10 มี.ค. 2565 1,021 0

กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง – รายย่อยกว่าครึ่งประสบปัญหาการเข้าถึงเงินทุนทางธุรกิจ เนื่องจากเกณฑ์การพิจารณาและอนุมัติสินเชื่อที่เข้มงวด

กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง – รายย่อยกว่าครึ่งประสบปัญหาการเข้าถึงเงินทุนทางธุรกิจ เนื่องจากเกณฑ์การพิจารณาและอนุมัติสินเชื่อที่เข้มงวด

ร้อยละ 95 มีแนวโน้มในการเลือกผู้ให้บริการสินเชื่อจากบริการที่ดีกว่าหรือปรับปรุงให้ดีขึ้น ขณะที่บริการสินเชื่อดิจิทัลโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

กว่าร้อยละ 85 ต้องการเกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อที่ยืดหยุ่นกว่าเดิม และมีบริการที่ออกแบบให้เหมาะกับแต่ละธุรกิจมากขึ้น

การเข้าถึงเงินทุนที่ยากขึ้นกลายเป็นอุปสรรคใหญ่ในการพัฒนาธุรกิจ ในช่วงการฟื้นตัวหลังวิกฤตโควิด 19


จากรายงานของ Mambu ผู้ให้บริการธุรกรรมทางการเงินบนแพลตฟอร์มคลาวด์ (Cloud Banking Platform) พบว่ากลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) กว่าร้อยละ 63 ประสบปัญหาด้านเงินทุนหมุนเวียนในการต่อยอดธุรกิจ รวมทั้งการหาเงินทุนจากแหล่งต่างๆ ที่มีไม่เพียงพอ โดยประสบปัญหาด้านเงินทุนที่ไม่เพียงพออย่างน้อย 1 ครั้งหรือมากกว่าในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา 
 
โดยรายงาน the ‘Small business, big growth’ ได้ทำการสำรวจกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยกว่า 1,000 รายทั่วโลกรวมทั้งกลุ่มผู้ประกอบการในประเทศไทยที่จดทะเบียนประกอบธุรกิจและขอสินเชื่อธุรกิจในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

กว่า 3 ใน 4 (หรือร้อยละ 35) ของกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยของไทยจำเป็นต้องกู้ยืมเงินจากเพื่อนหรือครอบครัว รองลงมาคือแหล่งเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์หรืออาคารสมาคม (ร้อยละ 34)  และร้อยละ 25 จากผู้ให้บริการสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยเฉพาะและผู้ให้บริการสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ และการไม่สามารถเข้าถึงเงินทุนทางธุรกิจได้ส่งผลให้ร้อยละ 34 ของกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยไม่สามารถจ้างบุคลากรเพื่อเข้ามาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 32 ไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีได้ ขณะที่ร้อยละ 31 ประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินหรือไม่สามารถเปิดตัวผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ได้

รายงานผลสำรวจโดย Mambu จัดทำขึ้นในช่วงที่ทางเลือกด้านการให้บริการสินเชื่อมีเพิ่มขึ้น และเป็นช่วงที่กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยของไทยหันไปใช้บริการธนาคารทางเลือกและฟินเทค เพื่อแก้ปัญหาด้านการเข้าถึงเงินทุนต่างๆ ที่เกิดขึ้น อาทิ เกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อที่เข้มงวดขึ้น (ร้อยละ 44) ขั้นตอนการพิจารณาและดำเนินการที่ต้องใช้เอกสารเป็นจำนวนมาก (ร้อยละ 30) และการอนุมัติสินเชื่อที่ล่าช้า (ร้อยละ 29) และมีแนวโน้มว่าจะมีผู้ให้บริการสินเชื่อทางเลือกเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่ (ร้อยละ 95) เปิดรับทางเลือกใหม่ สู่การบริการสินเชื่อที่ดีกว่า
 
ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยของไทยเกือบครึ่งหนึ่งกล่าวว่า เหตุผลอันดับต้นๆ ในการเปลี่ยนผู้ให้บริการสินเชื่อคือ ตัวเลือกทางการเงินที่ดีกว่า (ร้อยละ 46) และบริการสินเชื่อดิจิทัลที่ดีกว่า (ร้อยละ 46) ขณะเดียวกันร้อยละ 43 อาจเปลี่ยนผู้ให้บริการเพราะได้ประโยชน์จากการกู้ยืมเงินและค่าจูงใจที่มากกว่า และร้อยละ 41 ได้รับการบริการช่วยเหลือลูกค้าที่ดีกว่า
 
