โดย เติมศักดิ์ วีรขจรพงษ์ รองประธานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอาท์ซิสเต็มส์
ถ้าธุรกิจคุณอยู่ในแวดวงการพัฒนาซอฟต์แวร์ คุณอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับหนี้ทางเทคนิค (หรือ Technical Debt) ซึ่งการที่เราต้องคอยดูแลรักษาโค้ดที่มีอยู่หรือปรับปรุงแอปพลิเคชันรุ่นเก่านั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของภาระการทำงานที่เป็นผลมาจากหนี้ทางเทคนิคขององค์กร กล่าวง่าย ๆ ก็คือหนี้ทางเทคนิคหมายถึงการเขียนโค้ดโดยใช้วิธีลัดในอดีต ที่ส่งผลมาถึงอนาคตทำให้คุณต้องแก้ไขอดีตของโค้ดนั้น
ลองจินตนาการดูว่าจะน่าหวั่นใจเพียงใดหากองค์กรต้องรื้อแก้โค้ดบางส่วนที่มีอยู่ และยังต้องทดสอบครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อให้แน่ใจว่าแอปพลิเคชันจะทำงานได้ตามที่คาดหวัง และยังต้องศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโค้ด “เก่า” ที่นักพัฒนาคนอื่น ๆ เคยเขียนไว้เมื่อหลายปีก่อน แค่นึกถึงงานยุ่งยากมากมายที่รออยู่ ก็รู้สึกหมดแรงแล้ว!
แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับธุรกิจซึ่งเกิดจากการที่ใช้วิธีลัดและเกิดหนี้ทางเทคนิค:
ดังนั้น องค์กรควรตั้งเป้าขจัดปัญหานี้ให้หมดไปอย่างสิ้นเชิง และยิ่งไปกว่านั้น ถ้าจำเป็นที่จะต้องนำเสนอผลิตภัณฑ์ดิจิทัลใหม่ ๆ ให้เร็วกว่าที่เคย ก็ยิ่งไม่มีทางที่จะอยู่รอดได้ถ้าหากยังมีหนี้ทางเทคนิคค้างอยู่
ทำไมการดำเนินธุรกิจอย่างปลอดหนี้ถึงเป็นเรื่องยาก
ก่อนอื่นเราจะเริ่มจากการตอบคำถามส่วนแรก นั่นคือ การขจัดหนี้ทางเทคนิคเป็นเรื่องยากที่จะทำได้สำเร็จ
นั่นเป็นเพราะว่าหนี้ทางเทคนิคไม่ได้เป็นแค่เรื่องของการเขียนโค้ดอย่างไม่เหมาะสมและการเลี่ยงใช้แนวทางการพัฒนาที่ถูกต้อง เพื่อให้สามารถนำเสนอแอปออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้นเท่านั้น นั่นเป็นเพียงสาเหตุประการหนึ่ง แต่ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับปรุงการวางแผนให้ดียิ่งขึ้น
ปัญหาก็คือ มีปัจจัยภายในและภายนอกหลายอย่างที่องค์กรไม่สามารถควบคุมได้จนก่อให้เกิดหนี้เพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างเช่น:
ส่วนใหญ่ปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราไม่อาจคาดเดาได้ ดังนั้นองค์กรจึงควรวางแผนรับมือ
กับคำถามว่า “เราควรตั้งเป้าลดหนี้ทางเทคนิคให้เป็นศูนย์ดีหรือไม่” คำตอบสั้นๆ ก็คือ ไม่ เนื่องจากหนี้ทางเทคนิคที่ไม่สามารถควบคุมได้ย่อมจะส่งผลกระทบต่อความคล่องตัวของธุรกิจและความสามารถในการตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจที่สำคัญ รวมไปถึงการตอบสนองต่อแรงกดดันของตลาด ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่เราจะขจัดหนี้ทางเทคนิคให้หมดไปอย่างสิ้นเชิง
ประเด็นหลักจึงไม่ได้อยู่ที่วิธีการขจัดหนี้ทางเทคนิคให้หมดไป แต่เป็นเรื่องของ ”วิธีการควบคุม” หนี้ทางเทคนิคเพื่อรักษาขีดความสามารถในการตอบสนองความต้องการและความจำเป็นเร่งด่วนของธุรกิจ
เคล็ดลับในการจัดการหนี้ทางเทคนิค
หนทางที่ดีที่สุดก็คือ การรับรู้ถึงการมีอยู่ของหนี้ทางเทคนิคและพยายามควบคุมจัดการหนี้ดังกล่าว วิธีนี้จะช่วยให้ทีมพัฒนาสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้รวดเร็วขึ้น ควบคู่ไปกับการควบคุมความเสี่ยงของหนี้ทางเทคนิคและตอบสนองความต้องการทางด้านธุรกิจ
ทีมงานขององค์กรธุรกิจควรดำเนินการดังต่อไปนี้เพื่อปรับปรุงการจัดการหนี้ทางเทคนิคให้ดียิ่งขึ้น:
และอีกหนึ่งคำแนะนำ คือ องค์กรควรหันมาใช้แพลตฟอร์มการพัฒนาที่มีเครื่องมือที่จำเป็นครบครันอยู่แล้ว ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจจัดการหนี้ทางเทคนิคได้ทันทีตั้งแต่วันแรก แพลตฟอร์มที่ว่านี้ก็คือแพลตฟอร์ม Low-Code ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือพัฒนามากมายที่จะช่วยให้ทีมพัฒนาสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สำหรับอนาคต โดยมีการจัดการหนี้ทางเทคนิคอย่างเป็นระบบภายไว้ในกระบวนการของการพัฒนา
นอกจากนี้ ยังมีความสามารถของ AI ที่จะช่วยให้ผู้บริหารไอทีสามารถตรวจสอบสถาปัตยกรรมที่ซับซ้อน ครอบคลุมกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อระบุปัญหาที่เกิดขึ้น และช่วยนักพัฒนาดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม พร้อมหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาด