19 พ.ค. 2565 1,471 20

สรุปรวบ..หัวเว่ยจัดประชุม Huawei APAC Digital Innovation Congress ชู “นวัตกรรมเพื่อเอเชียแปซิฟิกยุคดิจิทัล” ณ สิงคโปร์ ผู้เข้าร่วมงานกว่า 1,500 คน จากกว่า 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พร้อมลงนามข้อตกลงความร่วมมือใหม่ 17 ฉบับ

สรุปรวบ..หัวเว่ยจัดประชุม Huawei APAC Digital Innovation Congress ชู “นวัตกรรมเพื่อเอเชียแปซิฟิกยุคดิจิทัล” ณ สิงคโปร์ ผู้เข้าร่วมงานกว่า 1,500 คน จากกว่า 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พร้อมลงนามข้อตกลงความร่วมมือใหม่ 17 ฉบับ

หัวเว่ยร่วมกับมูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) จัดงานประชุม Huawei APAC Digital Innovation Congress เป็นวันแรกที่ประเทศสิงคโปร์ โดยมีหน่วยงานภาครัฐ, ผู้เชี่ยวชาญ, นักวิจัย, พันธมิตรธุรกิจและนักวิเคราะห์เข้าร่วมงานกว่า 1,500 คน จากกว่า 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อร่วมวางโครงสร้างอนาคตของนวัตกรรมและเศรษฐกิจดิจิทัล โดยหัวข้อการประชุมครอบคลุมถึงเรื่องความรุดหน้าในเทคโนโลยีไอซีที การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมุ่งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์



“เอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และมีบทบาทสำคัญในการผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจโลกมาเป็นเวลานาน และปัจจุบันก็มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมดิจิทัลอีกด้วย” นายเคน หู ประธานกรรมการบริหารหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย กล่าวในสุนทรพจน์เปิดงาน และกล่าวย้ำว่าหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิยกระดับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลสู่นโยบายเชิงกลยุทธ์และร่วมสนับสนุนนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

“หัวเว่ยมีรากฐานหยั่งลึกในเอเชียแปซิฟิก และให้บริการลูกค้าในภูมิภาคมาเป็นเวลากว่า 30 ปี เราภูมิใจที่ได้ร่วมสนับสนุนการพัฒนาด้านดิจิทัลในภูมิภาคให้รุดหน้า ซึ่งต่อจากนี้ เราจะมุ่งลงทุนอย่างต่อเนื่องในด้านนวัตกรรมเพื่อเสริมศักยภาพของพันธมิตรให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาเชิงกลยุทธ์ โดยในปีพ.ศ. 2565 เราวางแผนสนับสนุนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพิ่มเติมในด้านดิจิทัลและสิ่งแวดล้อม ด้วยการเสริมศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล มุ่งเน้นการพัฒนาที่ลดการปล่อยคาร์บอน และสนับสนุนความเท่าเทียมในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล" 


ดร.หยาง มี เอง กรรมการบริหารมูลนิธิอาเซียน ได้กล่าวสุนทรพจน์ในงานว่า “การรวมตัวที่แข็งแกร่งระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลเท่านั้นที่จะร่วมสร้างภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในยุคดิจิทัลที่เท่าเทียมกันและพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต การประชุม Huawei APAC Digital Innovation Congress 2022 นับเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่างมูลนิธิอาเซียนกับหัวเว่ย เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาทักษะของผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก"

กลยุทธ์ส่งเสริมนวัตกรรมดิจิทัลและเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

สัตวินเดอร์ ซิงห์ รองเลขาธิการประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เน้นย้ำความคืบหน้าของแผนแม่บทด้านดิจิทัลในอาเซียน พ.ศ. 2568 รวมถึงมุมมองด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ว่า “การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้ลงทะเบียนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขึ้นถึง 60 ล้านคนในอาเซียน ส่งผลให้มีฐานผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตใหญ่เป็นอันดับสาม ด้วยจำนวนผู้ใช้รวมเกือบ 400 ล้านคน มีการคาดการณ์ว่ารายได้ด้านดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียนจะสูงถึง 363,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี พ.ศ. 2568” เขากล่าวเสริมอีกว่า "การผนึกกำลังที่เข้มแข็งจากหลายฝ่ายรวมถึงภาคเอกชน จำเป็นอย่างยิ่งในการเข้าถึงศักยภาพสูงสุดของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน"

อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า “ประเทศไทยสนับสนุนการดำเนินการตามแผนแม่บทด้านดิจิทัลในอาเซียน พ.ศ. 2568 อย่างเต็มที่ เพราะเป็นกลยุทธ์สำคัญในการปรับตัวด้านเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เรามุ่งยกระดับศักยภาพของเทคโนโลยีไอซีทีและดิจิทัลเพื่อเข้าถึงบริการของภาครัฐและเอกชนอย่างเท่าเทียมกัน และร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน”