Myles Bertrand กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Mambu กล่าวว่า “ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยมีส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งด้านกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน โดยธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยจำนวน 3.1 ล้านแห่งสามารถสร้างงานได้ถึง 12.7 ล้านงาน (คิดเป็นร้อยละ 71 ของตลาดแรงงานในประเทศ)[1] 1 อย่างไรก็ตามอุปสรรคในการเข้าถึงเงินทุนทางธุรกิจจะทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยไม่สามารถต่อยอดโอกาสทางธุรกิจ ทั้งด้านการทำรายได้และการปฏิบัติการ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องได้ในอนาคต และหากภาคส่วนการให้บริการสินเชื่อในการทำธุรกิจไม่ปรับตัวและนำด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีมาพัฒนาบริการทาง การเงินในด้านต่างๆ ผู้ให้บริการสินเชื่อของไทยก็จะไม่สามารถให้บริการด้วยโซลูชันที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยของไทยได้”
 
ดังนั้น สถาบันทางการเงินจึงต้องเข้ามามีบทบาทให้มากขึ้น ในการแก้ไขปัญหาขั้นตอนการพิจารณาการอนุมัติสินเชื่อที่ใช้เวลานาน จากรายงานพบว่า ระยะเวลาในการรอการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อถือเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับธุรกิจขนาดย่อมในการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการสินเชื่อ ขณะที่ร้อยละ 89 ของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยพิจารณาเลือกผู้ให้บริการจากแผนการชำระคืนในระยะยาวที่แต่ละรายกำหนด ร้อยละ 88 เลือกผู้ให้บริการที่คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ และร้อยละ 87 เลือกใช้วิธีการถอนเงินทุนทั้งหมดออกก่อนกำหนด 
 
คุณ Pham Quang Minh ผู้จัดการทั่วไปของ Mambu ประเทศไทยกล่าวว่า “ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยของไทยโดยส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจด้านการซื้อขายและการบริการ และมีจำนวนมากที่ประกอบธุรกิจด้านการท่องเที่ยว ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ดังนั้นการดูและระบบปฏิบัติการและการขับเคลื่อนทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ระบบ เศรษฐกิจกลับมาเดินเครื่องใหม่อีกครั้ง
 
โดยธนาคารจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการทลายกำแพงเกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อที่เข้มงวด เพื่อให้การกู้ยืมเงินเกิดความคล่องตัวและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านบริการที่ล้ำหน้ายิ่งขึ้นด้วยนวัตกรรมต่างๆ และมีแผนการชำระคืนที่มีความยืดหยุ่น และลดมูลค่าหลักประกันที่ธุรกิจประกอบการต้องวางไว้กับผู้ให้บริการสินเชื่อ ที่สำคัญผู้ให้บริการสินเชื่อจะต้องปรับเปลี่ยนการให้บริการสินเชื่อในระบบดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  เพราะจะทำให้อนุมัติสินเชื่อได้อย่างรวดเร็ว เพื่อสนองความต้องการของธุรกิจต่างๆ ที่กำลังฟื้นตัวจากผลกระทบหลังวิกฤตโรคระบาดโควิด 19”
 
ในด้านกระบวนการขออนุมัติสินเชื่อ ร้อยละ 88 ของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยต้องการให้เกณฑ์การพิจารณาและอนุมัติสินเชื่อมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ขณะที่ร้อยละ 86 สนใจข้อเสนอและบริการสินเชื่อที่ออกแบบโดยเฉพาะสำหรับแต่ละธุรกิจ และร้อยละ 83 ต้องการบริการระบบที่ใช้ในการคำนวณการจ่ายเงินเดือน
 
ด้าน Richard Lim ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของกลุ่มนักวิเคราะห์ค้าปลีก Retail Economics กล่าวว่า “สถานการณ์โรคระบาดได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของเราในหลายๆ ด้าน ทั้งการทำงาน การทำกิจกรรมสันทนาการ และการจับจ่ายใช้สอย โดยทำให้แพลตฟอร์มดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในสังคมปัจจุบันมากขึ้น และแทรกซึมเข้าไปยังทุกกิจกรรมของผู้คนในสังคม 
 
