30 พ.ย. 2565 864 23

ไซเบอร์ อีลีท ผนึกภาครัฐ เอกชน ร่วมมือป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ จัดงาน ‘Cyber Elite Day 2022 : Join Us on a Journey towards the Next Level of Cybersecurity’

ไซเบอร์ อีลีท ผนึกภาครัฐ เอกชน ร่วมมือป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ จัดงาน ‘Cyber Elite Day 2022 : Join Us on a Journey towards the Next Level of Cybersecurity’

บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด ในกลุ่มเบญจจินดา ร่วมมือภาครัฐ และเอกชน ร่วมอัปเดตเทรนด์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ พร้อมแนวทางป้องกันที่มีประสิทธิภาพ ในงาน ‘Cyber Elite Day 2022 : Join Us on a Journey towards the Next Level of Cybersecurity’  เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา  โดยได้นำเสนอโซลูชั่นป้องกันภัยไซเบอร์ พร้อมแนะผู้มีอำนาจตัดสินใจของทุกองค์กรให้ความสำคัญต่อการป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์


 ดร.ศุภกร กังพิศดาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด   กล่าวว่า  ภัยอาชญากรไซเบอร์ มีแนวโน้มมุ่งโจมตีไปยังผู้บริหารระดับสูงมากขึ้น โดยใช้การโจมตีแบบ Spear Phishing หรือการโจมตีช่องโหว่ของอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งไซเบอร์ อีลีท เห็นความสำคัญที่จะให้ทุกองค์กรเตรียมป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ได้อย่างทันท่วงที โดยไซเบอร์ อีลีท ได้เชิญ   พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)  ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญจากหน่วยงานด้าน Cybersecurity  และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมาให้ความรู้แก่คนในวงการไอทีในงานสัมมนา ‘Cyber Elite Day 2022 : Join Us on a Journey towards the Next Level of Cybersecurity’ ที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดความตระหนัก และวางแผนการป้องกันอย่างมีระบบ


ดร.ศุภกร กล่าวว่า  การรับมือกับคุกคามไซเบอร์  ในวงการ Cybersecurity ไทย คือ หน่วยงานกำกับดูแลต่างๆ เริ่มผลักดันด้าน Cybersecurity  กว่าเดิมมาก ส่งผลให้องค์กรธุรกิจไทย โดยเฉพาะองค์กรภายใต้การกำกับดูแลและ CII เริ่มมีความตระหนักด้าน Cybersecurity  มากขึ้นตาม และเริ่มมีการพัฒนา Cybersecurity Baseline ขึ้นมาเป็นแนวทางขั้นต่ำในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยขององค์กร หากสิ่งที่หลายองค์กรยังคงขาดอยู่ คือ การทำ Cyber Risk Management อย่างมีประสิทธิภาพ

“แม้องค์กรหลายแห่งจะตระหนักดี แต่ยังไม่รู้วิธีเริ่มต้น นับเป็นความท้าทายด้าน Cybersecurity ขององค์กรธุรกิจในปัจจุบัน เรียกได้ว่ายังขาด Cybersecurity Program ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ทุกองค์กรควรตรวจสอบเป็นระยะ มีการประเมินความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Maturity Assessment) ปีละครึ่งเป็นอย่างน้อย เพื่อยกระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้ขององค์กรให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดร.ศุภกร กล่าว  
 


ทั้งนี้ แนวทาง  Risk Management Framework NIST ว่า ต้องทำอย่างไร ซึ่งสิ่งที่ทุกคนให้ความสนใจ เนื่องจากการบริหารความเสี่ยงทาง ไซเบอร์ เป็นประเด็นที่สำคัญ และเป็นทิศทางที่จะมาใน ผู้มีอำนาจตัดสินใจ หรือผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญ และสั่งลงมายังฝ่ายปฏิบัติการ เนื่องจากเรื่องภัยคุกคามไซเบอร์เป็นเรื่องของทุกคนที่ต้องให้ความสำคัญ  หน่วยงานใดที่มีความเสี่ยงสูง ต้องยกระดับความปลอดภัยให้สูงขึ้น รัดกุมยิ่งขึ้น เป็นนโยบายความมั่นคงปลอดภัยให้กับองค์กร 
 
โดย ไซเบอร์ อีลีท มีความพร้อมและข้อได้เปรียบจากการเป็นบริษัทภายใต้กลุ่มเบญจจินดา ซึ่งสามารถ ทำงานร่วมกับบริษัทอื่นๆ ในกลุ่มได้ เช่น  บริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำกัด หรือ UIH,  บริษัท คลาวด์ เอชเอ็ม  ผู้ให้บริการ คลาวด์  ทั้งในประเทศไทยและนอกประเทศไทย  รวมทั้ง บริษัท เบรนเนอร์จี้ จำกัด  ผู้ให้บริการดิจิทัล ทรานฟอร์เมชั่น ได้อย่างครบวงจร


ในปี 2566 ไซเบอร์ อีลีท มีความพร้อมจะขยายไปตลาดต่างประเทศ ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากฝ่าย Research & Development พร้อมกับการให้บริการทุกองค์กรด้วยความหลากหลายยิ่งกว่าเดิม ภายใต้การประสานของบริษัทต่างๆ ในกลุ่มเบญจจินดา โดยเฉพาะความพร้อมทางด้านงานเทคโนโลยีดิจิทัลขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ระบบต่างๆ เทคโนโลยีความปลอดภัยทางไซเบอร์ และเทคโนโลยี Cloud เพื่อช่วยให้เข้าถึงลูกค้า ตอบโจทย์ทุกความต้องการอย่างแท้จริง