ดร. เอช. ซานเดียกา ซาลาฮัดดิน อูโน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจนันทนาการของอินโดนีเซีย กล่าวถึงนวัตกรรมที่ผลักดันประเทศอินโดนีเซียในยุคดิจิทัลว่า “เทคโนโลยี ‘Frontier’ ช่วยผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย และสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและนันทนาการในปัจจุบัน คือมาตรการที่ยั่งยืนในด้านสุขอนามัย, การดูแลสุขภาพ ตลอดจนความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่ปรับเปลี่ยนได้เฉพาะบุคคลและกลมกลืนกับวิถีชีวิตท้องถิ่น” เขากล่าวเสริมว่า “เรามุ่งหาโซลูชันและความก้าวหน้าเชิงเทคนิคเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านอุตสาหกรรมในประเทศอินโดนีเซีย โดยได้ร่วมลงนามในโครงการสำคัญเชิงกลยุทธ์กับหัวเว่ย เพื่อขยายขีดความสามารถด้านดิจิทัลของชาวอินโดนีเซียและเสริมศักยภาพให้กับสตาร์ทอัพในท้องถิ่น ซึ่งนำไปสู่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อฟื้นฟูและสร้างความแข็งแกร่งไปพร้อมกัน"

ดาโตสรี ดร. อดัม บิน บาบา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของมาเลเซีย กล่าวว่า การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน ประเทศมาเลเซียเพิ่งเปิดตัวพิมพ์เขียวเศรษฐกิจดิจิทัลของมาเลเซีย (MyDIGITAL) เพื่อเสริมความแข็งแกร่งและยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างยั่งยืนด้วยการประยุกต์ใช้แพลตฟอร์มการทำงานร่วมกันและสร้างอุปสงค์สำหรับโซลูชันดิจิทัลที่พัฒนาโดยสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีดิจิทัลท้องถิ่นรวมถึงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั้งด้านอุปกรณ์และงานระบบตลอดจนซอฟต์แวร์ที่ครอบคลุมถึงโปรแกรมและปัญญาประดิษฐ์ (AI) สิ่งเหล่านี้ร่วมผลักดันให้มาเลเซียก้าวสู่การเป็นประเทศผู้ผลิตชั้นนำด้านโซลูชันเทคโนโลยี

มุสตาฟา แจ็บบาร์ รัฐมนตรีกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคมของบังกลาเทศ อธิบายว่าอุตสาหกรรมการสื่อสารของบังกลาเทศเติบโตอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่การนำเสนอกลยุทธ์ ‘ดิจิทัลบังกลาเทศ’ ในปี พ.ศ. 2551 ส่งผลให้อัตราครอบคลุมบรอดแบนด์มือถือในประเทศเพิ่มขึ้นจาก 0% เป็น 98.5% และขยายฐานผู้ใช้จาก 40 ล้านคนในปีพ.ศ. 2561 เป็น 180 ล้านคนในปัจจุบัน “ความสำเร็จนี้เปลี่ยนวิถีชีวิตชาวบังกลาเทศไปอย่างมาก และคงไม่เกิดขึ้นหากปราศจากการสนับสนุนจากพันธมิตรในอุตสาหกรรมและอีโคซิสเต็มทั้งหมด” แจ็บบาร์กล่าวเสริม

พันธกิจของหัวเว่ยเพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ไซมอน หลิน ประธานกรรมการบริหารประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับโอกาสมหาศาลด้านดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและกล่าวถึงพันธกิจ ‘ในเอเชียแปซิฟิก สำหรับเอเชียแปซิฟิก’ หรือ ‘In Asia-Pacific, for Asia-Pacific’ ของหัวเว่ย เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นในการเป็นผู้ขับเคลื่อนหลักในด้านเศรษฐกิจดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก โดยทำงานร่วมกับลูกค้าและพันธมิตรเพื่อสร้างวิถีชีวิตดิจิทัลที่ดีขึ้นและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เขากล่าวเสริมว่า “หัวเว่ยมุ่งมั่นขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานอันทันสมัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในเอเชียแปซิฟิก สร้างระบบนิเวศเชิงอุตสาหกรรมที่รุดหน้า และผลักดันภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเท่าเทียม”

นอกจากนี้เขายังเปิดเผยว่า หัวเว่ยส่งมอบบริการเชื่อมต่อให้กับประชากรกว่า 90 ล้านครัวเรือนและผู้ใช้มือถือหนึ่งพันล้านคนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับที่ 4 ด้านการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที (IaaS) ในตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หัวเว่ยผสานเทคโนโลยีดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์กำลังเพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในด้านพลังงานเพื่อสร้างโลกอนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


หัวเว่ยร่วมมือกับพันธมิตรองค์กรและคลาวด์เกือบ 10,000 ราย และวางแผนการลงทุน 100 ล้านเหรียญสหรัฐในโครงการ Spark เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มสตาร์ทอัพในเอเชียแปซิฟิก หัวเว่ยและพันธมิตรจัดฝึกอบรมทักษะด้านดิจิทัลให้ประชากรกว่า 170,000 คน และวางแผนฝึกอบรมให้กับประชากรอีกกว่า 500,000 คนภายในเวลาห้าปีเพื่อพัฒนาอีโคซิสเต็มที่เปี่ยมศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลให้รุดหน้า

