หลังจากได้ผู้ชนะจากแต่ละประเทศทั่วโลก คณะกรรมการ James Dyson Award ที่ประกอบด้วยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ 15 คน ก็ได้คัดเลือกผลงานนวัตกรรม 20 ชิ้นเป็นผู้เข้ารอบสุดท้าย ที่สะท้อนไอเดียอันหลากหลายของวิศวกรรุ่นใหม่จากทั่วโลก ตั้งแต่ตารางสูตรคูณแบบตอบสนองสำหรับเด็กจากไอร์แลนด์ จนไปถึงอุปกรณ์บรรเทาอาการคันจากผิวหนังอักเสบจากสิงคโปร์ โดยหนึ่งใน 20 นวัตกรรมนี้จะกลายเป็นผู้ชนะรางวัล James Dyson Award ที่จะประกาศผลในวันที่ 16 พฤศจิกายนนี้
ผู้เข้ารอบ 20 อันดับ
เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา การประกวดนวัตกรรม James Dyson Award ก็ได้ผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศใน 29 ประเทศทั่วโลก โดยแสดงให้เห็นถึงไอเดียอันเฉียบแหลมของคนรุ่นใหม่จากทั่วโลกที่มีความหลากหลายตั้งแต่อุปกรณ์ให้น้ำเกลือแบบพกพาจนไปถึงอุปกรณ์ฟื้นฟูสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยผู้ชนะจากประเทศไทย ถึงแม้จะไม่ได้เข้ารอบ 20 อันดับแต่ก็ทำให้เราเห็นไอเดียของเยาวชนไทยจาก KomilO แอปพลิเคชันที่มุ่งช่วยเกษตรกรโคนมในประเทศ
ในวันนี้วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ และนักออกแบบของ Dyson ทั้งหมด 15 คนจากทั่วโลกได้ทำการพิจารณาผู้ชนะรางวัล James Dyson Award ในระดับประเทศกว่า 87 ทีม เพื่อคัดเลือกผลงานจากผู้เข้ารอบ 20 อันดับในระดับนานาชาติเป็นที่เรียบร้อย
นักศึกษาและวิศวกรรุ่นใหม่จากทั่วโลกยังคงพิสูจน์ให้เห็นอีกครั้งว่าพวกเขาไม่เคยหยุดคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ และพิสูจน์ว่าพวกเขามีความสามารถที่จะแก้ปัญหาที่ยากที่สุดในโลก ผลงานจากผู้เข้ารอบ 20 อันดับของ James Dyson Award ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาระดับโลกด้วยวิธีการที่แปลกใหม่ ซึ่งเป็นไอเดียที่ทรงพลังและมีศักยภาพในระดับโลก ตั้งแต่ เครื่องกีดขวางลอยน้ำที่สามารถนำทางขยะพลาสติกในแม่น้ำได้ จนไปถึง เครื่องตรวจสุขภาพเต้านม
“การได้อ่านผลงานจากผู้เข้าประกวดทั้งหมด และได้เห็นความทุ่มเทและความพยายามอย่างหนักของพวกเขาถือเป็นสิ่งที่พิเศษมาก การร่วมถกกันระหว่างกรรมการท่านอื่น ๆ ว่าใครควรติดท็อป 20 อันดับก็เป็นกระบวนการที่น่าสนุกเช่นกัน เพราะการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่หลากหลายนี้นำไปสู่การสนทนาที่ยอดเยี่ยม” Lucy Harden ผู้จัดการฝ่ายออกแบบของ Dyson กล่าว
ที่ Dyson เราเชื่อว่าไอเดียที่ดีมาจากความหลากหลายทางความคิดและประสบการณ์ คณะกรรมการของเราประกอบไปด้วยผู้ที่มีความกว้างขวางทั้งในด้านความรู้และความเชี่ยวชาญจากฝ่าย Research, Design and Development ของ Dyson โดยพวกเขามีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิศวกรรมในหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็น ความยั่งยืน การแพทย์ ระบบซอฟต์แวร์ การออกแบบเชิงเทคนิค และการเกษตร นอกจากนี้ยังมีเหล่านักศึกษาปริญญาตรีระดับหัวกะทิจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบัน Dyson Institute of Engineering Technology มาร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกที่ท้าทายและทลายกรอบการออกแบบทั่วไป
