16 มิ.ย. 2565 2,567 219

ไทยโชว์ศักยภาพ Thailand 5G Summit 2022 ค่ายมือถือขนชุดใหญ่ FWA และ Private Network ย่าน 26 GHz ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 5G และ EEC

ไทยโชว์ศักยภาพ Thailand 5G Summit 2022 ค่ายมือถือขนชุดใหญ่  FWA และ  Private Network ย่าน 26 GHz  ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 5G และ EEC

ประเทศไทยได้จัดงาน 5G รวมถึงเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชน โดยการโชว์ศักยภาพ 5G สูงสุดที่มีความเร็วระดับโลก ผ่านนโยบายภาครัฐโดยประเทศไทยมีอัตราในการเข้าถึงการใช้อินเตอร์เน็ต 5G ถึง 83% และมีการใช้งานเป็นระดับ 9 ของอันดับโทรศัพท์มือถือทั่วโลก

สัมมนาและนิทรรศการในชื่อ Thailand 5G Summit 2022 ภายใต้แนวคิด The 5G Leader in the Region ที่จัดโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทั หรือ ดีป้า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) รวมถึงเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชน บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด และ Global System for Mobile Communications Association (GSMA) APAC 5G Industry Community

สำหรับงาน Thailand 5G Summit 2022: “The 5G Leader in the Region” มีวัตถุประสงค์ที่จะผลักดัน 5G สู่ โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลสำคัญของประเทศ โดยการส่งเสริมการนำเทคโนโลยี 5มาประยุกต์ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมสู่เป้าหมายการเป็นศูนย์กลางการลงทุนเพื่อการประยุกต์ใช้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Digital Hub) มุ่งเน้นการแสดงศักยภาพและความพร้อมในแต่ละภาคส่วนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งการขับเคลื่อนเชิงพาณิชย์ (Use Case) รวมถึงการสร้างสังคมคุณภาพด้วยเทคโนโลยี 5พร้อมส่งเสริมองค์ความรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ และแนวทางปฏิบัติที่ดีในการนำเทคโนโลยี 5มาประยุกต์ใช้เชิงพาณิชย์แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทำให้ทุกภาคส่วนพร้อมใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการพัฒนาระบบนิเวศธุรกิจของกลุ่มเทคโนโลยี 5G ของไทย และผลักดันให้เกิดเครือข่ายพันธมิตรเทคโนโลยี 5G (Thailand 5G Alliance) เพื่อนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศในอนาคต

โดย นายกฯ กล่าวบนเวทีปาฐกถาพิเศษหัวข้อ The 5G Leader in the Region ว่า รัฐบาลได้มอบหมายให้ กระทรวงดิจิทัลฯ วางกรอบนโยบายการจัดทำแผนปฏิบัติการว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5ของประเทศ เพื่อบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่รองรับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ บนโครงสร้างพื้นฐาน 5G ที่รัฐบาลจัดเตรียมไว้ให้ประชาชน และต่อยอดการใช้งาน รวมถึงการส่งเสริมการสร้างระบบนิเวศของอุตสาหกรรมดิจิทัลโดยใช้โครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น อีกทั้งมุ่งเน้นการบูรณาการการทำงานเช่นการจัดงานในครั้งนี้ที่เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนระดับโลกอย่าง หัวเว่ย เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยี 5G ของไทยไปสู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์อย่างทั่วถึงและครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับประเทศ พร้อมก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 อย่างเต็มรูปแบบ

Thailand 5G Summit 2022 จะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งเป็นการแสดงศักยภาพและความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่รองรับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ของไทย ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพของดิจิทัลสตาร์ทอัพและกำลังคนดิจิทัลของประเทศ รวมถึงการต่อยอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล พร้อมก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการลงทุน และประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยี 5G และโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่รองรับการใช้ประโยชน์จาก 5G ในภูมิภาคอย่างแท้จริง ทั้งนี้ทางรัฐบาลต้องขอบคุณสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงหัวเว่ย เป็นอย่างยิ่ง ที่ผลักดันให้เกิดพันธมิตรด้าน 5G ขึ้น ผมเชื่อว่าด้วยความร่วมมือของพันธมิตรจะสามารถนำประเทศไทยสู่ผู้นำด้าน 5G ได้อย่างแน่นอน

