4 กรกฏาคม 2565 กระทรวง DE - กทม. - NT ประชุมร่วมเรื่อง กรุงเทพมหานครเมืองอัจฉริยะ (Bangkok Smart City) และการบริหารจัดการท่อร้อยสายสื่อสารลงใต้ดิน ซึ่งทาง NT ได้ขอให้ทุกคนเช่าใช้บริการท่อร้อยสายจากราคา 9,000 บาท/ไมโครดักส์/กิโลเมตร/เดือน (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เป็น 3,000 บาท/ไมโครดักส์/กิโลเมตร/เดือน (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ถือเป็นการลดราคา 66.67 % มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
มรกต เธียรมนตรี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานโครงสร้างพื้นฐาน และรักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานทรัพยากรบุคคล บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เรื่องของท่อร้อยสายใต้ดินทางเรามีท่อร้อยสายใต้ดินเป็นจำนวนมาก ซึ่งในกรุงเทพฯมีท่อร้อยสายของเรายาวถึง 3,000-4,000 กิโลเมตร
สืบเนื่องจากสมัยก่อนเรามีโทรศัพท์ใช้ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยองค์การโทรศัพท์แห่งชาติใน ยุคนั้นสายโทรศัพท์เป็นสายทองแดงสายไฟเบอร์ออฟติกเกิดขึ้นภายหลัง ซึ่งสมัยก่อนมีเส้นผ่าศูนย์กลางของสายทองแดงถึง 4 นิ้ว มีอยู่ทั้งหมด 2,000 คู่น้ำหนักเยอะมาก ในสมัยก่อนไม่สามารถแขวนเสาได้ในขณะนั้น จุดกำเนิดจึงถูกฝังใต้ดินในขณะนั้นตั้งแต่แรกเริ่ม ซึ่งฝังอยู่ตรงถนนริมสุดของทางเดิน
ต่อมาในยุคที่มีเทคโนโลยีที่สูงขึ้นนั่นคือเส้น Fiber Optic ได้เข้ามาทดแทนระบบทองแดงทั้งหมด ดังนั้นสายทองแดงจึงถูกดิสรับชั่นไป ทางเราจึงต้องทำการรื้อสายทองแดงออกทั้งหมดแต่ผลพลอยได้ที่เกิดขึ้นเมื่อเรานำสายทองแดงออกมาเราก็เอาท่อร้อยสายสวมเข้าไปแทน
ดังนั้น จึงเกิดท่อร้อยสายใต้ดินเป็นจำนวนมากเกิดขึ้นมา แต่ก็เป็นท่อที่ว่างเปล่าไม่มีอะไรอยู่ในนั้น เมื่อเวลาผ่านไปหลายๆปีเมื่อท่อดังกล่าวไม่ได้ถูกใช้งาน โดยที่ถนนมีการขยายจากถนนเลนที่ 1 มาเป็นระยะที่ 2 มันจึงไปอยู่ใต้ถนน แล้วนอกจากนี้ยังมีการทรุดตัวของถนนอีกก็ทำให้ท่อร้อยสายจำนวนนึงได้รับความเสียหายด้วยโดยท่อร้อยสายใต้ดินดังกล่าวส่วนใหญ่ยังคงสภาพที่ยังใช้งานได้
ในภาพทำให้ทุกคนได้เห็นว่ามีท่อร้อยสายอยู่ตรงถนนเส้นใดบ้าง หลายเส้นทางไม่พร้อมที่จะใช้งาน NT จึงขอความอนุเคราะห์จากทางกรุงเทพฯและทาง กสทช. เพื่อขออนุมัติในการลงพื้นที่เพื่อจัดซ่อมบางส่วนโดยเฉพาะจุดที่จะต้องนำท่อร้อยสายขึ้นสู่ใต้ดิน เพื่อสามารถที่จะนำท่อดังกล่าวขึ้นมาให้บริการได้
โดยสมัยก่อนจะมีบ่อพักอยู่เป็นระยะอยู่ประมาณ 200 เมตร แต่ปัจจุบันเมื่อบ้านเมืองเราเจริญขึ้นความหนาแน่นของพี่น้องประชาชนมีมากขึ้นก็ต้องมีจุดขึ้นของท่อร้อยสายที่ที่มากกว่านั้นดังนั้นจะต้องได้รับความอนุเคราะห์และอนุญาตเช่นเดียวกัน โดยลงทุนอีกไม่มาก