“การได้เห็นความท้าทายมากมายจากทั่วโลกเป็นเรื่องที่น่าสนใจเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความท้าทายที่ตอกย้ำให้เห็นถึงปัญหาที่ผมไม่เคยรู้มาก่อน อีกทั้งยังเป็นเรื่องดี เมื่อผู้เข้าแข่งขันจากหลากหลายประเทศพบกับปัญหาที่คล้ายคลึงกัน แต่ใช้วิธีการในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน ความหลากหลายทางความคิดคือสิ่งที่ทำให้การประกวดนี้ยิ่งน่าตื่นเต้น” Kay Yeong หัวหน้าวิศวกรของ Dyson กล่าว
หลังคณะกรรมการได้วิเคราะห์ ถกเถียง และคัดเลือกผู้เข้ารอบระดับนานาชาติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทาง Dyson มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะประกาศรายชื่อผู้เข้ารอบ 20 อันดับ
ทำไมนวัตกรรมที่เข้ารอบ 20 อันดับในการประกวดครั้งนี้ถึงน่าจับตามอง?
“ไอเดียของผู้เข้ารอบทั้ง 20 อันดับจะต้องแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการแก้ไขปัญหาได้จริง และต้องมีงานวิจัยและการคิดเชิงวิเคราะห์ที่จับต้องได้มาสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นการทำตัวต้นแบบซ้ำ ๆ และการทดสอบเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าแนวคิดเหล่านั้นได้ผ่านการศึกษาอย่างละเอียด และมีศักยภาพพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงกว้างได้” Sam Dill วิศวกรด้านความยั่งยืนของ Dyson กล่าว
แล้วนวัตกรรมแห่งอนาคตหน้าตาเป็นอย่างไรล่ะ? มาทำความรู้จักผู้เข้ารอบ 20 อันดับเพิ่มเติมได้ที่ Dyson Newsroom
สามารถติดตามผลการประกาศรางวัลผู้ชนะเลิศในระดับสากลของ James Dyson Award โดย Sir James Dyson ได้ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2022
ผู้เข้ารอบ 20 อันดับ James Dyson Award 2022 จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Rehabit คือชุดของอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายได้ด้วยตัวเอง ด้วยคำแนะนำในการเคลื่อนไหวที่ทำได้ที่บ้าน เป็นผลงานการออกแบบโดย John Tay ปัจจุบันเป็นนักออกแบบอุตสาหกรรม โดยจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนานาชาติสิงคโปร์ (NUS)
จากประสบการณ์การดูแลคุณพ่อในการฟื้นตัวจากโรคหลอดเลือดสมองของพ่อ John มีความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนความยุ่งยากที่พ่อของเขาต้องเผชิญเมื่อศูนย์บำบัดไม่มีอุปกรณ์ที่เหมาะสมและต้องทดแทนด้วยการพึ่งพาวิธีการชั่วคราวเช่น การใช้ผ้าเช็ดตัวหรือถุงพลาสติกระหว่างการบำบัด ซึ่ง Rehabit จะให้แนะแนวผู้ป่วยให้ขยับร่างกายอย่างถูกต้องและปลอดภัย ในขณะที่ยังสามารถออกกำลังกายอย่างสนุกสนาน เพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็วในการฟื้นตัวให้มากขึ้น
