14 ก.ย. 2565 626 17

หัวเว่ย ผนึกกำลัง ม.เกษตรศาสตร์ พัฒนามหาวิทยาลัยอัจฉริยะ สนับสนุนนวัตกรรม ผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลไทย

หัวเว่ย ผนึกกำลัง ม.เกษตรศาสตร์ พัฒนามหาวิทยาลัยอัจฉริยะ สนับสนุนนวัตกรรม ผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลไทย

ในภาพ – พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ในการพัฒนามหาวิทยาลัยอัจฉริยะ ระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามโดย ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ (ที่ 3 จากซ้าย) อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ อลัน เหลียว (ที่ 2 จากซ้าย) รองประธานกรรมการบริหาร หัวเว่ย ประเทศไทย โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประดนเดช นีละคุปต์ (ขวาสุด) รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีดิจิทัล และ เควิน เฉิง (ซ้ายสุด) ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมเป็นสักขีพยาน

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในความร่วมมือเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยอัจฉริยะและโครงการด้านนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ภาคเกษตรกรรม ภาคการผลิต ภาคการขนส่ง และด้านสาธารณสุข เป็นต้น โดยโครงการความร่วมมือดังกล่าวจะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ได้แก่ 5G คลาวด์ รวมถึงการการพัฒนาบุคลากรและทักษะด้านไอซีที เพื่ออำนวยความสะดวกในการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลสำหรับขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย

บันทึกความเข้าใจ (MoU) ในการพัฒนามหาวิทยาลัยอัจฉริยะ ระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามโดย ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ นายอลัน เหลียว รองประธานกรรมการบริหาร  หัวเว่ย ประเทศไทย โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประดนเดช นีละคุปต์ รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีดิจิทัล และ นายเควิน เฉิง ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามเป็นสักขีพยาน

ภายใต้ข้อตกลงบันทึกความเข้าใจดังกล่าว หัวเว่ยจะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในประเด็นสำคัญหลายประการ ผ่านการจัดหาเทคโนโลยีดิจิทัลและการแบ่งปันความรู้เทคโนโลยี โดยมีประเด็นสำคัญซึ่งรวมถึงการประยุกต์ใช้โซลูชันการศึกษาอัจฉริยะใหม่ๆ อาทิ 5G และ คลาวด์ในห้องเรียน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการริเริ่มมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีไอซีทีและความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมจากทั้งสองฝ่าย เพื่อจัดตั้งโครงการนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรม เช่น ภาคเกษตรกรรมและสาธารณสุข ให้เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการเพิ่มโอกาสการเรียนรู้และการฝึกงานแก่นิสิตนักศึกษา และการทำงานร่วมกันในการทดสอบเทคโนโลยี 5G


ดร.จงรัก วัชรินรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงความร่วมมือดังกล่าวว่า “มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และหัวเว่ยได้ร่วมมือกันในโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีไอซีทีมาเป็นเวลายาวนานและมีความสัมพันธ์ที่ดีมาโดยตลอด การลงนามในบันทึกความเข้าใจครั้งนี้ จะช่วยยกระดับความร่วมมือและเพิ่มโอกาสในการเติบโตทางการศึกษาแก่ นิสิตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอนาคตดิจิทัลของประเทศไทย โดยในระยะแรกเราได้ริเริ่มโครงการความร่วมมือทั้งหมด 5 โครงการ  ได้แก่ โครงการโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยี Wifi-6 สำหรับสมาร์ทแคมปัส โครงการโซลูชันด้านการผลิตและการขนส่งสำหรับโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ 5G โครงการยานยนต์ไร้คนขับรถบรรทุกเชิงพาณิชย์ 5G โครงการศูนย์ฝึกอบรมด้านการบินแบบไฮเปอร์เรียลลิตี้ 5G และโครงการห้องเรียนอัจฉริยะ AR/VR บนเทคโนโลยี 5G ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับศักยภาพความสำเร็จของความร่วมมือครั้งนี้”

อลัน เหลียว รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัดได้กล่าวเพิ่มเติมถึงความร่วมมือดังกล่าวว่า “มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สร้างความประทับใจให้เราจากฐานความรู้มหาศาลและความเป็นมืออาชีพมาโดยตลอด ก่อนหน้านี้เราเคยทำงานร่วมกันในโครงการริเริ่มอุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะ (Smart Manufacturing) เช่นเดียวกับเทคโนโลยี Virtual และ Augmented Reality สำหรับการศึกษาอัจฉริยะ (Smart Education) เราเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีและวิธีการเรียนรู้เหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงตัวแทนที่แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญในการช่วยให้คนหนุ่มสาวเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตดิจิทัล ข้อตกลงบันทึกความเข้าใจครั้งนี้จะเป็นโอกาสที่ดียิ่งในการปรับปรุงโซลูชันการศึกษาอัจฉริยะ ด้วยเทคโนโลยี 5G และเทคโนโลยีคลาวด์ที่ล้ำสมัยของหัวเว่ยที่จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและความปลอดภัยของโซลูชันและแอปพลิเคชันการศึกษาอัจฉริยะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์”


