23 พ.ย. 2565 568 0

ROI ของแพลตฟอร์ม Low-Code ที่องค์กรธุรกิจอาจไม่รู้

ROI ของแพลตฟอร์ม Low-Code ที่องค์กรธุรกิจอาจไม่รู้

โดย เติมศักดิ์ วีรขจรพงษ์ รองประธานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอาท์ซิสเต็มส์


ภายใต้แรงกดดันของการนำเสนอประสบการณ์ดิจิทัลใหม่ ๆ ให้แก่ลูกค้าและพนักงาน ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนระบบภายในองค์กรธุรกิจที่มีอยู่สำหรับรับมือกับสภาพตลาดที่เปลี่ยนไป ฟอร์เรสเตอร์ รีเสิร์ช (Forrester Research) ประเมินว่าภายในสิ้นปี 2564 องค์กรธุรกิจ 75% จะหันมาใช้แพลตฟอร์ม Low-Code ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน

ประโยชน์ของแพลตฟอร์ม Low-Code มีมากมาย เช่น ช่วยให้นักพัฒนาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มความคล่องตัวให้องค์กรและเพิ่มความรวดเร็วในการเปิดให้บริการแอปพลิเคชัน ขณะที่การสร้างซอฟต์แวร์ด้วยวิธีการพัฒนาแบบเดิมจะต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายสูง  อย่างไรก็ดี คำถามที่น่าสนใจก็คือ แพลตฟอร์ม Low-Code ให้ผลตอบแทนการลงทุน (Return on Investment - ROI) แก่ธุรกิจมากน้อยเพียงใด

กรอบโครงสร้าง ROI ของแพลตฟอร์ม Low-Code

รายงานการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวมของเอาท์ซิสเต็มส์ (OutSystems’ Total Economic Impact (TEI) Study) ฉบับนี้เป็นข้อมูลวิเคราะห์จากฟอร์เรสเตอร์ คอนซัลติ้ง (Forrester Consulting) ที่ประเมินผลกระทบด้านการเงินจากการปรับใช้เทคโนโลยี โดยพิจารณาต้นทุน ค่าใช้จ่าย ประโยชน์ที่ได้รับ ความยืดหยุ่น และปัจจัยความเสี่ยงที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุน

รายงานดังกล่าวอ้างอิงการสัมภาษณ์ของฟอร์เรสเตอร์กับองค์กรธุรกิจที่ใช้แพลตฟอร์ม Low-Code ของเอาท์ซิสเต็มส์ และเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่องค์กรได้รับช่วงระยะเวลา 3 ปีกับองค์กรต้นแบบ โดยพิจารณาจากโครงสร้างและลักษณะรูปแบบขององค์กรที่ถูกสัมภาษณ์

1. ประหยัดค่าใช้จ่ายการพัฒนาแอปพลิเคชัน 24% สูงสุดถึง 4.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ขณะที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกต่างประสบปัญหาขาดแคลนนักพัฒนา แต่องค์กรที่ใช้แพลตฟอร์ม Low-Code กลับสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของทีมงานฝ่ายพัฒนาและปรับปรุงการทำงานร่วมกันระหว่างทีมงานฝ่ายธุรกิจและฝ่ายพัฒนา เพื่อให้สามารถนำเสนอแอปพลิเคชันได้รวดเร็วขึ้น เทียบเท่ากับองค์กรแบบดิจิทัลเนทีฟ (Digital Natives Organization)

การใช้แนวทางพัฒนานี้ สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในกระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชันโดยคิดเป็นสัดส่วนที่ 24% ของผลประโยชน์โดยรวมที่องค์กรจะได้รับ หรือสูงสุด 4.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามที่ระบุไว้ในรายงาน TEI

คุณสมบัติหลักของแพลตฟอร์ม Low-Code ประสิทธิภาพสูง ที่เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการทำงานแก่นักพัฒนา มีดังนี้:

  • ความสามารถการนำกลับมาใช้: ทีมงานฝ่ายพัฒนาเร่งการพัฒนาซอฟต์แวร์ ด้วยการใช้คอมโพเนนต์ที่สร้างไว้ล่วงหน้า ซึ่งมีวางจำหน่ายใน Forge (มาร์เก็ตเพลสของเอาท์ซิสเต็มส์) หรือสร้างคอมโพเนนต์ที่สามารถนำกลับมาใช้ด้วยตนเอง (“ยิ่งคุณสร้างเตรียมไว้มากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้ความจำเป็นในการสร้างใหม่น้อยลงเท่านั้น”)
  • DevOps แบบคลิกเดียว: ระบบอัตโนมัติช่วยให้ธุรกิจเริ่มต้นใช้งานแอปพลิเคชันเวอร์ชั่นใหม่ได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่นาที โดยไม่จำเป็นต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยตนเอง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดข้อผิดพลาด ความสามารถที่โดดเด่นในกระบวนการนี้ คือ TrueChange™ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของบริการอัตโนมัติเพื่อรองรับการปรับใช้เวิร์กโฟลว์ของแอปพลิเคชัน
  • การเขียนโค้ดแบบ High-Abstraction: การเขียนโค้ดแบบ Full-Stack ทำได้ทั้งในรูปแบบของการสร้างโมเดลแบบ Visual ระดับสูงเพื่อรองรับการประสานงานร่วมกับฝ่ายธุรกิจ และการเขียนโค้ดที่มี Abstraction ระดับต่ำ ซึ่งเหมาะกับมือโปรอย่างเช่น ภาษา JS, C# เป็นต้น

2. ประหยัดค่าใช้จ่าย 7% หรือสูงสุด 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในการปรับปรุงและการซัพพอร์ตแอปพลิเคชันอย่างต่อเนื่อง