ขณะที่ ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าวว่า เทคโนโลยี 5G ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่สำคัญ ด้วยความสามารถในการเป็นโครงข่ายไร้สายที่รวดเร็ว รองรับการสื่อสารระหว่างคนสู่คน และอุปกรณ์สู่อุปกรณ์ (Machine to Machine) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้บริการด้านดิจิทัลแก่ภาคประชาชน โดยงาน Thailand 5G Summit 2022 เกิดขึ้นจากความร่วมมือของเครือข่ายพันธมิตรเทคโนโลยี 5G ซึ่งผู้เข้าร่วมงานจะได้พบกับหลากหลายตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ 5G ในภาคอุตสาหกรรม โดยความตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการจุดประกายความคิด และส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ รวมถึงแนวทางปฏิบัติที่ดีในการนำเทคโนโลยี 5มาประยุกต์ใช้เชิงพาณิชย์แก่ดิจิทัลสตาร์ทอัพ นักพัฒนา ผู้ประกอบการไทย และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

ดีป้า ประเมินว่า งาน Thailand 5G Summit 2022 จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากกว่า 5,000 ล้านบาท และถือเป็นก้าวสำคัญในการผนึกกำลังระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน อย่าง หัวเว่ย และในห่วงโซ่ของเอกชน รวมถึงนักลงทุนกว่า 60 ราย ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเดินหน้าพัฒนาประเทศ สร้างบุคลากร และมาตรฐานดิจิทัล พร้อมเผยแพร่องค์ความรู้ ถ่ายทอดเทคโนโลยี 5เชิงพาณิชย์อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นตัวกลางในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรค รวมถึงกฎระเบียบที่จำเป็นต่อการประยุกต์ใช้ 5เพื่อการพัฒนาประเทศต่อไป ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

ไซมอน หลิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า ความคืบหน้าของการขยับขยายเทคโนโลยี 5G ในระดับโลกเป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งบรรดาผู้บุกเบิกด้าน 5G ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้ก้าวผ่านอัตราส่วน 16% และมุ่งเข้าสู่ยุคทองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยระหว่างกระบวนการแห่งการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ เทคโนโลยี 5G ได้กลายเป็นตัวผลักดันหลักในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแก่ผู้คน เร่งการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งยังขยายขอบเขตของภาคเศรษฐกิจไปพร้อมกันนอกจากเทคโนโลยีจะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลแล้ว โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลยังเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และเป็นกุญแจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยเช่นกัน

หัวเว่ย มองว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถือเป็นตลาดสำคัญของเรามาโดยตลอด และเรามุ่งมั่นที่จะเป็นผู้สนับสนุนหลักด้านเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคนี้ ซึ่งโครงข่ายการเชื่อมต่อบนเทคโนโลยี 5G ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการที่จะทำให้เราเดินไปถึงเป้าหมายเรื่องนี้ได้ ในฐานะที่ประเทศไทยผันตัวมาเป็นผู้นำด้าน 5G ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรวดเร็ว หัวเว่ย จะมุ่งสนับสนุนความเร็วของ 5G ในประเทศไทยต่อไปผ่าน 3 เรื่องหลัก ได้แก่ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้าน 5G ชั้นนำ การผลักดันให้เกิดการประยุกต์ใช้ 5G ในภาคอุตสาหกรรม และการสร้างระบบนิเวศสำหรับอุตสาหกรรม รวมถึงทักษะด้าน 5G” หลิน กล่าว

