19 ก.ค. 2565 425 0

ต้นทุนพลังงานไฟฟ้า (Utilities of Digital World) โอกาสหรือความท้าทาย? พาไทยสู่ “ดิจิทัลฮับ” ในอาเซียน

ต้นทุนพลังงานไฟฟ้า (Utilities of Digital World)  โอกาสหรือความท้าทาย? พาไทยสู่ “ดิจิทัลฮับ” ในอาเซียน

จังหวะที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังฟื้นตัวจากโควิดและการเร่งระดมปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลรอบด้านของภาครัฐและเอกชนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจทุกรูปแบบ สองปัจจัยนี้กำลังผลักดันให้ประเทศไทยเดินหน้าเข้าใกล้สู่การเป็น Digital Hub ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากยิ่งขึ้นได้จริงหรือจากรายงาน e-Conomy SEA Report 2021 ฉบับล่าสุด จัดทำโดย Google, Temasek และ Bain & Company ระบุว่าภายในปี 2568 ประเทศไทยจะมีมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลสูงถึง 5.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีขนาดเศรษฐกิจดิจิทัลใหญ่เป็นอันดับ ในภูมิภาคอาเซียน ประกอบกับเทรนด์การดำเนินธุรกิจที่เน้นความยั่งยืน หรือ ESG (Environment, Social,  Governance) ได้กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับขับเคลื่อนระบบนิเวศดิจิทัลพร้อมดึงดูดการลงทุนใหม่ ๆ  

ประเทศไทยกับการเป็น
 Digital Hub คือสิ่งที่เป็นจริงได้
ข้อมูลจากรายงาน Thailand Internet User Behavior 2021 ของ ETDA ตอกย้ำให้เห็นว่าคนไทยอยู่กับโลกออนไลน์อย่างจริงจัง ตามสถิติล่าสุดเฉลี่ยถึงวันละ 10 ชั่วโมง 36 นาที ในขณะที่ภาคธุรกิจและผู้ประกอบการต่างหันมาทำ Digital Transformation รับมือต่อการเปลี่ยนแปลงจากผลกระทบของโควิดหลากหลายมิติ ตลาดที่เห็นได้ชัดเจน คือ e-Commerce ที่มีการแข่งขันดุเดือดและภาคการเงินที่เร่งพัฒนาบริการดิจิทัลมากมาย สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าประเทศไทยกำลังเดินไปอยู่ยุค Digital First อย่างแท้จริง ประกอบกับการบังคับใช้ของกฎหมาย PDPA ที่แม้ในช่วงแรกจะต้องให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชน ผู้ประกอบการ รวมถึงผู้ใช้กฎหมายด้วย แต่มั่นใจว่าในอนาคตจะเป็นกลไกสำคัญที่นำพาธุรกิจและผู้ประกอบการไทยไปแข่งขันในระดับสากลได้

อีกทั้งจุดเด่นทางด้านภูมิศาสตร์และทำเลที่ตั้งที่ประเทศไทยอยู่ในจุดศูนย์กลางของภูมิภาคฯ บวกกับนโยบายการสนับสนุนจากภาครัฐและการมุ่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลระดับประเทศจากหลายภาคส่วน อาทิ เครือข่าย
 5G เทคโนโลยีคลาวด์ หรือการจัดตั้งศูนย์ข้อมูล (Data Center) ทำให้ Digital Hub ระดับภูมิภาคไม่ไกลเกินจริง

ต้นทุนพลังงานไฟฟ้า” คือ ความท้าทายที่เปลี่ยนเป็นโอกาสได้ถ้าทุกฝ่ายร่วมมือกัน
การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ “เศรษฐกิจดิจิทัล” ล้วนมีต้นทุนแฝงอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนแรงงานที่ยังต้องเร่งพัฒนาทักษะดิจิทัล ต้นทุนของการวางโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเครือข่ายและอื่น ๆ อีกมากมาย 

ไม่ต่างจากการก้าวเข้าไปริเริ่มหรือทำธุรกิจด้วยไอเดียใหม่ ๆ ซึ่งต้องคำนึงถึงต้นทุนเป็นสำคัญเสมอ
  สำหรับ ต้นทุนพลังงานไฟฟ้า ถือเป็น Utilities of Digital World (สาธารณูปโภคแห่งโลกดิจิทัล) ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้ขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อใช้ดำเนินธุรกิจ 

แท้จริงแล้ว
 “พลังงานไฟฟ้า” เป็นทั้งโอกาสและความท้าทายในการพัฒนาระบบนิเวศดิจิทัลของประเทศที่ส่งผลกระทบชิ่งต่อ ๆ กันเป็นลูกโซ่ นอกจากพลังงานไฟฟ้าจะเป็นตัวกำหนดทิศทางทางเศรษฐกิจใหม่แล้ว ยังเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศ อย่าง Data Center ที่ใช้พลังงานอย่างมหาศาลเพื่อรัน Facilities ให้กับธุรกิจต่าง ๆ ข้อมูลจาก Statista พบว่า Hyperscale Data Center มีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นในช่วงสองปีหลัง (2563-2564) อยู่ที่ 76.23 TWh และ 86.58 TWh (TeraWatt-hour, ล้านล้านหน่วยชั่วโมง) ตามลำดับ 

ยิ่งธุรกิจขยายขนาดมากขึ้นรวดเร็วเท่าใด ยิ่งต้องพึ่งพาโครงสร้างพื้นฐานอย่าง ดาต้า เซ็นเตอร์ ในการเก็บข้อมูล ช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีการร่วมลงทุนในธุรกิจพลังงานมากขึ้นเพื่อขยายขีดความสามารถและเสาะหาแหล่งพลังงานทางเลือกใหม่ ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงโลกดิจิทัลที่หมุนตลอด
 24x7

