ในปี 2022 นี้ จะเป็นปีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของ Metaverse หรือโลกเสมือนจริง เนื่องจากทั้งนักลงทุนและธุรกิจทั่วโลกต่างทุ่มเม็ดเงินในตลาดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโลกเสมือนจริง ทั้งอุปกรณ์แว่น VR, กล้อง AR หรือ Platform ต่างๆ ที่จะมารองรับการใช้งานเทคโนโลยี 3D ในโลกอวตาร และที่สำคัญบริษัท Telco ทั่วโลกต่างก็เร่งพัฒนาระบบโครงข่ายการสื่อสารเพื่อรองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลในอนาคตองค์กร Big Tech ระดับโลก เร่งพัฒนาเทคโนโลยีสู่ Metaverse
Metaverse ถูกจุดกระแสขึ้น โดย มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เจ้าพ่อ Facebook ที่ออกมาประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Meta เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา เพื่อรองรับการสร้างโลกโซเชียลฯ ให้เป็นโลกเสมือนจริง ซึ่งก่อนหน้านี้ Meta ได้ทุ่มงบประมาณในสตาร์ทอัปที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ที่เห็นเด่นชัดคือ การสร้าง VR App ที่มีชื่อว่า Oculus ซึ่งสามารถขึ้นแท่นแอปอันดับหนึ่งของ App Store และในวันคริสต์มาสที่ผ่านมา ทำให้แว่น VR Oculus quest 2 ของ Meta ที่ใช้งานผ่านแอป Oculus กลายเป็นของขวัญคริสต์มาสสุดฮิตไปด้วย และในปีนี้ทาง Meta คาดว่า จะเปิดตัวแว่น VR รุ่นใหม่ที่มีฟังก์ชัน Face & Eye tracking เพื่อให้ใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น
นอกจากนั้น บริษัท Big Tech ระดับโลกอื่นๆ ต่างเริ่มปล่อยเทคโนโลยีและนวัตกรรมของโลกเสมือน อาทิ Apple ที่กำลังพัฒนาโมเดลต้นแบบ VR headset ที่จะผสานเทคโนโลยี VRและ AR เข้าด้วยกัน โดยปัจจุบัน Apple ได้พัฒนาสินค้าให้รองรับ Metaverse มากยิ่งขึ้น เช่น ไอโฟนรุ่นใหม่ที่มีระบบเซ็นเซอร์ Lidar ซึ่งสามารถวัดวัตถุว่าอยู่ไกลแค่ไหน และซอฟต์แวร์ ARKit ที่ระบุตำแหน่ง และแผนที่ (Mapping & Localization) เป็นต้น ด้าน Google ที่ปูทางเข้าสู่โลกดิจิทัลเป็นเจ้าแรกๆ ด้วย Google Glass แม้จะยังไม่ประสบความสำเร็จ แต่ Sundar Pichai ในฐานะ CEO คนปัจจุบันของ Google ได้ออกมากล่าวว่า ทางบริษัทจะไม่หยุดพัฒนาเทคโนโลยีโลกเสมือน
เมื่อพี่ใหญ่ในวงการเทคโนโลยีทุ่มทุนมหาศาลให้แก่ Metaverse ส่งผลให้ตลาดการลงทุนเติบโตตามไปด้วย ดั่งเช่นตัวเลขที่รายงานจากนักวิเคราะห์ Goldman Sachs คาดว่าในปีนี้ จะมีการลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีธุรกิจโลกเสมือนจริงมากถึง 1.35 ล้านล้านเหรียญ และข้อมูลของ Crunchbase ฐานข้อมูลสตาร์ตอัปที่ใหญ่ที่สุด เผยว่า นักลงทุน VC มีการลงทุนในสตาร์ทอัปที่เกี่ยวข้องกับ Metaverse สูงถึง 10 พันล้านเหรียญ นอกจากนั้นข่าวสารจากองค์กรระดับโลก ที่กำลังเร่งสร้างตัวละครและฉากดิจิทัลที่มีชีวิตชีวา เพื่อสร้างประสบการณ์เสมือนจริงรวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัล สกุลเงินดิจิทัล ที่จะเกิดขึ้นอีกมหาศาลในโลกอวตารที่ไร้พรมแดน
สิ่งเหล่านี้ล้วนยืนยันว่า Metaverse จะเป็นโลกที่ทุกคนได้สัมผัส และแน่นอนว่าอุปกรณ์แว่น VR, กล้อง AR จะต้องมีจำหน่ายพร้อมกับโทรศัพท์มือถือในอนาคต
Metaverse หนุนภาคอุตสาหกรรม ลดต้นทุนภาคการผลิตและการดำเนินงาน
ก่อนที่เราจะได้เข้าไปใช้ชีวิตในโลก Metaverse ในอนาคต ปัจจุบันเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง ได้ถูกนำไปใช้พัฒนาภาคธุรกิจหลายๆ ประเภท ไปแล้ว เช่น การชอปปิ้งออนไลน์, งานออกแบบสถาปัตยกรรมในโลกเสมือนให้ลูกค้าได้เห็นก่อนสร้างสถานที่จริง, แฟชั่นโชว์ในโลกเสมือน, เกมออนไลน์, การท่องเที่ยวในโลกเสมือน และภาคอุตสาหกรรมที่เทคโนโลยี Metaverse ช่วยลดต้นทุนการผลิตและลดขั้นตอนการดำเนินงาน
ในตลาดองค์กรโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการผลิต เช่น โรงงานและเครื่องจักร ได้สร้างแบบจำลองบนโลกเสมือนในลักษณะวัตถุคู่ขนาน หรือ Digital Twin โดยให้ผู้ใช้งานสามารถมีปฏิสัมพันธ์ 3 มิติ บนวัตถุจำลองดังกล่าวในโลกเสมือนเหมือนกันกับบนโลกจริงได้ หรือแม้แต่ผู้ประกอบการอาจสร้างโรงงานเสมือนเพื่อทดลองวาง Lay out สายพานการผลิต และจำลองการผลิตโดยมีมนุษย์และเครื่องจักรร่วมในกระบวนการผลิตในโลกเสมือน เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ ที่มีการสร้างแบบจำลองรถยนต์ หรือแม้แต่การอบรมพนักงานบนโลกเสมือน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การจะก้าวเข้าสู่ Metaverse ได้อย่างราบรื่นนั้น สิ่งสำคัญคือโครงข่ายการสื่อสารขององค์กรจะต้องพร้อมรองรับการใช้งาน Bandwidth ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งองค์กรในทุกภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต้องเตรียมพร้อมรองรับความเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลครั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นควบคู่ไปด้วย