เอเชียแปซิฟิกถือเป็นตลาดสำคัญของ หัวเว่ย โดยให้บริการการเชื่อมต่อสำหรับผู้คนกว่า 90 ล้านครัวเรือน และผู้ใช้โทรศัพท์มือถือกว่า 1,000 ล้านคน ซึ่ง หัวเว่ย มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้สนับสนุนหลักของวิสัยทัศน์เชิงดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกผ่าน แนวทางหลัก ได้แก่ การเชื่อมต่อและเทคโนโลยีอัจฉริยะ การพัฒนาด้านการลดการใช้คาร์บอนอย่างยั่งยืน และการเข้าถึงระบบดิจิทัลอย่างเท่าเทียม โดย 5G ถือเป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อดิจิทัลอันเป็นพื้นฐานสู่ความสำเร็จของเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคและในประเทศไทย ในฐานะที่ หัวเว่ย เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีไอซีทีและผู้พลิกโฉมสู่ความเป็นดิจิทัลจะเดินหน้าผลักดันนวัตกรรมอัจฉริยะ 5G ผ่านการทำงานกับลูกค้า พันธมิตรในภาคอุตสาหกรรม และภาครัฐ เพื่อนำความอัจฉริยะมาสู่ทุกคน ทุกบ้าน ทุกองค์กร และสร้างประเทศไทยดิจิทัลที่เชื่อมต่อถึงกันอย่างสมบูรณ์ มีความอัจฉริยะ และยั่งยืนไปพร้อมกัน

ด้าน จูเลียน กอร์แมน หัวหน้าประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก GSMA APAC 5G Industry Community กล่าวว่า ความร่วมมือการจัดตั้งเครือข่ายพันธมิตรเทคโนโลยี 5ในครั้งนี้ถือเป็นหมุดหมายสำคัญของประเทศไทย และยังเป็นการจัดตั้งพันธมิตรเพื่อเป้าหมายด้านการพัฒนาระบบนิเวศของเทคโนโลยี 5เป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย GSMA APAC 5G Industry Community มีความยินดีที่จะร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรผู้นำด้านเทคโนโลยีไอซีทีระดับโลกอย่าง หัวเว่ย เพื่อผลักดันการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5ในภาคอุตสาหกรรมไทยให้เกิดศักยภาพสูงสุด

ภายในสำหรับทาง dtac พร้อมเปิดให้บริการเครือข่ายเฉพาะองค์กรหรือ Private Network เพื่อให้บริการเครือข่าย 5G ให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมที่เหมาะสมกับลูกค้ามากที่สุด ผ่านโครงข่าย 5G ย่านความถี่ 26 GHz และ FWA 700 MHz ซึ่งมีความแตกต่างจากเครือข่ายทั่วไปเนื่องจากมีความปลอดภัยสูงและสามารถตอบสนองการทำงานได้อย่างรวดเร็วรับส่งข้อมูลได้ปริมาณมากโดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตหรืออุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนทางด้านเทคโนโลยีสูงไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการขนส่งโลจิสติกส์หรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มทรัพยากรพลังงานและสาธารณูปโภค
ทาง dtac เองได้ออกแบบ Smart Factory หรือ Smart Logistics ให้มีรูปแบบที่สามารถเชื่อมต่อเครื่องจักรกับอุปกรณ์ IoT Gateway  แล้วนำไปประมวลผลผ่านทาง Cloud Platform  โดยผู้ประกอบการหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ผ่าน Dashboard and Online Monitoring




นอกจากนี้เครือข่าย dtac ในภาคของ dtac Business ยังรองรับ Smart Uniliies หรือระบบสาธารณสุขแบบอัจฉริยะ รับระบบมิเตอร์ไฟฟ้ามิเตอร์น้ำเพื่อให้สามารถเช็คปริมาณเข้าออกได้ทันทีและตลอด 24 ชั่วโมงทั้งนี้ทาง dtac เองได้ร่วมกับพันธมิตรขนอุปกรณ์มาจัดแสดงเพื่อตอกย้ำการใช้งานคลื่นความถี่ 5G ให้มีประสิทธิภาพในทางธุรกิจได้เพิ่มขึ้น