การอภิปรายในงาน Huawei APAC Digital Innovation Congress มีแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมจำนวนมาก รวมถึงศาสตราจารย์ พอล เชิง ผู้อำนวยการสถาบัน Asia Competitiveness Institute จากโรงเรียนนโยบายสาธารณะ ลี กวน ยู แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์, โมฮัมเหม็ด เจลิด ผู้อำนวยการสำนักวิทยาศาสตร์ยูเนสโกแห่งภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก, ดร. อิสคานดาร์ ซาหมัด ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ MIMOS Berhad หรือศูนย์วิจัยและพัฒนาแห่งชาติของมาเลเซียและ นายเดวิด ลู ประธานด้านกลยุทธ์และการตลาดภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกของหัวเว่ย ผู้อภิปรายร่วมสรุปว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแบบดิจิทัลที่ก้าวหน้าและยั่งยืนนั้นขึ้นอยู่กับการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ นโยบายอุตสาหกรรมที่เอื้ออำนวย โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่แข็งแกร่ง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ครอบคลุม และอีโคซิสเต็มที่แข็งแกร่งของผู้เชี่ยวชาญทักษะดิจิทัล

ภายในงานมีการอภิปรายเชิงอุตสาหกรรม 4 ด้าน โดยเน้นนวัตกรรมใหม่ของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ได้แก่ แคมปัสอัจฉริยะ ศูนย์ข้อมูลแบบฟูลสแตก (full-stack data centers) ดิจิทัลพาวเวอร์ และคลาวด์ ในเซสชันแคมปัสอัจฉริยะ หัวเว่ยเปิดตัวโซลูชันเพื่อใช้ประเมินสถานการณ์แคมปัส รวมถึงเครือข่ายแคมปัสพื้นฐานและการสถานการณ์การใช้ FTTO/FTTM พร้อมทั้งประกาศความสำเร็จล่าสุดและตัวอย่างแนวทางการดำเนินงานยอดเยี่ยมของลูกค้าและคู่ค้า การอภิปรายในเซสชันคลาวด์ หัวเว่ยเปิดตัวผลิตภัณฑ์และโซลูชันใหม่ ได้แก่ GaussDB ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลที่จัดเก็บบนคลาวด์และ DevCloud หรือศูนย์รวม DevOps แบบครบวงจรเพื่อการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เปี่ยมประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

หัวเว่ยจับมือพันธมิตรเผยโอกาสเศรษฐกิจของเอเชียแปซิฟิก พร้อมลงนามข้อตกลงความร่วมมือใหม่ 17 ฉบับ

วันที่สองของงาน Huawei Asia Pacific Digital Innovation Congress หัวเว่ยจัดปาฐกถาหัวข้อ ‘เจาะลึกอุตสาหกรรมดิจิทัล’ โดยมีนักธุรกิจชั้นนำกว่า 1,000 รายจากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ และเจ้าหน้าที่ภาครัฐในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เข้าร่วมพร้อมถกประเด็นความท้าทายและแนวปฏิบัติในการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล


นิโคลัส หม่า ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ประจำเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย กล่าวสุนทรพจน์ระหว่างเปิดงานว่า เศรษฐกิจดิจิทัลและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในธุรกิจขยายตัวอย่างรวดเร็วในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทั้งนี้ ด้วยกลยุทธ์ดิจิทัลที่เปี่ยมด้วยวิสัยทัศน์ของรัฐบาลและความร่วมมือของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ หัวเว่ยคาดการณ์ว่าการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในภาคธุรกิจจะพลิกโฉมระบบการผลิตในทุกอุตสาหกรรม และสร้างมูลค่าทางธุรกิจสูงถึง 27 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ “เราผนึกกำลังร่วมกับพันธมิตร ศึกษาทำความเข้าใจอุตสาหกรรม และพัฒนาโซลูชันที่พัฒนามาโดยเฉพาะเพื่ออำนวยความสะดวก เราตื่นเต้นที่จะทำงานร่วมกับเหล่าพันธมิตรเพื่อบ่มเพาะอีโคซิสเต็มอุตสาหกรรมแบบเปิดและขับเคลื่อนความสำเร็จร่วมกันในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก”

สุเนด อาเหม็ด พาลัก รัฐมนตรีต่างประเทศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งบังกลาเทศ กล่าวว่า “บังกลาเทศก้าวสู่การปฏิวัติวงการไอซีทีอย่างรวดเร็ว ด้วยการคิดเชิงนวัตกรรมและการนำนวัตกรรมมาใช้จริง ควรผนึกกำลังกันระหว่างนักพัฒนา ผู้นำในอุตสาหกรรม และผู้นำทางความคิด เพื่อวางอนาคตว่าเราจะสร้างคุณค่าให้กับสังคมได้อย่างไร นวัตกรรมจะรวมทุกอย่างเข้าด้วยกันและผลักดันผลลัพธ์อันไร้ที่ติ บังกลาเทศจะเติบโตด้วยพลังขับเคลื่อนภายในและการสนับสนุนจากบริษัทผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างหัวเว่ย ขอให้เราคิดแบบดิจิทัล ลงมือแบบดิจิทัลและร่วมกันขับเคลื่อนนวัตกรรมดิจิทัล” 

ดร. ด้านวิศวกรรม บุดี ปราวารา ประธานองค์กรวิจัยด้านอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศ สำนักงานวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติประเทศอินโดนีเซีย เผยว่า เรากำหนดโลกอนาคตด้วยประสิทธิภาพในการยกระดับและสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรม และเผยข้อมูลความร่วมมือใกล้ชิดกับผู้เล่นสำคัญโดยเฉพาะผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับโลกอย่างหัวเว่ยที่แบ่งปันความรู้เกี่ยวกับ AI ในปี พ.ศ. 2563 สอดคล้องกับแผนพัฒนากลยุทธ์ AI แห่งชาติ เขาหวังว่าจะสร้างความเข้าใจร่วมกันในอีโคซิสเต็ม เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากการวิจัยระดับโลกและนวัตกรรมที่เอื้อประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ

ดร. ชาลี อัศวธีระธรรม รองผู้จัดการใหญ่อาวุโสและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานดิจิทัลแบงก์กิ้ง ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “ด้วยพลังของข้อมูลและการวิเคราะห์ เรามุ่งหวังให้การธนาคารเข้าถึงกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในชุมชนห่างไกลที่ขาดแคลนธนาคาร ร่วมพลิกโฉมธนาคารให้เข้าถึงง่าย มีความเป็นสากล และเข้าใจความต้องการลูกค้า ธนาคารควรพร้อมให้บริการทุกเมื่อที่ต้องการ”

เควิน คู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศ กลุ่มบริษัทซันเวย์ ประเทศมาเลเซีย เผยแนวปฏิบัติสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลว่า “สิ่งสำคัญคือการหาพันธมิตรที่พร้อมเดินทาง เติบโตและเผชิญกับความท้าทายทุกด้านร่วมกัน ผมยินดี

อย่างยิ่งที่มีหัวเว่ยเป็นพันธมิตร เราเริ่มต้นโครงการนวัตกรรมดิจิทัลของหัวเว่ย ซึ่งจะเป็นกระบวนการที่ยาวนาน มีงานด้านนวัตกรรมและกลยุทธ์หลากหลายที่ริเริ่มด้วยกัน หัวเว่ยแสดงความมุ่งมั่นโดยการแบ่งปันความเชี่ยวชาญและทรัพยากรเพื่อช่วยเหลือและชี้แนะเราอย่างเต็มที่”

ศาสตราจารย์เจฟฟรีย์ โทว์สัน จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “3 ข้อควรรู้จากธุรกิจดิจิทัลในประเทศจีนและเอเชีย” และเผยว่า “คุณคงไม่อยากร่วมการแข่งขันที่เปล่าประโยชน์ในทวีปเอเชียยุคดิจิทัล บริษัทต้องมีความสามารถที่จะแข่งขันได้เพื่อดำรงผลกำไรและความอยู่รอด”

หวู เป่ยเป่ย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ประจำเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย นำเสนอภาพรวมด้านศักยภาพเชิงอุตสาหกรรมของหัวเว่ย โดยเผยกลวิธีที่หัวเว่ยวางโครงสร้างพื้นฐานสำหรับอนาคตที่ผสานเข้ากับการเติบโตของธุรกิจอย่างราบรื่น และสร้างสมดุลระหว่างปัจจัยทางเศรษฐกิจระยะสั้นและความยั่งยืนในระยะยาว


วันที่สองของการประชุมจบลงด้วยการอภิปรายที่กระตุ้นความคิดในหัวข้อ ‘มุ่งไปข้างหน้ากับนวัตกรรมดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรมในโลก VUCA’ ดำเนินรายการโดย ฮง เอง โก นักวิทยาศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมการบริการสาธารณะระดับโลกของหัวเว่ย ร่วมด้วยวิทยากรที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ดร. ชาลี อัศวธีระธรรม (ธนาคารไทยพาณิชย์), ศาสตราจารย์ จักดัตต์ ซิงห์ (รัฐบาลมาเลเซีย แห่งรัฐซาราวัก), โดนัลด์ ลัม (บริการจัดการภาคพื้นดินและบริการจัดเลี้ยงแห่งสนามบินชางงีของสิงคโปร์ หรือ SATS) และจัสติน เฉิน (ธนาคารอินโดนีเซียนีโอคอมเมิร์ซ) ร่วมแบ่งปันบทเรียนจากการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ตลอดจนปัจจัยความสำเร็จสำคัญในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

แม้การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในอุตสาหกรรมต่างๆ จะมีวิธีการและผลลัพธ์แตกต่างกันไป แต่ทุกอุตสาหกรรมล้วนมีความท้าทายและปัจจัยความสำเร็จหลักที่คล้ายคลึงกัน ประกอบด้วยภาวะความเป็นผู้นำ นโยบายการกำกับดูแล บุคลากรผู้มีความสามารถ กระบวนการ การทำงานร่วมกัน ระเบียบข้อบังคับ และการบริหารความเปลี่ยนแปลง ผู้ร่วมอภิปรายเห็นตรงกันว่าการออกแบบสินค้าและบริการควรคำถึงผู้คนและต้องปรับเปลี่ยนเฉพาะบุคคลได้ ข้อมูลจึงเป็นตัวแปรสำคัญของความสำเร็จ ผู้ดำเนินรายการเสริมว่าหัวเว่ยช่วยลดความซับซ้อนของเทคโนโลยีผ่านสถาปัตยกรรม Intelligent Twins ส่งมอบการโต้ตอบ การเชื่อมต่อ ฮับและคลาวด์และแอปพลิเคชันแบบอัจฉริยะ

