10 พ.ย. 2565 489 1

IBM เผยโฉมโปรเซสเซอร์ควอนตัมกว่า 400 คิวบิต พร้อมระบบแห่งอนาคต IBM Quantum System Two

IBM เผยโฉมโปรเซสเซอร์ควอนตัมกว่า 400 คิวบิต พร้อมระบบแห่งอนาคต IBM Quantum System Two

ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) จัดงาน IBM Quantum Summit 2022 ประกาศความก้าวหน้าสำคัญครั้งใหม่ด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ควอนตัม พร้อมวิสัยทัศน์ในการบุกเบิกซูเปอร์คอมพิวเตอร์แบบ Quantum-Centric โดยในงาน IBM Quantum Summit ปีนี้ยังได้มีการเปิดเผยถึงการเติบโตของอีโคซิสเต็มควอนตัมทั้งในส่วนของลูกค้า คู่ค้า และนักพัฒนา รวมถึงความคืบหน้าในการนำคอมพิวเตอร์ควอนตัมเข้าสร้างคุณประโยชน์แก่โลก

“โปรเซสเซอร์ 'Osprey' ใหม่ขนาด 433 คิวบิตนี้ เป็นก้าวสำคัญสู่จุดที่เราจะสามารถนำคอมพิวเตอร์ควอนตัมมาช่วยแก้ปัญหาท้าทายที่ก่อนหน้านี้ไม่สามารถแก้ได้” ดร.แดริโอ จิล รองประธานอาวุโสและผู้อำนวยการศูนย์วิจัยไอบีเอ็ม กล่าว “เราเดินหน้าสเกลและพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัมต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และระบบอินทิเกรชัน เพื่อต่อกรกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคของเรา โดยร่วมมือกับพาร์ทเนอร์และลูกค้าทั่วโลก และสิ่งนี้จะเป็นรากฐานของยุคซูเปอร์คอมพิวเตอร์แบบ Quantum-Centric ที่กำลังจะมาถึงนี้”

ในงาน IBM Quantum Summit ครั้งนี้ ทางบริษัทฯ ยังได้เปิดเผยถึงพัฒนาการใหม่ดังต่อไปนี้

โปรเซสเซอร์ Osprey ใหม่ของไอบีเอ็ม ขนาด 433 ควอนตัมบิต (คิวบิต)

IBM Osprey มีจำนวนคิวบิตมากที่สุดในบรรดาโปรเซสเซอร์แบบควอนตัมทั้งหมดของไอบีเอ็ม และมากกว่าโปรเซสเซอร์ IBM Eagle ขนาด 127 คิวบิตที่เปิดตัวไปในปี 2564 ถึงกว่าสามเท่า และมีศักยภาพในการรันการคำนวณทางควอนตัมที่มีความซับซ้อนเกินกว่าที่คอมพิวเตอร์แบบคลาสสิกจะสามารถทำได้ โดยจำนวนบิตแบบคลาสสิกที่จำเป็นสำหรับการแสดงสถานะหนึ่งบนโปรเซสเซอร์ของ IBM Osprey นั้น มีมากกว่าจำนวนอะตอมทั้งหมดในจักรวาลที่เรารู้จัก สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาการสเกล คุณภาพ และความเร็วของระบบควอนตัมอย่างต่อเนื่องของไอบีเอ็ม สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ “Quantum-Centric Supercomputing: Bringing the Next Wave of Computing to Life

ซอฟต์แวร์ควอนตัมแบบใหม่จะเข้ามาช่วยแก้ไขและลดข้อผิดพลาด

การจัดการเสียงรบกวนในคอมพิวเตอร์ควอนตัมยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในวงกว้าง และเพื่อลดความซับซ้อนในเรื่องนี้ ไอบีเอ็มได้ออกอัพเดตเบต้าของ Qiskit Runtime ที่วันนี้อนุญาตให้ผู้ใช้เลือกปรับความเร็วเพื่อลดจำนวนข้อผิดพลาดด้วยตัวเลือกอย่างง่ายใน API ทั้งนี้ การดึงความซับซ้อนของฟีเจอร์มาไว้ในเลเยอร์ซอฟต์แวร์ จะทำให้ผู้ใช้สามารถผนวกควอนตัมคอมพิวติ้งเข้ากับเวิร์คโฟลว์ของตน และเพิ่มความเร็วในการพัฒนาแอพพลิเคชันควอนตัมได้ง่ายขึ้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ “Introducing new Qiskit Runtime capabilities — and how our clients are integrating them into their use cases

ข้อมูลล่าสุด IBM Quantum System Two – ระบบควอนตัมแห่งอนาคตของไอบีเอ็ม

ในขณะที่ระบบ IBM Quantum กำลังเดินหน้าสเกลสู่เป้าหมายที่สูงกว่า 4,000 คิวบิตภายในปี 2568 และหลังจากนั้น ระบบจะก้าวไปไกลกว่าขีดความสามารถในปัจจุบันของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทางกายภาพที่มีอยู่ ไอบีเอ็มได้เปิดเผยรายละเอียดล่าสุดเกี่ยวกับ IBM Quantum System Two ใหม่ ที่ได้รับการออกแบบมาให้มีเป็นระบบโมดูลาร์ที่มีความยืดหยุ่น โดยรวมโปรเซสเซอร์หลายตัวเข้าไว้ในระบบเดียวพร้อมด้วยลิงค์สำหรับการสื่อสาร ระบบดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะเข้าสู่รูปแบบออนไลน์ภายในสิ้นปี 2566 และจะเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของซูเปอร์คอมพิวเตอร์แบบ Quantum-Centric ซึ่งจะเป็นก้าวย่างถัดไปของควอนตัมคอมพิวติ้ง ที่สามารถขยายขนาดเพื่อเพิ่มความสามารถในการคำนวณได้ โดยใช้สถาปัตยกรรมแบบโมดูลาร์และการสื่อสารควอนตัม ร่วมกับมิดเดิลแวร์ไฮบริดคลาวด์ในการอินทิเกรทเวิร์คโฟลว์ควอนตัมและเวิร์คโฟลว์แบบคลาสสิกเข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ

