เจมส์ วรายุทธ เย็นบำรุง กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด เปิดเผยว่า มิว สเปซ มีเป้าหมายสำคัญที่จะนำองค์กรก้าวไปสู่ปี 2023 ทางเราตั้งเป้าผลิตดาวเทียมน้ำหนัก 200 กิโลกรัม เพื่อรองรับความต้องการการใช้ดาวเทียมในอนาคต ดาวเทียมเหล่านั้นต้องการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เราจึงเตรียมแผนในการดำเนินการในอีก 5 ปีถัดไป โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
BUS 200 (B 200) ถือเป็นดาวเทียมที่เน้นระบบการสื่อสารเป็นหลัก รองรับความจุของดาวเทียมสูงถึง 10 Gbps มีน้ำหนักเบาเพียง 100 กิโลกรัมและใช้พลังงานไฟฟ้าเพียง 1 kW ขณะนี้เราได้ดำเนินการผลิตชิ้นส่วนดาวเทียมที่รองรับคลื่นความถี่ S - Band ผ่านเสาอากาศ S - Band Patch Antenna มีพิเศษในการรับ-ส่งสัญญาณเพื่อตรวจสอบสุขภาพของดาวเทียมทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุณหภูมิของดาวเทียม รวมไปถึงสภาพของ โซล่าเซลล์และตัวแบตเตอรี่ ผ่านคลื่นความถี่ 2,025 - 2,290 MHz
ชิ้นส่วนและเทคโนโลยีในการผลิตดาวเทียม มิว สเปซ พร้อมสนับสนุนให้กับอุตสาหกรรมดาวเทียมอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงวงโคจรต่ำทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่มีความคุ้มค่าในการใช้พลังงานของตัวดาวเทียม โดยเทียบจำนวนวัตต์ต่อกิโลกรัม ทำให้เราพบว่า มิว สเปซ อยู่ในระดับชั้นนำของโลก ในด้านประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน โดยเราสามารถเปลี่ยนพลังงานวัตต์ต่อกิโลกรัมให้เป็นสัญญาณในการเชื่อมต่อโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่ว่าจะเป็นความเร็วในการเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ต 10 Mbps หรือ 100 Mbps ระหว่างดาวเทียมและการสื่อสารภาคพื้นดิน
มิว สเปซ ได้ทดลองคุณภาพสัญญาณจากภาคพื้นดินได้ไม่ว่าดาวเทียมจะหันไปทางทิศทางใดก็ตามทางเราเน้นผลิตดาวเทียมรุ่น Standard น้ำหนัก 110 กรัมและ High-Gain น้ำหนัก 141 กรัม ในอนาคตเสาอากาศดังกล่าวจะต้องรองรับด้านความถี่อื่นๆด้วยเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ทางเรายังมีเทคนิค Reaction Wheels มีไว้เพื่อควบคุมทิศทางดาวเทียมโดยมีน้ำหนักตั้งแต่ 10 - 100 กิโลกรัม มีความแม่นยำสูงระดับ 300 เมตร จากระยะห่างบนพื้นโลก 500 Km จากระดับพื้นดินกับอวกาศ ในตัวเสาอากาศสามารถสื่อสารได้ไม่ว่าตัวดาวเทียมจะหันทุกทิศทางในระยะ 300 เมตร เทคโนโลยีดังกล่าวมีความสำคัญอย่างมากต่ออุตสาหกรรมดาวเทียมเพราะถือว่าผู้ให้บริการสามารถกำหนดจุดออกการให้บริการกับลูกค้าและสามารถรักษาความสมดุลของความจุดาวเทียมได้อีกด้วย โดยเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีที่ดูน่าจะใช้วัสดุที่มีราคาแพงแต่ทางเราได้ใช้เทคนิค 3D Printer Production เข้ามาช่วย ทำให้เราสามารถประหยัดงบประมาณต่อการผลิตชิ้นส่วนดาวเทียมส่งผลให้ต้นทุนของเรามีราคาลดลง