ในงาน Huawei APAC Digital Innovation Congress หัวเว่ยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกว่า 17 ฉบับกับลูกค้าอุตสาหกรรมจากสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซียและบังกลาเทศ ทั้งด้านแคมปัสอัจฉริยะ ศูนย์ข้อมูล ดิจิทัล

พาวเวอร์ และหัวเว่ย คลาวด์ บันทึกความเข้าใจดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นความร่วมมือที่ทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และกำหนดเกณฑ์การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยและอุตสาหกรรมถือเป็นก้าวสำคัญของเส้นทางแห่งนวัตกรรม 

การขับเคลื่อนนโยบาย ‘ในเอเชียแปซิฟิก เพื่อเอเชียแปซิฟิก’ หรือ ‘In Asia-Pacific, for Asia-Pacific’ หัวเว่ยมุ่งมั่นเป็นผู้สนับสนุนหลักด้านเศรษฐกิจดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิกด้วยการลงทุนอย่างต่อเนื่องด้านนวัตกรรม ร่วมสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรมให้รุดหน้า และร่วมกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมคว้าโอกาสทางเศรษฐกิจดิจิทัลต่อไป

หัวเว่ย เปิดตัวโซลูชันศูนย์ข้อมูลแบบฟูลสแตกครั้งแรกในเอเชียแปซิฟิก


หัวเว่ยจัดประชุม ‘ศูนย์ข้อมูลที่รวดเร็ว เชื่อถือได้ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม’ (Fast, Reliable, and Green Data Center” Forum) ภายในงาน ‘Huawei APAC Digital Innovation Conference 2022’ โดยอภิปรายถึงกลยุทธ์ขององค์กรในการสร้างศูนย์ข้อมูลเจเนอเรชันใหม่ในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อรับมือกับความท้าทายหลากหลายรูปแบบ อาทิ ปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน โดยมีลูกค้าและพันธมิตรกว่า 500 รายจากหลายภาคอุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เข้าร่วม 

แอรอน หวัง รองประธานอาวุโสกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ประจำเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย กล่าวสุนทรพจน์เปิดงานว่า ข้อมูลถือเป็นทรัพยากรสำคัญที่ทำให้องค์กรต่างๆ ได้เปรียบการแข่งขันในเศรษฐกิจดิจิทัล ศูนย์ข้อมูลจึงมีบทบาทสำคัญในการผลักดันการใช้ระบบดิจิทัลในองค์กร ภายในปี พ.ศ. 2573 ปริมาณข้อมูลจะเพิ่มขึ้น 30 เท่าและเข้าสู่ยุค ย็อตตะไบต์ (YB era) องค์กรจะเผชิญกับความท้าทายในการกำกับดูแลข้อมูลและการเชื่อมต่อโครงข่าย และผลักดันนโยบายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในเวลาเดียวกัน 

แอรอน หวัง รองประธานอาวุโสกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ประจำเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย ระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์เปิดประชุม ศาสตราจารย์ ลี โพ เซง กรรมการบริหาร สถาบันพลังงานศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ นำเสนอข้อมูล 
เชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มความเป็นไปได้และความท้าทายในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยตั้งข้อสังเกตว่า การพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่ยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญ และควรมีระบบรายงานความยั่งยืนที่มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ตลอดจนสร้างมาตรฐานที่เชื่อถือได้ในอุตสาหกรรม เขาอธิบายว่าโดยเฉลี่ย ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของศูนย์ข้อมูล (Power usage effectiveness หรือ PUE) ในเอเชียแปซิฟิก มีอัตราที่ ค่อนข้างสูงอยู่ที่ 1.69 เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 1.59 และสามารถตั้งเป้าหมายได้สูงกว่านี้ โดยกลยุทธ์มุ่งสู่เป้าหมายที่เป็นไปได้คือการใช้เทคโนโลยีระบายความร้อนด้วยของเหลว เขาสรุปปัจจัยหลักสี่ประการในการพัฒนาศูนย์ข้อมูลยุคใหม่ ได้แก่ ความเร็วในการบริการ, การพัฒนาที่ยั่งยืน, ความปลอดภัยของข้อมูล, และการใช้นวัตกรรม 




ศาสตราจารย์ ลี โพ เซง กรรมการบริหาร สถาบันพลังงานศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ในส่วนของนวัตกรรมไอที บิล ราฟเทอรี ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านการจัดเก็บข้อมูล ฟิวเจอร์เว่ย ได้จัดแสดงนวัตกรรมโซลูชัน ‘OceanStor’ ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบออลแฟลชความเร็วสูง (all-flash acceleration solution) ที่ใช้เทคโนโลยี Flash-to-Flash-to-Anything (F2F2X) ช่วยลูกค้าจัดการข้อมูลธุรกรรมในกระบวนการผลิตได้รวดเร็วยิ่งขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลสำรองด้วยความเร็วสูง และกู้คืนข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ และกล่าวถึงจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของหัวเว่ย อาทิ โซลูชัน NOF+ สำหรับการจัดเก็บข้อมูล พัฒนาเครือข่าย IPแทนที่เครือข่าย FC (Fibre Channel) แบบเดิม โซลูชัน Storage-Optical Connection Coordination หรือ SOCC สำหรับการจัดเก็บข้อมูล และเครือข่ายออปติคัลความเร็วสูงที่มีระบบ failover ระหว่างศูนย์ข้อมูลภายในไม่กี่วินาที ซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้เป็นผลจากลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านไอซีทีของหัวเว่ย 

