2 ส.ค. 2565 1,280 30

ครบรอบ 5 ปี CEO ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย เปิดวิสัยทัศน์ยุค 2022 รับมือโลกดิจิทัลที่ปลอดภัย จับคู่เมตาเวิร์สทำงานแบบไฮบริด หรือ AI และควอนตัม

ครบรอบ 5 ปี CEO ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย เปิดวิสัยทัศน์ยุค 2022 รับมือโลกดิจิทัลที่ปลอดภัย จับคู่เมตาเวิร์สทำงานแบบไฮบริด หรือ AI และควอนตัม


ในโอกาสครบรอบการทำงาน ปี ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ADSLThailand มีโอกาสร่วมพบปะและรับฟังคุณ ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ถึงการวางเป้าหมายในการ สร้างคน สู่อนาคต เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่า (Empowering Thailand’s Futuremakers) เพื่อเตรียมความพร้อมให้ประเทศไทยก้าวสู่ยุคต่อไปได้อย่างมั่นคง เสริมจุดแข็งในฐานะผู้ผลิต ต่อยอดสู่ความเป็นผู้คิดค้น รับมือสถานการณ์ปัจจุบัน ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์และวงการเทคโนโลยีในภาพใหญ่ได้ร่วมกันขับเคลื่อนให้คลาวด์กลายเป็นหนึ่งในมาตรฐานใหม่ในการทำธุรกิจทั่วโลก ทั้งยังเปิดเวทีให้เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้เข้ามามีบทบาทเชื่อมโยงโลกปัจจุบันเข้ากับอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเมตาเวิร์ส, AI, ควอนตัมคอมพิวติ้ง หรือการทำงานแบบไฮบริด



“วันนี้หลายองค์กรมีหน่วยงานแยกย่อยออกไป เพื่อสร้าง service ขึ้นมา วันนี้ทุกอย่างจึงกลายเป็น virtual services โดยเฉพาะธนาคารและ health care ให้ความสำคัญมากในเรื่องของ data protection สิ่งที่เราทำจึงแปลว่ากระบวนการทุกขั้นตอน เราต้องมีการจัดการให้ได้ หรือแม้แต่ metaverse ในเกมหรืออะไรก็ตาม ทุกอย่างจะเป็นการ mix reality แม้กระทั่ง Industrial ก็จำเป็นต้องใช้ metaverse เช่น สร้างโรงงานจำลองให้ลูกค้า ได้มองเห็นแม้กระทั่งเซ็นเซอร์ของระบบ IoT” ธนวัฒน์ กล่าว

ซึ่งเทคโนโลยีทั้ง นี้จะมีความโดดเด่นในตัวเองอยู่ไม่น้อย แต่ทิศทางการพัฒนาที่น่าสนใจที่สุดจะมาจากการผสมผสานเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าด้วยกันเพื่อนำไปปรับใช้กับปัญหาจริง เช่นการจับคู่เมตาเวิร์สกับการทำงานแบบไฮบริด หรือ AI กับควอนตัม

การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออนาคตเหล่านี้ทำให้เราต้องย้อนกลับมาตั้งคำถามว่า “ทศวรรษหน้า ประเทศไทยจะต้องเดินต่อไปทางไหน?” และผลสำรวจ World Digital Competitiveness Ranking ของสถาบัน IMD จากสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อช่วงปลายปี 2021[1] ก็สะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างหลายจุดที่ยังต้องเติมเต็ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านทักษะเชิงดิจิทัล การจ้างงานในสายงานเชิงวิทยาศาสตร์และเทคนิค และการจดสิทธิบัตรด้านนวัตกรรม


ทั้งหมดนี้ นำไปสู่โจทย์ใหญ่ว่า ทำอย่างไรให้ประเทศไทย ก้าวจาก “Made in Thailand” ไปสู่ “Born in Thailand”?

ตีโจทย์ใหญ่ด้วยแนวคิด “สร้างคน สู่อนาคต เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่า”

ธนวัฒน์ มองว่าโจทย์ใหญ่นี้สามารถแบ่งออกได้เป็นภารกิจใน ด้านหลักๆ ได้แก่ 

สร้างคน – ทักษะเชิงดิจิทัล และการเรียนรู้ในทุกระดับ 
สู่อนาคต – เทคโนโลยีที่เสริมศักยภาพในการคิดและสร้างสิ่งใหม่ๆ อย่างมั่นใจและมีประสิทธิภาพ
เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่า – ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อนำทั้งทักษะและเทคโนโลยีมาสร้างความเปลี่ยนแปลงที่สัมผัสได้จริง

สำหรับการสร้างคน ไมโครซอฟท์ยังคงเดินหน้าเสริมทักษะเชิงดิจิทัลให้กับคนไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายสร้างทักษะให้คนไทย 10 ล้านคน ภายในปี 2024 โดยมีกิจกรรมและโครงการที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมากมาย เช่น 

โครงการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจ้างงาน (Accelerating Thailand) ที่ก้าวเข้าสู่เฟสสองด้วยเป้าหมายในการยกระดับทักษะให้คนไทย 180,000 คน หลังจากที่ในรอบปีที่ผ่านมา ได้พัฒนาทักษะไปกว่า 280,000 คนในเฟสแรก ช่วยให้ 14,000คนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น 4,500 คนมีโอกาสเติบโตในสายอาชีพ 4,500 คนมีรายได้เพิ่มขึ้น และ 1,900 คนได้ประกอบอาชีพใหม่

Microsoft Cloud Squad การรวมตัวของผู้สนใจและคนทำงานในสายเทคโนโลยี ทั้ง Cloud, Data, AI, Security และด้านอื่นๆ ให้มาเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญกัน พร้อมด้วยคอร์สฝึกสอน Fundamentals Training ที่ปูพื้นฐานความรู้ในด้านเหล่านี้ให้แน่น โดยมีผู้ได้ร่วมเรียนรู้ไปกับไมโครซอฟท์แล้วเกินกว่า 20,000 ราย

Microsoft Founders Program โครงการที่มุ่งต่อยอดศักยภาพของสตาร์ทอัพไทย มอบความเชี่ยวชาญระดับโลกและทรัพยากรสนับสนุนจากไมโครซอฟท์ พร้อมโอกาสในการทำตลาดร่วมกัน

เร็วๆ นี้กับ Microsoft LearningVerse พื้นที่แห่งการเรียนรู้ในโลกดิจิทัล ที่รวมทุกแหล่งความรู้และผู้เชี่ยวชาญจากเครือข่ายของไมโครซอฟท์มาไว้ในที่เดียว
สำหรับด้านเทคโนโลยีสู่อนาคต ไมโครซอฟท์ก็พร้อมนำเสนอเทคโนโลยีในหลากหลายด้านที่ตอบสนองความต้องการด้านนวัตกรรมของธุรกิจในยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็น

การปรับ Hybrid Work ให้เวิร์ก (Making Hybrid Work work) เมื่อการทำงานแบบไฮบริดทำให้พนักงานห่างเหินกันมากขึ้น ต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการสื่อสารระหว่างกัน ขณะที่จังหวะชีวิตก็เปลี่ยนไปด้วยปริมาณงานที่มากขึ้นสำหรับหลายคน จนกระทั่งเสีย work-life balance ไป

Microsoft Viva ยกระดับประสบการณ์ในองค์กร ให้ทุกคนทำงานได้ดีที่สุด เข้าถึงทรัพยากรและข้อมูลภายในองค์กรได้ครบมือและคล่องตัว เข้าใจในพฤติกรรมการทำงานของตัวเองมากกว่าที่เคย และนำความรู้ความเข้าใจทั้งหมดนี้มาสอดแทรกไว้ในชีวิตการทำงานแต่ละวันอย่างลงตัว

- Viva Connections ช่วยให้ข้อมูลและการสื่อสารจากองค์กร จากผู้บริหาร ถ่ายทอดไปถึงพนักงานมากขึ้น และพนักงานเองก็จะได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์กับตัวเองอย่างแม่นยำมากขึ้น
- Viva Insights ช่วยให้เข้าใจความรู้สึก พฤติกรรม ของพนักงานลึกซึ้งขึ้นกว่าการจัดทำแบบสำรวจรายปี เป็นหัวใจสำคัญของการสร้าง “data-driven HR” และช่วยสะท้อนให้เห็นสัญญาณต่างๆ ในที่ทำงาน เช่น อาจมีบางประชุมที่ข้อมูลชี้ว่ามีคนมากเกินไป นานเกินไป หรือได้เห็นว่าพนักงานบางทีมคุยกันหลังเลิกงานถี่มาก ซึ่งอาจเป็นสัญญาณว่างานล้นมือ เป็นต้น
- Viva Topics ช่วยให้พนักงานเข้าถึงทรัพยากรขององค์กรได้มากขึ้น ทั้งคน เอกสาร ข่าวสารต่างๆ
- Viva Learning เป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงแหล่งความรู้หลายๆ แหล่งขององค์กรไว้ด้วยกัน ให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น

พร้อมด้วยโซลูชันใหม่ล่าสุด Viva Goals ที่เพิ่งเปิดใช้งานเมื่อวันที่ สิงหาคม สำหรับการวางเป้าหมายและติดตามผลในองค์กร ตามแนวคิดแบบ OKR (Objective and Key Results)

สร้างสรรค์นวัตกรรมได้ทุกคน ทุกหนแห่ง (Innovate anywhere) กับนวัตกรรมมากมายบนคลาวด์ Microsoft Azure ไม่ว่าจะเป็น การสร้างแอปพลิเคชันแบบ low-code ที่ไม่เพียงแค่เพิ่มทางเลือกในการแก้ปัญหาให้กับพนักงานเท่านั้น แต่ยังเสริมความพึงพอใจกับงานที่ทำ และเปิดใจให้พนักงานคว้าโอกาสการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ มากขึ้น

Power Apps express design แค่วาดรูปได้ก็ดีไซน์แอปได้ ด้วย AI ที่สร้างหน้าตาของแอปขึ้นมาจากภาพที่เห็นโดยอัตโนมัติ พร้อมให้นำไปพัฒนาต่อ
Power Pages น้องใหม่ในตระกูล Power Platform ช่วยให้สร้างเว็บไซต์และบริการออนไลน์ผ่านหน้าเว็บที่พร้อมใช้งานในเวลาอันสั้น
GitHub Copilot AI ผู้ช่วยเขียนโค้ดสำหรับนักพัฒนา ช่วยวางพื้นฐานให้แอป ปลดปล่อยเวลาให้โฟกัสกับโจทย์ที่ซับซ้อนและจำเป็นต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ของผู้พัฒนา
ในปี 2021 ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัวบริการใหม่ๆ บน Azure ถึง 1,100 บริการ หรือคิดเป็นวันละ บริการ เพื่อให้นักพัฒนามีเครื่องมือพร้อมสรรพ นำไปประยุกต์ใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์

เร็วๆ นี้ เตรียมยกระดับประสิทธิภาพและความปลอดภัยบนคลาวด์ด้วย Azure Arc กับการนำบริการต่างๆ ของ Azure มาใช้งานบน data center ในประเทศหรือในองค์กร
ปลดล็อกความเป็นไปได้ใหม่ๆ จากโลกควอนตัม ด้วย Azure Quantum ที่เปิดให้ทุกคนเข้าถึงเทคโนโลยีควอนตัม คอมพิวติ้งได้ โดยไม่ต้องลงทุนกับฮาร์ดแวร์เฉพาะทาง
ปลอดภัยกว่าด้วย Azure Confidential Computing ระบบปกป้องข้อมูลที่รักษาความเป็นส่วนตัวในทุกขั้นตอน แม้ขณะต้องแชร์ข้อมูลชิ้นนั้นเพื่อการใช้งาน
ในด้านความปลอดภัย (Secure your future) ไมโครซอฟท์ยังคงพัฒนาศักยภาพในด้านนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เท่าทันภัยร้ายในโลกดิจิทัล และรักษาไว้ซึ่งแนวคิด Zero Trust ข้อมูลล่าสุดเผยว่าในรอบ 30 วันให้หลัง ยังมีดีไวซ์ในไทยถึง 1,249,442 เครื่องที่ตรวจพบมัลแวร์

ปัจจุบัน ไมโครซอฟท์เป็นผู้นำระดับโลกด้านความปลอดภัยที่ปกป้ององค์กรถึง 785,000 รายใน 120 ประเทศ วิเคราะห์สัญญาณอันตรายในโลกดิจิทัลถึง 24 ล้านล้านรายการต่อวัน และบล็อกภัยร้ายที่แพร่กระจายทางอีเมลได้ถึง 32,000 ล้านครั้งในปีที่แล้ว นอกจากนี้ เรายังติดตามความเสี่ยงจากกลุ่มอาชญากรไซเบอร์และผู้ประสงค์ร้ายที่สนับสนุนโดยภาครัฐของบางประเทศอีกด้วย

“เราสามารถสกรีนสิ่งที่เข้ามาโจมตีได้ตลอดเวลา เพราะไมโครซอฟท์ให้ความสำคัญกับสัญญาณเตือนต่างๆ ที่เข้ามา ลูกค้าไม่จำเป็นต้องซื้อ license ทั้งหมด เพราะวันนี้ทุกอย่างถูกรันบน cloud computing ซึ่งเป็นความสำคัญของ cyber security อีกด้วย โดยไมโครซอฟท์ได้รับการยืนยันรับรองจาก Gartner”

โซลูชันด้านความปลอดภัยของไมโครซอฟท์ ได้รับเลือกให้อยู่ในกลุ่ม “Leader” ของรายงาน Gartner Magic Quadrant ใน สาขาใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็น

- Access Management – Azure AD / Microsoft Entra
- Unified Endpoint Management – Endpoint Manager
- Endpoint Protection Platform – Microsoft 365 Defender
- Enterprise Information Archiving – Microsoft 365

ส่วนความร่วมมือกับหลากหลายภาคส่วนเพื่อสร้างประเทศไทยที่ดีกว่า มีไฮไลท์ที่น่าสนใจดังนี้