อย่างไรก็ตามบริการด้านเข้าถึงเงินทุนได้ก้าวสู่ความเป็นดิจิทัลมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว และกำลังเข้าสู่ภาวะอิ่มตัวอย่างช้าๆ ขณะที่ธุรกิจที่ต้องการขยายและมองหาโอกาสในเติบโตอย่างรวดเร็ว กลับต้องหยุดชะงักและไปต่อไม่ได้ เนื่องจากขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อที่ล่าช้า และด้วยความยากลำบากในการดำเนินธุรกิจ จากนโยบายที่ใช้ระยะเวลาและไม่ชัดเจนพอ นโยบายการอนุมัติสินเชื่อที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงไม่สามารถตอบโจทย์โลกดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อีกต่อไป”
 
อุปสรรคหลักๆ ที่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกำลังเผชิญอยู่ทั่วโลก ในการเข้าถึงเงินทุนทางธุรกิจได้แก่ การขาดเงินทุนในการเริ่มต้นดำเนินธุรกิจ (ร้อยละ 30) และขั้นตอนการพิจารณาและดำเนินการที่ต้องใช้เอกสารเป็นจำนวนมาก (ร้อยละ 28) และกระแสเงินสดที่มีไม่เพียงพอ (ร้อยละ 27)


เกี่ยวกับรายงานฉบับนี้

รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 โดย Mambu ได้จัดทำการสำรวจข้อมูลจากผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กทั่วโลกจำนวน 1,001 รายในรูปแบบออนไลน์ โดยเป็นผู้ประกอบการที่จัดตั้งบริษัทและขออนุมัติสินเชื่อทุกประเภทในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

เกี่ยวกับ Mambu

Mambu เป็นระบบธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบ SaaS ที่เข้ามาพลิกโฉมผลิตภัณฑ์เงินฝากและเงินกู้แบบเดิมๆ Mambu เปิดตัวในปี 2554 และปัจจุบันได้มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างวิวัฒนาการและการเติบโตในยุคดิจิทัลให้กับสถาบันการเงินต่างๆ ตั้งแต่องค์กรฟินเทคไปจนถึงผู้ให้บริการโทรคมนาคมและธุรกิจอื่นๆ
 
 
โมเดล Composable Banking ของ Mambu มีความแตกต่าง โดยส่วนประกอบ ระบบ และตัวเชื่อมต่อต่างๆ สามารถนำมาประกอบและปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่น พร้อมช่วยให้ลูกค้าประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ และตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ Mambu มีพนักงานกว่า 800 คน ให้บริการและดูแลลูกค้า 200 รายใน 65 ประเทศ รวมถึง N26, BancoEstado, OakNorth, Raiffeisen Bank, ABN AMRO, Bank Islam และ Orange Bank


[1] Office of Small and Medium Enterprises Promotion (OSMEP) of Thailand, 2020


ประเทศไทย

 

ผู้ให้บริการสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยเฉพาะและผู้ให้บริการสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่อยู่ในระบบนิเวศน์ โดย 1 ใน 4 (หรือร้อยละ 25) ของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีการขอสินเชื่อเงินทุนทางธุรกิจจากผู้ให้บริการเหล่านี้ และเป็นแหล่งเงินทุนที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับสาม รองจากการกู้ยืมเงินทุนจากเพื่อนและครอบครัว (ร้อยละ 35) และจากธนาคารพาณิชย์หรือผู้ให้บริการทางการเงินอื่นๆ (ร้อยละ 34)

 

 

หากไม่นับรวมการกู้ยืมเงินทุนจากเพื่อนและครอบครัวและเงินฝากส่วนบุคคล สามอันดับของเงินทุนสนับสนุนธุรกิจที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในหมู่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ วงเงินสินเชื่อ (ร้อยละ 37) เงินกู้ระยะสั้น (ร้อยละ 27) และเงินกู้สำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพ (ร้อยละ 22)

 

3 วัตถุประสงค์หลักสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย ในการเข้าถึงเงินทุนทางธุรกิจได้แก่ การต้องการเงินทุนในการดำเนินธุรกิจที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น (ร้อยละ 53) ขณะที่ร้อยละ 50 ต้องการเงินทุนเพื่อการขยายธุรกิจในด้านต่างๆ อาทิการจ้างบุคลากรเพิ่มเติม และขับเคลื่อนการพัฒนาธุรกิจ (ร้อยละ 45)