“รางวัล James Dyson Award ได้ให้โอกาสผมในการพูดคุยกับผู้ที่กำลังฟื้นฟูจากโรคหลอดเลือดสมองและผู้ดูแล ทำให้ผมเห็นถึงความต้องการอันเร่งด่วนของการออกแบบและวิศวรกรรมที่มากขึ้น การเป็นผู้ที่เข้ารอบหนึ่งใน 20 ทีมสุดท้ายในรางวัลระดับโลกเป็นสิ่งเป็นกำลังใจแก่ผมอย่างสุดซึ้ง และได้รับรู้ว่าผมมีแรงสนับสนุนทั้งในด้านวิสัยทัศน์และประสบการณ์เพื่อที่จะพัฒนาและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้แก่ผู้ที่ต้องการมันมากที่สุด”
ในปัจจุบัน John Tay ได้วางขาย Rehabit ในศูนย์บำบัดหลายแห่งทั่วสิงคโปร์ และมีความตั้งใจที่จะทำการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ต่อไป
Rollerball Itch Relief คืออุปกรณ์ที่ถูกออกแบบโดย Koh Bei Ning นักออกแบบอุตสาหกรรมที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนานาชาติ ประเทศสิงคโปร์ เพื่อให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบ สามารถจัดการกับอาการคันไม่พึงประสงค์ของตนเองได้
Bei Ning ได้รับแรงจูงใจจากประสบการณ์ของเธอและผู้คนรอบตัวที่เคยได้รับผลกระทบจากการเป็นโรคผิวหนังอักเสบ และข้อจำกัดทางการแพทย์ คุณสมบัติของ Rollerball Itch Relief คือพื้นผิวของลูกกลิ้งที่ให้ ความรู้สึกเหมือนการเกา แต่มั่นใจได้เลยว่าการลากบนผิวจะไม่ทำให้เกิดการฉีกขาดของผิวหนัง
“ฉันรู้สึกดีใจเป็นอย่างมากสำหรับโอกาสที่ฉันได้จากการรับรางวัล มันคือขวัญและกำลังใจจากการที่ได้รับการตอบสนองอย่างดีจากผู้ที่ได้รับฟังโครงการนี้ตั้งแต่ตอนที่ได้เข้ารอบ รองชนะเลิศช่วงเวลาเดียวกับที่ฉันได้เริ่มดำเนินการพัฒนาโครงการนี้”
Bei Ning มีความตั้งใจที่จะปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของเธอให้ดียิ่งขึ้น และนำผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบ
Brakong คืออวัยวะเทียมที่ยั่งยืน สำหรับผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัดเต้านม ออกแบบโดย Emmanuele Pangilinan และ Jason Pechardo นักศึกษาจาก University of the Philippines – Diliman
การได้รับฟังเรื่องราวจากผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเป็นแรงบันดาลใจให้ Pangilinan และ Pechardo เร่งศึกษางานวิจัยนี้มากขึ้น และสำรวจโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในพื้นที่นี้ การใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติของ antimicrobial ของต้น Bakong ทั้งคู่ได้ทำให้ต้นไม้น้ำที่ไม่เป็นที่ต้องการ กลายเป็นเต้านมเทียมที่ทั้งราคาเหมาะสมและยั่งยืน ที่กลายเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ให้พวกเขาสามารถเลือกได้ว่าอยากจะมีรูปลักษณ์และความรู้สึกแบบใดอย่างที่ตนเองต้องการ
“พวกเรารู้สึกเป็นเกียรติและดีใจเป็นอย่างมาก ที่ Brakong ได้รับเลือกจาก JDA International ให้เป็น 1 ใน 20 ทีมที่เข้ารอบสุดท้าย ตอนนี้ Brakong ได้รับการสนับสนุนมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ด้วยโอกาสนี้ พวกเราหวังว่าการที่พวกเราได้เข้ามาอยู่ในรอบสุดท้ายนี้ จะสามารถเพิ่มการตระหนักรู้แก่การรักษาโรคมะเร็งเต้านมและการออกแบบแบบหมุนเวียน”