การขอชี้แจงโดยเฉพาะเรื่องค่าเช่าในการให้บริการ เมื่อมีการสร้างท่อร้อยสายใหม่อยู่ใต้ฟุตบาท เมื่อคำนวณเป็นค่าเช่าได้ว่าใครก็ตามที่ลงทุนส่วนนี้จะต้องให้ค่าเช่าต่อกิโลเมตรต่อไมโครดักส์ โดยเห็นได้ว่ามีดักส์ 6 ท่อ ดังกล่าวก็จะถูกแบ่งออกมาเป็นซับดักส์โดยมีทั้งหมด 3 ชุดหรือบางชุดก็จะมีสูงถึง 4 ชุดก็ได้ ซึ่งในนั้นก็จะถูกแบ่งเป็นไมโครดักส์ ซึ่งภายในนั้นมีสายออฟติกที่เล็ก ไม่ต้องใช้เส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่นัก
ต่อไมโครดักส์หากต้องสร้างใหม่หมดจะต้องคิดค่าบริการอยู่ที่ 7,000 บาท/ไมโครดักส์/กิโลเมตร/เดือน (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) นี่คือต้นทุนที่ในวงการรับรู้ที่จะต้องจ่ายในการดำเนินงาน
บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ได้รับผลพลอยได้จากการดำเนินงานมาในอดีตอยู่เอามาผสมผสานและเอามาเฉลี่ยต้นทุนให้ลดลง สิ่งนี้ได้เสนอกับ Operator ทุกรายมาพักใหญ่แล้วในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา NT เสนอค่าเช่าอยู่ที่ 3,000 บาท/ไมโครดักส์/กิโลเมตร/เดือน (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งเป็นการดัดแปลงจากของเดิมทั้งสิ้น หากต้องสร้างใหม่จริง ราคาดังกล่าวผู้ให้บริการต่างๆ ไม่สามารถทำได้แน่นอนเพราะขาดทุนทันที
NT เองเป็นหน่วยงานของรัฐเป็นจำนวน 100 เปอร์เซ็นต์ จึงต้องดำเนินงานตามนโยบายของภาครัฐ NT สามารถที่จะสนับสนุนในเรื่องของท่อร้อยสายให้กับผู้ประกอบการทุกรายได้อย่างเพียงพอและในเส้นทางอื่นๆ ที่ไม่มีในการให้บริการ ดำเนินการจัดจ้างและยังคงอัตราค่าเช่าให้ความเป็นธรรม
หาก NT ได้รับอนุญาตให้สร้างท่อร้อยสายในเส้นทางที่ไม่มี การรับรู้ถึงผลกระทบต่อผลการจราจรและการเดินเท้าของประชาชนในช่วงกลางคืน โดยการเปิดผิวของฟุตบาท ดังนั้นเช้ามาประชาชนจะไม่เห็นอะไรแปลกประหลาดบนพื้นผิวตามจราจร และนี่คือกฎที่ทางกรุงเทพฯ กำหนดใครทำผิดก็จะมีโทษตามพระราชบัญญัติซึ่งข้อที่ร้ายแรงที่สุด คือระงับการก่อสร้าง
ดังนั้นผู้ประกอบการที่ดำเนินงานก็จะทราบดีโดยเฉพาะการสร้างท่อร้อยสายใต้ฟุตบาทไม่ได้รบกวนชีวิตการเดินทางของพี่น้องประชาชนมากจนเกินไป
ส่วนท่อร้อยสายที่อยู่ใต้ถนนเราก็มีเทคโนโลยีในการดันท่อร้อยสายใต้ดินที่จะดันสายเคเบิ้ลเดิมให้ออกมาจากในระบบแล้วสามารถทำส่วมที่เชื่อมโยงได้ทันทีและเชื่อมโยงไปยังบ้านเรือนของประชาชนเช่นเดียวกัน
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า กรณีเรื่องสายสื่อสารจริงๆ แล้วมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น กสทช. การไฟฟ้านครหลวง ค่ายโทรศัพท์มือถือต่างๆ ทางกรุงเทพมหานคร การประสานงานดังกล่าวไม่ค่อยสะดวกมาก ซึ่งมีทั้งหมด 2 ประเด็น