เทคโนโลยี IBM Quantum Safe ใหม่

เมื่อคอมพิวเตอร์ควอนตัมทรงพลังมากขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีต้องดำเนินการเพื่อปกป้องระบบและข้อมูลของตนจากคอมพิวเตอร์ควอนตัมในอนาคตที่มีศักยภาพในการถอดรหัสข้อมูลที่ใช้มาตรฐานด้านความปลอดภัยในปัจจุบัน โดยนอกจากไอบีเอ็มจะได้พัฒนาระบบ z16 ที่มีเทคโนโลยีความปลอดภัยแบบ quantum safe รวมถึงได้ร่วมสนับสนุนอัลกอริธึมอันสอดคล้องกับเป้าหมายของสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ (NIST) ในการกำหนดมาตรฐานภายในปี 2567 แล้ว ยังได้ผนวกรวมมาตรฐานความปลอดภัยดังกล่าวไว้ในเทคโนโลยีและบริการต่างๆ และใน Summit ครั้งนี้ ไอบีเอ็มและโวดาโฟนยังได้ประกาศความร่วมมือเพื่อสำรวจแนวทางการปรับใช้การเข้ารหัสแบบ quantum safe ของไอบีเอ็ม ทั่วทั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีของโวดาโฟน

การขยายอีโคซิสเต็มและลูกค้า - การเติบโตของ IBM Quantum Network

ไอบีเอ็มยังได้ประกาศสมาชิกเพิ่มเติมของของ IBM Quantum Network ที่รวมถึงบริษัทโทรคมนาคมข้ามชาติอย่างโวดาโฟน เพื่อสำรวจการนำควอนตัมคอมพิวติ้งและการเข้ารหัสแบบ quantum safe มาใช้, การร่วมกับธนาคารฝรั่งเศส Crédit Mutuel Alliance Fédérale ในการสำรวจแนวทางการใช้งานในบริการทางการเงินต่างๆ รวมถึงการร่วมกับวิทยาเขตด้านนวัตกรรมของสวิสอย่าง uptownBasel เพื่อผลักดันการพัฒนาทักษะและส่งเสริมโครงการนวัตกรรมชั้นนำบนพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ควอนตัมและเทคโนโลยีคอมพิวติ้งสมรรถนะสูง โดยองค์กรเหล่านี้เป็นสมาชิกเพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันกว่า 200 องค์กร และผู้ใช้มากกว่า 450,000 ราย ที่สามารถเข้าใช้งานกลุ่มคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีมากกว่า 20 เครื่องได้โดยผ่านผ่านระบบคลาวด์

"IBM Quantum Summit 2022 คือเป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ควอนตัมของโลก ในวันที่เรากำลังก้าวไปข้างหน้าตามโร้ดแมปควอนตัม ในขณะที่เราเดินหน้าอย่างต่อเนื่องในการสเกลขนาดของระบบควอนตัมและทำให้ระบบใช้งานง่ายขึ้น เราก็จะได้เห็นการใช้งานและการเติบโตของอุตสาหกรรมควอนตัมควบคู่กันไปด้วย” เจย์ แกมเบ็ตต้า IBM Fellow และรองประธานของ IBM Quantum กล่าว “ความก้าวหน้าครั้งสำคัญของเราจะเป็นตัวกำหนดคลื่นลูกถัดไปของวงการควอนตัม ซึ่งก็คือซูเปอร์คอมพิวเตอร์แบบ Quantum-Centric ที่มีการใช้สถาปัตยกรรมแบบโมดูลาร์ การสื่อสาร และมิดเดิลแวร์ เข้ามาช่วยสนับสนุนความสามารถในการสเกล การคำนวณ ตลอดจนการอินทิเกรทเวิร์คโฟลว์แบบควอนตัมและแบบคลาสสิคเข้าด้วยกัน”

แถลงการณ์เกี่ยวกับทิศทางและเจตนารมณ์ในอนาคตของไอบีเอ็ม อาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือการเพิกถอนได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบ และแสดงถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์เท่านั้น


ดร.แดริโอ จิล รองประธานอาวุโสและผู้อำนวยการศูนย์วิจัยไอบีเอ็ม ถือชิป IBM Osprey อยู่ในมือ


ภาพด้านในชิป IBM Osprey


โร้ดแมปการพัฒนา Quantum Computing ของไอบีเอ็ม

ภาพด้านหน้า IBM Quantum System Two (ภาพบนสุด)


ภาพด้านบน IBM Quantum System Two

ลิงค์ภาพประกอบและวิดีโอเพิ่มเติม

IBM Senior Vice President and Director of Research Dario Gil with IBM Osprey chip

IBM Quantum Development Roadmap

IBM Quantum Osprey Processor (top, black background)

IBM Quantum Osprey Processor (open, black background)

IBM Quantum Osprey Processor (open, angle, black background)

IBM Quantum Osprey Processor (closed, center, white background)

IBM Quantum Osprey Processor (closed, angle, white background)

IBM Quantum Flexi-Cables

IBM Quantum Flexi-Cables (close up)

IBM Quantum System Two

VDO: IBM Quantum System Two