สำหรับ NT หรือ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด ( มหาชน ) รวมพันธมิตรที่นำคลื่นความถี่ 5G ที่ได้จัดสรรมาไม่ว่าจะเป็นคลื่น 700 MHz และ 26 Ghz มาโชว์ศักยภาพขององค์กรที่ได้ลงทุนผ่าน Smart City บริเวณบ้านฉางจังหวัดระยองโดยนำคลื่นความถี่ 26 GHz มาดูแลรักษาความปลอดภัยระบบเตือนภัยและการเชื่อมต่อกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งสาธารณสุข ระบบสนามบิน และรวมถึงสถานีตำรวจให้บริเวณชุมชนดังกล่าวโดยเฉพาะเขตอุตสาหกรรมสามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Smart Command Center of Smart City ยังถือเป็นศูนย์ควบคุมการทำงานและการสั่งการจากส่วนกลางเพื่อจัดสรรและจัดการให้เกิดเป็นเมืองอัจฉริยะจะทำหน้าที่ศูนย์ประสานงานสั่งการและควบคุมรวมถึงการประสานงานรับส่งสัญญาณที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมดสามารถรับทราบและติดต่อสื่อสารสั่งการได้อย่างรวดเร็วถูกต้องฉับไวด้วยการใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อบูรณาการข้อมูลเมืองและข้อมูลนวัตกรรมให้จับต้องได้

ในส่วนของ AIS ได้ขนพันธมิตรและได้โชว์ศักยภาพโดยเฉพาะส่วนงานที่พัฒนาระบบ 5G NextGen platform เริ่มต้นจากการเชื่อมต่อระหว่างระบบ 4G และ 5G มีความแตกต่างและทำให้การใช้งานการสั่งการเพื่ออุตสาหกรรมมีความรวดเร็วเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ โดยสามารถวัดความแตกต่างได้อย่างชัดเจนเช่นการตรวจสอบกระบวนการการผลิตเพื่อให้ทราบถึงคุณภาพของสินค้าแล้วคัดแยกสินค้าที่ดีที่สุดนำไปจำหน่ายได้อย่างรวดเร็ว




นอกจากนี้ ได้นำความเร็วสูงและ bandwidth ที่มีมาสร้างจำลองเมืองผ่านรูปแบบมัลติมีเดียซึ่งมีความซับซ้อนและมีความละเอียดสูงนำไปสู่การวางแผนผังเมืองหรือการแสดงข้อมูลต่างๆเพื่อใช้ประกอบในการดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวโดยไม่ต้องสำรวจเพิ่มเติม (World of Legend)

ในด้านของ True ได้ยกนวัตกรรมทั้งหมดที่ได้ดำเนินการทดสอบจริงบนตึกทรูดิจิตอลปาร์คนำมาย่อส่วนเพื่อทำให้ได้เห็นศักยภาพ True 5g ทั้งคลื่นความถี่ 26 GHz และ 700 MHz ได้ยกนวัตกรรมทั้งหมดที่ได้ดำเนินการทดสอบจริงบนตึกทรูดิจิตอลปาร์คนำมาย่อส่วนเพื่อทำให้ได้เห็นศักยภาพ True 5g ทั้งคลื่นความถี่ 26 MHz และ 700 MHz นำมาเชื่อมต่อเพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมต่างๆไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมสาธารณสุขการแสดงข้อมูลบนรถพยาบาลและการอำนวยความสะดวกในเรื่องของข้อมูลทางด้านสุขภาพ  

TrueIDC ยังได้จัดแสดง Cloud Perfessional Service  ที่ร่วมสนับสนุนโดย  TAM สามารถรองรับ Design Service  Cousulting Service Implementation  Service Cloud  Managed Service

โดยทรูยังนำอุปกรณ์ 5G FWA มาจัดแสดงเช่น ZLT x11 ZLT x21 และ ZLT IR100 ซึ่งเตรียมเปิดให้บริการในอนาคตอย่างเต็มรูปแบบโดยมีอุปกรณ์ดังกล่าวทาง True ได้ดำเนินการทดสอบแล้วว่ามีความเร็วมากกว่าระบบเดิมถึง 20 เท่าจึงสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าได้ว่าการนำเทคโนโลยี 5G ที่มีอยู่นั้นนำไปต่อยอดกับธุรกิจของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านความเชี่ยวชาญที่มี 

ข้อมูลการประชุม Thailand 5G Summit 2022

1. เกี่ยวกับ Thailand 5G summit 2022?

