12 พ.ค. 2565 1,427 16

ดีลอยท์ ประเทศไทย เผย Digital Transformation Survey ฉบับล่าสุด ผลสำรวจด้านความพร้อมและความคืบหน้าขององค์กรในประเทศไทย ในการปรับตัวสู่ดิจิทัล

ดีลอยท์ ประเทศไทย เผย Digital Transformation Survey ฉบับล่าสุด ผลสำรวจด้านความพร้อมและความคืบหน้าขององค์กรในประเทศไทย ในการปรับตัวสู่ดิจิทัล

41% ของบริษัทที่ตอบแบบสำรวจมองว่าการปรับองค์กรสู่ดิจิทัลมีผลกระทบต่อธุรกิจในระดับปานกลาง 

20% ของบริษัทที่ตอบแบบสำรวจกำลังอยู่ในระยะ 'Becoming Digital' เป็นการปรับองค์กรในลักษณะของการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อเทรนด์ของตลาดในปี 2022

43% ของบริษัทที่ตอบแบบสำรวจ ได้เปลี่ยนกลับไปสู่ระยะ 'Doing Digital'

จากผลการสำรวจพบกว่า การขาดความเชี่ยวชาญภายในและภายนอก วัฒนธรรมดิจิทัลที่อยู่ระหว่างการพัฒนา รวมถึงโครงสร้างการทำงานภายในองค์กร เป็นความท้าทายที่เผชิญอยู่ คิดเป็นจำนวน 41%, 31% และ 29% ตามลำดับ


ธุรกิจทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบจาก Digital Disruption โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยมีอัตราการนำเอาดิจิทัลมาใช้ในองค์กรที่เพิ่มสูงมากขึ้นเนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ความเข้าใจมุมมองและแนวโน้มของการปรับองค์กรไปสู่ดิจิทัลไปใช้เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้บริษัทในประเทศไทยเข้าใจตำแหน่งของตนเองเมื่อเปรียบเทียบกับตลาด 

ดีลอยท์ ประเทศไทย ได้ทำการสำรวจ Digital Transformation ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2563-2565) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติขององค์กรต่อการปรับตัวสู่ดิจิทัล ในปี 2563 และ 2564 ทางบริษัทฯ ทำการสำรวจโดยการใช้แบบสอบถาม ด้วยวิธีการวัดเชิงปริมาณ สำหรับปี 2565 เป็นปีที่การปรับตัวสู่ดิจิทัลของบริษัทอยู่ในขั้นตอนที่สำคัญ



ดีลอยท์จึงทำการสัมภาษณ์ผู้ตอบแบบสำรวจระดับ c-suite ร่วมกับการใช้แบบสอบถามเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเพิ่มขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการดำเนินการของการปรับองค์กรสู่ดิจิทัลมาใช้ ในช่วงระยะเวลาก่อนและระหว่างการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การสำรวจครั้งนี้จึงมุ่งเน้นประเด็นดังต่อไปนี้

1. การศึกษาขั้นตอนการปรับตัวสู่ดิจิทัล 

2. การปรับองค์กรสู่ดิจิทัลให้ประสบผลสำเร็จ 

3. การทำความเข้าใจภาพรวมของอุตสาหกรรม

จากการวิเคราะห์ผลสำรวจในปี 2565 พบว่า 41% ของบริษัทมองว่าการปรับองค์กรสู่ดิจิทัลส่งผลกระทบต่อธุรกิจในระดับปานกลาง การปรับองค์กรสู่ดิจิทัลที่นำมาปรับใช้ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ค่อนข้างเป็นกลไกในการเอาตัวรอดเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่กำลังเผชิญและเป็นเครื่องมือในการสร้างความแตกต่างในอนาคต

การนำแนวทางการปรับองค์กรสู่ดิจิทัลมาใช้อย่างรวดเร็วในระยะแรกๆ ของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ 20% ของบริษัทที่เข้าสู่ระยะ 'Becoming Digital' เป็นการปรับองค์กรในลักษณะของการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อเทรนด์ของตลาด ส่วนในปี 2565 43% ของบริษัทได้เปลี่ยนกลับไปที่ระยะ 'Doing Digital' เนื่องจากพวกเขาตระหนักว่าไม่ใช่ทุกเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ได้กับสถานการณ์ดังกล่าว และเลือกสรรเทคโนโลยีมากขึ้นในการปรับใช้ดิจิทัลสำหรับลูกค้า สินทรัพย์ภายในองค์กร และขั้นตอนหลังบ้าน

การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์และการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เป็นสองประเด็นที่บริษัทส่วนใหญ่เห็นว่ามีความสำคัญและให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกๆ เนื่องจาก 30% ของบริษัทมีแผนดิจิทัลที่ครบถ้วน การลงทุนและนวัตกรรมพร้อมดำเนินการ และผนวกเอาแนวคิดการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางเข้าไปใน DNA ขององค์กร

ในขณะเดียวกัน พบว่า 43% ของบริษัทมีแผนดิจิทัลที่ครบถ้วน การลงทุนและนวัตกรรมพร้อมดำเนินการ และผนวกเอาการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เข้าไปใน DNA ขององค์กร