1. การจัดระเบียบสายที่ลงดินเบื้องต้นยังไม่ต้องเอาลงดินทันทีให้ดำเนินการตัดสายที่ยังไม่ได้ใช้งานออกไปให้หมดหรือสายที่ไม่มีการใช้งานแล้วให้นำออกจากเสาไฟฟ้าหรือออกจากระบบไป โดย กสทช. สนับสนุนงบประมาณจาก USO เป้าหมายปีแรกดำเนินการ 800 กิโลเมตร เขตกรุงเทพชั้นในซึ่งมีประชากรหนาแน่น โดยปัจจุบันทำไปได้เพียงแค่ 20 กิโลเมตรเท่านั้น ซึ่งต่อไปจะต้องมีการกำหนด KPI ชัดเจนให้ตรงไปตามเดือน
2. การนำสายสื่อสารลงดิน ซึ่งจากการประสานงานพบว่าทาง บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) มีท่ออยู่แล้ว ด้วยปัจจัยที่สำคัญที่สุดก็คือประโยชน์จากผู้บริโภค โดยจะต้องไปปรึกษาหารือให้ค่าเช่าลดลง ซึ่งมีกลุ่มคณะทำงานอีกกลุ่มในการดำเนินการ การที่อาศัยการนำสายสื่อสารลงดินไปถือว่ามีต้นทุนในการดำเนินงาน โดยสายที่อยู่บนดินไม่สามารถที่จะลงดินได้ทันที
มีผลเป็นรูปธรรมได้ตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป ที่ผ่านมาบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ดำเนินการไปแล้ว 7 กิโลเมตรแรกซึ่งยังหาผู้เช่าไม่ได้ ต่อไปจะต้องถามถึงสมาคมผู้ประกอบการด้วยว่าจะมีวิธีการใดที่จะสามารถนำสายลงดินได้
ส่วนกรณี 20,000 ล้านบาท เป็นตัวเลขจากการประมาณการในการลงทุนท่อการสื่อสารทั่วกรุงเทพฯ เป็นตัวเลขจาก บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ( KT ) เคยกล่าวไว้ ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขสมัยก่อน ที่ผ่านมาได้ดำเนินการในการศึกษาเป็นที่เรียบร้อยแล้วเรายังไม่ล้มโครงการ
เดิมแผนดังกล่าวนั้นเป็นแผนที่ทาง บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ( KT ) จะไปดำเนินงานเองแล้วมาหาผู้เช่า โดยลงทุนท่อร้อยสายเพื่อให้ค่ายการสื่อสารมาใช้งาน ถือเป็น Business Model ที่ไม่ได้นำงบประมาณไปใช้ ซึ่งเราจะต้องมาดูอีกทีนึงว่ามีคนมาเช่าไหม อย่างในปัจจุบันบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ดำเนินการไปแล้ว 7 กิโลเมตรแรกยังไม่มีใครเช่าเลย หากทำแล้วไม่มีใครเช่าก็คงไม่ดำเนินการต่อ
สำหรับการเร่งรัดในการนำสายสื่อสารลงดินทางกรุงเทพฯได้ใช้พระราชบัญญัติด้านความสะอาดมาตรา 39 และทาง กสทช. ด้วยเพราะเราตัวเองอนุญาตให้สายสื่อสารที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นมาพาดได้ ดังนั้นจึงต้องร่วมมือกันหากเส้นดังกล่าวไม่มีสัญญาณวิ่งเราจะต้องนำลงโดยอำนาจกวดขันเป็นของกรุงเทพฯ มีทั้งค่าปรับและการดำเนินการต่างๆ โดยในอนาคตเราจะออกประกาศให้ชัดเจนว่าใครที่จะมาพาดสายโทรศัพท์หรือพาดสายอะไรก็แล้วแต่ที่ไม่ได้รับการอนุญาตไม่สามารถนำขึ้นมาได้
ซึ่งเราไม่ได้กล่าวว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องลงใต้ดินหมดเราโฟกัสที่ว่าความเป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นหลักดังนั้น 800 กิโลเมตรแรกจะต้องเห็นว่ามีการนำสายสื่อสารทั้งหมดจัดให้เป็นระบบระเบียบให้ได้ภายในสิ้นปีนี้
ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาท่านนายกรัฐมนตรีได้กำชับและมอบหมายให้ทางกระทรวงดิจิทัลและ กสทช. ซึ่งทางเราได้รับงบประมาณมาแล้วจำนวน 700 ล้านบาท ในการเก็บสายเก่าทิ้งเดินสายใหม่ โดยสายใหม่ก็จะเรียบร้อยขึ้นซึ่งเราจะดำเนินการ 800 กิโลเมตรในกรุงเทพฯและได้เตรียมจัดระเบียบสายทั่วประเทศไม่ใช่เพียงแค่กรุงเทพฯเท่านั้น
ปัจจุบันการนำสายลงใต้ดินบางส่วนนั้นเป็นของกรุงเทพฯ บางส่วนเป็นของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) โดยวันนี้เราจะต้องพูดคุยกันให้ทุกภาคส่วนได้ทำงานร่วมกันเพื่อการนำสายสื่อสารลงใต้ดินทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆ จะต้องทำให้ได้มากที่สุดให้ด้วย
ซึ่งย้ำว่าการจัดระเบียบสายสื่อสารยังคงลอยฟ้าเช่นเดิม เพียงแต่ทำให้เกิดความสวยงามเพิ่มมากขึ้นแต่ถ้าช่วงไหนมีจำนวนสายมากก็ให้ลงใต้ดินเนื่องจากการดำเนินการดังกล่าวในแต่ละช่วงมีต้นทุนในการดำเนินงานสูง ซึ่งมันสูงกว่าการพักสายไฟฟ้าเป็นจำนวนถึง 10 เท่า
บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ได้ตรวจสอบแล้วว่ายังมีท่อบางส่วนที่ยังใช้งานได้ส่วนท่อบางส่วนที่เสียเราก็ยังซ่อมได้อยู่ แต่หากให้บริษัทดำเนินการเขายังมีท่อที่สามารถดำเนินการได้ในบางส่วนเท่านั้นเองในด้านการลงทุนคาดว่าจะถูกกว่าและสามารถให้บริการได้อย่างเร็วขึ้น ทางเราเองจะต้องดูว่าทางค่ายผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเขายินดีมาลงท่อใหม่ ซึ่งทางรัฐบาลคงต้องสนับสนุนงบประมาณดังกล่าวในอนาคตเพื่อไม่ให้เป็นภาระของผู้ให้บริการมากเกินไปทำให้เราสามารถเดินหน้าได้
จริงๆแล้ว บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ไม่ได้ใช้เงินเยอะ เนื่องจากมีท่อใต้ดินอยู่แล้วเพราะท่อสายโทรศัพท์ดังกล่าวอยู่ในใต้ดินเป็นจำนวนมากเพียงแค่นำสายการสื่อสารโดยระบบเดิมมาปรับปรุงจึงลงทุนน้อยไม่เหมือนกับการสร้างท่อใหม่ ซึ่งท่อที่ทางบริษัทฯ สามารถใช้งานได้ทันทีคือ 4,450 กิโลเมตร
กระทรวงดีอีเอส ในเบื้องต้นขอความร่วมมือเท่านั้นโดยต้องอาศัยผู้ว่าเข้ามาช่วย คือการทำงานร่วมกันโดยมี กสทช.เป็นเจ้าภาพในเรื่องของค่าใช้จ่าย โดยมี 800 กิโลเมตรแรกในการดำเนินการซึ่งกว่าจะทำจะต้องไปขอความร่วมมือจากการไฟฟ้านครหลวงโดยการนำคอนมาวางให้สามารถพาดสายได้ โดยเบื้องต้นผมอยากจะให้ กสทช. ช่วยค่าใช้จ่ายอย่างน้อยครึ่งนึง
ไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กล่าวว่า เราไม่ได้นิ่งนอนใจเรื่องอำนาจหน้าที่ของเราซึ่งเราได้รับมอบหมายหน้าที่จากรัฐบาลโดยเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมไม่ว่าจะเป็นการไฟฟ้าส่วนนครหลวงกรุงเทพมหานคร โดยปี 2565-2566 มีความจำเป็นเร่งด่วน เราได้จัดสรรงบประมาณ 700 ล้านบาท ซึ่งเราได้จัดสรรงบประมาณอย่างเร่งด่วน
