6 พ.ค. 2565 1,069 30

หัวเว่ย และองค์กรผู้แทนผลประโยชน์ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก หรือ GSMA เข้าร่วมงานประชุมโทรคมนาคมระดับภูมิภาค Asia-Pacific Spectrum Management ครั้งที่ 8

หัวเว่ย และองค์กรผู้แทนผลประโยชน์ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก หรือ GSMA เข้าร่วมงานประชุมโทรคมนาคมระดับภูมิภาค Asia-Pacific Spectrum Management ครั้งที่ 8

งานประชุม Asia-Pacific Spectrum Management ครั้งที่ 8 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 26-27 เมษายน พ.ศ. 2565 ณ กรุงเทพมหานคร โดยมี Forum Global และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ร่วมเป็นเจ้าภาพ และหัวเว่ยเป็นผู้ร่วมจัดงานในฐานะพันธมิตรหลัก โดยได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union หรือ ITU) และองค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (APT) ซึ่งหัวข้อหลักของการประชุมครั้งนี้คือกลยุทธ์และการพัฒนาคลื่นความถี่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหน่วยงานกำกับดูแลจากประเทศไทย ประเทศจีน ประเทศกัมพูชา ประเทศอินโดนีเซีย สาธารณรัฐเกาหลี และประเทศเวียดนาม กลุ่มผู้ให้บริการเครือข่ายชั้นนำ China Mobile และ Axiata รวมถึงผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมชั้นนำ เช่น หัวเว่ย และองค์กรผู้แทนผลประโยชน์ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก (Global System for Mobile Communications) หรือ GSMA เข้าร่วมงาน 

คลื่นความถี่ถือเป็นทรัพยากรพื้นฐานของการพัฒนาอุตสาหกรรมการสื่อสารแบบไร้สายและเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับ 5G และ 5G ขั้นสูง กลยุทธ์การบริหารคลื่นความถี่และมาตรฐานการใช้งานจำเป็นต้องวางแผนให้สอดคล้องกันและมีข้อกำหนดชัดเจน

เสน่ห์ สายวงศ์ วิศวกรผู้เชี่ยวชาญพิเศษ กสทช. ประเทศไทย กล่าวว่าไทยได้เปิดใช้งานเทคโนโลยี 5G ในเชิงพาณิชย์แล้วบนความถี่ 2.6GHz/700MHz และขณะเดียวกันมีการทดลองใช้งานความถี่ 3.5/28GHz และศึกษาการใช้งานความถี่ 6GHz ภายใต้วาระประชุมใหญ่ระดับโลกว่าด้วยวิทยุคมนาคม ค.ศ. 2023 (WRC-23) 

ในอนาคต กสทช. กล่าวว่าความต้องการแบนด์วิดท์ในย่านความถี่กลางและต่ำจะสูงถึง 2051MHz เพื่อความเร็วในการดาวน์โหลดของเครือข่าย 5G ที่ 100 เมกะบิตต่อวินาที จากค่าเฉลี่ย 30 เมกะบิตต่อวินาทีของเครือข่าย 4G ในปัจจุบัน การกำหนดคลื่นความถี่ใหม่จะตอบสนองความต้องการจากการเติบโตด้านการใช้งานในอนาคต ซึ่งทำให้จำเป็นต้องมีการขยายเครือข่ายเพิ่มเติมในต่างจังหวัดเพื่อประสบการณ์การเข้าถึงเครือข่าย 5G ที่เท่าเทียม

ตามข้อกำหนดเครือข่ายของ กสทช. ผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องขยายเครือข่าย 2600MHz ให้ครอบคลุมพื้นที่ของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ให้ถึง 50% ภายใน 1 ปีและครอบคลุมในเมืองอัจฉริยะภายใน 4 ปี โดยข้อมูลนี้มาจากนางสาวธีร์ตานันท์ ผู้อำนวยการสำนักใบอนุญาตประกอบธุรกิจโทรคมนาคม กสทช. ปัจจุบันบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด  (AWN) มีเครือข่ายครอบคลุม 95.7% และบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด มีเครือข่ายครอบคลุม ที่ 94.5% เปิดตัวเครือข่ายโทรคมนาคมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสร็จสิ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ในขณะที่อัตราครอบคลุมของประชากรผู้ใช้ 5G ทั่วประเทศมีถึง 77% พร้อมจำนวนสถานีฐานบนความถี่ 2600MHz เพิ่มเป็น 17,244 แห่ง ภายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565

องค์กรผู้แทนผลประโยชน์ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก (GSMA) กล่าวว่าภายในปี พ.ศ. 2568-2573 ประเทศต่างๆ ต้องการคลื่นความถี่กลางที่ 2GHz เพื่อให้ได้ประสบการณ์การใช้งานตามมาตรฐาน IMT ซึ่งกำหนดค่าดาวน์ลิงก์ไว้ที่ 100 เมกะบิตต่อวินาที และอัปลิงก์ที่ 50 เมกะบิตต่อวินาที จึงจะบรรลุเป้าหมายของบริการเครือข่าย 5G ดังนั้น ย่านความถี่ 6GHz จึงเป็นตัวเลือกหลักอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดย GSMA เรียกร้องให้หน่วยงานกำกับดูแล “พิจารณาการใช้งานย่านความถี่สูงกว่า 6 GHz สำหรับการใช้งานตามมาตรฐาน IMT ในขณะที่ย่านความถี่ต่ำกว่า 6GHz ควรพิจารณาด้วยหลักการความเป็นกลางทางเทคโนโลยี"