นอกจากด้าน Connectivity ยังมีเรื่องของ Data Storage และ On Board Satellite ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของดาวเทียมจากเดิมที่ได้ทำการ Set up ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนสามารถเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมได้ง่ายขึ้น
โดยปัจจุบันเทคโนโลยี 4G และ 5G จำเป็นที่จะต้องสร้างสถานีฐานภาคพื้นดินแต่ระบบดาวเทียมไม่จำเป็นที่ต้องสร้างสถานีฐานภาคพื้นดินเพียงแต่เราสามารถส่งดาวเทียมขึ้นไปบนอวกาศได้
มิว สเปซ ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของดาวเทียมดังนั้นจึงจำเป็นต้อง Update Cell Size ทั้งหมดหรือต้องพัฒนาดาวเทียมไปอีก Generation ถัดไปเริ่มต้นจากระบบพลังงานที่เพียงพอต่อการใช้งาน การรับส่งปริมาณความจุระหว่างดาวเทียมที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้น้ำหนักของดาวเทียมมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นสูงถึง 200 กิโลกรัม ความจุของพลังงานสูงถึง 1200 วัตต์ ผ่านการทดสอบการผลิตอยู่นั้นคือย่าน V-Band ในย่าน 40-50 GHz คลื่นดังกล่าวทำหน้าที่คล้ายกับเทคโนโลยี 5G โดยส่งสัญญาณจากอวกาศลงมาให้ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนบนภาคพื้นดินได้ใช้งาน การใช้เทคโนโลยีนี้จะต้องใช้พลังงานค่อนข้างสูงระยะทางไกลกว่า
ในอนาคตดาวเทียมของเราเตรียมผลิตนั่นคือ รุ่น BS500 เพิ่มขนาดของดาวเทียมขึ้นสูงถึง 250 กิโลกรัม รองรับความจุในการรับส่งข้อมูลสูงถึง 20 - 30 Gbps รองรับพื้นที่การเก็บข้อมูลถึง 300 TB กำลังร่วมกับ AWS ซึ่งตัวดาวเทียมดังกล่าวคาดว่าจะสามารถทดสอบได้ในปี 2025 ส่งผลดีกับผู้ใช้งานรูปแบบ Gaming สามารถเชื่อมได้อย่างรวดเร็วกับผู้เล่นที่อยู่ในต่างประเทศตรงนี้จะเห็นภาพชัดเจนที่สุด สิ่งนี้เราเรียกว่า Data Center บนอวกาศ
นอกจากนี้เรายังมีเทคโนโลยีซิปและเทคโนโลยีแบตเตอรี่ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีหลักที่เราได้พัฒนาคิดค้นขึ้นเพื่อดาวเทียมมีประสิทธิภาพสูงสุด
ทิศทางในการดำเนินกลยุทธ์บอร์ดแบนด์อินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม เราได้ร่วมมือกับ OneWeb ในการเป็นผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์ดาวเทียมและเราได้สร้างเกตเวย์ที่จังหวัดอุบลราชธานี เราจะเป็นผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์ดาวเทียมในประเทศมาเลเซียและประเทศไทย เราก็มีระบบหลังการขายและที่สำคัญเรามีเข้าใจระบบดาวเทียมวงโคจรต่ำตรงกับ OneWed เราคาดว่าสามารถจัดจำหน่ายได้ในช่วงไตรมาส 3 ในปี 2566
ในขณะนี้สิ่งที่ Partner ของเราอย่าง OneWed กังวลมากที่สุดนั่นคือเรื่องของระบบจานดาวเทียมซึ่งมีราคาแพง จานดาวเทียมอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมความเร็วสูงที่มีอยู่ในปัจจุบันเหมาะกับทางลูกค้าองค์กรเท่านั้น เพื่อใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกับเรือและเครื่องบิน กลุ่มนี้ทางเราเตรียมดำเนินการเชื่อมต่อระบบเทอร์มินอลด้วย ส่วนผู้ใช้งานทั่วไปทางเราได้เตรียมนำวัสดุโพลิเมอร์มาผสมบนจานดาวเทียมเพื่อให้ราคาเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถซื้อเซตที่จะรับตัวอุปกรณ์ได้ในราคาย่อมเยาว์