ในด้านเทคโนโลยี กลุ่มเทคโนโลยีพื้นฐาน ได้แก่ คลาวด์ เทคโนโลยีเว็บแบบดั้งเดิม และแอปพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ ได้รับความนิยมมากที่สุดในบริษัททุกขนาดตั้งแต่ช่วงเวลาก่อนเกิดการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจัดอยู่ในประเภทเทคโนโลยีขั้นสูง ได้รับความนิยมในช่วงปลายปี โดยพบว่าขนาดของบริษัทกับการลงทุนในเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กัน โดยบริษัทที่มีขนาดใหญ่จะมีการลงทุนในเทคโนโลยีในหลากหลายด้านมากกว่า


“การปรับองค์กรสู่ดิจิทัลเป็นกุญแจสำคัญในการปกป้ององค์กรของคุณ แต่วิธีการใดวิธีการหนึ่งไม่สามารถเหมาะกับทุกองค์กรในการเตรียมองค์กรให้พร้อมสำหรับอนาคต ผู้บริหารควรเลือกแนวทางที่เหมาะสมกับบริษัทของตนที่สุด” มร.วิเนย์ โฮรา ผู้อำนวยการบริหาร ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง กล่าว

นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี 2563 ทรัพยากรบุคคลและกรอบความคิดด้านดิจิทัลต้องเผชิญกับความท้าทาย จากการขาดความเชี่ยวชาญภายในและภายนอก วัฒนธรรมดิจิทัลที่อยู่ระหว่างการพัฒนา  รวมถึงโครงสร้างการทำงานภายในองค์กร เป็นจำนวน 41%, 31% และ 29% ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังพบว่าคนส่วนใหญ่ยังคงมองว่า Digital Disruption เป็นเรื่องของการพัฒนาด้านไอทีและบุคลากรด้านไอทีให้ดีขึ้นมากกว่าที่จะเป็นความรับผิดชอบขององค์กรโดยรวม


ดร. นเรนทร์ ชุติจิรวงศ์ ผู้อำนวยการบริหาร Clients & Industries ดีลอยท์ ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า “หลายองค์กรเข้าใจผิดเกี่ยวกับการปรับตัวสู่ดิจิทัล  ว่าเป็นแค่เรื่องของการทำสิ่งต่างๆให้เป็นดิจิทัลและเปิดตัวโครงการดิจิทัลใหม่ๆ แต่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แสดงให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงภาพลวงตาของการเป็นองค์กรดิจิทัล  การมีกรอบความคิดทางดิจิทัลที่ถูกต้องต่างหากที่เป็นสิ่งสำคัญของความสำเร็จในการปรับองค์กรไปสู่ดิจิทัล”

ทุกคนได้เห็นแล้วว่า การเปลี่ยนองค์กรไปสู่ดิจิทัลที่มีอัตราสูงขึ้น ประกอบกับภาคธุรกิจทั้งหมดได้รับผลกระทบมหาศาลและคาดไม่ถึงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19  ภาคธุรกิจจึงควรระมัดระวังมากขึ้นเกี่ยวกับการขับเคลื่อนของการปรับองค์กรสู่ดิจิทัลและสภาพแวดล้อมทางดิจิทัลในตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์โลกที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ในขณะนี้และช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน



สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการสัมมนาเกี่ยวกับรายงานการสำรวจการปรับองค์กรสู่ดิจิทัล 2022 ผ่านลิงค์นี้: https://deloitte.zoom.us/webinar/register/WN_fb5UU7z4Qk6G0JVUWuNipQ

Deloitte refers to one or more of Deloitte Touche Tohmatsu Limited (“DTTL”), its global network of member firms, and their related entities (collectively, the “Deloitte organization”). DTTL (also referred to as “Deloitte Global”) and each of its member firms and related entities are legally separate and independent entities, which cannot obligate or bind each other in respect of third parties. DTTL and each DTTL member firm and related entity is liable only for its own acts and omissions, and not those of each other. DTTL does not provide services to clients. Please see www.deloitte.com/about to learn more.

Deloitte Asia Pacific Limited is a company limited by guarantee and a member firm of DTTL. Members of Deloitte Asia Pacific Limited and their related entities, each of which are separate and independent legal entities, provide services from more than 100 cities across the region, including Auckland, Bangkok, Beijing, Hanoi, Hong Kong, Jakarta, Kuala Lumpur, Manila, Melbourne, Osaka, Seoul, Shanghai, Singapore, Sydney,Taipei and Tokyo.

About Deloitte Thailand

In Thailand, services are provided by Deloitte Touche Tohmatsu Jaiyos Co., Ltd. and its subsidiaries and affiliates.

This communication contains general information only, and none of Deloitte Touche Tohmatsu Limited (“DTTL”), its global network of member firms or their related entities (collectively, the “Deloitte organization”) is, by means of this communication, rendering professional advice or services. Before making any decision or taking any action that may affect your finances or your business, you should consult a qualified professional adviser. 

No representations, warranties or undertakings (express or implied) are given as to the accuracy or completeness of the information in this communication, and none of DTTL, its member firms, related entities, employees or agents shall be liable or responsible for any loss or damage whatsoever arising directly or indirectly in connection with any person relying on this communication. DTTL and each of its member firms, and their related entities, are legally separate and independent entities.

© 2022 Deloitte Touche Tohmatsu Jaiyos Co., Ltd.