ในส่วนของนวัตกรรมเครือข่าย การวิจัยร่วมกับ Forrester Consulting เผยว่าการทดลองใช้เครือข่ายศูนย์ข้อมูลอัตโนมัติ (Data Center Network หรือ DCN) ในองค์กร ไม่ว่าจะดำเนินการเต็มที่หรือบางส่วน ยังพบความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับกระบวนการนี้ การพัฒนายังไม่สมบูรณ์เกิดจากระบบคลาวด์และผู้ให้บริการที่แตกต่างกัน ผู้บริหารระบบต้องนำเทคโนโลยี เครื่องมือ กระบวนการใหม่ๆ ตลอดจนแอปพลิเคชันและโซลูชันการดำเนินงานและการบำรุงรักษา (O&M) แบบครบวงจรมาใช้ เพื่อให้ระบบทำงานแบบอัตโนมัติได้มากขึ้น 


ฟิลิป ไล หัวหน้าหน่วยสถาปัตยกรรมศูนย์ข้อมูลของหัวเว่ย นำเสนอโซลูชันหลากหลาย อาทิ L3.5 autonomous driving network (ADN) และโซลูชันอ็อปติกซ์สำหรับศูนย์ข้อมูล (DC OptiX) ประกอบด้วยอุปกรณ์ส่งผ่านข้อมูลด้วยการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความยาวคลื่น (WDM) ที่ออกแบบมาสำหรับ Data Center Interconnect ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงอย่าง AI เพื่อสร้างการเชื่อมต่ออัจฉริยะ ปรับเครือข่ายอัตโนมัติรวมทั้งซ่อมแซมและเพิ่มประสิทธิภาพระบบ กระบวนการเหล่านี้นำไปสู่สถาปัตยกรรมเครือข่ายที่เรียบง่าย มีประสิทธิภาพสูง ช่วยลดต้นทุนและสร้างการดำเนินงานและการบำรุงรักษา (O&M) อัจฉริยะ 

ในด้านศูนย์ข้อมูลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซัน เสี่ยวเฟิง รองประธานหัวเว่ยดิจิทัล พาวเวอร์ ได้แนะนำโซลูชันสำหรับโครงสร้างพื้นฐานศูนย์ข้อมูลหัวเว่ยที่ใช้งานง่าย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ชาญฉลาด และปลอดภัย โซลูชันใหม่นี้ผสานนวัตกรรมหลายอย่าง รวมถึงสถาปัตยกรรมแบบใหม่ ระบบควบคุมอุณหภูมิ ระบบดำเนินงานและการบำรุงรักษา (O&M) และอุปกรณ์จ่ายไฟ โซลูชัน FusionDC ของหัวเว่ยใช้โมดูลแบบกำหนดค่าล่วงหน้าเพื่อเปิดดำเนินการศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ในเวลาเพียง 6 ถึง 9 เดือน และลดการปล่อยคาร์บอนได้ 90% สำหรับศูนย์ข้อมูลขนาดเล็กและขนาดกลาง Huawei FusionModule ใช้โมเดลอัจฉริยะแบบโมดูลาร์เพื่อระบบดำเนินงานและการบำรุงรักษา (O&M) ครบวงจรแบบ Plug-and-Play ที่ควบคุมได้จากระยะไกล 

ในอนาคต หัวเว่ยมุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยมุ่งเน้นการบรรจบกันของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ตลอดจนความร่วมมือด้านผลิตภัณฑ์และโดเมน เราตอกย้ำความเป็นผู้นำอุตสาหกรรมด้านโซลูชันศูนย์ข้อมูลฟูลสแตก ที่รวดเร็ว เชื่อถือได้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เราพร้อมร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและส่งเสริมโอกาสความก้าวหน้าในยุคดิจิทัลต่อไป 

‘หัวเว่ย คลาวด์’ ครองตำแหน่งผู้ให้บริการคลาวด์ที่เติบโตเร็วที่สุดในเอเชียแปซิฟิก

นอกจากนี้ การประชุม Asia-Pacific Digital Innovation Congress 2022 ประเทศสิงคโปร์ เมื่อเร็วๆ นี้ หัวเว่ย จับมือ มูลนิธิอาเซียน ทำงานร่วมกับลูกค้า ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และนักวิเคราะห์เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์และทิศทางในอนาคตสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัลและนวัตกรรมอุตสาหกรรม โดยมี แจ็กเกอลีน ซือ ประธานฝ่ายการตลาดและการขายระหว่างประเทศของหัวเว่ย คลาวด์ กล่าวปาฐกถาพิเศษระหว่างฟอรัมการประชุมหัวข้อ ‘บริการคลาวด์’

ไอดีซี (IDC – International Data Corporation) คาดการณ์มูลค่าตลาดคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ทั่วโลกไว้ถึง 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าตลาดในประเทศจีนจะสูงกว่า 1 ล้านล้านหยวน ตลาดคลาวด์คอมพิวติ้งกำลังมุ่งสู่ระยะที่สองของนวัตกรรมและการพัฒนาระบบ โดยมีบทบาทมากขึ้นในการกำหนดอนาคตของอุตสาหกรรม   ไอที และอาจครองตำแหน่งผู้นำในอนาคต ระบบคลาวด์เป็นรากฐานสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบขององค์กร นวัตกรรมธุรกิจและผลลัพธ์ทางธุรกิจขององค์กรก็ขึ้นอยู่กับการพัฒนาที่รวดเร็วและการนำเทคโนโลยีและการบริการอันทันสมัยมาใช้ทุกที่ทุกเวลา

องค์กรต่าง ๆ เริ่มใช้ระบบดิจิทัลและหันมาใช้ระบบคลาวด์อย่างรวดเร็วหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งเป็น                 แรงขับเคลื่อนสำคัญให้องค์กรเข้าสู่ระบบคลาวดิฟิเคชั่นภายใน 1-3 ปี ช่วยผลักดันการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในระดับที่สูงขึ้น การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังผลักดันความต้องการที่สูงขึ้นด้านออฟฟิศออนไลน์ ทรัพยากรไอทีที่ยืดหยุ่น การจัดการไซโลข้อมูล การลดต้นทุนและการปรับปรุงประสิทธิภาพองค์กร ระบบคลาวดิฟิเคชั่นและการทำงานร่วมกันผ่านช่องทางออนไลน์จึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อองค์กรหันมาใช้ระบบคลาวด์เพิ่มขึ้น ก็ส่งผลให้บุคลากรพัฒนามุมมองเกี่ยวกับคลาวด์และสร้างความคุ้นเคยในการใช้ระบบคลาวด์

เพื่อตอบสนองเทรนด์ดังกล่าว หัวเว่ย คลาวด์เปิดตัวกลยุทธ์ ‘มุ่งสู่ยุคดิจิทัลด้วยนวัตกรรมบริการรอบด้าน’ หรือ ‘Dive into digital with Everything as a Service’ ในปีพ.ศ. 2564 ซึ่ง ‘Everything’ รวมถึงวิสัยทัศน์และความเข้าใจในอุตสาหกรรมของหัวเว่ย เมื่อพูดถึงบริการคลาวด์ในอดีต คนส่วนใหญ่จะรู้จัก IaaS, PaaS และ SaaS ผ่านมุมมองของ ผู้ให้บริการเทคโนโลยี แต่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ได้ต้องการแค่เทคโนโลยีและทรัพยากรเท่านั้น แต่ยังต้องการประสบการณ์การใช้งาน บริการ แนวคิดและทุกอย่างที่สามารถแบ่งปันได้

ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้รับความไว้วางใจอย่างมากจากลูกค้าและคู่ค้าในกลุ่มตลาดผู้ให้บริการและลูกค้าองค์กร ด้วยหลักการ ‘การบริการดี ด้วยคุณภาพดี และตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็ว พร้อมนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า และความร่วมมือกับพันธมิตรในอีโคซิสเต็มด้วยสถานการณ์ win-win’ หัวเว่ย คลาวด์ยึดถือค่านิยมและกลยุทธ์ทางธุรกิจแบบเดียวกัน ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการให้บริการคลาวด์ที่น่าเชื่อถือด้วยเทคโนโลยีทันสมัยในพันธกิจ ‘ในเอเชียแปซิฟิก เพื่อเอเชียแปซิฟิก’ หรือ ‘in Asia-Pacific, for Asia-Pacific’


ระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ เจิง ซิงหยุน ประธานหัวเว่ย คลาวด์ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เผยการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจหัวเว่ย คลาวด์ ในปีพ.ศ. 2564 และความได้เปรียบในด้านบริการที่สอดคล้องกับตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

เจิงชี้ให้เห็นว่า “เราใช้ 6 กลยุทธ์สำคัญของหัวเว่ย คลาวด์ในเอเชียแปซิฟิก ในแง่กลยุทธ์ด้านอุตสาหกรรม เรามุ่งเน้นที่ ‘บริการโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure as a Service), บริการเทคโนโลยี (Technology as a Service) เพื่อสร้างรูปแบบธุรกิจที่ win-win กับคู่ค้าในอีโคซิสเต็ม (win-win with ecosystem partners)’ เพื่อปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันของหัวเว่ย คลาวด์อย่างต่อเนื่อง ในแง่กลยุทธ์การตลาด เราเน้นการ ‘มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล, เพิ่มความเร็วคลาวด์เนทีฟ (could native) และสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจ รวมถึงการสร้างบริการสำหรับลูกค้ากลุ่มธุรกิจที่เหนือระดับ’ เพื่อสร้างคุณค่าให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง”

