13 ม.ค. 2566 3,358 13

NT เผยกำไร 1.3 พันล้าน หลังควบรวมครบ 2 ปี ปรับโครงสร้างธุรกิจกำจัดจุดอ่อนงานภาครัฐ รุกตลาดเน็ตทั้งมีสายและไร้สาย กลุ่ม Mobile ยอดสูงสุด 5 หมื่นกว่าล้านบาท หรือ 55% ของรายได้

NT เผยกำไร 1.3 พันล้าน หลังควบรวมครบ 2 ปี ปรับโครงสร้างธุรกิจกำจัดจุดอ่อนงานภาครัฐ รุกตลาดเน็ตทั้งมีสายและไร้สาย กลุ่ม Mobile ยอดสูงสุด 5 หมื่นกว่าล้านบาท หรือ 55% ของรายได้

NT เผยตัวเลขกำไร 1.3 พันล้าน หลังควบรวม (CAT+TOT) ครบ 2 ปี เล็งปรับโครงสร้างธุรกิจบริการใหม่ เป็นองค์กรช่วยแก้ Pain point งานภาครัฐ ด้วยปัจจัยทรัพยากรที่มีทั้งเสา ท่อ และสาย (ที่กำลังเร่งเอาลงดิน) อีกทั้งเพิ่มมูลค่าธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน แม้แต่การนำองค์กรเป็น Tech Company ขยายธุรกิจเคเบิลใต้น้ำเส้นใหม่ Asia Direct Cable ซึ่งนอกจากบรอดแบนด์ กลุ่มธุรกิจไร้สายยังพัฒนาคลื่นความถี่ 700 MHz และ 26 GHz  (700 MHz ใช้แทน 4G คลื่น 850 MHz ) ที่มีลูกค้าเดิม 2 ล้านเลขหมาย โดย 26 GHz เน้นทำ 5G เสริมด้วยสายใยแก้วนำแสง นอกจากนี้ การควบรวมเอไอเอส กับ 3BB มองว่ากระทบตลาดเน็ตมีสายหรือเน็ตบ้าน หลายธุรกิจในวงการนี้สะเทือนอย่างแน่นอน 


พันเอก สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT)  เปิดเผยผลงานความสำเร็จของ NT ซึ่งหลังจากที่ควบรวมเป็นองค์กรสื่อสารโทรคมนาคมหลักหนึ่งเดียวของภาครัฐ   

ยังคงสร้างรายได้และสถานะผลประกอบการกำไรในปี 2565 ที่ผ่านมา  
ยังคงสร้างรายได้และสถานะผลประกอบการกำไรในปี 2565 ที่ผ่านมา  


ผลงานปี 2565 ผลักดันผลประกอบการมีกำไร

NT ผลประกอบการ 11 เดือน มีรายได้รวม 84,013 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรวม 82,369 ล้านบาท  กำไรสุทธิ 1,644 ล้านบาท  และประมาณการสิ้นปี 2565 มีรายได้รวม  91,528 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรวม 90,209 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,319 ล้านบาท โดยมีรายได้จากกลุ่มธุรกิจ Mobile 50,820 ล้านบาท หรือ 55% ของรายได้ ธุรกิจ Fixed Line & Broadband และ Sattellite รวม 19,930 ล้านบาท หรือ 22% ของรายได้ , ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและเสาโทรคมนาคม 9,486 ล้านบาท หรือ 10% ของรายได้ , ธุรกิจ International 2,178 ล้านบาท หรือ 3% ของรายได้ , ธุรกิจ Digital และ IDC & Cloud รวม 3,902 ล้านบาท หรือ 4% ของรายได้ และรายได้อื่น 5,212 ล้านบาท หรือ 6% ซึ่ง NT มีผลประกอบการปี 2565 สูงกว่าปี 2564 ซึ่งเป็นปีจัดตั้งบริษัท และดีกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในแผนธุรกิจ เกิดจากที่ NT เร่งสร้างรายได้กลุ่ม Digital ใหม่ๆ และการหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ และบริหารจัดการเพื่อลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน และบริหารจัดการทรัพยากรด้านบุคคล โดยมีโครงการเกษียณก่อนอายุหรือโครงการร่วมใจจาก (Mutual Separation Plan : MSP)  เพื่อลดค่าใช้จ่ายดำเนินงานลง


