29 ส.ค. 2565 666 0

ซีพี ออลล์ จัด “Creative AI Club Hackathon” ประชันไอเดีย AI สุดต๊าซฝีมือเยาวชนครั้งแรก โชว์ผลงานชนะเลิศ ทีม “เคี้ยงเครียด” แก้ปัญหาสุขภาพจิตเยาวชน

ซีพี ออลล์ จัด “Creative AI Club Hackathon” ประชันไอเดีย AI สุดต๊าซฝีมือเยาวชนครั้งแรก โชว์ผลงานชนะเลิศ ทีม “เคี้ยงเครียด” แก้ปัญหาสุขภาพจิตเยาวชน

ซีพี ออลล์ จัดกิจกรรมเพื่อเยาวชนอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด เข้าสนับสนุนการสร้างเวทีให้เยาวชนจากโครงการค่าย CAI CAMP รุ่นที่ 3 ในการจัดกิจกรรม Creative AI Club Hackathon ครั้งแรก ประชันไอเดียเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย-ระดับอุดมศึกษา ปีที่ 1  ชูแนวคิด AI For Youth ปั้นผลงานที่ คิดโดยเยาวชน ทำโดยเยาวชน เพื่อเยาวชน”  มีเยาวชนจากจังหวัดต่างๆ ตบเท้าเข้าร่วมงานเกินคาด!!! ทีมชนะเลิศ เคี้ยงเครียด” ระเบิดไอเดียเจ๋งสร้างแอพ AI ช่วยดูแลสุขภาพจิตเยาวชน คว้ารางวัลที่ 1 ไปครอง 




ป๋วย ศศิพงศ์ไพโรจน์ Assistant Chief Information Technology Officer (ACIO) สำนักปัญญาประดิษฐ์สร้างสรรค์ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ กล่าวว่า ได้จัดงาน Creative AI Camp ค่ายพัฒนาทักษะเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและ ปวช.ด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) อย่างต่อเนื่องมาแล้วถึง 4 ปี ล่าสุด บริษัท และ 9 พันธมิตร ได้แก่ บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัดบริษัท คลาวด์ เอชเอ็ม จำกัดบริษัท ซันฟู้ดส์ เทรดดิ้ง จำกัดบริษัท เมคเกอร์โรโบติกส์ จำกัดบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัดบริษัท แลคตาซอย จำกัดเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทยมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และ สำนักเคเอกซ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตลอดจนกลุ่มเยาวชนผู้จัดงานจากมหาวิทยาลัยต่างๆ และศิษย์เก่า Creative AI Camp ภายใต้ Creative AI Club ได้ร่วมกันจัดอีกกิจกรรมหนึ่งเพื่อเยาวชน ภายใต้ชื่อ Creative AI Club Hackathon ขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นเวทีระยะสั้นแบบ 2 วัน 1 คืน ให้เยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับอุดมศึกษา ปีที่ 1 ที่ผ่านการคัดเลือกจากทั่วประเทศ เข้ามารวมกลุ่ม และร่วมกันสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ ด้าน AI ภายใต้แนวคิดที่กำหนด 


แนวคิดในปีแรกนี้ คือ AI for Youth เรามองว่าที่ผ่านมา ผู้คนมักจะคิดถึงแต่ AI ที่เข้ามาช่วยกันแก้ปัญหาใหญ่ๆ ระดับมหภาค แต่ไม่ค่อยมี AI ที่จะเข้ามาตอบโจทย์ความต้องการของเยาวชนโดยตรง จริงๆ แล้ว AI for Youth เป็นเรื่องที่มีคุณค่า แต่ยังไม่ค่อยมีคนให้ความสนใจ เราจึงคาดหวังว่าแนวคิดของการจัดงานครั้งแรกนี้ จะนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงาน ที่คิดโดยเยาวชน ทำโดยเยาวชน เพื่อประโยชน์ของเยาวชนจริงๆ” ายป๋วย กล่าว 




ทั้งนี้ ผลของการจัดงานในปีแรก พบว่า เยาวชนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรม ล้วนมีความสามารถในการมองเห็นปัญหา (Pain Point) ที่เป็นของเยาวชนอย่างแท้จริง ทำให้ได้เห็นหลากหลายปัญหาที่ผู้ใหญ่อาจนึกไม่ถึงว่าจะเกิดขึ้นกับเด็กๆ ทั้งปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนออนไลน์ ปัญหาการแต่งกาย ปัญหาสิวในวัยรุ่น ปัญหาการเลือกอาชีพและคณะที่เรียนในอนาคต และยังได้เห็นความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชนในการนำ AI มาแก้ปัญหาเหล่านั้น สิ่งสำคัญที่คณะกรรมการใช้ในการตัดสินคือ แนวทางที่นำเสนอมานั้น สามารถแก้ไข Pain Point ได้จริงแค่ไหน มีความเป็นไปได้จริงทั้งทางเทคนิคและต้นทุนการดำเนินการมากน้อยเพียงใด 

หลังจากนี้ บริษัทจะเดินหน้าจัดงานทั้ง
 Creative AI Camp และ Creative AI Club Hackathon อย่างต่อเนื่อง โดยกำลังเริ่มเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วม Creative AI Camp รุ่นที่ 5 แล้วในวันนี้ ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.caicamp.com/camp หรือสอบถามเพิ่มเติม โทร 0-2071-4509 