Pangilinan และ Pechardo หวังว่าจะได้เปิดตัว Brakong เพื่อใช้งานจริงในอนาคตอันใกล้ ๆ นี้ เพื่อที่จะได้เป็นการให้ทางเลือกสำหรับผู้ที่หายจากมะเร็งเต้านม
ผู้เข้ารอบ 20 อันดับ (เรียงตามตัวอักษร)
ชื่อผลงาน
| โซลูชัน | ประเทศ |
เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาขยะอาหาร | สเปน | |
AgZen-Cloak คือระบบสเปรย์ที่ใช้น้ำมันจากพื | สหรัฐอเมริกา | |
Airy คือ เสื้อเกราะแก้ปัญหากระดูกสันหลั | สหรัฐอเมริกา | |
Argo คือโครงการ open-source ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มอิ | อิตาลี | |
การเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำ | สวีเดน | |
Brakong คืออวัยวะเทียมที่ยั่งยืน สำหรับผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเต้ | ฟิลิปปินส์ | |
CareRare คือระบบการวินิจฉัยโรคหรื | จีน | |
Dotplot คือเครื่องมือในการตรวจเช็คสุ | สหราชอาณาจักร | |
Hatch ช่วยลดข้อจำกัดทางร่างกาย สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่กำลั | นิวซีแลนด์ | |
Ivvy แทนที่เสาน้ำเกลือด้วยอุปกรณ์ที่ | เบลเยียม | |
ระบบที่นำความร้อนเหลือทิ้ | สวีเดน | |
Méadú ช่วยควบคุมและพัฒนาความวิตกกั | ไอร์แลนด์ | |
Polyformer คือเครื่องจักรที่สามารถรีไซเคิ | แคนาดา | |
Proteus Controller ถูกออกแบบมาเพื่อให้เกมเมอร์ที่ | ไอร์แลนด์ | |
ชุดเซนเซอร์ที่มีจุดประสงค์เพื่
| สวิตเซอร์แลนด์ | |
Rehabit ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นนักบำบัดส่ | สิงคโปร์ | |
อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยผู้ | สิงคโปร์ | |
SmartHeal คือเซนเซอร์ตรวจวัดค่า pH ที่ติดกับผ้าปิดแผลที่มีความแม่ | โปแลนด์ | |
Somnum คือชุดของหน้ากากดมยาสลบขนาดต่ | นิวซีแลนด์ | |
เครื่องกีดขวางลอยน้ำที่ | เยอรมนี |
ทำความรู้จักกับคณะกรรมการผู้คัดเลือกผู้เข้ารอบ 20 ทีมสุดท้าย
ดาวน์โหลดรูปภาพเพิ่มเติมได้ ที่นี่
Kay Yeong หัวหน้าวิศวกร
Kay เป็นหัวหน้าวิศวกรด้านเทคโนโลยีของ Dyson ผู้ดูแลด้านการค้นหาความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยี และความสามารถด้านนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนาวิศวกรรมของ Dyson “การได้เห็นความท้าทายมากมายจากทั่วโลกเป็นเรื่องที่น่าสนใจเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความท้าทายที่ตอกย้ำให้เห็นถึงปัญหาที่ผมไม่เคยรู้มาก่อน อีกทั้งยังเป็นเรื่องดี เมื่อผู้เข้าแข่งขันจากหลากหลายประเทศพบกับปัญหาที่คล้ายคลึงกัน แต่ใช้วิธีการในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน ความหลากหลายทางความคิดคือสิ่งที่ทำให้การประกวดนี้ยิ่งน่าตื่นเต้น”
Robert Tweedie ผู้จัดการฝ่ายออกแบบ
Robert Tweedie เป็นผู้จัดการฝ่ายออกแบบของ Dyson ซึ่งดูแลด้านผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่ของ Dyson โดยเขาเริ่มทำงานที่ Dyson ทันทีหลังเขาสำเร็จการศึกษาในปี 2550 ซึ่งเขาได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในหมวดผลิตภัณฑ์ดูแลพื้น การดูแลสิ่งแวดล้อม และผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม ปัจจุบันเขาทำงานภายใต้ทีม Dyson New Concepts ซึ่งช่วยคิดค้นผลิตภัณฑ์ประเภทใหม่ในอนาคตที่จะช่วยก้าวข้ามทุกขีดจำกัดไปสู่สิ่งที่เป็นไปได้ “มีปัญหามากมายในโลกที่ต้องแก้ไข และรางวัล James Dyson Award เปรียบเสมือนศูนย์บ่มเพาะที่ช่วยพัฒนานวัตกรรมให้ก้าวกระโดดไปสู่การแก้ปัญหาใหญ่ๆ บางอย่างได้”
Sam Dill วิศวกรด้านความยั่งยืน
Sam เป็นหัวหน้าวิศวกรด้านความยั่งยืน เดิมทีเขามาจากดินแดนเบอร์มิวดา แต่ด้วยความหลงใหลในการออกไปท่องโลกว้าง Sam จึงมาทำงานร่วมกับ Dyson ในฐานะนักศึกษาฝึกงานด้านวิศวกรรม และอยู่กับ Dyson มาจนถึงทุกวันนี้ “เนื่องจากมีการส่งผลงานมาจากทั่วโลก กรรมการจึงได้สัมผัสกับแนวคิดที่หลากหลาย ซึ่งบางส่วนจะเน้นไปที่ปัญหาที่เราไม่เคยพบเจอมาก่อน ทั้งหมดมีแนวทางแก้ไขที่แปลกใหม่ นอกจากนี้ยังเป็นการทำงานแบบทีมที่ยอดเยี่ยมด้วยทักษะที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านธุรกิจ การนำเสนอแนวคิดให้กันและกัน และการทำงานร่วมกัน”
Lucy Harden ผู้จัดการฝ่ายออกแบบ
Lucy เป็นผู้จัดการอาวุโสฝ่ายออกแบบ ซึ่งคอยดูแลนวัตกรรมใหม่ล่าสุดจาก Dyson มากด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปีในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ ยานยนต์ และการออกแบบ “การได้อ่านผลงานทั้งหมดจากผู้เข้ารอบและได้เห็นความมุ่งมั่นและความพยายามอันน่าทึ่งของพวกเขาถือเป็นสิ่งที่พิเศษมาก การร่วมถกกันระหว่างกรรมการท่านอื่นๆ ว่าใครควรติดท็อป 20 อันดับก็เป็นกระบวนการที่น่าสนุกเช่นกัน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่หลากหลายนี้นำไปสู่การสนทนาที่ยอดเยี่ยม”
Shalimar Ali วิศวกรไฟฟ้า
Shalimar เป็นผู้จัดการฝ่ายวิศวกรไฟฟ้าจาก Dyson ซึ่งดูแลด้านการผสานรวมซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ของ Dyson มีความพิเศษ โดยเธอมีความหลงใหลในออโตเมชั่นหรือระบบอัติโนมัติ เปลี่ยนกิจกรรมที่แสนน่าเบื่อให้กลายเป็นระบบได้อย่างง่ายดายเพียงแค่ปลายนิ้ว “ที่ Dyson เราแก้ปัญหาที่คนอื่นมักมองข้าม รางวัล James Dyson Award จะช่วยให้วิศวกรรุ่นใหม่สามารถแก้ปัญหาที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อตัวเขาหรือสังคมของพวกเขาได้ ซึ่งนั้นคือค่านิยมที่ Dyson ยึดถือ”
Ely Jackson นักศึกษาปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์
Ely กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในสถาบัน Dyson Institute of Engineering and Technology โดยเธอเรียน 2 วันต่อสัปดาห์ที่สถาบัน และทำงานกับ ทีมของ Dyson 3 วันต่อสัปดาห์ เธอเพิ่งเสร็จสิ้นจากการทดลองทำงานในฝ่าย New Category Electronics Hardware ซึ่งเป็นผลมาจากการหมุนเวียนตำแหน่งงาน “ในฐานะนักศึกษา การได้เห็นว่าเทคโนโลยีวิศวกรรมใหม่ ๆ สามารถทำให้ไอเดียในความคิดกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยแก้ไขปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริงได้นั้นสร้างแรงบันดาลใจให้ฉันอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านความยั่งยืน สุขภาพ และการศึกษา”
