12 ก.ค. 2565 854 1

ทรู คว้าที่ 1 สมาชิกดัชนีความยั่งยืนระดับสากล FTSE4Good 2022 สร้างสถิติใหม่ คะแนนรวมสูงสุดในกลุ่มอุตฯ โทรคมนาคมโลก และเป็นสมาชิก 6 ปีต่อเนื่อง

ทรู คว้าที่ 1 สมาชิกดัชนีความยั่งยืนระดับสากล FTSE4Good 2022 สร้างสถิติใหม่ คะแนนรวมสูงสุดในกลุ่มอุตฯ โทรคมนาคมโลก และเป็นสมาชิก 6 ปีต่อเนื่อง

FTSE Russell สถาบันจัดทำดัชนีหลักทรัพย์จากประเทศอังกฤษ ประกาศชื่อบริษัทที่ได้รับคัดเลือกให้ติดอันดับสมาชิกดัชนีความยั่งยืนชั้นนำ FTSE4Good ประจำปี 2565 ซึ่งเป็นที่น่าภาคภูมิใจว่ากลุ่มทรู เป็นองค์กรจากประเทศไทยที่ได้คะแนนสูงสุดอันดับ 1 ในกลุ่มอุตสาหกรรมโทรคมนาคมโลก และติดอันดับต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 สะท้อนความมุ่งมั่นนำเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมมาสร้างสรรค์คุณค่าระยะยาว พร้อมขับเคลื่อนโครงการในด้านต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้านธรรมาภิบาล มุ่งเน้นบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการดูแลรักษาข้อมูลส่วนบุคคล ด้านสิ่งแวดล้อม ติดตั้งพลังงานสะอาดโซล่าร์เซลล์ที่เสาสัญญาณและชุมสาย เดินหน้าลดก๊าซเรือนกระจก และด้านสังคม ส่งเสริมการศึกษาเยาวชนไทยผ่านมูลนิธิสานอนาคตการศึกษาคอนเน็กซ์อีดี แพลตฟอร์มดูแลสุขภาพอัจฉริยะ ทรู เฮลท์”


มนัสส์ มานะวุฒิเวช กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ในปี 2565 นี้เป็นอีกครั้งที่กลุ่มทรู ได้รับการประกาศให้เป็นสมาชิก FTSE4Good Index Series ต่อเนื่องถึง ปีซ้อน และบันทึกสถิติใหม่ในการได้คะแนนรวมสูงสุดเป็นอันดับที่ 1 ในกลุ่มอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเมื่อเทียบกับองค์กรชั้นนำจากทั่วโลกจากการดำเนินโครงการต่างๆที่ครอบคลุมทุกมิติได้อย่างเป็นรูปธรรม ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนของ FTSE Russel ประเทศอังกฤษ ที่ประกอบด้วยด้านธรรมาภิบาล สิ่งแวดล้อม และสังคม ซึ่งต้องขอขอบคุณผู้บริหารและพนักงานทุกคน ที่ทุ่มเทและตั้งใจปฏิบัติงานอย่างเต็มกำลัง ร่วมแรงร่วมใจนำพาทรู สู่ความเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืนอย่างแท้จริง พร้อมส่งมอบคุณค่าระยะยาวแก่สังคมและประเทศไทย อีกทั้งยังตอกย้ำความสำเร็จในการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลมาขับเคลื่อนธุรกิจควบคู่กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งกลุ่มทรู ได้ยึดเป็นหลักปฏิบัติมาโดยตลอด


ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน บมจทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า "ความสำเร็จครั้งนี้ เป็นผลจากการสานต่อโครงการที่สำคัญทั้งด้านธรรมาภิบาลที่มุ่งเน้นบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการดูแลรักษาข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลโดยเฉพาะ  ด้านสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการติดตั้งโซล่าร์เซลล์ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดที่เสาสัญญาณและชุมสายมาอย่างต่อเนื่องพร้อมเดินหน้าลดก๊าซเรือนกระจก อันสอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืน มุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ทางตรงและทางอ้อม (Scope 1 และ Scope 2) สุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2573 และมุ่งสู่เป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ตามแนวทาง Science-Based Target Initiative (SBTi) ภายในปี 2593 ในด้านสังคมซึ่งได้คะแนนเต็ม บริษัทฯ เน้นการดูแลผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ทั้งในส่วนลูกค้า และชุมชน ได้แก่ True Virtual World แพลตฟอร์มการทำงานการเรียนยุคดิจิทัล มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี ที่รวมพลังคนรุ่นใหม่ขับเคลื่อนอนาคตการศึกษาไทยทั่วประเทศ และแอปพลิเคชันหมอดี (MorDee) แพลตฟอร์มดูแลสุขภาพอัจฉริยะที่เชื่อมโยงบริการทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ในส่วนของคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ ได้จัด True Supplier Day เป็นประจำทุกปีเพื่อให้ความรู้และแลกเปลี่ยนมุมมองกับคู่ค้าในเรื่องการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน และความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจ ขณะที่ในส่วนของพนักงาน ได้สร้างสรรค์และจัดกิจกรรมอันหลากหลายผ่านโครงการ “ปลูกรัก” 4 ด้าน คือ ปลูกรักสุขภาพ ปลูกรักปลูกธรรม ปลูกความผูกพัน ปลูกความมั่งคั่ง และเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้พนักงานมากขึ้น เช่น ปรับปรุงสำนักงานรูปแบบ Co-Working Space และให้สิทธิ์วันลาเพื่อดูแลบุตรที่คลอดใหม่สำหรับพนักงานหญิง 120 วัน และพนักงานชายลาได้ 15 วัน ซึ่งสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น”

เกี่ยวกับ FTSE4Good

กลุ่มดัชนีหลักทรัพย์ FTSE4Good เป็นการประเมินที่ดำเนินการโดย FTSE Russell ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ดัชนี FTSE4Good ถูกจัดทำขึ้นครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2559 โดยนำเอาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่เข้าเกณฑ์จากกว่า 20 ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ อาทิ จีน บราซิล แอฟริกาใต้ ไต้หวัน และรัสเซีย ดัชนี FTSE4Good Emerging Market ได้พิจารณาตัวบ่งชี้กว่า 300 ด้านของสมาชิก ทั้งในหมวดสิ่งแวดล้อมอันได้แก่ มาตรการในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ (Climate Change) ระบบรอยเท้าทางนิเวศ (Environmental Footprint) และระบบห่วงโซ่อุปทานสิ่งแวดล้อม (Environmental Supply Chain) ในหมวดสังคมได้แก่ โครงการความริเริ่มเพื่อสังคม (Community Initiatives) สิทธิมนุษยชน (Human Rights) และข้อปฏิบัติในเรื่องแรงงาน (Labor Practices) ในหมวดบรรษัทภิบาลได้แก่ การกำกับดูแลองค์กร (Corporate Governance) การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) และความโปร่งใสในเรื่องภาษี (Tax Transparency) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่นักลงทุน นักวิเคราะห์ทางการเงิน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆทั่วโลกให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการตัดสินใจเพื่อการลงทุน
 

COMMENTS