เป็นการสื่อสารโทรคมนาคมจะต้องนำสายเก่ามาทำลายและเราจะต้องมารับผิดชอบกับค่าใช้จ่ายดังกล่าวส่วนถอนสายต่างๆเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องให้กับการไฟฟ้านครหลวงส่วนกรุงเทพฯเป็นผู้ดูแลเรื่องสถานที่แต่ปัญหานึงที่เราต้องเรียนทุกภาคส่วนโดยเฉพาะบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) คิดค่าบริการท่อร้อยสายใต้ดินสูงเกินไป ทำให้ผู้ประกอบการไม่สะดวกใจในการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน
ส่วนที่เรากำลังจะดำเนินงานใหม่ในส่วนของสำนักงานของเรา คือหากเราเป็นผู้ประกอบการแล้วจะต้องขอพาดสายใหม่ กฎหมายจะต้องให้ผู้ให้บริการดังกล่าวนำสายแล้วมากองให้ กสทช. เช็คก่อนแล้วหลังจากนั้นเส้นบางเส้นส่วนใหญ่ไม่ได้ไปเส้นที่การไฟฟ้าติดตรงบริเวณเสา ดังนั้นจะต้องนำสายดังกล่าวลงท่อร้อยสายใต้ดินให้หมดเหตุการณ์ดังกล่าวจะช่วยได้มาก
หลังจากนั้นแผนการดำเนินงาน USO ในช่วงปี 2566 ถึงปี 2570 หาทางจัดสรรงบประมาณประมาณ 20,000 ล้านบาทอย่างน้อยทางเราจะพยายามจัดสรรงบประมาณให้ได้ 10,000 ล้านบาทซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องรอคณะกรรมการ ในการตัดสินใจหากทุกหน่วยงานถอยเป็นคนละก้าวประชาชนก็จะมีความสุข
"ทางเราขอความเห็นใจให้ โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ลดค่าเช่าจะ 9,000 บาท/ไมโครดักส์/กิโลเมตร/เดือน (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ให้เหลือราคาลงมา"
ต่อจากนั้นมาหลายปี ความเป็นรูปธรรมเห็นชัดเจน เมื่อผู้ว่ากรุงเทพมหานคร (กทม.) "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" เข้ามารับตำแหน่งเดือนกว่า ในปี 2565 จึงได้ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นที จัดระเบียบสายสื่อสาร ตัดสายที่ไม่ได้ใช้งานและวางแผนนำลงดิน คาดเห็นผลเป็นรูปธรรม "เดือนหน้าเป็นต้นไป"
กทม. และทุกภาคส่วนเห็นพ้องต้องกัน ร่วมมือจัดระเบียบสายสื่อสารเป็น 2 เฟสใหญ่ ตามที่ผู้ว่าฯ กทม. แถลงข่าวภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม ดังนี้
เฟสแรก: จัดระเบียบสายที่รกรุงรังโดยยังไม่เอาลงใต้ดินในทันที แต่รื้อสายที่ไม่ได้ใช้งานออกก่อน โดยมีเป้าหมาย 800 กิโลเมตรภายในปี 2565 ทว่าล่วงมาถึงเดือน ก.ค. แล้ว ดำเนินการไปได้เพียง 20 กิโลเมตรเท่านั้น
เฟสสอง: การเอาสายสื่อสารลงดิน โดยประเมินค่าใช้จ่ายไว้ที่ราว 19,000 ล้านบาท โดย สำนักงาน กสทช. เสนอจะช่วยงบประมาณในเรื่องนี้ราว 10,000 ล้านบาท ตอนนี้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาอนุมัติ
รมว.ดีอีเอส ชี้แจงว่า หลายปีก่อนนำมาเปรียบเทียบกับปัจจุบันไม่ได้ เพราะ "ในอดีตสายไม่ได้เยอะขนาดนี้ แต่พอเวลาผ่านไปมันก็มากขึ้น...แต่การที่เราจะลงใต้ดินแต่แรกมีค่าใช้จ่ายสูง พอค่าใช้จ่ายสูงมันก็เป็นภาระต่อผู้บริโภค"
รมว.ดีอีเอส ย้ำว่ารัฐบาลดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่อาจจะไม่ได้ประชาสัมพันธ์ให้ทราบทั่วถึงมากนัก