ดาต้าเซ็นเตอร์เป็นกระดูกสันหลังหลักของระบบเศรษฐกิจดิจิทัล โดยเฉพาะในยุคที่ผู้ประกอบการไทยกำลังเผชิญกับภาวะต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและส่งผลกระทบกับธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการสนับสนุนจากภาครัฐจึงจำเป็นในระยะยาว เพื่อสร้างช่องทางให้ประเทศเติบโต คำตอบอยู่ที่การลงทุน Digital Infrastructure ซึ่งจะสร้างรายได้ให้กับประเทศในระดับหมื่นล้านบาทขึ้นไป และยังสร้างงานใหม่ ๆ สำหรับอนาคต” 
ดย ศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรานาถ สิงหรา ณ อยุธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

STT GDC Thailand ในฐานะผู้นำไฮเปอร์สเกล ด้าต้า เซ็นเตอร์ เข้าใจและตระหนักดีถึงความท้าทายในด้านพลังงานไฟฟ้า เสนอแนวคิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศอย่างยั่งยืนด้วยแนวทางการเปลี่ยนผ่าน “ต้นทุนพลังงานไฟฟ้า“ ให้เป็น “โอกาส” ทางเศรษฐกิจใหม่แก่ประเทศไทยที่ทุกฝ่ายควรร่วมมือกัน ดังนี้  

1. นโยบายการสนับสนุนด้านพลังงานไฟฟ้าจากภาครัฐต้องชัดเจนและเป็นรูปธรรม
เนื่องจากกำลังไฟฟ้ามีผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจดิจิทัลที่พึ่งพา ดาต้า เซ็นเตอร์  ซึ่งการสนับสนุนการลงทุนจาก BOI ยังโฟกัสไปที่กลุ่มผู้ให้บริการและนักลงทุนจากต่างประเทศเป็นหลัก โดยเป็นการลดภาษีเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการลดค่าไฟฟ้า จัดหาแรงจูงใจหรือ Incentive อย่างเหมาะสมให้กับธุรกิจที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอย่าง “ดาต้า เซ็นเตอร์” จะส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยได้อย่างตรงจุด ดังนั้นภาครัฐควรพิจารณาเพื่อวางกรอบปฎิบัติและจัดทำนโยบายสนับสนุนด้านพลังงานอย่างชัดเจนและเหมาะสม โดยเฉพาะธุรกิจดาต้า เซ็นเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูลไว้ในประเทศไทย

2. มีจุดยืนร่วมกันในการ
 “จัดสรรพลังงานไฟฟ้า” อย่างเหมาะสม 
การทำธุรกิจด้าต้า เซ็นเตอร์ในยุคใหม่คือการจำหน่ายเป็นกำลังไฟฟ้า (Power Per Rack)  ไม่ได้จำหน่ายเป็น Rack (ชั้นวางเซิร์ฟเวอร์) อย่างที่เคยมีมา ดังนั้นการสร้างจุดยืนร่วมกันเพื่อรับฟังความเห็นและตั้งคณะกรรมการหรือวางกรอบนโยบายเพื่อจัดสรรพลังงานไฟฟ้าอย่างเหมาะสมให้กับธุรกิจดาต้า เซ็นเตอร์ โดยเฉพาะ จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนควรขับเคลื่อนร่วมกันเป็นภาคี รวมถึงประเด็นในการนำพลังงานทางเลือก/หมุนเวียนมาใช้มากขึ้น

3. สร้างเครือข่าย/ศูนย์กลาง รับ-ส่ง พลังงานไฟฟ้าโดยเฉพาะ
 
นิยามการให้บริการของดาต้า เซ็นเตอร์ในยุคนี้คือ “ห้ามล่ม” โดยการจ่ายไฟฟ้าจะไม่เพียงพอหรือดับไม่ได้เด็ดขาดเพราะนั่นหมายถึงความสูญเสียทางธุรกิจที่ประเมินค่าไม่ได้  เสมือนไฟดับระหว่างการผ่าตัดใหญ่หรือระหว่างการทำธุรกรรมสำคัญ ดังนั้นกำลังไฟฟ้าที่หล่อเลี้ยงโครงสร้างพื้นฐานอย่างดาต้า เซ็นเตอร์ ควรมีเครือข่ายหรือสร้างเป็นศูนย์กลาง รับ-ส่ง เฉพาะ (Electronic Power for DATA CENTER) เพื่อส่งมอบพลังงานไฟฟ้าแบบ Direct 

4.  แบ่งปัน
 Knowledge และ Knowhow เพื่อ “พัฒนาเทคโนโลยีไฟฟ้า” อย่างยั่งยืน 
ความยั่งยืน (Sustainability) คือ อนาคตของโลกธุรกิจในวันนี้และวันหน้าอย่างไม่ต้องสงสัย นอกจากมาตรฐานต่าง ๆ ที่ดาต้า เซ็นเตอร์ควรมีเพื่อความยั่งยืนแล้ว “ความรู้ + ทักษะ” ทางเทคโนโลยีสำหรับการบริหารและจัดการกำลังไฟฟ้าในดาต้า เซ็นเตอร์ ควรมีการต่อยอด พัฒนา หรือสร้างเป็นหลักสูตรอบรมเฉพาะทาง เพื่อบ่มเพาะ Data Center Technician รุ่นใหม่ ๆ ที่จะเป็นกำลังสำคัญดูแลโครงสร้างพื้นฐานของประเทศและพาไทยไปสู่Digital Hub ในระดับภูมิภาคฯ ได้