือ "microcells” อุปกรณ์เหล่านี้มีราคาที่แพงกว่าเทคโนโลยี Wi-Fi ดังนั้น การให้บริการสัญญาณ Wi-Fi แล้วคิดค่าบริการรายเดือนเพื่อควบคุมจำนวนอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้นและทำให้ประหยัดต้นทุนในการติดตั้งโครงข่าย
โครงข่าย Wi-Fi มีความสามารถในวิเคราะห์การใช้งานในภายองค์กรได้ โดยเฉพาะในกลุ่ม tracking เพื่อเช็คอุปกรณ์ที่ทำการเชื่อมต่อเคลื่อนย้ายตัวตนหรือสิ่งของไปยังจุดใด
- การขยายโครงข่าย 5G ของมหาลัยและสาขาต่างๆ ขององค์กรธุรกิจ
การเชื่อมต่อ 5G มีผลอย่างมากกับการเชื่อมอินเทอร์เน็ตต่อมหาลัยและวิทยาเขตต่างๆ และสาขาต่างๆ ขององค์กรธุรกิจ ที่ต้องสามารถเชื่อมต่อ backhaul service ได้อย่างมีประสิทธิภาพเชื่อมต่อได้ทั้งสำนักงานใหญ่และสาขา ที่ผ่านมาองค์กรต่างๆมักใช้เทคโนโลยี T1/E1 และ xDSL ในการเชื่อมต่อแบบมีสาย ปัจจุบันองค์กรต่างๆเริ่มนำ 4G มาให้บริการในการเชื่อมอินเทอร์เน็ตหรือทำ back-up link แต่แบนด์วิธยังคงน้อยและมีต้นทุนราคาแพง
อย่างไรก็ดีการให้บริการ 5G มีความเร็วในการให้บริการที่ดีกว่า 4G สามารถเชื่อมต่อได้ทุกที่ ทุกสถานกาณ์ ซึ่งสามารถควบคู่ไปกับการให้บริการ WAN
ยิ่งไปกว่านั้นการให้บริการ 5G เหมาะสำหรับองค์กรธุรกิจที่ต้องใช้งานอินเทอร์เน็ตอยู่เสมอและมีความสามารถในการเชื่อมต่อบริการคลาวด์ตลอดเวลา หรือเมือเกิดภัยพิบัติ เช่น พายุใหญ่ การฟื้นฟูระบบการสื่อสาร 5G ใช้ระยะเวลาเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้การใช้งาน 5G เพื่อให้บริการ WAN services สามารถใช้งานได้ดียิ่งขึ้น
เหนือสิ่งอื่นใดการให้บริการ 5G บนความถี่สูง ตัวคลื่นไม่สามารถเข้าถึงอาคารได้ แต่หากติดตั้งภายนอกอาคารสามารถติดตั้งอุปกรณ์ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูง และแข่งขันทางด้านราคาได้
ทั้ง Wi-Fi 6 และ 5G ต่างมุ่งมั่นในการสื่อสารในเรื่อง ความน่าเชื่อถือโดยเฉพาะการกำหนดทรัพย์สิน ที่เชื่อมต่อ IoT ที่เชื่อมต่ออุปกรณ์อัตโนมัติ
อย่างการเชื่อมต่อ Wi-Fi 6 ระบบ APs จะทำการเชื่อมต่อ Bluetooth และ Zigbee เชื่อมต่อสัญญาณเกตเวย์ของ IoT ได้ดียิ่งขึ้น ติดตามอุปกรณ์ IoT ได้ตลอดเวลา
สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือการให้บริการ 4G LTE (และ 5G ในไม่ช้า) การให้บริการของ CBRS (Citizens Broadband Radio Service) ให้คำมั่นในการให้บริการ Wi-Fi 6 ฟรี โดยเฉพาะภายในอาคารในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการใช้คลื่น 3.5 GHz มาให้บริการ 5G แล้วผลึกการให้บริการ Wi-Fi 6 เพื่อทำให้อุปกรณ์ของลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์ IoT ที่ต่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลาได้รับความคุ้มครองความปลอดภัย และทำการตรวจสอบทราฟฟิกอุปกรณ์โครงข่ายได้ อย่างดี
การรวมเทคโนโลยี 2 ย่านความถี่
การนำเทคโนโลยี 2 อย่างเข้าหากันภายในองค์กร ทั้ง 5G และ Wi-Fi จะทำไม่สู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ทั้งด้านนโยบายความปลอดภัยและการวิเคราะห์ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมระหว่าง 5G และ Wi-Fi 6 ให้บริการการใช้งานการใช้งานอินเทอร์เน็ตให้เพียงพอ รองรับการใช้งานอุปกรณ์ IT ใหม่อีกเป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถใช้งานได้ราบรื่น