23 เม.ย. 2565 1,226 0

Deloitte และ Mambu เผยในรายงานล่าสุด ชี้ 5 กลยุทธ์จิ๊กซอว์สู่ความสำเร็จสำหรับบริการ “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” (Buy Now, Pay Later - BNPL) พร้อมการคาดการณ์ทิศทางตลาดบริการ สำหรับธนาคารและผู้ค้าปลีก

Deloitte และ Mambu เผยในรายงานล่าสุด ชี้ 5 กลยุทธ์จิ๊กซอว์สู่ความสำเร็จสำหรับบริการ “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” (Buy Now, Pay Later - BNPL) พร้อมการคาดการณ์ทิศทางตลาดบริการ สำหรับธนาคารและผู้ค้าปลีก

Deloitte และ Mambu ผู้ให้บริการธุรกรรมทางการเงินบนแพลตฟอร์มคลาวด์ (Cloud Banking Platform) ได้เผย 5 กลยุทธ์จิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่บรรดาร้านค้า รวมถึงผู้ประกอบการและธุรกิจฟินเทคควรให้ความสำคัญและนำมาปรับใช้ในการขับเคลื่อนบริการ “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” (BNPL) สู่ความสำเร็จ โดยข้อมูลนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานล่าสุด ที่เปิดเผยการคาดการณ์ทิศทางตลาดของภาคส่วนธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว สำหรับธนาคารและผู้ค้าปลีก

รายงาน The ‘Deloitte and Mambu Guide to BNPL’ ได้ระบุ 5 กลยุทธ์จิ๊กซอว์สำคัญ ที่จะเป็นประโยชน์สำหรับธุรกิจที่กำลังพัฒนาโซลูชันการให้บริการ “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” (BNPL) ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดในตลาด โดยประกอบด้วย:

การสร้างคุณค่าของบริการ เพิ่มมูลค่าด้วยการมอบความแตกต่างให้กับลูกค้า เข้าถึงและเข้าใจความต้องการของร้านค้าและลูกค้า จากนั้นนำมาพัฒนาเป็นโมเดลการให้บริการ เพื่อช่วยร้านค้าและลูกค้าแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด

เทคโนโลยีและข้อมูล – มองหาพาร์ทเนอร์ชั้นนำในอุตสาหกรรม เพื่อร่วมกันพัฒนาชุดเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างเว็บหรือแอปพลิเคชัน นำไปสู่การวิเคราะห์และตัดสินใจที่ดีที่สุด รวมถึงการพัฒนาโซลูชันแห่งโลกอนาคต ที่จะช่วยยกระดับประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าได้อย่างดีเยี่ยม

การบริหารจัดการความเสี่ยงและการปฏิบัติตามแนวทางเพื่อพัฒนาองค์กร – ออกแบบกรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กรที่จะช่วยสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน ทั้งในด้านการตรวจสอบและบริหารจัดการการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นในองค์กร นำไปสู่การกำหนดความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้ (Risk Appetite) พร้อมทั้งสร้างโมเดลและกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงเหล่านั้น

ทักษะและความสามารถ – ลงทุนเฟ้นหาทรัพยากรบุคคลที่มีทักษะความชำนาญเฉพาะด้าน ในการเข้ามาดูแลรับผิดชอบส่วนงานที่มีความสำคัญ เพื่อสร้างทีมให้แข็งแกร่ง พร้อมสร้างแบรนด์และความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการของตน

กลยุทธ์การปล่อยสินค้า/บริการสู่ตลาด – ลดระยะเวลาในการปล่อยสินค้า/บริการสู่ตลาดโดยการรวมสินค้า/บริการที่มีอยู่ใน Portfolio ในการสร้างผลิตภัณฑ์ตั้งต้น (Minimum Viable Product หรือ MVP) ด้วยฟีเจอร์น้อยที่สุดเพื่อทดสอบตลาด ก่อนพัฒนาเป็นสินค้าที่ความสมบูรณ์ออกสู่ตลาดต่อไป