 

 

แรงจูงใจอันดับต้นๆ ในการเริ่มต้นธุรกิจในฐานะเจ้าของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมคือการได้มีโอกาสเป็นนายตัวเอง (ร้อยละ 34) ขณะที่ร้อยละ 12 ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ตัวผู้ก่อตั้งอยู่ในสถานะพักงาน (ร้อยละ 7)หรือมีการจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้ก่อตั้ง (ร้อยละ 5) ในช่วงวิกฤตโรคระบาดโควิด 19

 

ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกว่าครึ่งในประเทศไทย (ร้อยละ 52) สามารถเข้าถึงเงินทุนทางธุรกิจได้ง่าย ขณะที่ร้อยละ 10 กล่าวว่าเข้าถึงได้ยาก

 

อย่างไรก็ตามในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกว่าร้อยละ 63 กล่าวว่าประสบปัญหาด้านเงินทุนหมุนเวียนในการต่อยอดธุรกิจ โดยไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนทางธุรกิจได้เลย หรือมีเงินทุนไม่เพียงพอสำหรับการประกอบธุรกิจ โดยประสบปัญหาด้านเงินทุนที่ไม่เพียงพออย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงเวลาที่ผ่านมา  

ผลกระทบที่รุนแรงที่สุดจากการขาดแคลนเงินทุนคือการไม่สามารถจ้างบุคลากรเพื่อเข้ามาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ร้อยละ 34) ไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีได้ (ร้อยละ 32) ขณะที่ร้อยละ 31 ประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน (ร้อยละ 31) และไม่สามารถเปิดตัวผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ได้ (ร้อยละ 31)


 

อุปสรรคขนาดใหญ่ที่สุดสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย ในการเข้าถึงเงินทุนได้แก่ เกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อที่เข้มงวดขึ้น (ร้อยละ 44) ขั้นตอนการพิจารณาและดำเนินการที่ต้องใช้เอกสารเป็นจำนวนมาก (ร้อยละ 30) และการอนุมัติสินเชื่อที่ล่าช้า (ร้อยละ 29)

 

 

การมองหาผู้ให้บริการสินเชื่อ

 

เกณฑ์ในการพิจารณาเลือกผู้ให้บริการสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย 3 อันดับแรกได้แก่ การเลือกผู้ให้บริการจากแผนการชำระคืนในระยะยาวที่แต่ละรายกำหนด (ร้อยละ 89) อัตราดอกเบี้ยต่ำ (ร้อยละ 88) และทางเลือกที่สามารถถอนเงินทุนทั้งหมดออกก่อนกำหนดได้ (ร้อยละ 87)

ธุรกิจประกอบการเหล่านี้ยังมองหาโอกาสในการเปลี่ยนผู้ให้บริการสินเชื่อ หากมีข้อเสนอและบริการที่ดีกว่า โดยร้อยละ 95 อาจเปลี่ยนไปใช้บริการของคู่แข่ง หากได้รับบริการที่ดีกว่าหรือมีบริการที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีกว่าเดิม

 

สิ่งที่จูงใจสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยตัดสินใจเปลี่ยนผู้ให้บริการสินเชื่อคือ ตัวเลือกทางการเงินที่ดีกว่า (ร้อยละ 46) บริการสินเชื่อดิจิทัลที่ดีกว่า (ร้อยละ 46) ขณะเดียวกันร้อยละ 43 เปลี่ยนผู้ให้บริการเพราะได้ประโยชน์จากการกู้ยืมเงินและค่าจูงใจที่มากกว่า และร้อยละ 41 ได้รับการบริการช่วยเหลือลูกค้าที่ดีกว่า


ในด้านกระบวนการขออนุมัติสินเชื่อ ร้อยละ 88 ของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยต้องการให้เกณฑ์การพิจารณาและอนุมัติสินเชื่อมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ขณะที่ร้อยละ 86 สนใจข้อเสนอและบริการสินเชื่อที่ออกแบบโดยเฉพาะสำหรับแต่ละธุรกิจ และร้อยละ 83 ต้องการบริการระบบที่ใช้ในการคำนวณการจ่ายเงินเดือน