สำหรับรางวัลชนะเลิศ
 จาก Creative AI Club Hackathon ครั้งที่ 1 ได้แก่ ผลงาน เคี้ยงเครียด ผลงาน AI แก้ปัญหาสุขภาพจิตของเยาวชน (สมาชิกในทีม : นางสาวชญาดา ม่วงบุญศรีนายพงศพัศ เมธเศรษฐนายศิรวิญญ์ นิรนาทล้ำพงศ์นางสาวเจนตา วงศ์เลิศสกุล และนายธีรภัทร รัฐวิบูลย์) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ผลงาน Vio-Protego เว็บแอปพลิเคชันที่ใช้ AI ทำงานควบคู่กับกล้องวงจรปิด เพื่อตรวจจับปัญหาความรุนแรงในห้องเรียน (สมาชิกในทีม : นางสาวบัซลาอ์ ศิริพัธนะนางสาวศิรภัสสร รัตนาศิริภิรมย์นางสาววีริสรา พันธ์วิริยะภากรนายโฮเซ่ โกฮ์และนายอมร พันธุรัตน์)  และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ผลงาน Ling Jak Jak” LINE-Bot ที่ใช้ AI ช่วยตรวจสอบและให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง (สมาชิกในทีม : ายฑิณภัทร กันจินะนายภานุรุจ ศิริณาไพศาลนางสาวปุณยนุช ใจชอบงามนางสาวอัญธิดา จักสารและนายบอลตัน อาทิตย์ เดวิส 


ด้านเจนตา วงศ์เลิศสกุล หรือ เจน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ โรงเรียนดรุณสิกขาลัย (โครงการ วมว.) กล่าวว่า ตัวของเธอมีความใฝ่ฝันอยากเป็น Data Scientist และมีความสนใจเรื่อง AI Mental Therapy อยู่แล้ว เมื่อได้ร่วมทีมกับเพื่อนๆ จึงได้คุยกันถึง Pain Point ของวัยรุ่นยุคปัจจุบัน และตัดสินใจสร้างสรรค์ผลงาน เคี้ยงเครียด” ขึ้นมา 

เราพบว่า เราและเพื่อนๆ วัยรุ่นเดี๋ยวนี้ ประสบปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต หรือ Mental Health กันมาก ทุกคนเครียด แต่เลือกที่จะเก็บปัญหาไว้กับตัวเอง ไม่ระบายออกมา เพราะบางเรื่องมองว่าอาจจะเล่าให้เพื่อนฟังไม่ได้ เราจึงมองเรื่องการสร้างแอปขึ้นมาเป็นพื้นที่ให้คนกลุ่มนี้ได้ใส่ใจสุขภาพของตัวเอง ได้มาแสดงอารมณ์ เก็บข้อมูลโดย AI เพื่อให้รู้ว่าสภาวะทางอารมณ์ตอนนี้เป็นยังไงแล้ว หากถึงจุดที่สะสมนานไป จะได้แก้ปัญหาทัน” นางสาวเจนตา กล่าว
 


ขณะที่พงศพัศ เมธเศรษฐ หรือ เคี้ยง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน กล่าวว่า จากสถิติกรมสุขภาพจิต ซึ่งมีผู้ทำแบบสอบถาม 3.ล้านคน มีผู้เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าถึง 8.56% ทีมจึงมองว่าต้องพัฒนาแอปพลิเคชันขึ้นมาแก้ปัญหาดังกล่าว โดยแอปเคี้ยงเครียด จะเป็นแอปที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ (User-friendly) ใช้เวลาแค่ประมาณ 15 นาทีต่อวัน สะท้อนเรื่องราวในแต่ละวันของตัวเอง เพื่อให้ได้เข้าใจตัวเอง แล้วให้ AI เข้ามาช่วยคัดกรองข้อความ เพื่อแบ่งข้อความออกเป็น 4 กลุ่ม คิดลบ คิดบวก กลางๆ และยังไม่ชัดเจน และแบ่งภาวะความเครียดเป็น 3 สี ได้แก่ สีเขียว สีส้ม และสีแดง แสดงบนปฏิทิน หากมีสีแดงบนปฏิทินต่อเนื่องกันหลายวัน อาจมีการแนะนำผู้เชี่ยวชาญให้ เพื่อช่วยบำบัดสภาวะความเครียดดังกล่าว 





แม้จะเป็นระยะเวลาเพียงสั้นๆ เพียง 2 วัน 1 คืน แต่ Hackathon ครั้งนี้ ได้รับสิ่งดีๆ กลับไปหลายอย่าง ทั้งทักษะการทำงานเป็นทีม การได้เรียนรู้มุมมองของเหล่าคณะกรรมการ เมนทอร์ ที่มองในมุมของผู้ใช้ การได้ฝึกทักษะการนำเสนอ รวมถึงช่วยให้ได้ค้นหาตัวเองด้วยว่า จากเดิมที่อยากเป็นวิศวกร จริงๆ แล้วอยากเป็น Software Engineer ด้วยหรือไม่” นายพงศพัศ กล่าว