รายงานนี้ถูกจัดทำและเปิดเผยท่ามกลางเทรนด์บริการการใช้จ่ายแบบ “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” ที่กำลังมาแรงในขณะนี้ โดยคาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2573 มูลค่าตลาดของบริการนี้จะพุ่งสูงถึง 3.98 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 131 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 45.7 ของอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น (CAGR) 

รายงานระบุว่า หนึ่งในสามปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริการ BNPL เติบโตอย่างต่อเนื่อง คือความต้องการของผู้บริโภคในด้านความสะดวกและราคาที่เข้าถึงได้ โดยข้อมูลล่าสุดจาก Deloitte ระบุว่า ผู้บริโภคกว่าครึ่ง (ร้อยละ 56) กล่าวถึงเหตุผลสำคัญที่เลือกใช้บริการ BNPL นั่นคือสามารถทดลองใช้สินค้าได้ก่อนชำระเงิน

ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้บริการ BNPL เติบโตคือการที่ร้านค้านำบริการนี้มาใช้ เนื่องจากคำนึงถึงผลประโยชน์ต่างๆ ที่จะได้รับอีกมากมาย อาทิ ยอดขายที่เพิ่มขึ้น ปริมาณออเดอร์ที่ได้รับโดยเฉลี่ย และการดึงลูกค้าให้มาใช้บริการได้มากขึ้น ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 โดยข้อมูลจาก Worldpay บริษัทผู้ให้บริการชำระเงินที่มีชื่อเสียงระดับโลกระบุว่า บริการ BNPL ถือครองสัดส่วนร้อยละ 2.9 ของการให้บริการประเภท e-commerce ทั่วโลกในปี พ.ศ. 2563 และคาดว่าจะถือครองสัดส่วนถึงร้อยละ 5.3 ในปี พ.ศ. 2568

Pham Quang Minh ผู้จัดการทั่วไปของ Mambu ประเทศไทย กล่าวถึงตลาดการให้บริการ BNPL ในประเทศไทยที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีว่า “บริการ BNPL ในประเทศไทยได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เราเห็นการแข่งขันค่อนข้างดุเดือดในกลุ่มผู้ให้บริการที่มีอยู่มากมาย ทั้งแบรนด์ระดับโลก รวมไปถึงธนาคารยักษ์ใหญ่ของไทย ทำให้ส่วนแบ่งตลาดถูกกระจายไปยังผู้ให้บริการที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ขณะที่ตลาดโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากรายงานที่จัดทำโดย Research and Markets  มีการคาดการณ์ว่าในระยะกลางถึงระยะยาว ภาคส่วนการเติบโตของบริการ BNPL จะอยู่ในช่วงขาขึ้นและเดินหน้าอย่างแข็งแกร่ง การนำบริการ “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” มาปรับใช้โดยผู้ให้บริการจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 จนถึงปี 2571 การเติบโตคิดเป็นร้อยละ 44.8 ของอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น (CAGR) ทั้งนี้คาดการณ์ว่ามูลค่าขายและซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ผ่านบริการ BNPL ทั้งหมดในประเทศไทยจะพุ่งสูงขึ้นจาก 25,000 ล้านบาท หรือ 893.1 ล้านเหรียญสหรัฐในปี พ.ศ. 2564 ไปเป็น 521,994 ล้านบาท หรือ 15,818.1 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2571”

ด้าน João Caldeira Partner ของ Deloitte กล่าวเสริมว่า “ปัจจุบันบริการ BNPL กลายเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการสร้างยอดขายสำหรับธุรกิจค้าปลีกและผู้ให้บริการ e-commerce และสำหรับร้านค้าที่ยังไม่ตัดสินใจนำบริการ BNPL มาใช้ พวกเขากำลังมองหาโซลูชันทางการเงิน ที่จะช่วยออกแบบบริการ BNPL ที่มีความรวดเร็ว มีราคาต้นทุนที่ต่ำ สิ่งสำคัญคือบริการ BNPL จะต้องช่วยพวกเขาสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ และช่วยเพิ่มช่องทางการชำระเงินแบบแบ่งจ่ายที่ไร้รอยต่อได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นตัวเลือกในการตัดสินใจให้กับลูกค้า และเป็นหมากตัวสำคัญ ที่จะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้”

BNPL คืออะไร?

