1 มิ.ย. 2565 633 0

กว่า 2 ใน 3 ของผู้บริโภคทั่วโลกต้องการให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินของตนก้าวสู่ความยั่งยืนมากยิ่งขึ้นในอนาคต

กว่า 2 ใน 3 ของผู้บริโภคทั่วโลกต้องการให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินของตนก้าวสู่ความยั่งยืนมากยิ่งขึ้นในอนาคต

ขณะที่ไทยให้ความสำคัญกับ “การเงินสีเขียว” ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยบัญชีเงินฝากสีเขียว ตราสารหนี้สีเขียว และเงินสกุลดิจิทัลที่มีความยั่งยืนคว้าอันดับความนิยมสูงสุดในหมู่ผู้บริโภคไปครอง

จากรายงานล่าสุดของ Mambu ผู้ให้บริการธุรกรรมทางการเงินบนแพลตฟอร์มคลาวด์ (Cloud Banking Platform) ระบุว่า กว่าสองในสาม (ร้อยละ 67) ของผู้บริโภคต้องการเห็นธนาคารหรือสถาบันทางการเงินที่ตนใช้บริการก้าวสู่ความเป็น “ธนาคารเพื่อความยั่งยืน” มากขึ้นในอนาคต จากกระแสเรื่องความยั่งยืนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ประชากรไทยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 65) เห็นว่าผลิตภัณฑ์การเงินสีเขียวมีบทบาทมากขึ้นในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา

จากรายงาน Is the grass greener on the sustainable side? ที่ทำการสำรวจผู้บริโภคกว่า 6,000 รายทั่วโลกรวมถึงผู้บริโภคชาวไทยกับความเห็นที่มีต่อ “การเงินสีเขียว” หรือ Green Finance ระบุว่า ในขณะที่คนส่วนใหญ่ชอบทางเลือกทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า แต่ผู้บริโภคกลับไม่ค่อยไว้วางใจในข้อมูลรับรองความยั่งยืนของอุตสาหกรรมทางการเงินมากนัก

ประเทศไทยยังคงมีความกังวลเรื่องการฟอกเขียว (Greenwashing) ค่อนข้างมาก โดยสองในสามของผู้บริโภคในประเทศ (ร้อยละ 75)  เช่นเดียวกับผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกและภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกเชื่อว่าสถาบันทางการเงินที่ใช้บริการอยู่ในปัจจุบันมีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟอกเขียวที่เกิดขึ้นใน

อุตสาหกรรม 

จากการสำรวจผู้บริโภคในประเทศต่างๆ ทั่วโลก แม้ว่าผู้บริโภคในประเทศไทยจะมีความตระหนักรู้ในเรื่องจริยธรรมทางการเงิน (Ethical Finance) หรือการเงินสีเขียวมากที่สุดถึงร้อยละ 64 แต่จากผลสำรวจพบว่ายังมีความสับสนกับคำนิยามเหล่านี้ โดยร้อยละ 42 ของผู้บริโภคชาวไทยยังขาดความเข้าใจด้านความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์ “การเงินสีเขียว” (ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมหรือรองรับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อันเกิดจากการเงินและการลงทุนในอุตสาหกรรม) และ “จริยธรรมทางการเงิน” (การเงินยั่งยืนที่รวมถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล) สิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าอุตสาหกรรมยังต้องสร้างความรู้ความเข้าใจและการสื่อสารกับผู้บริโภคอีกมาก

ผู้บริโภคในประเทศไทยเช่นเดียวกับเวียดนามรู้จักและเคยใช้บริการของสถาบันการเงินที่ดำเนินกิจการเพื่อความยั่งยืน หรือเคยใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินเพื่อความยั่งยืน (ร้อยละ 43) โดยหากเปรียบเทียบกับผู้บริโภคในประเทศต่างๆ ทั่วโลกแล้ว มีเพียงร้อยละ 26 ที่รู้จักหรือเคยใช้บริการผลิตภัณฑ์ลักษณะดังกล่าวกับสถาบันการเงินที่ดำเนินกิจการเพื่อความยั่งยืน และสำหรับผู้บริโภคในประเทศไทยที่เคยใช้บริการผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (ร้อยละ 88) เลือกที่จะใช้บริการเหล่านี้แทนผลิตภัณฑ์ทางการเงินแบบดั้งเดิม

ผลการสำรวจทั่วโลกระบุว่าผู้บริโภคต้องการให้ธนาคารดำเนินงานด้วยความโปร่งใสและเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมตัดสินใจในการดำเนินกิจการของธนาคารมากขึ้น โดยเกือบ 3 ใน 5 (ร้อยละ 58) ต้องการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าจะนำเงินไปลงทุนอย่างไรและในส่วนใดบ้าง เพื่อให้สอดคล้องกับคุณค่าส่วนบุคคล (Personal Values) ของผู้บริโภค ขณะที่กว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 55) ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันการเงินที่ใช้บริการอยู่ ในการกำหนดว่าผลิตภัณฑ์และบริการการเงินสีเขียวที่จะออกสู่ตลาดในอนาคตคืออะไรบ้าง