ตู้ เย่ชิง รองประธานบริหาร กลุ่มผลิตภัณฑ์ 5G ของหัวเว่ย เน้นย้ำว่า อีก 5-10 ปีข้างหน้า แต่ละประเทศจะต้องการใช้งานย่านความถี่กลางที่ 2000MHz เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในราคาที่จับต้องได้ ภายใต้สถานการณ์การใช้งาน 5G อย่างเต็มรูปแบบ คลื่นความถี่ 2.1/2.3/2.6/4.9 GHz จะมีอีโคซิสเต็มที่สมบูรณ์ และรองรับการพัฒนา 5G เช่นเดียวกับความถี่ระบบ C-band ซึ่งพันธมิตรในภาคอุตสาหกรรมต่างมุ่งทำงานร่วมกันเพื่อสร้างอีโคซิสเต็ม 6 GHz ให้สมบูรณ์แบบเพื่อตอบสนองความต้องการเครือข่าย 5G ในระยะยาว

ดร.อัตสึโกะ โอคุดะ ผู้อำนวยการสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก กล่าวปิดท้ายว่าคลื่นความถี่ที่ผสานกลมกลืนทั่วโลกถือเป็นกุญแจสำคัญของบริการไร้สาย ช่วยให้เทคโนโลยีและบริการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น มีราคาที่เหมาะสม มีความปลอดภัย และเข้าถึงการลงทุนที่จำเป็น ผู้เข้าประชุมทุกฝ่ายมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ทำให้การประชุมเต็มไปด้วยความน่าสนใจ และมีคำถามที่เกี่ยวข้องกับวาระการประชุมใหญ่ระดับโลกว่าด้วยวิทยุคมนาคม ปี ค.ศ. 2523 (WRC-23) ทั้งการอภิปรายเรื่องย่านความถี่ระบบ C-band เพื่อค้นหาสมดุลในคลื่นความถี่กลาง (mid band) และความสนใจที่เพิ่มขึ้นในคลื่นความถี่ 6GHz การอภิปรายในงานนี้ยังช่วยเตรียมตัวให้ผู้เข้าประชุมร่วมประชุม WRC-23 ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างขึ้นในด้านการเชื่อมต่อดิจิทัลของเครือข่าย 5G และด้านอื่นๆ

หัวเว่ย ประเทศไทย รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศไทยตลอดช่วงเวลา 23 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งยังได้รับความสนับสนุนเป็นอย่างดีจากพันธมิตร โดยภายใต้ภารกิจ “เติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย และร่วมสนับสนุนประเทศไทย (Grow in Thailand, Contribute to Thailand)” หัวเว่ยมุ่งมั่นบรรลุเป้าหมายการเป็นพันธมิตรชั้นนำด้านเทคโนโลยีและผู้นำด้านไอซีทีที่เชื่อถือได้ หัวเว่ยเป็นผู้ผลักดันด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและเป็นผู้ส่งเสริมด้านคุณค่าทางสังคมมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมที่จะเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน โดยนำดิจิทัลไปสู่ทุกคน ทุกบ้านและทุกองค์กร เพื่อประเทศไทยที่เชื่อมต่อกันอย่างอัจฉริยะโดยสมบูรณ์

เกี่ยวกับหัวเว่ย 

หัวเว่ย ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และสมาร์ทดีไวซ์ ด้วยโซลูชั่นที่ผสมผสานในสี่กลุ่มหลัก คือ เครือข่ายโทรคมนาคม, ไอที, สมาร์ทดีไวซ์ และบริการคลาวด์ บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่การใช้งานทุกระดับเพื่อทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อขับเคลื่อน โลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ โซลูชั่นและบริการที่ครบวงจรของหัวเว่ยเปี่ยมด้วยศักยภาพด้านการแข่งขันและเชื่อถือได้ จากการทำงานร่วมกับพันธมิตรในระบบนิเวศแบบเปิด หัวเว่ยสามารถสร้างมูลค่าระยะยาวให้กับลูกค้า เสริมสมรรถนะของผู้คน ช่วยให้การใช้ชีวิตที่บ้านมีความสะดวกสบาย และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดนวัตกรรมในองค์กร ทุกรูปแบบและทุกขนาด

นวัตกรรมของหัวเว่ยเน้นตอบสนองตามความต้องการของลูกค้า เราทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลในด้านการวิจัย เน้นค้นหานวัตกรรมด้านเทคนิคใหม่ๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนโลกของเราให้ก้าวไปข้างหน้า เรามีพนักงานกว่า 194,000 คน ดำเนินธุรกิจในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก หัวเว่ยก่อตั้งขึ้นในปี 2530 และเป็นบริษัทเอกชนที่มีพนักงานเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด  

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของหัวเว่ย ได้ที่ www.huawei.com

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมของโครงการได้ที่ https://superai.aiat.or.th/