2 ธ.ค. 2565 683 0

กทพ. จับมือ หัวเว่ย วางโครงการสร้างทางพิเศษอัจฉริยะแห่งแรกในประเทศไทย

กทพ. จับมือ หัวเว่ย วางโครงการสร้างทางพิเศษอัจฉริยะแห่งแรกในประเทศไทย

สุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข (ที่ 2 จากซ้าย) ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และ กาจผจญ อุดมธรรมภักดี รองผู้ว่าการฝ่ายกลยุทธ์และแผนงาน การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (ที่ 1 จากซ้าย) ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมมือในโครงการสร้างทางพิเศษอัจฉริยะ (Smart Expressway) ของประเทศไทยกับ เควิน เฉิง ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) (ที่ 2 จากขวา) และ เอวาน ยวี่ รองประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) (ที่ 1 จากขวา)

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ร่วมกับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมมือในโครงการสร้างทางพิเศษอัจฉริยะ (Smart Expressway) ของประเทศไทย ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอัจฉริยะ รองรับแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพทางหลวงไทยอนาคต


เควิน เฉิง ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงโครงการความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “หัวเว่ยจะนำเทคโนโลยีระดับแนวหน้า ซึ่งรวมถึงโซลูชันไอซีที คลาวด์ และโซลูชันนวัตกรรมร่วมกันอื่นๆ ที่เกิดจากการร่วมมือพัฒนากับพาร์ทเนอร์ มาประยุกต์ใช้เพื่อนำมาสร้างไอเดียนวัตกรรมใหม่ โดยหัวเว่ยจะมุ่งมั่นส่งมอบงานวิจัยและการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ และจะร่วมมือกับทาง กทพ. เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับโมเดลธุรกิจใหม่รวมทั้งเพิ่มศักยภาพด้านการลงทุน ซึ่งการร่วมมือในครั้งนี้เป็นการสอดรับกับพันธกิจของหัวเว่ยในด้านการเติบโตไปกับประเทศไทย พร้อมสนับสนุนประเทศไทย ทั้งยังตอบรับวิสัยทัศน์ของประเทศไทยบนเส้นทางการมุ่งสู่ศูนย์กลางดิจิทัลแห่งอาเซียน”

เควินยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าทางหัวเว่ยและการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์เกี่ยวกับทางพิเศษอัจฉริยะในระดับองค์กร และจะระดมทรัพยากรร่วมกันอย่างเต็มที่เพื่อต่อยอดความร่วมมือและจะทบทวนความร่วมมือในระดับที่สูงขึ้นผ่านการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทั้งสองฝ่าย โดยหัวเว่ยจะให้การสนับสนุนทางด้านเทคนิคอย่างเต็มรูปแบบแก่แผนโครงการสร้างทางพิเศษอัจฉริยะในไทย


ด้าน สุรเชษฐ์  เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงความร่วมมือกับหัวเว่ยในครั้งนี้ว่า “ทาง กทพ. และหัวเว่ย จะนำความเชี่ยวชาญของแต่ละฝ่ายเพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทและโครงการนำร่องเพื่อการพัฒนาระบบ ITS และการกำกับดูแลบนทางพิเศษในอีก 10 ปีข้างหน้าของกระทรวงคมนาคม Huawei และ กทพ. ให้ความร่วมมือ การสนับสนุนทางด้านเทคนิคอย่างเต็มรูปแบบแก่แผนทางพิเศษอัจฉริยะ(Smart Expressway) โดย Huawei จะนำเทคโนโลยี ICT ที่ล้ำสมัย ซึ่งรวมถึงโซลูชัน ICT โซลูชันคลาวด์ และโซลูชันนวัตกรรมร่วมกันและอื่น ๆ สำหรับแนวคิดด้านนวัตกรรมใหม่ ๆ Huawei จะทำการจัดหาการวิจัยและพัฒนาที่จำเป็น อย่างสุดความสามารถเพื่อส่งมอบนวัตกรรม สำหรับโซลูชัน และ  หัวเว่ยจะทำงานร่วมกันกับ กทพ. ในการจัดเตรียมรูปแบบธุรกิจใหม่เพื่อช่วยให้ กทพ. เพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนโครงการ โดยจะนำเสนอเป็นเทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อให้เกิดการแข่งขันได้อย่างเป็นธรรม และจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นต่อการสร้างนวัตกรรม ในการพัฒนาการให้บริการทางพิเศษ นำนวัตกรรมใหม่ๆ มาปรับใช้ให้สอดคล้องอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสถาปัตยกรรมด้านไอซีทีให้ทันสมัยตอบรับกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ”

บันทึกความเข้าใจนี้คือการสร้างความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์เกี่ยวกับทางพิเศษอัจฉริยะ (Smart Expressway) โดย กทพ. และ Huawei จะใช้ศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการสำรวจความเป็นไปได้อย่างเต็มรูปแบบสำหรับความร่วมมือเกี่ยวกับทางพิเศษอัจฉริยะ (Smart Expressway) อย่างต่อเนื่องภายใต้ความร่วมมือตามบันทึกความเข้าใจนี้โดยอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน