SpaceX และ T-Mobile พร้อมจับมือเป็นพันธมิตรที่เชื่อมต่อดาวเทียมโดยตรงกับสมาร์ทโฟนที่ใช้งานภาคพื้นดิน การแถลงข่าวดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 โดยมี Mike Sievert ซีอีโอของ T-Mobile (ซ้าย) และ Elon Musk CEO ของ SpaceX (ขวา) ระบุว่า T-Mobile ได้วางแผนร่วมกับกลุ่มดาวเทียมบรอดแบนด์ Starlink เพื่อเชื่อมต่อโดยตรงกับสมาร์ทโฟนในพื้นที่ที่ห่างไกลจากเสาโทรคมนาคม 5G ภาคพื้นดิน
โดยบริการดังกล่าวกลุ่มดาวเทียม Starlink เตรียมอัพเกรด Application เพื่อเชื่อมต่อโดยตรงกับสมาร์ทโฟนภายใต้ความร่วมมือเพื่อนำไปสู่การให้บริการในเขตพื้นที่ไร้สัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ “mobile dead zones” โดยพร้อมให้บริการทั่วประเทศสหรัฐอเมริกาภายในปีหน้า
ในเบื้องต้นได้มีการทดสอบระบบผ่านบริการ Beta เริ่มต้นจากการรับส่งข้อความและรูปภาพและภายในปีนี้จะเริ่มรับส่งข้อมูลทางด้านเสียงและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
T-Mobile พร้อมสนับสนุนคลื่นความถี่ทั่วประเทศที่พร้อมใช้งานกับสมาร์ทโฟนของลูกค้าโดยตรงในบริเวณภาคพื้นดินและร่วมมือกับ SpaceX ที่จะส่งสัญญาณความถี่โดยตรงมายังมือถือผ่านกลุ่มดาวเทียมดาวเทียม Starlink รุ่นที่สองขนาดเสาประมาณ 25 ตารางเมตร และลูกค้าสามารถใช้บริการนี้ได้โดยคิดค่าบริการในแพ็กเกจค่ามือถือตามปกติ
ดาวเทียม Starlink V2 ถือเป็นดาวเทียมขนาดใหญ่ต้องอาศัยจรวดอวกาศขนาดใหญ่เช่นเดียวกันแล้วยิงไปยังวงโคจรแนะระดับต่างๆจุดนี้ทางเรากำลังพิจารณา เบื้องต้นอาจจะมีการรจนาดาวเทียมรุ่นดังกล่าวลงเป็นกลุ่มดาวเทียม Starlink V2 mini ให้มีปริมาณพอดีกับการขนส่งดาวเทียมขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศให้มีขนาดเท่ากับ Falcon 9
ทางด้านกฎระเบียบขณะนี้ทาง SpaceX ส่งเรื่องไปยัง Federal Communications Commission (FCC) หรือหน่วยงานกำกับดูแลทางด้านโทรคมนาคมของประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อเร่งพิจารณาให้ทันกับการนำดาวเทียมดังกล่าวขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศในบริเวณรัฐเท็กซัส กลุ่มดาวเทียมดังกล่าวต้องใช้ปริมาณดาวเทียม Starlink V2 ถึง 30,000 ดวงเพื่อตอบสนองความต้องการให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วสหรัฐอเมริกา
ขณะนี้ทาง SpaceX และ T-Mobile กำลังดำเนินการเพื่อขออนุญาตโดยเฉพาะกรณีการรับ-ส่งสัญญาณโทรคมนาคมโดยตรงซึ่งไม่ได้ใช้กลุ่มสัญญาณ KU Bands แต่เพียงอย่างเดียวหรือคลื่น 12 GHz ถือบริการ "ดาวน์ลิงก์ที่สำคัญ" ( Critical downlink services )เพื่อให้บริการ 5G ต้องได้รับการอนุญาตจาก FCC ก่อนเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ ในด้านความสามารถในการรับส่งสัญญาณทางเสียงสามารถรับส่งสัญญาณของเสียงได้พร้อมกันมากถึง1,000-2,000 ครั้งหรือข้อความตัวอักษรหลายแสนข้อความ ผ่านความจุกในการรับส่งข้อความอยู่ที่ 2-4 Mbits per cell zones ความสามารถดังกล่าวจะกระจายไปทั่วประเทศในพื้นที่ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตเมืองและเขตชานเมืองซึ่งถือเป็นพื้นที่ที่สำคัญ
ข้อมูล arstechnica t-mobile spacenews zdnet