จำนวนวิทยากรที่เข้าร่วมงานจากทุกประเทศทั่วโลก ?

53 ท่าน

จำนวนผู้เข้าร่วมงาน ?

จำนวน 1,120 คน (ข้อมูลวันที่ 9 มิถุนายน)

จำนวนบูธภายในงาน ?

จำนวน 28 บูธ

จำนวนเซสชันทั้งหมดภายในงาน

3 เซสชัน

2. พันธมิตร 5G คืออะไร ?

พันธมิตร 5G ของประเทศไทย ประกอบไปด้วย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมีพันธมิตรได้แก่ ผู้ให้บริการโซลูชัน 5G ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน นักพัฒนาแอปพลิเคชัน และมหาวิทยาลัยต่างๆ 

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบ 5G ของไทย และมุ่งสร้างเวทีเปิดสําหรับความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนในอุตสาหกรรม 5G และส่งเสริมความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจดิจิทัล ตลอดจนผลักดันขีดจํากัดของ 5G ในการขับเคลื่อนการใช้งานเชิงพาณิชย์ 5G ให้ประเทศไทยเป็นผู้นําที่แท้จริงในภูมิภาคอาเซียน

นอกจากนี้ การก่อตั้งเครือข่ายพันธมิตร 5G ของประเทศไทยถือเป็นพันธมิตรรายแรกในอาเซียนที่มุ่งพัฒนาระบบนิเวศ 5G ซึ่งเป็นสัญญาณว่าการดำเนินการด้าน 5G ของประเทศไทยได้เข้าสู่ระยะที่ 2 แล้ว และยังคงขับเคลื่อนตลาดวิสาหกิจ รวมทั้งการพลิกโฉมอุตสาหกรรมแนวดิ่งไปอีกขั้น

3. สมาชิกของเครือข่ายพันธมิตร 5G มีใครบ้าง และความรับผิดชอบคืออะไร? 

ประธาน: 

ให้โอกาสที่เท่าเทียมกันสําหรับสมาชิกทุกคนที่จะได้รับประโยชน์จากข้อมูลและความรู้ ส่งเสริมความเป็นดิจิทัลในแต่ละอุตสาหกรรมโดยใช้ 5G UC และรูปแบบธุรกิจ

สนับสนุนให้สตาร์ทอัพและ SMEs ให้มีส่วนร่วมในโครงการและการเข้าถึงการใช้ประโยชน์

ผู้ปฏิบัติการ:

ให้การรับประกันเครือข่าย 5G เพื่อรองรับการทดสอบ 5G UC POC และการปรับใช้เพิ่มเติม

ร่วมมือกับพันธมิตรด้าน System Integrator และผู้ใช้เพื่อระบุความต้องการที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการพัฒนาแอปพลิเคชัน

ผู้ค้า: 

ทํางานร่วมกับผู้ให้บริการและให้การสนับสนุนด้านเทคนิคสําหรับการรับประกันเครือข่าย 5G

ร่วมพัฒนาความร่วมมือกับพันธมิตรและ System Integrator เพื่อเร่งกระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชัน 5G

พันธมิตรในอีโคซิสเต็ม 5G:

พัฒนาแอปพลิเคชัน 5G และกรณีตัวอย่างในการใช้งาน

ให้บริการซอฟต์แวร์และบูรณาการภายในโครงการ

พันธมิตรอุตสาหกรรม:

ระบุจุดปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป รวมถึงความต้องการของอุตสากรรมดิจิทัล

สนับสนุนโครงการทดลองและประเมินคุณประโยชน์

สมาคม:

ระบุความต้องการ และการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ 

ส่งเสริมการทดลอง และการปรับการใช้งานของ 5G UC (Ultra Capacity) และแอปพลิเคชัน

4. มีสมาชิกเข้าร่วมเครือข่ายพันธมิตร 5G ทั้งหมดเท่าไร ?