โดยผลจากความร่วมมือในครั้งนี้คือการพัฒนาและการอำนวยความสะดวกของนวัตกรรมดิจิทัลที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย การลงนามในบันทึกความเข้าใจอย่างเป็นทางการในครั้งนี้ จะส่งผลให้หัวเว่ยและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สามารถเร่งความคืบหน้าในความร่วมมือ พร้อมทั้งก่อให้เกิดการขยายขอบเขตการทำงานในภาคอุตสาหกรรมแนวดิ่งต่างๆ นอกจากนี้ หัวเว่ยยังสามารถช่วยพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลในหมู่คนรุ่นใหม่ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง

หัวเว่ยมีความมุ่งมั่นมาอย่างยาวนานในการขับเคลื่อนการศึกษาไทย โดยมุ่งเน้นการยกระดับบุคลากรทางด้านไอซีทีของประเทศไทย เพื่อรองรับความต้องการของภาคดิจิทัลที่กำลังเติบโต ตลอดจนผลักดันให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางสำคัญสำหรับเทคโนโลยีดิจิทัลและการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัล ทั้งนี้ ภาคอุตสาหกรรมและภาคเศรษฐกิจต่างๆ ของประเทศไทยจะได้รับประโยชน์เป็นอย่างมากจากความร่วมมือในครั้งนี้ และหัวเว่ยภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงแห่งอนาคต


นอกจากนี้ หัวเว่ยจะจัดงานใหญ่ประจำปี 'HUAWEI CONNECT 2022' ที่จังหวัดกรุงเทพฯ ในวันที่ 19-21 กันยายน พ.ศ. 2565 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่เพิ่งเปิดให้ใช้บริการหลังจากปรับโฉมใหม่ โดยปกติงานดังกล่าวจะจัดขึ้นที่ประเทศจีนเป็นประจำทุกปี ซึ่งในปีนี้ถือเป็นการเปิดตัวในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ภายในงาน 'HUAWEI CONNECT 2022' จะเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีได้พูดคุยถึงความท้าทายและโอกาสในอุตสาหกรรมดิจิทัล ตลอดจนสำรวจว่าเทคโนโลยีคลาวด์และ 5G จะสามารถช่วยให้ภาคธุรกิจและคนทั่วไปประสบความสำเร็จได้อย่างไร ทั้งนี้ ภายในงานยังจะมีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ โซลูชันด้านเทคโนโลยีไอซีที รวมถึงนวัตกรรมล่าสุดที่จะช่วยยกระดับภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย

เกี่ยวกับหัวเว่ย  

หัวเว่ย ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และสมาร์ทดีไวซ์ ด้วยโซลูชันที่ผสมผสานในสี่กลุ่มหลัก คือ เครือข่ายโทรคมนาคม, ไอที, สมาร์ทดีไวซ์ และบริการคลาวด์ บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่การใช้งานทุกระดับเพื่อทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อขับเคลื่อน โลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ โซลูชันและบริการที่ครบวงจรของหัวเว่ยเปี่ยมด้วยศักยภาพด้านการแข่งขันและเชื่อถือได้ จากการทำงานร่วมกับพันธมิตรในระบบนิเวศแบบเปิด หัวเว่ยสามารถสร้างมูลค่าระยะยาวให้กับลูกค้า เสริมสมรรถนะของผู้คน ช่วยให้การใช้ชีวิตที่บ้านมีความสะดวกสบาย และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดนวัตกรรมในองค์กร ทุกรูปแบบและทุกขนาด

นวัตกรรมของหัวเว่ยเน้นตอบสนองตามความต้องการของลูกค้า เราทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลในด้านการวิจัย เน้นค้นหานวัตกรรมด้านเทคนิคใหม่ๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนโลกของเราให้ก้าวไปข้างหน้า ด้วยพนักงานกว่า 194,000 คน ดำเนินธุรกิจในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก หัวเว่ยก่อตั้งขึ้นในปี 2530 และเป็นบริษัทเอกชนที่มีพนักงานเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด    

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของหัวเว่ย ได้ที่ www.huawei.com