มูลนิธิ James Dyson Foundation
รางวัล James Dyson Award คือการแข่งขันด้านการออกแบบระดับนานาชาติประจำปีที่เปิดรับนักศึกษาหรือศิษย์เก่าด้านการออกแบบและวิศวกรรมมาร่วมแข่งขัน นับตั้งแต่เริ่มต้นโครงการในปีพ.ศ. 2548 รางวัลดังกล่าวได้ให้ทุนสนับสนุนการประดิษฐ์เชิงพาณิชย์แก่สิ่งประดิษฐ์กว่า 300 รายการ โดยรางวัล James Dyson Award อยู่ภายใต้มูลนิธิ James Dyson ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลในระดับนานาชาติจากผลกำไรของ Dyson ที่มุ่งมั่นสนับสนุนวิศวกรรมศาสตร์และการศึกษา
โดยพันธกิจหลักของมูลนิธิคือการส่งเสริมวิศวกรและนักแก้ปัญหารุ่นใหม่ที่มีความมุ่งมั่นให้นำความรู้ความสามารถ รวมถึงคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น ปัจจุบัน James และมูลนิธิ James Dyson ได้ให้การสนับสนุนเงินถึง 12 ล้านปอนด์ให้แก่ Imperial College London เพื่อก่อตั้ง Dyson School of Design Engineering และเงินจำนวน 8 ล้านปอนด์ ให้แก่ Cambridge University เพื่อก่อตั้ง Dyson Centre for Engineering Design และตึก James Dyson
นอกจากนี้มูลนิธิ James Dyson ยังมีการเปิดเวิร์คช็อปหุ่นยนต์ โดยวิศวกรของ Dyson และเป็นแหล่งข้อมูลด้านการศึกษาฟรีอีกด้วย ซึ่งรวมถึงการเปิดตัว Engineering Solutions: Air Pollution ล่าสุดที่แนะนำให้คนหนุ่มสาวเรียนรู้เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศและบทบาทของวิศวกรรมในการหาแนวทางแก้ไข
รวมถึงสนับสนุนงานวิจัยทางการแพทย์และชุมชนท้องถิ่นในเมือง Malmesbury ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงาน Dyson ในสหราชอาณาจักรอีกด้วย มูลนิธิเริ่มก่อตั้งศูนย์มะเร็ง Dyson Cancer Centre ณ โรงพยาบาล Royal United ในเมือง Bath พร้อมให้การสนับสนุนด็อกเตอร์ Claire Durrant ในฐานะ Race Against Dementia Dyson Fellow ในการเร่งหาวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ที่ดีกว่าอย่างต่อเนื่อง
ช่องทางการติดตาม เว็บไซต์, Instagram, Twitter และ YouTube
เกี่ยวกับการประกวด
โจทย์
ออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ โดยปัญหานี้อาจเป็นสิ่งที่เราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันหรือเป็นปัญหาระดับโลกก็ได้ แต่สิ่งสำคัญคือวิธีการแก้ปัญหาต้องมีประสิทธิภาพและแสดงให้เห็นถึงการคิดเชิงออกแบบ
ขั้นตอนการตัดสิน
ผู้เข้าประกวดจะถูกคัดเลือกในระดับประเทศโดยคณะกรรมการอิสระและวิศวกรจาก Dyson โดยในแต่ละประเทศจะเฟ้นหาตัวแทนเพื่อหาผู้ชนะเลิศอันดับหนึ่งและรองชนะเลิศสองอันดับ จากนั้นวิศวกรจาก Dyson จะทำการคัดเลือก 20 ผู้เข้ารอบในระดับประเทศเพื่อทำการคัดเลือกต่อไปในระดับนานาชาติ ซึ่งผลงานจากผู้เข้ารอบทั้ง 20 โครงการจะได้รับการพิจารณาโดย James Dyson เพื่อคัดเลือกหาผู้ชนะในระดับนานาชาติต่อไป
รางวัล