ปัจจุบันมีสมาชิกริเริ่มโครงการทั้งหมด 10 องค์กร

5. ใครคือผู้ริเริ่มพันธมิตร ?

สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า)

6. เหตุผลและที่มาในการจัดตั้งเครือข่ายพันธมิตร 5G คืออะไร ?

เพื่อเผชิญหน้ากับความท้าทายในการพัฒนา 5G ดังต่อไปนี้ 

ความตระหนักรู้ และความรู้ด้าน 5G: ภาคธุรกิจยังไม่ตะหนักถึงความสำคัญและศักยภาพที่แท้จริงของ 5G เนื่องจากยังขาดทิศทางนโยบาย 5G ที่ชัดเจน รวมถึงการรู้เท่าทันเทคโนโลยี 5G และการสนับสนุนทางการเงินโดยเฉพาะกับธุรกิจเอสเอ็มอี

เครือข่าย 5G: เครือข่ายเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักในการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ในพื้นที่ชนบท หรือพื้นที่ห่างไกล ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานไม่สนใจการลงทุนเงินจำนวนมากในการดำเนินการเพื่อเกิดการใช้งาน

กฎหมายและข้อบังคับการแก้ไขเพิ่มเติม: ควรมีการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายรวมถึงข้อบังคับเพื่ออำนวนความสะดวกในการใช้เทคโนโลยี 5G ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบบริการการแพทย์ทางไกล และระบบอากาศยานไร้คนขับ นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องมีการป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ และความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ครอบคลุมแอปพลิเคชัน 5G ทั้งหมด

การทำให้การใช้งานสัมฤทธิ์ผล: ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ในอุตสาหกรรมแนวดิ่งของไทยค่อนข้างน้อย และการใช้งานส่วนใหญ่อยู่ในศูนย์วิจัย ไม่มีการใช้งานในการทดสอบจริงที่มีวัตถุประสงค์ทางการค้า นอกจากนี้ตัวอย่างการใช้งานยังไม่มีการกระจายเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมแนวดิ่ง ที่อยู่ภายใต้สภาวะความท้าทายและลักษณะเฉพาะของประเทศไทย

แรงงานดิจิทัล 5G: จำนวนพนักงานดิจิทัลและไอซีทีคิดเป็นเพียง 1.1% ของจำนวนพนักงานทั้งหมดในปีพ.ศ. 2561 ถือเป็นจำนวนที่ไม่เพียงพอในการตอบสนองความต้องการแรงงานดิจิทัลและไอซีทีในปัจจุบัน

7. ประโยชน์ของเครือข่ายพันธมิตร 5G คืออะไร ?

มิติภูมิภาค: กำหนดเกณฑ์มาตรฐานและการอ้างอิงในระดับภูมิภาคเพื่อผลักดันและกระตุ้นเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค

มิติประเทศ: เกิดการเร่งพัฒนา 5G และยกระดับสู่ประเทศไทย 4.0

มิติอุตสาหกรรม:ได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G และบรรลุการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัล 

มิติอีโคซิสเต็ม:เกิดการบ่มเพาะอีโคซิสเต็ม 5G และให้โอกาสทางธุรกิจแก่พันธมิตร

มิติขององค์กร:ใช้ประโยชน์จากความสามารถ 5G เพื่อสำรวจโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ 

มิติสังคม: ทุกคนสามารถเพลิดเพลินกับโลกดิจิทัลที่เปิดใช้งานโดย 5G ได้ 

8. ความท้าทายและโอกาสของพันธมิตรเครือข่าย 5G

1)โอกาส:

ผู้นำเครือข่าย 5G ชั้นนำในภูมิภาค

การสนับสนุนจากรัฐบาล

ความต้องการของอุตสาหกรรมเกี่ยวกับดิจิทัล

2)ความท้าทาย:

โครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงยิ่งขึ้น: เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น AI 5G คลาวด์ กำลังช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของอุตสาหกรรม

ระบบนิเวศ  5G: ไม่เกิดการสร้างอีโคซิสเต็มที่มีอิทธิพล และไม่มีการนำโอกาสทางธุรกิจมาสู่พันธมิตรในอุตสาหกรรมโดยตรง

ศักยภาพ 5G: โรคระบาดได้เร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัล และทำให้ตะหนักชัดเจนว่าเราจำเป็นต้องพัฒนาทักษะดิจิทัลในกลุ่มเปราะบาง และตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลังในโลกดิจิทัล สำหรับประเทศไทยซึ่งกลายเป็นผู้นำอาเซียนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน 5G และการใช้งานในอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีความจำเป็นเพิ่มขึ้นในการลงทุนเพื่อปลูกฝังความสามารถทางดิจิทัล ที่ต้องเผชิญกับอุตสาหกรรม S-Curve ที่กำลังจะมาถึง เมื่อประเทศไทยกลายเป็นผู้บุกเบิกการเปิดตัว 5G และแอปพลิเคชันในภูมิภาค สิ่งจำเป็นที่ตามมาคือการเพิ่มการลงทุนเพื่อการพัฒนาทักษะดิจิทัล และทักษะไอซีทีแก่บุคคลากร

9. ก่อนหน้านี้ สมาชิกในเครือข่ายพันธมิตร 5G มีความร่วมมือในรูปแบบใดกันมาก่อน? ประวัติในการจัดตั้งเครือข่ายพันธมิตร 5G มีอะไรบ้าง? มีหมุดหมายสำคัญในเรื่องใดบ้าง?

1)ความร่วมมือก่อนหน้านี้: สมาชิกทำงานร่วมกันเพื่อสร้างโครงการนำร่องบางโครงการในภาคอุตสหากรรมเฉพาะกลุ่ม แต่ยังไม่ได้เป็นโครงการขนาดใหญ่ระดับที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้

2)ประวัติและหมุดหมายสำคัญ:

จุดเริ่มต้น: ริเริ่มคอนเซ็ปต์และการพูดคุยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ. 2563

เปิดศูนย์ EIC: เริ่มจากการฟูมฟักให้เกิดอีโคซิสเต็มของ 5G ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2563 

แผนปฏิบัติงาน: ดึงดูดพาร์ทเนอร์ด้าน 5G และพัฒนากรณีศึกษาต่างๆ ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี พ.ศ. 2564 

ออกแบบโครงสร้างเครือข่าย: ก่อตั้งคอนเซ็ปต์ของโครงสร้างเครือข่ายพันธมิตรในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2564

การร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมต่างๆ: ในช่วงไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2565 ดีป้าและสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (TCT) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ในการสร้างเครือข่ายพันธมิตร ซึ่งมีรายละเอียดครอบคลุมถึงเรื่องการขยายความร่วมมือกับผู้ให้บริการเครือข่าย 

แผนปฏิบัติงาน: ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ. 2565 หัวเว่ยและดีป้าร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) เพื่อสรุปแผนปฏิบัติการและกลุ่มสมาชิกชุดแรก

เปิดตัว: เปิดตัวเครือข่ายพันธมิตร 5G อย่างเป็นทางการภายในงาน Thailand 5G Summit 2022 

10. วิสัยทัศน์และพันธกิจ

1)วิสัยทัศน์: สร้างแพลตฟอร์มสำหรับความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนกันในภาคอุตสาหกรรม 5G ระหว่างภาคส่วนต่างๆ และระหว่างหน่วยงานรัฐ เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล

2)ภารกิจ:

สร้างนวัตกรรมร่วมกัน: ร่วมมือกันสำรวจศักยภาพและโอกาสทางธุรกิจด้วยโครงการนำร่อง และเร่งทำให้เกิดตลาดของแอปพลิเคชัน 5G ที่เหมาะกับความต้องการของตลาด