เมิ่ง หว่านโจว ประธานกรรมการบริหารแบบหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย กล่าวในการแถลงรายงานประจำปีพ.ศ. 2564 ของหัวเว่ยว่า “รายได้จากหัวเว่ย คลาวด์ในปีพ.ศ. 2564 เพิ่มขึ้นกว่า 30% เมื่อเทียบกับปีพ.ศ. 2563 นอกจากนี้หัวเว่ย คลาวด์ยังครองอันดับสองของผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure as a Service - IaaS) ในประเทศจีนและครองอันดับห้าของโลก ในปีพ.ศ. 2564 เราได้ประกาศกลยุทธ์ ‘นวัตกรรมบริการรอบด้าน’ สำหรับหัวเว่ย คลาวด์ และมุ่งดำเนินการตาม  กลยุทธ์ดังกล่าวในปี พ.ศ. 2565 ด้วยการเปิดศูนย์ข้อมูลและบริการเร่งความเร็วเครือข่ายทั่วโลก เพื่อมอบประสบการณ์ที่เหนือชั้นให้ลูกค้าของเรา” นายกัว ผิง อดีตประธานกรรมการบริหารแบบหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย กล่าวเสริมว่า “ปัจจุบันหัวเว่ย คลาวด์ เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะที่เติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก”

หัวเว่ย คลาวด์ดำเนินธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 หลังจากพัฒนามาเป็นเวลาสี่ปี หัวเว่ย คลาวด์ก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ในประเทศจีน อันดับ 3 ในประเทศไทยและอันดับ 4 ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และยังเป็นบริษัทที่เติบโตเร็วที่สุดในกลุ่มผู้นำด้านบริการคลาวด์ 5 แห่งในภูมิภาค หัวเว่ย คลาวด์ (HUAWEI CLOUD Region) เปิดตัวในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน) สิงคโปร์ ประเทศไทยและมาเลเซีย และในปีนี้มีแผนเปิดตัวในประเทศอินโดนีเซียพร้อมจุดเชื่อมต่อที่สามารถต่อยอดการใช้งานในฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้อีกด้วย

ตามการคาดการณ์ ลูกค้าหลักของหัวเว่ย คลาวด์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเพิ่มขึ้น 156% และจำนวนพันธมิตรในอีโคซิสเต็มจะเพิ่มขึ้นถึง 90% ในปีพ.ศ. 2564 และที่น่าตื่นเต้นกว่านั้นคือรายได้ของพันธมิตรจะเพิ่มขึ้นถึง 150% ซึ่งสูงกว่ารายได้ของหัวเว่ย คลาวด์

ในปีพ.ศ. 2565 หัวเว่ยวางแผนเปิดตัวบริการใหม่ อาทิ บริการเร่งความเร็วเครือข่ายทั่วโลก (GA), บริการเสียงและวิดีโอแบบเรียลไทม์ (SparkRTC), สายการผลิตด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ (DevCloud) และฐานข้อมูลแบบ GaussDB (สำหรับ openGauss) ในตลาดเอเชียแปซิฟิกเพื่อปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันของโซลูชันคลาวด์ในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันหัวเว่ย คลาวด์เปิดใช้ Availability Zone (AZ) กว่า 11 โซน ให้พร้อมใช้งานในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน) ประเทศไทยและสิงคโปร์ เพื่อให้บริการคลาวด์ที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้สำหรับผู้ใช้ในเอเชียแปซิฟิก พร้อมจัดตั้งทีมบริการในพื้นที่มากกว่า 10 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

หัวเว่ย คลาวด์ เป็นผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะบนเมนสตรีมที่เติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเป็นพันธมิตรในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลสำหรับองค์กรหลายพันแห่ง นับตั้งแต่การเปิดตัวโปรแกรม Spark (Spark Program) หัวเว่ย คลาวด์กลายเป็นผู้นำอีโคซิสเต็มสตาร์ตอัพระดับภูมิภาคอย่างรวดเร็ว หัวเว่ย คลาวด์วางแผนลงทุน 100 ล้านเหรียญสหรัฐในโครงการนี้ตลอด 3 ปีข้างหน้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อส่งเสริมระบบนิเวศ สตาร์ทอัพระดับภูมิภาคต่อไป

เกี่ยวกับหัวเว่ย 

หัวเว่ย ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และสมาร์ทดีไวซ์ ด้วยโซลูชั่นที่ผสมผสานในสี่กลุ่มหลัก คือ เครือข่ายโทรคมนาคม, ไอที, สมาร์ทดีไวซ์ และบริการคลาวด์ บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่การใช้งานทุกระดับเพื่อทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อขับเคลื่อน โลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ โซลูชั่นและบริการที่ครบวงจรของหัวเว่ยเปี่ยมด้วยศักยภาพด้านการแข่งขันและเชื่อถือได้ จากการทำงานร่วมกับพันธมิตรในระบบนิเวศแบบเปิด หัวเว่ยสามารถสร้างมูลค่าระยะยาวให้กับลูกค้า เสริมสมรรถนะของผู้คน ช่วยให้การใช้ชีวิตที่บ้านมีความสะดวกสบาย และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดนวัตกรรมในองค์กร ทุกรูปแบบและทุกขนาด

นวัตกรรมของหัวเว่ยเน้นตอบสนองตามความต้องการของลูกค้า เราทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลในด้านการวิจัย เน้นค้นหานวัตกรรมด้านเทคนิคใหม่ๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนโลกของเราให้ก้าวไปข้างหน้า เรามีพนักงานกว่า 194,000 คน ดำเนินธุรกิจในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก  หัวเว่ยก่อตั้งขึ้นในปี 2530 และเป็นบริษัทเอกชนที่มีพนักงานเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด  

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของหัวเว่ย ได้ที่ www.huawei.com

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมของโครงการได้ที่ https://superai.aiat.or.th/