บริษัท TELCO เร่งปูพรมโครงข่ายที่ครอบคลุม เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคธุรกิจในโลกเสมือนจริง
เมื่อทุกคนต่างมุ่งหน้าเข้าสู่โลก Metaverse นั่นหมายถึงความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล และการเชื่อมต่อระบบก็ต้องมีเสถียรภาพสูงขึ้นตามไปด้วย สิ่งที่องค์กรธุรกิจต้องเตรียมในยุค Metaverse จึงไม่ได้มีเพียงแค่การให้บริการบน Cloud Platform หรือการมี Application บนอุปกรณ์ต่างๆ แต่รวมถึงการเตรียมสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างโลกจริงและโลกเสมือนจริงเข้าด้วยกัน ซึ่งผู้ให้บริการ Metaverse รายใหญ่หลายราย ได้ให้ความสำคัญในจุดนี้ โดยได้เข้ามาตั้ง Server ในประเทศไทย เพื่อให้ระบบอยู่ใกล้ชิดกับผู้ใช้งานมากที่สุด สามารถตอบสนองได้อย่าง Real time เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับผู้ใช้งาน และมีความปลอดภัยที่เพียงพอรองรับกับการทำธุรกรรมที่จะเกิดขึ้นด้วย
บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT จึงได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมเพื่อรองรับความต้องการใช้งานดังกล่าว โดยได้เชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ Metaverse รายใหญ่เพื่อเข้ามาให้บริการในภูมิภาค ASEAN โดยมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง รวมถึงเชื่อมต่อประเทศไทยกับ Digital Hub ที่สำคัญของโลก อาทิ สิงคโปร์, ฮ่องกง, สหรัฐอเมริกา และประเทศต่างๆ ในยุโรปด้วย โดยผ่านระบบเคเบิลใต้น้ำหลากหลายเส้นทาง ได้แก่
1. SMW3 : ยุโรป, แอฟริกา, เอเชีย, ตะวันออกกลาง และออสเตรเลีย
2. SMW4 : ยุโรป, แอฟริกา, ตะวันออกกลาง และเอเชีย
3. TIS : ไทย, อินโดนีเซีย, และสิงคโปร์
4. AAG : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฝั่งตะวันตกของอเมริกา
5. FLAG : ตะวันออกกลาง, เอเชีย และยุโรป
6. APG : ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียแปซิฟิก
7. ADC : สิงคโปร์, ฮ่องกง และญี่ปุ่น
8. AAE1 : เอเชีย, แอฟริกา และยุโรป 1
9. SJC : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และญี่ปุ่น
เมื่อผนวกกับเคเบิลภาคพื้นดินที่มีครอบคลุมอยู่ทั่วประเทศ ทำให้ NT มีความพร้อมรองรับปริมาณการใช้งานที่มหาศาลของทั้งประเทศได้ สามารถรองรับความเสี่ยงจากเหตุภัยพิบัติต่างๆ ทำให้การเชื่อมต่อของประเทศไทยมีเสถียรภาพ ช่วยเพิ่มโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น และเพิ่มโอกาสในโลกธุรกิจด้วยเทคโนโลยี Metaverse รวมถึงเพิ่มประสบการณ์ในการใช้งานอุปกรณ์แว่น VR หรือกล้อง AR ที่มีอย่างเต็มรูปแบบทั้งกราฟฟิกและเสียงตามที่ธุรกิจต้องการ
และด้วยนโยบายของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่ผลักดันให้ประเทศไทยเป็น ASEAN Digital Hub ศูนย์กลาง Digital Content ของภูมิภาคโดยได้มอบหมายให้ NT ดำเนินการขยายความจุระบบเคเบิลใต้น้ำ และโครงข่ายภาคพื้นดินเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านส่งผลให้ประเทศไทยสามารถรองรับปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มสูงขึ้นจากช่วงวิกฤติ Covid-19 ได้ โดยไม่ประสบปัญหาด้านการติดต่อสื่อสาร และพร้อมเข้าสู่ยุค Metaverse อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ในอนาคต Metaverse จะเปลี่ยนโลกแห่งความเป็นจริงได้แค่ไหน? และธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อให้ทันโลกเสมือนจริงได้อย่างไร? คงต้องติดตามดูกันต่อไป นอกจากนั้น องค์กรและผู้สนใจสามารถติดตามทุกเทรนด์เทคโนโลยีดิจิทัล ด้วย NT Network Solutions จาก บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT โดยลูกค้าสามารถปรับใช้ระบบเครือข่ายและโซลูชันต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ ภายใต้คำแนะนำและการดูแลระบบจากทีมผู้เชี่ยวชาญของ NT
สอบถามและติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
Website: www.ntplc.co.th
Facebook: NTNetworkSolutions
Contact Center: 1888
Government Solutions: Tel.02 104 1111
Business Solutions: Tel.02 104 5555
Operator Solutions: Tel.02 104 8888