รองรับอีโคซิสเต็ม: สร้างศูนย์กลางเทคโนโลยี 5G ซึ่งมีฐานอยู่ที่ศูนย์ EIC จัดเตรียมบริการด้านการทดสอบให้แก่สมาชิกรายต่างๆ และเร่งให้เกิดกรณีการใช้งาน 5G ในเชิงพาณิชย์  

การแลกเปลี่ยนในภาคอุตสาหกรรม: ตั้งดัชนีชี้วัดด้าน 5G จัดแสดงในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ และทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กันระหว่างภาคอุตสาหกรรม

ผลักดันสตาร์ทอัพ: จัดเตรียมเทคโนโลยี 5G และคลาวด์ รวมทั้งทรัพยากรต่างๆ เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันและเชื่อมโยงโอกาสทางธุรกิจต่างๆ เข้าด้วยกันสำหรับกลุ่มสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอี

11. แผนการปฏิบัติงานของเครือข่ายพันธมิตร 5G คืออะไร? สมาชิกต่างๆ ในเครือข่ายจะร่วมมือกันอย่างไรบ้าง?

1)แผนปฏิบัติงาน 

โครงการนำร่อง: ค้นหาภาคอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เชื่อมโยงอีโคซิสเต็มด้านพาร์ทเนอร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และตั้งดัชนีชี้วัด

การทำให้เกิดกรณีการใช้งานในเชิงพาณิชย์: จับคู่และสนับสนุนโครงการนำร่อง ปรับปรุงศักยภาพของพาร์ทเนอร์ รวมั้งฟูมฟักผู้สนับสนุนระดับคุณภาพให้มากขึ้น 

การแลกเปลี่ยนระหว่างภาคอุตสาหกรรม: เพิ่มประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนความรู้ และศึกษาองค์ความรู้ล่าสุดของภาคอุตสาหกรรม

ผลักดันด้านทักษะ: ช่วยเหลือสมาชิกในเครือข่ายให้เข้าถึงเทรนด์ไอซีทีใหม่ล่าสุด รวมถึงจัดคอร์สฝึกอบรมเพิ่มทักษะด้าน 5G

ประชุมภายใน: เรียบเรียงข้อมูลให้ไปในทิศทางเดียวกัน และวางแผนการปฏิบัติงาน 

12. หน้าที่และความรับผิดชอบของหัวเว่ยในฐานะหนึ่งในสมาชิกของเครือข่ายพันธมิตร 5G คืออะไร?

1)จัดเตรียมวิสัยทัศน์ระดับโลกและกรณีตัวอย่างที่ดีที่สุด เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างภาคอุตสาหกรรมหรือระหว่างประเทศในด้านต่างๆ  

2) จัดเตรียมทรัพยากรด้านผลิตภัณฑ์ โซลูชัน พาร์ทเนอร์ และกรณีตัวอย่างการใช้งานชั้นนำ เพื่อรองรับเรื่องการทำโครงการนำร่อง   

3) จัดเตรียมคอร์สการฝึกอบรมเพื่อผลักดันทักษะไอซีที

13. หัวเว่ยมีทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องการเข้าร่วมเครือข่ายพันธมิตร 5G ในครั้งนี้อย่างไร?

1)หัวเว่ยรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เป็นสักขีพยานในการก่อตั้งเครือข่ายพันธมิตร 5G ขึ้นในครั้งนี้ เนื่องจากมันจะทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G และทำให้กระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นไปอย่างสำเร็จลุล่วง 

2)การจัดตั้งพันธมิตรในครั้งนี้ถือเป็นนโยบายแบบเปิดกว้าง เพื่อสนับสนุนทางด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีและเศรษฐกิจดิจิทัล รองรับการประสานทรัพยากรจากภาคส่วนต่างๆ อาทิ ภาคองค์กร ภาคมหาวิทยาลัย องค์กรทางอุตสาหกรรม และอื่นๆ เข้าด้วยกัน