ฯพณฯ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ที่ 5 จากซ้าย) พร้อมเจ้าหน้าที่ระดับสูงกระทรวงการต่างประเทศ และผู้บริหารลาซาด้า นำโดย เจมส์ ตง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า กรุ๊ป (ที่ 6 จากซ้าย) ร่วมเปิดตัวขบวนรถ APEC 2022 Thailand จากลาซาด้า ในฐานะพันธมิตรด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ
ลาซาด้า ประกาศความร่วมมือกับ เอเปค 2022 หรือความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ด้วยการเป็นพันธมิตรด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์อย่างเป็นทางการของการประชุมครั้งนี้ นับเป็นความร่วมมือที่สอดรับกับวิสัยทัศน์และโครงการต่างๆ ของลาซาด้า ที่มุ่งขับเคลื่อนและสนับสนุนกิจกรรมที่สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนและมีส่วนร่วมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว ลาซาด้าจะทำงานร่วมกับเอเปค และกระทรวงการต่างประเทศของไทย ในการสร้างความตระหนักรู้และแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับประเด็นสำคัญและคุณค่าต่างๆ จากการประชุม ความร่วมมือครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของลาซาด้าในการสร้างธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่แข็งแกร่งภายในภูมิภาค โดยคาดการณ์ว่าจะมีผู้ใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าถึงอีคอมเมิร์ซมากกว่า 400 ล้านคนภายในปี พ.ศ. 25681
เจมส์ ตง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า กรุ๊ป กล่าวว่า “โลกของเรากำลังก้าวไปสู่ดิจิทัลและเชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยีมากขึ้น ดังนั้นความร่วมมือจากอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน จึงเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าที่ยั่งยืน ที่ผ่านมาลาซาด้าได้ทำงานร่วมกับทั้งรัฐบาลและภาคธุรกิจต่างๆ อย่างใกล้ชิด ใน 6 ประเทศที่เราดำเนินธุรกิจอยู่ เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มทางดิจิทัลเพื่อรองรับการเติบโตในระยะยาว ด้วยเหตุนี้จึงลาซาด้าลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานหลักอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านเทคโนโลยี การชำระเงิน และโลจิสติกส์ เพื่อสร้างคุณค่าให้กับผู้ขายและผู้บริโภคในแต่ละประเทศ เราเชื่อมั่นว่าความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีของเราจะช่วยขับเคลื่อนการค้าและเศรษฐกิจในภูมิภาค เพื่อร่วมส่งเสริมโครงการต่างๆ ของเอเปค 2022”
คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีมูลค่าถึง 1 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยมีอีคอมเมิร์ซเป็นธุรกิจที่ขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญที่สุด2 โดยมีสัดส่วนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) มากถึง 97% และมีการจ้างงานประชากรวัยทำงานกว่า 67% ดังนั้น MSMEs จึงไม่เพียงมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในช่วงหลังโควิด-19 เท่านั้น แต่ยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายและมีส่วนร่วมมากขึ้นอีกด้วย3 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของธุรกิจ MSMEs จึงเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยลดความเสี่ยง สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง และสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจในอีโคซิสเต็มในแต่ละประเทศ
แนวคิดหลักของการประชุมเอเปค 2022 ครั้งนี้ คือ Open. Connect. Balance. หรือ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของลาซาด้าในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าของเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคผ่านอีคอมเมิร์ซและเทคโนโลยี
ขบวนรถ APEC 2022 Thailand เพื่อประชาสัมพันธ์การเป็นเจ้าภาพของประเทศไทย จากลาซาด้า
เปิดกว้างให้ทุกโอกาส
การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของธุรกิจต่างๆ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นยังคงเป็นสิ่งสำคัญ และอีคอมเมิร์ซก็ยังคงเป็นหนึ่งในตัวช่วยสำคัญของธุรกิจมากมายทั่วทั้งภูมิภาคที่กำลังเผชิญกับความไม่แน่นอน และปัจจัยลบต่างๆ เช่น อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น หรือภาวะเงินเฟ้อ ลาซาด้ายังคงมุ่งมั่นที่จะช่วยให้ธุรกิจเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลและสร้างการเติบโตในระยะยาว ผ่านการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี การชำระเงิน และโลจิสติกส์
ลาซาด้าช่วยพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ MSMEs ด้วยเครื่องมือทางดิจิทัลและโครงการบ่มเพาะต่างๆ เพื่อการส่งเสริมการเติบโตทางธุรกิจออนไลน์ที่ยั่งยืน ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมามีผู้เข้าชมแพลตฟอร์มเรียนรู้ออนไลน์ Lazada University กว่า 800,000 เพื่อเพิ่มพูนทักษะและสร้างเติบโตให้กับธุรกิจของตนเอง ลาซาด้าเชื่อว่า การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ซึ่งเป็นเทรนด์ในทุกตลาดและอุตสาหกรรมทั่วโลก จะช่วยยกระดับเศรษฐกิจเพื่อสังคมในภูมิภาคได้
เชื่อมโยงทุกมิติ
ลาซาด้า โลจิสติกส์ เสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ MSMEs ด้วยศักยภาพด้านโลจิสติกส์ ผ่านแพลตฟอร์มครบวงจรที่ออกแบบมาเพื่ออนาคต พร้อมมอบบริการที่สะดวกสบาย ครอบคลุมตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ให้กับธุรกิจ ตั้งแต่การรับสินค้าจากผู้ขาย การจัดเก็บ การบรรจุหีบห่อ ไปจนถึงส่งมอบให้ผู้รับปลายทาง และการส่งพัสดุคืน เครือข่ายโลจิสติกส์ของลาซาด้าได้เข้ามาพลิกโฉมภูมิทัศน์ของอีคอมเมิร์ซ เพื่อส่งเสริมผู้ขายในการบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มศักยภาพในการจัดส่งได้ดียิ่งขึ้น
ปัจจุบัน ลาซาด้ายังเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเพียงหนึ่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีเครือข่ายโลจิสติกส์ในภูมิภาคที่ครอบคลุมตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางเป็นของตนเอง และยังรวมถึงคลังสินค้า ศูนย์คัดแยก สินค้าและฮับ ซึ่งขับเคลื่อนโดยระบบฐานข้อมูลและเทคโนโลยีของลาซาด้า พร้อมกับเครือข่ายพันธมิตรด้านโลจิสติกส์อื่นๆ โดยพัสดุมากกว่า 80% ที่รับจากผู้ขายเป็นพัสดุที่ลาซาด้าบริหารจัดการด้วยระบบของตนเอง ทำให้บริษัทสามารถรองรับพัสดุในภูมิภาคนี้ได้มากกว่า 5 ล้านชิ้นต่อวัน และยังลดค่าใช้จ่ายผันแปรต่อการส่งพัสดุ 1 ชิ้นได้เกือบ 30%
สร้างสมดุลในทุกด้าน
ลาซาด้ามุ่งเน้นการสร้างธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนชุมชนและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในท้องถิ่น ลาซาด้าไม่เพียงเชื่อในการลงทุนทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเท่านั้น แต่ยังลงทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพของพนักงานและผู้ขายอีกด้วย ลาซาด้าได้ช่วยให้ผู้ประกอบการหลายหมื่นรายสร้างธุรกิจของตนเองผ่านอีคอมเมิร์ซ และสร้างโอกาสในการทำงานและการเรียนรู้แก่คนรุ่นใหม่ พร้อมขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในขณะเดียวกัน
ลาซาด้ายังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมผู้ขายที่เป็นผู้หญิง รวมถึงส่งเสริมการรับผู้หญิงเข้าทำงาน และให้โอกาสที่เท่าเทียมกัน โดยพนักงานของลาซาด้า 43% เป็นผู้หญิง ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยการจ้างงานในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในภูมิภาคนี้ซึ่งอยู่ที่ 32%[1] สอดคล้องกับพันธกิจของบริษัทในการสร้างการเติบโตในระยะยาว ส่งเสริมการมีส่วนร่วม และมีความมั่นคงทางการเงิน ผ่านการวางรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนและมั่นคง เพื่อความเป็นเลิศในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้ผู้บริโภค วางโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการค้าดิจิทัลที่เหนือชั้น รวมถึงผลักดันนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่มีคุณภาพในระยะยาว