แอปพลิเคชันที่พัฒนาด้วยแพลตฟอร์ม Low-Code มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและการปรับเปลี่ยนน้อยกว่า  จากผลการศึกษายังชี้ว่าการประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะมีการสะสมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องปีต่อปี และโดยปกติแล้วอยู่ในสัดส่วนที่สูงกว่า 7% ของประโยชน์โดยรวมที่ลูกค้าได้รับ และอาจสูงถึง 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  

ฟีเจอร์พื้นฐานของแพลตฟอร์ม Low-Code ประสิทธิภาพสูงที่ช่วยให้ธุรกิจได้รับผลประโยชน์ดังกล่าวตรงกับที่ระบุไว้ในข้อก่อนหน้า ซึ่งได้แก่:

  • การนำกลับมาใช้ (Reusability)
  • ระบบอัตโนมัติ (Automation)
  • การซ่อนรายละเอียดในการเขียนโค้ด (Abstraction)

3. รายได้เพิ่มขึ้น 4.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการนำเสนอโครงการธุรกิจใหม่ได้รวดเร็วขึ้น (ประมาณ 26% ของผลประโยชน์โดยรวม)

ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของนักพัฒนา ธุรกิจที่ใช้แพลตฟอร์ม Low-Code สามารถเปิดตัวโครงการธุรกิจใหม่ ๆ ที่สำคัญได้รวดเร็วมากขึ้น เช่น ระบบที่รองรับการติดต่อกับลูกค้า 

นอกจากนี้ องค์กรยังได้รับผลประโยชน์ด้านการเงินเร็วขึ้น เมื่อเทียบกับการใช้วิธีการพัฒนาโปรแกรมแบบเดิม ๆ

4. ประหยัดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 38% หรือสูงสุด 6.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้วยเทคโนโลยีของเอาท์ซิสเต็มส์ องค์กรธุรกิจจะสามารถลดระยะเวลาในการดำเนินโครงการพัฒนา และเปิดตัวโครงการริเริ่มภายในองค์กรได้ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงความคล่องตัวและประสิทธิภาพผลลัพธ์ทางธุรกิจของบริษัทได้รวดเร็วมากขึ้น

โครงการริเริ่มที่ว่านี้หมายรวมถึงการพัฒนาเครื่องมือที่จะเข้ามาแทนที่กิจกรรมที่ต้องทำด้วยตนเองและสิ้นเปลืองเวลา ซึ่งช่วยให้องค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากถึง 6.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

5. ประหยัดค่าใช้จ่าย 765,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยการยกเลิกการใช้แอปพลิเคชันรุ่นเก่า

นอกจากนี้ องค์กรยังสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายหลายแสนดอลลาร์สหรัฐฯ จากการจ่ายค่าธรรมเนียมให้แก่ผู้ผลิตซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่อง ด้วยการใช้แพลตฟอร์ม Low-Code สร้างแอปพลิเคชันใหม่ทดแทนระบบรุ่นเก่า

ประโยชน์เพิ่มเติมที่ไม่สามารถวัดเป็นมูลค่าได้: ได้แก่ ความปลอดภัย คุณภาพ การยกระดับทักษะ และระบบโมบายล์



นอกเหนือจากผลประโยชน์ที่สามารถวัดผลได้อย่างชัดเจนแล้ว บริษัทที่ปรับใช้แพลตฟอร์ม Low-Code ประสิทธิภาพสูงยังได้รับประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ตามที่ระบุไว้ในรายงาน TEI ได้แก่

  • ปรับปรุงความสามารถในการปรับขนาด: ผู้ให้สัมภาษณ์ระบุว่าสามารถปรับขนาดแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายมากขึ้น
  • การตรวจสอบความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ: องค์กรต่าง ๆ ได้รับผลประโยชน์จากการตรวจสอบด้านความปลอดภัย การควบคุมการเข้าถึง และการยืนยันตัวตน ซึ่งใช้กับทุกแอปพลิเคชันที่สร้างขึ้นด้วยแพลตฟอร์ม Low-Code
  • ปรับปรุงการพัฒนาและความคล่องตัวขององค์กร: องค์กรสามารถปรับตัวและดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ได้รวดเร็วกว่า และแพลตฟอร์ม Low-Code ยังช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการพัฒนาเพื่อรองรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งช่วยยกระดับขีดความสามารถด้านการแข่งขันและเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าและพนักงาน
  • โค้ดมีคุณภาพสูงขึ้น: หลังจากที่ปรับใช้เทคโนโลยี Low-Code  ทีมงานฝ่ายพัฒนาสามารถลดข้อผิดพลาดโดยรวมในการทำงาน รวมไปถึงแก้ไขจุดบกพร่องของแอป และปิดช่องโหว่ด้านความปลอดภัย
  • ยกระดับทักษะของบุคลากรสำหรับการพัฒนาด้วยวิธีการแบบใหม่: องค์กรจะสามารถเสริมสร้างศักยภาพให้แก่บุคลากรด้วยประสบการณ์ด้านเทคนิคที่ไม่ได้มาจากการพัฒนาตามแนวทางแบบเก่า
  • และเพิ่มความสะดวกในการพัฒนาโมบายล์แอปพลิเคชัน: แพลตฟอร์ม Low-Code ช่วยเพิ่มความสะดวกในการนำเสนอฟีเจอร์แบบโมบายล์ ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะที่เชื่อมโยงกับแอปพลิเคชันบนเดสก์ท็อป/แล็ปท็อป หรือในรูปแบบของโมบายล์แอปที่ใช้งานได้อย่างอิสระ