BNPL (“ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” หรือ Buy Now, Pay Later) คือตัวเลือกทางการเงินระยะสั้นที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าและบริการ จากนั้นสามารถทำการชำระเงินในภายหลังได้ โดยที่ไม่มีการคิดดอกเบี้ยเลยหรือดอกเบี้ยต่ำมาก ในช่วงเวลาที่เกิดสถานการณ์โรคระบาด ความนิยมของบริการ BNPL พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนในปัจจุบันลูกค้ามีความต้องการด้านบริการ BNPL บนโลกออนไลน์เพิ่มมากขึ้น รวมถึงต้องการความสะดวกและการบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของแต่บุคคลเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นโอกาสสำคัญในการสร้างทางเลือกใหม่ๆ สำหรับการชำระเงินบนแพลตฟอร์มดิจิทัลให้เกิดขึ้นในตลาด 

3 ปัจจัยในการขับเคลื่อนสู่การเติบโต

1. ความต้องการของผู้บริโภคในด้านความสะดวกและราคาที่เข้าถึงได้

ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าไม่ต้องชำระเงินค่าสินค้าและบริการต่อผู้ขายในทันที และเหมือนได้ทดลองใช้สินค้าและบริการฟรีแบบง่ายๆ โดยยังไม่มีค่าใช้จ่ายทางการเงิน ณ เวลาที่มีการซื้อสินค้าและบริการ ความนิยมในการใช้บริการ BNPL จึงเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่ม Gen Z กลุ่ม "Millennials" และ Gen X

2. การเติบโตของรายได้และการนำบริการ BNPL มาปรับใช้โดยร้านค้า

การนำบริการ BNPL มาปรับใช้โดยร้านค้าที่เพิ่มมากขึ้นถือเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ที่ทำให้บริการ BNPL ได้รับความนิยมในตลาด ซึ่งโดยปกติแล้วร้านค้าจะมีรายได้ที่โตขึ้นจากยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้น และมูลค่าโดยเฉลี่ยในการจ่ายเพื่อซื้อสินค้าใน 1 ครั้งของลูกค้า 1 ราย

3. การดึงลูกค้าในตลาดให้หันมาใช้บริการ BNPL เพิ่มมากขึ้น

ในปี พ.ศ. 2564 บริการ BNPL ถือครองสัดส่วนร้อยละ 2 ของการให้บริการประเภท e-commerce ทั่วโลก โดยมีการใช้บริการมากที่สุดในตลาดที่ผู้บริโภคมีความพร้อม (Mature Market) และคาดว่าจะถือครองส่วนแบ่งตลาดได้มากขึ้นเป็น 2 เท่า ในปี พ.ศ. 2567

ธนาคารและผู้ค้าปลีกจะต้องพิจารณาว่าจะนำบริการ BNPL ในรูปแบบใดมาปรับใช้ โดยลักษณะบริการที่ธนาคารและผู้ค้าปลีกนำมาปรับใช้ได้ประกอบด้วย:

บริการสำหรับร้านค้า (Merchant only)

บริการจ่ายเงินออนไลน์ (Checkout)

บริการแพลตฟอร์มรวบรวมสินค้าและบริการไว้ในที่เดียว (Aggregator) พร้อมบริการจ่ายเงินออนไลน์ (Checkout)

บริการที่ลูกค้าสามารถเลือกร้านค้าได้อย่างอิสระ (Merchant Agnostic)