“ยกตัวอย่างเช่น การที่ไมโครซอฟท์นำเทคโนโลยีไปซัพพอร์ตร่วมกับ 5G ของลูกค้าเอไอเอส ทั้งเรื่อง Smart building Smart city Smart factory วันนี้เอไอเอส ดาต้าเซ็นเตอร์ ก็ใช้เทคโนโลยี Microsoft Azure ทั้งหมดแล้ว หรือแม้แต่ กฟผ. หรือ EGAT โฟกัสในส่วนของ Sustainability ซึ่งหมายถึงเทคโนโลยีที่ควบคู่ไปกับความยั่งยืน และ SCBx ด้วยนั้น ไมโครซอฟท์ยังถูกเลือกเป็น Cloud partner ในการ transformation ตลอดจนสตาร์ทอัพ คือ buzzybees แม้แต่สายธนาคาร คือ กสิกรไทย คือ KPLUS เป็นต้น” ธนวัฒน์ ให้รายละเอียดเพิ่มเติม  

เอไอเอส
ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ที่ครอบคลุมทั้งการสร้างสรรค์ดิจิทัลโซลูชันร่วมกัน การสร้างทักษะระดับ deep tech ให้กับพนักงานของเอไอเอส ไปจนถึงการร่วมกันสนับสนุนสตาร์ทอัพไทย ผ่านโครงการ AIS x Microsoft for Startups โดยเอไอเอสเองได้รับเลือกให้เป็นเจ้าของรางวัล Partner of the Year ของไมโครซอฟท์ ประเทศไทยในปีนี้

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ร่วมกันศึกษาและสำรวจแนวทางการใช้เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน ทั้งการจัดการพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) การจัดเก็บพลังงาน (Battery Energy Storage System) และการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Grid Modernization) ไปจนถึงการดักจับและการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage)

ปตท.
ความร่วมมือ ปีเต็ม เพื่อพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลยีและยกระดับทักษะบุคลากร ตามเป้าหมาย PTT – Powering Thailand’s Transformation

ธนาคารกสิกรไทย
เทคโนโลยีไมโครซอฟท์ร่วมต่อยอดความสำเร็จของ K PLUS เตรียมขยายฐานผู้ใช้ออกสู่ระดับภูมิภาค พร้อมนำเสนอบริการแบบเฉพาะบุคคล (Personalized Offering) ผ่านการประมวลผลโดย AI และ Machine Learning

ธนาคารไทยพาณิชย์
เร่งขับเคลื่อนกระบวนการ digital transformation ของธนาคาร พร้อมจับมือ SCB Academy เสริมทักษะด้าน AI ให้กับบุคลากร

เอสซีจี
ความร่วมมือ ปีภายใต้แนวคิด “สร้างสรรค์นวัตกรรมสู่อนาคต” (Building New Frontiers of Innovation) ที่มุ่งเสริมศักยภาพในด้านการเข้าใจและตอบโจทย์ของผู้บริโภค ความฉับไวในการส่งมอบสินค้าและบริหารจัดการระบบการผลิต และการคาดการณ์เทรนด์ใหม่ๆ พร้อมตอบสนองความต้องการด้วยนวัตกรรมเพื่อยุคหน้า

บ้านปู เน็กซ์
ดึงคลาวด์ Azure สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมพลังงานฉลาด ช่วยให้มองเห็นและเข้าใจการใช้พลังงานอย่างทั่วถึง

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ เพื่อร่วมกันปฏิรูปแนวทางเชิงนโยบายและกรอบข้อบังคับต่างๆ ภายใต้จุดมุ่งหมายเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยให้มีความยืดหยุ่นและคล่องตัว รองรับการปรับตัวและแข่งขันบนเวทีโลก โดยครอบคลุมทั้งการปฏิรูประบบงานภายในสำนักงานฯ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ควบคู่ไปกับการพัฒนาคลังความรู้ด้านกฎหมายที่พร้อมสนับสนุนการร่างนโยบายโดยมีข้อมูลเป็นพื้นฐาน และการให้คำปรึกษากับหน่วยงานภาครัฐในด้านการวางกรอบกฎหมายและข้อบังคับที่ถูกต้องเหมาะสม


นอกจากตัวอย่างความร่วมมือข้างต้นแล้ว ไมโครซอฟท์ยังได้นำโซลูชัน Cloud for Sustainability มาเริ่มปรับใช้กับหลายองค์กรในประเทศไทย เพื่อให้ทุกภาคส่วนร่วมกันเดินหน้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutral) ภายในปี 2050 และก้าวสู่สถานะ Net Zero เต็มตัวในปี 2065


[1] IMD World Digital Competitiveness Ranking, 29 September 2021 - ข้อมูลคนละชุดกับรายงาน IMD World Competitiveness Ranking 2022 ที่เป็นการประเมินในภาพรวมและเผยแพร่ออกไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

COMMENTS