Anna Krotova ผู้อำนวยการด้านความยั่งยืนของ Mambu กล่าวว่า “รายงานของเราชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคมีแนวโน้มในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่ยังขาดความมั่นใจในสามารถในการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง “การธนาคารเพื่อความยั่งยืน” ของสถาบันทางการเงินในประเทศ ทั้งนี้ตัวผู้บริโภคเองต้องการมีบทบาทมากขึ้นในการผลักดันให้โลกก้าวสู่ “การเงินสีเขียว” ได้อย่างยั่งยืนในอนาคต ดังนั้นผู้ให้บริการที่มองการณ์ไกลและปรับตัวได้ก่อนจะมีโอกาสสูงในการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันก่อนคู่แข่งรายอื่นๆ ในตลาด โดย Mambu สนับสนุนสถาบันทางการเงินให้ขับเคลื่อนสู่การเงินสีเขียวและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อความยั่งยืนได้อย่างรวดเร็วและคุ้มค่าการลงทุน สามารถตอบความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

ด้าน Pham Quang Minh ผู้จัดการทั่วไปของ Mambu ประเทศไทย กล่าวกว่า “ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) ที่เกิดขึ้นทั่วโลก นอกจากนั้นสถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้นทำให้ทั่วโลกให้น้ำหนักมากขึ้นกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาเติบโตได้อย่างยั่งยืน จะเห็นได้ว่าตลาดการเงินสีเขียวทั่วภูมิภาคมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับตลาดในประเทศไทย สถาบันการเงินหลายแห่งประสบความสำเร็จในการออกตราสารหนี้สีเขียวโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานการเงินสีเขียวที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมการเงินควรให้ความสำคัญกับการเงินสีเขียวในมิติอื่นๆ เช่นกัน ด้วยบริการของ Mambu สถาบันการเงินจะสามารถพัฒนาและดำเนินธุรกิจการเงินสีเขียวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านโซลูชันที่ยืดหยุ่นและออกแบบตามความต้องการที่แตกต่างกันของแต่ละสถาบันการเงิน”

ร้อยละ 45 ของผู้บริโภคชาวไทยมีแนวโน้มในการตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นหากมีค่าจูงใจและโปรแกรมสำหรับลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของสถาบันทางการเงินนั้นๆ และในช่วงที่สถาบันทางการเงินมีการพัฒนาและออกผลิตภัณฑ์และบริการการเงินสีเขียวสู่ตลาด ผู้บริโภคชาวไทยจำนวนเกือบเท่ากัน (ร้อยละ 46) ต้องการให้สถาบันทางการเงินเปิดเผยเจตนารมณ์และคำมั่นสัญญาในเรื่องความยั่งยืนที่ชัดเจนยิ่งขึ้น 

ผลิตภัณฑ์การเงินสีเขียวที่กำลังเป็นที่ต้องการมากที่สุดคือบัญชีเงินฝากสีเขียวและตราสารหนี้สีเขียว (ร้อยละ 52)  รองลงมาคือเงินสกุลดิจิทัลที่มีความยั่งยืน (ร้อยละ 42) และบัตรเครดิตและเดบิตที่มีความยั่งยืน (ร้อยละ 40) สิ่งน่าสนใจคือ จากบรรดาประเทศที่ทำการสำรวจทั้งหมดพบว่า ประเทศไทยและเวียดนามเป็นเพียงสองประเทศที่เงินสกุลดิจิทัลที่มีความยั่งยืนเป็นหนึ่งในสามของผลิตภัณฑ์และบริการผู้ที่บริโภคให้ความสำคัญมากที่สุด

ผลสำรวจจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกแสดงให้เห็นถึงโอกาสในการเติบโตในอุตสาหกรรมการเงินสีเขียวของธนาคารต่างๆ เนื่องจากกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 49) ของผู้บริโภคระบุว่าจะเปลี่ยนไปใช้บริการกับสถาบันทางการเงินที่แสดงเจตนารมณ์และคำมั่นสัญญาในเรื่องความยั่งยืนอย่างชัดเจน แต่มีผู้บริโภคเพียง 1 ใน 3 (ร้อยละ 32) ที่รับได้กับผลิตภัณฑ์และบริการที่จะมีราคาสูงด้วยเช่นกัน

ท่านสามารถอ่านรายงาน Is the grass greener on the sustainable side? ฉบับเต็มได้ที่ https://mambu.com/insights/reports/disruption-diaries-green-banking

เกี่ยวกับ Mambu

Mambu เป็นระบบธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบ SaaS ที่เข้ามาพลิกโฉมผลิตภัณฑ์เงินฝากและเงินกู้แบบเดิมๆ Mambu เปิดตัวในปี 2554 และปัจจุบันได้มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างวิวัฒนาการและการเติบโตในยุคดิจิทัลให้กับสถาบันการเงินต่างๆ ตั้งแต่องค์กรฟินเทคไปจนถึงผู้ให้บริการโทรคมนาคมและธุรกิจอื่นๆ โมเดล Composable Banking ของ Mambu มีความแตกต่าง โดยส่วนประกอบ ระบบ และตัวเชื่อมต่อต่างๆ สามารถนำมาประกอบและปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่น พร้อมช่วยให้ลูกค้าประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ และตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ Mambu มีพนักงานกว่า 800 คน ให้บริการและดูแลลูกค้า 200 รายใน 65 ประเทศ รวมถึง N26, BancoEstado, OakNorth, Raiffeisen Bank, ABN AMRO, Bank Islam และ Orange Bank www.mambu.com