ธนาคารอาจสูญเสียรายได้ หากไม่ปรับตัวและนำบริการใหม่นี้มาปรับใช้ โดยจากสถิติพบว่า ฟินเทคที่ปรับใช้บริการ BNPL สามารถแย่งสัดส่วนรายได้ต่อปีจากธนาคารได้กว่า  264 – 330 ล้านบาท หรือประมาณ 8 – 10 ล้านเหรียญสหรัฐ

5 หลักการสำคัญในการออกแบบบริการ BNPL ที่จะช่วยสร้างความสำเร็จให้กับธุรกิจ

1. การตัดสินใจอย่างทันทีทันควันในการจัดการความเสี่ยงด้านเครดิตและการตรวจสอบการทุจริตในองค์กร

2. การสร้างประสบการณ์แบบบูรณาการที่ดีให้กับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าใช้บริการได้อย่างไร้รอยต่อ

3. การทำงานร่วมกัน และแบ่งปันข้อมูลกันระหว่างร้านค้าและผู้ให้บริการกู้ยืมเงิน

4. การสร้างความแตกต่างให้กับคุณค่าของสินค้าและบริการของตนเอง เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ให้บริการ BNPL รายอื่นๆ ในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ 

5. การทำการตลาดและสร้างแบรนด์เชิงรุก ระหว่างลูกค้าที่เป็นผู้ใช้บริการ ร้านค้า และผู้ให้บริการกู้ยืมเงิน

ท่านสามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ www.mambu.com/insights/reports/the-deloitte-and-mambu-guide-to-buy-now-pay-later

เกี่ยวกับ Mambu

Mambo เป็นระบบธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบ SaaS ที่เข้ามาพลิกโฉมผลิตภัณฑ์เงินฝากและเงินกู้แบบเดิมๆ Mambu เปิดตัวในปี 2554 และปัจจุบันได้มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างวิวัฒนาการและการเติบโตในยุคดิจิทัลให้กับสถาบันการเงินต่างๆ ตั้งแต่องค์กรฟินเทคไปจนถึงผู้ให้บริการโทรคมนาคมและธุรกิจอื่น

โมเดล Composable Banking ของ Mambu มีความแตกต่าง โดยส่วนประกอบ ระบบ และตัวเชื่อมต่อต่างๆ สามารถนำมาประกอบและปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่น พร้อมช่วยให้ลูกค้าประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ และตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ Mambu มีพนักงานกว่า 800 คน ให้บริการและดูแลลูกค้า 200 รายใน 65 ประเทศ รวมถึง N26, BancoEstado, OakNorth, Raiffeisen Bank, ABN AMRO, Bank Islam และ Orange Bank www.mambu.com

เกี่ยวกับ Deloitte

ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ (Deloitte Touche Tohmatsu Limited (“DTTL”) เป็นบริษัทตรวจสอบบัญชีระดับโลกที่มีบริษัทในเครือและบริษัทที่เกี่ยวข้องตั้งอยู่ทั่วโลก DTTL (ใช้เรียก “Deloitte Global”) เป็นบริษัทที่เป็นเอกเทศตามกฎหมาย และเป็นบริษัทที่เป็นอิสระจากกัน DTTL ไม่ได้ให้บริการแก่ลูกค้า ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.deloitte.com/about Deloitte เป็นให้บริการทั้งการตรวจสอบบัญชี ด้านการบัญชี การควบคุมประสิทธิภาพ ให้คำปรึกษา การให้คำปรึกษาทางการเงิน การให้คำปรึกษาด้านความเสี่ยง การทำภาษี และบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง Deloitte มีสำนักงานอยู่ใน 150 ประเทศทั่วโลก ปัจจุบันให้บริการบริษัทกว่า 4 ใน 5 ของบริษัทที่ติดอันดับ Fortune Global 500® companies และมีพนักงานกว่า 345,000 คน สามารถติดตามข้อมูลการทำงานของ Deloitt ได้ที่ http://www.deloitte.com/