2 ก.ย. 2565 391 0

ไทยยืนหนึ่ง Shoppertainment ตามด้วยตลาดอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ไทยยืนหนึ่ง Shoppertainment ตามด้วยตลาดอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ความต้องการและความคาดหวังของผู้บริโภคในโลกดิจิทัลเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จากผลการวิจัยล่าสุดในตลาดเอเชียแปซิฟิกที่ร่วมสำรวจและเผยแพร่โดย TikTok และ Boston Consulting Group (BCG) ในหัวข้อ ‘Shoppertainment: APAC's Trillion-Dollar Opportunity’ หรือ “Shoppertainment: โอกาสมูลค่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐของเอเชีย-แปซิฟิก” ซึ่งสำรวจตลาด 6 ประเทศทั่วเอเชีย-แปซิฟิก ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ค้นพบว่า Shoppertainment หรือประสบการณ์การซื้อขายที่เกิดจากความบันเทิง กลายเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จเพื่อก้าวไปสู่ยุคอีคอมเมิร์ซ สิ่งที่น่าสนใจที่สุดคือ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดอีคอมเมิร์ซที่เติบโตอย่างรวดเร็วและมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมนี้ให้ก้าวไปข้างหน้า

อีคอมเมิร์ซได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนและธุรกิจ Shoppertainment เทรนด์การจับจ่ายซื้อของผ่านการรับชมคอนเทนต์ที่มอบความบันเทิงให้แก่นักช้อป เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น เป็นรูปแบบที่น่าสนใจและสร้างความตื่นเต้น จุดประกายความน่าเชื่อถือ ให้แก่ผู้ใช้และสร้างคอมมูนิตี้ให้เกิดขึ้น โดยมีตัวขับเคลื่อนสำคัญหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นครีเอเตอร์ ผู้ใช้ หรือแม้กระทั่งแบรนด์เองก็ตาม จากผลการวิจัยดังกล่าวคาดการณ์ว่า Shoppertainment จะสร้างโอกาสมูลค่าราว 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐให้กับแบรนด์ต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิกภายในปี 2568 โดยตลาดอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้จะมีส่วนร่วม 67% ของมูลค่าตลาดรวม (Gross Market Value - GMV) ใน Shoppertainment ภายในปี 2568 และ Shoppertainment ยังจะเติบโตถึง 63% ต่อปี เมื่อเทียบอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น (Compound Annual Growth Rate - CAGR) สำหรับตลาดที่รวมอยู่ในรายงาน ในช่วงสามปีข้างหน้า

นอกจากนี้ ผลการวิจัย ‘Shoppertainment: APAC's Trillion-Dollar Opportunity" ยังระบุด้วยว่า Shoppertainment มีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันได้แก่ ไทยเวียดนาม และอินโดนีเซีย ตามลำดับ เนื่องจากทั้งสามประเทศนับว่าครองส่วนแบ่งการตลาดอีคอมเมิร์ซใหญ่ที่สุด และภูมิภาคนี้ที่ขับเคลื่อนด้วยความบันเทิงมีปัจจัยกระตุ้นอุปสงค์และอุปทาน โดยผู้บริโภคในภูมิภาคได้แสดงให้เห็นว่า Shoppertainment มีผลต่อชีวิตของพวกเขาเป็นอย่างมาก

ในบรรดาตลาดทั้ง 6 แห่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประเทศไทยอยู่ในอันดับต้นๆ ของการนำ Shoppertainment ไปใช้

คอนเทนต์วิดีโอ: ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่นิยมเสพคอนเทนต์ในรูปแบบวิดีโอมากขึ้น โดยจัดอยู่ในอันดับที่ 4 ที่ใช้เวลาเพิ่มขึ้นในการรับชมคอนเทนต์มากที่สุด รองจากอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และเวียดนาม ซึ่งเป็นโอกาสอันดีสำหรับธุรกิจที่จะทำการตลาดและสื่อสารแบรนด์หรือโปรดักส์ด้วยวิดีโอ เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น

คอนเทนต์ความบันเทิงนำไปสู่การซื้อ: คนไทยแสวงหาความบันเทิงและชอบเสพคอนเทนต์ที่ทำให้ตัวเองมีความสุขและตอบสนองความต้องการของตน การผสมผสานระหว่างความบันเทิงกับการช้อปปิ้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาสามารถเพิ่มความสนใจในการรับชมและโอกาสในการซื้อที่สูงขึ้น โดยประเทศไทยจัดอยู่อันดับที่สองของตลาดที่คอนเทนต์บันเทิงกลายเป็นปัจจัยที่ทรงพลังที่สุดและส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ ตามด้วยเวียดนาม ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้

พฤติกรรมการซื้อแบบไม่ได้วางแผนล่วงหน้า: พฤติกรรมการซื้อและทัศนคติของคนไทยได้เปลี่ยนแปลงไป การเติบโตของระบบ e-payment, mobile banking และ e-commerce ส่งผลให้ผู้บริโภคคุ้นชินกับการช้อปปิ้งดิจิทัลมากขึ้นด้วยช่องทางที่หลากหลาย โดยเฉพาะคนไทยเจนเนอเรชั่นใหม่ มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมการซื้อแบบไม่ได้วางแผนล่วงหน้าจัดอยู่อันดับที่หนึ่ง ตามด้วยออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม

สรรหาและค้นพบสิ่งใหม่ๆ: คนไทยมีพฤติกรรมที่ต้องการค้นพบประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อสร้างความเป็นตัวตนที่แตกต่าง จึงกระตือรือร้นที่จะสรรหาแบรนด์และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่เสมอ ผู้บริโภคชาวไทยยินดีที่จะลองใช้และซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่จากแบรนด์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ใหม่ แบรนด์ที่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก หรือแม้แต่แบรนด์ที่เป็นที่รู้จักแต่ยังไม่เคยลองใช้ หากผลิตภัณฑ์นั้นเหมาะกับสไตล์และความชอบของตน ผลการวิจัยชี้ว่าไทยจัดอยู่ในอันดับที่สองรองจากเวียนาม ในการชอบค้นพบแบรนด์และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ตามด้วยอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้

มีแรงจูงใจจากครีเอเตอร์: คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตตลอดเวลาและใช้งานแพลตฟอร์มต่างๆ อยู่เสมอ มักจะติดตามครีเอเตอร์ที่มีรสนิยมหรือไลฟ์สไตล์คล้ายคลึงกับตน และใช้เวลามากขึ้นในการเสพคอนเทนต์จากครีเอเตอร์เหล่านี้ โดยครีเอเตอร์เหล่านี้มีผลกระทบต่อความตั้งใจในการซื้อและตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเป็นอย่างมากด้วยแรงจูงใจจากความคิดเห็นส่วนตัวและคำแนะนำ ไทยจัดอยู่เป็นอันดับหนึ่งสำหรับการทดลองใช้และซื้อผลิตภัณฑ์ตามครีเอเตอร์ ตามด้วยเวียดนาม อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้

การปรับใช้ Shoppertainment: ความต้องการของผู้บริโภคชาวไทยได้พัฒนาไปในทิศทางของความบันเทิงนำการซื้อขาย ไทยจึงเป็นตลาดอันดับหนึ่งในการเปิดรับ Shoppertainment มากที่สุด ตามด้วยเวียดนาม อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย คนไทยชอบเสพคอนเทนต์บันเทิงสนุกที่ทำให้พวกเขามีความสุขโดยไม่ต้องรู้สึกกดดันให้ซื้อ แบรนด์จึงควรหลีกเลี่ยงในการนำเสนอการขายมากเกินไป แล้วหันมาใช้แนวทาง entertainment first, commerce second เพื่อสร้างความประทับใจที่ยอดเยี่ยมและมอบประสบการณ์อันน่าทึ่งแก่ผู้บริโภคระหว่างเส้นทางการซื้อ

ทุกตลาดมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและต้องการกลยุทธ์การเติบโตที่แตกต่างกัน สำหรับแบรนด์แล้ว เวียดนามและไทยนับเป็นตลาดหลัก (Mainstay Markets) ซึ่งนักการตลาดควรพยายามขยายขอบเขตต่อไปในขณะที่ดำเนินการนำร่องในตลาดอื่นๆ ผู้บริโภคชาวไทยนิยมเสพความสุขและความบันเทิง และมีความไว้วางใจอย่างสูงต่อดาราคนดังและอินฟลูเอนเซอร์ที่สำคัญ และชอบติดตามเทรนด์อยู่เสมอ อินโดนีเซียเป็นตลาดที่สำคัญและกำลังเติบโตพร้อมศักยภาพทางการค้าที่มหาศาล (Star Markets) ในขณะที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง (High Potential Markets) และออสเตรเลียเป็นตลาดที่กำลังเติบโตในอนาคต (Future Growth Markets)

แบรนด์สามารถกระโดดข้าม Shoppertainment โดยดำเนินการการตลาดที่ตอบสนองความต้องการทางอารมณ์ของผู้บริโภคด้วยการเล่าเรื่องและให้ความรู้ ผ่านวิดีโอก่อน ไม่บังคับการตัดสินใจ มีความถูกต้อง พร้อมด้วยเสนอเทรนด์และคำแนะนำ ข้อมูลที่ชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่การซื้อของผู้บริโภคโดยทันที

แบรนด์สามารถบรรลุเป้าหมายผ่าน "4C's" ของ Shoppertainment ซึ่งรวมถึง:

  • กลยุทธ์แคมเปญที่มีการวางแผนที่ชัดเจนซึ่งช่วยลดปัญหาในขณะที่เน้นความบันเทิงเป็นหลัก
  • การแบ่งกลุ่มลูกค้าที่ระบุลูกค้าที่เหมาะสมในเวลาที่เหมาะสม เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนพฤติกรรมของความต้องการด้านอารมณ์
  • การจัดการช่องทางด้วยทรัพยากรเฉพาะเพื่อใช้ประโยชน์จากโอกาสทางการค้าที่สำคัญของ Shoppertainment
  • คู่มือเนื้อหาที่ใช้แนวทางวิดีโอเป็นอันดับแรกเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและนำเสนอข้อมูลแก่ผู้บริโภคเพื่อสร้างแรงจูงใจในการตัดสินใจซื้อ

การเชื่อมโยงความสนใจ รวมถึงผลิตภัณฑ์ของแบรนด์เข้ากับความต้องการของผู้บริโภคผ่านความบันเทิง จะเปิดเส้นทางใหม่ๆ ให้ผู้บริโภคค้นพบประสบการณ์ที่มอบผลลัพธ์ซึ่งนำไปสู่การซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง แบรนด์และธุรกิจจึงมีโอกาสประสบความสำเร็จจากโอกาสมูลค่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ด้วย Shoppertainment อย่างแน่นอน

สามารถอ่านผลวิจัยฉบับเต็ม ได้ที่ http://www.tiktokshoppertainment.com/