NT มุ่งเป้าปี 2566 ปรับปรุงประสิทธิภาพสร้างความแข็งแกร่งจากภายในองค์กร

NT เป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีภารกิจหลักในการให้บริการสนับสนุนภาครัฐ และสร้างรายได้เลี้ยงองค์กรเอง  จึงจำเป็นต้องควบคุมต้นทุนการดำเนินงานอย่างจริงจังเพื่อลดรายจ่ายในองค์กรให้ได้ต่อเนื่อง  โดยเน้นการจัดการ เพื่อลดต้นทุนโครงข่ายและระบบเครือข่ายการสื่อสารที่มีความซ้ำซ้อน ร่วมกับการเร่งกระบวนการจัดการภายในทั้งด้านระบบ IT และข้อมูลภายในที่มีจำนวนมากเพื่อบูรณาการฐานข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว  ขณะที่ด้านบุคลากรได้มีการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2565 สามารถลดความซ้ำซ้อนและลดค่าใช้จ่ายในการบริหารงานลงได้ระดับหนึ่งซึ่งยังคงต้องดำเนินการเพิ่มในระยะต่อไป โดยมีโครงการเกษียณก่อนอายุเพื่อลดค่าใช้จ่ายดำเนินงานด้านบุคลากร 


โฟกัสกลุ่มธุรกิจดิจิทัล มุ่งเป้าปรับเปลี่ยนองค์กรเป็น Tech Company

ทิศทางธุรกิจในปีนี้ NT มีแผนปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่เน้นโฟกัสที่ธุรกิจด้านดิจิทัลเป็นหลัก   โดยพิจารณาปัจจัยต่างๆ และแนวโน้มที่ประเทศไทยจะมีการลงทุนของธุรกิจต่างชาติเพิ่มขึ้นใน 1-2 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล   NT คาดว่าความต้องการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมจะเพิ่มสูงขึ้น และเป็นโอกาสของ NT ที่จะขยายธุรกิจจากโครงการเคเบิลใต้น้ำเส้นใหม่ ASIA DIRECT CABLE ที่จะเปิดใช้งานในปีนี้  รวมถึงผลักดันการเติบโตของกลุ่มธุรกิจบริการดิจิทัลมากขึ้น  โดยมีเป้าหมายระยะยาวคือปรับเปลี่ยนองค์กรสู่การเป็น Tech Company      


NT ได้พัฒนาธุรกิจบริการดิจิทัลอย่างต่อเนื่องในทั้งสององค์กรตั้งแต่ก่อนการควบรวม โดยเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการทรานสฟอร์มองค์กรดังกล่าว  ซึ่งมีแนวโน้มในทางที่ดี  โดยในปีที่ผ่านมากลุ่มบริการดิจิทัลสร้างรายได้และการเติบโตที่ดี  นอกจากคลาวด์และ Data Center และ Digital solution แล้วยังมีความโดดเด่นจากการเติบโตของบริการ Big Data เกิน 100และ IT Security ที่เติบโต 26 %  จากความสามารถทำกำไรของธุรกิจบริการและโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลสูงกว่าโครงสร้างพื้นฐานแบบเดิม  ปีนี้ NT จึงเตรียม spin off ธุรกิจกลุ่มบริการดิจิทัล 1-2 บริษัท ด้าน Cloud และ IT Security เพื่อการดำเนินธุรกิจที่แข่งขันได้และสร้างผลกำไรมากกว่าโครงสร้างพื้นฐานแบบเดิม   ในอนาคตมีแนวทางดำเนินธุรกิจกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่มีการแข่งขันสูงด้วยการร่วมมือกับพาร์ตเนอร์เพื่อ spin off ทั้งหมด ซึ่งจะทำให้ NT จะมีสถานะเป็นบริษัทโฮลดิ้ง ที่มีเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐเป็นหลัก    ทั้งนี้ กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานกลุ่มเดิมคือเสา สาย ท่อร้อยสาย ที่บางส่วนอาจต้องใช้เงินลงทุนของภาครัฐมาช่วยเสริม เช่น โครงการเน็ตประชารัฐและอาเซียนดิจิทัลฮับ จะเพิ่มเติมรูปแบบการใช้ประโยชน์ในลักษณะที่ยังคงอยู่ภายใต้รูปแบบรัฐวิสาหกิจ เช่น กองทุน Infra fund หรือ กองทุน REIT ให้เช่าระยะยาว


สำหรับธุรกิจหลักปัจจุบันคือกลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่และบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต  เนื่องจากบริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตมีต้นทุนสูงและการแข่งขันที่สูงในด้านบริการเสริม NT จึงเน้นที่คุณภาพบริการเพื่อรักษาฐานลูกค้า  ขณะที่กลุ่มธุรกิจไร้สายมีแผนพัฒนาคลื่นความถี่ 700 MHz. และ26 GHz. โดยคลื่น 700 MHz. เป็นการลงทุนติดตั้งโครงข่าย 4ใช้ทดแทนคลื่น 850 MHz. เพื่อดูแลลูกค้าที่มีในระบบเดิมกว่า ล้านเลขหมาย และให้บริการด้าน IoT ทั่วประเทศ  รองรับการใช้งานในพื้นที่ห่างไกล ทั้งยังเชื่อมต่อกับคลื่นความถี่  26 GHz. ที่ใช้ในการพัฒนา 5G สำหรับพื้นที่เฉพาะ โดยเสริมด้วยสายใยแก้วนำแสงที่เชื่อมโยงครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ

นอกจากนี้ NT ยังมีความสนใจในการเข้าไปลงทุนหรือมีส่วนร่วมในธุรกิจใหม่ๆ ที่ตลาดมีอัตราการเติบโตสูง เช่น ตลาด Smart City, Data Management Service, Environment, Health Care, EV, Gaming, BIG Data รวมถึง Trend ของ Technology อย่าง AI AR/VR Robotic/Automation และ Green Energy  


NT ขับเคลื่อน Digital Transform ภาครัฐเพื่อประชาชน

NT  มุ่งเน้นบทบาทสำคัญในการเป็นหน่วยงานให้บริการโทรคมนาคมหลักและเป็นกำลังสำคัญของภาครัฐในการต่อยอดโครงสร้างดิจิทัลเพื่อสนับสนุน Digital Transformation ภาครัฐ  ด้วยบริการ Data Center, Cloud และ Digital Solution ครบวงจร ให้กับหน่วยงานภาครัฐต่างๆ เพื่อผลักดันเทคโนโลยีดิจิทัลพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนตามแนวทางยุทธศาสตร์ประเทศ 20 ปี และนโยบายไทยแลนด์ 4.0  โดยโครงการสำคัญ ได้แก่ โครงสร้างระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (GDCC) ให้บริการหน่วยงานภาครัฐในการจัดเก็บข้อมูลและการประมวลผลบนคลาวด์เพื่อสนับสนุนการบริการประชาชนด้วยเซิร์ฟเวอร์เสมือนกว่า 36,000 VM  ซึ่งมีความต้องการใช้งานของหน่วยงานภาครัฐเป็นจำนวนมาก โดย NT ได้ร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ระดับโลกต่อยอดบริการ GDCC รองรับความต้องการของภาครัฐครบวงจรพร้อมความปลอดภัยด้านไอทีโดยบริการ Cyfence  และล่าสุดได้ขับเคลื่อนการจัดโครงสร้างแพลตฟอร์มกลางต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องสำหรับหน่วยงานภาครัฐใช้งานร่วมกัน  เพื่อขยายบริการดิจิทัลภาครัฐและบริการอัจฉริยะต่างๆ เข้าถึงประชาชน เช่น Smart school, Smart Tourist, Smart Health ผ่านโครงข่ายพื้นฐานของ NT ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ

ทั้งนี้ NT ตั้งเป้าดึงลูกค้าภาครัฐมาใช้บริการกลางด้านโครงสร้างโทรคมนาคมพื้นฐานและเทคโนโลยีดิจิทัลของ NT ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพด้านดิจิทัลที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย ขณะที่ลดภาระด้านการดูแลระบบและช่วยลดงบประมาณรัฐ  เช่น ระบบคลาวด์กลาง GDCC ที่ช่วยประหยัดงบประมาณโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของหน่วยงานรัฐได้มากกว่า 50 


มุ่งสู่การเป็นผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและดิจิทัลเต็มรูปแบบในปี 2566 - 2568

NT มุ่งต่อยอดโอกาสในธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน  จากจุดแข็งที่ NT บูรณาการสินทรัพย์เดิมของสององค์กรเป็นโครงข่ายพื้นฐานที่ครอบคลุมและเข้าถึงประชาชนทั่วประเทศ  ซึ่งแม้ผลตอบแทนน้อยแต่มีความสำคัญในการรองรับการพัฒนาประเทศสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลที่แข็งแกร่ง   โดยแนวทางการใช้ประโยชน์สูงสุดจากสินทรัพย์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ ได้แก่

- เสาโทรคมนาคมจำนวนกว่า 30,000 เสา มีแผนรักษารายได้จากการให้เช่าพื้นที่เสาโทรคมนาคมที่มีอยู่เดิมในระยะยาว

- เสาโทรคมนาคมจำนวนกว่า 30,000 เสา มีแผนรักษารายได้จากการให้เช่าพื้นที่เสาโทรคมนาคมที่มีอยู่เดิมในระยะยาว  ยุบรวมเสาโทรคมนาคมในบริเวณเดียวกันเพื่อลดต้นทุนในการให้บริการ และการขยายเสาโทรคมนาคมในพื้นที่เฉพาะต่างๆ เช่น อุทยานฯป่าไม้ สปก.พื้นที่ของหน่วยงานรัฐ ฯลฯ  

- ท่อร้อยสายใต้ดิน  มีแผนดำเนินการอย่างต่อเนื่องร่วมกับการไฟฟ้าตามนโยบาย กสทช.  พร้อมกับ

- ท่อร้อยสายใต้ดิน  มีแผนดำเนินการอย่างต่อเนื่องร่วมกับการไฟฟ้าตามนโยบาย กสทช.  พร้อมกับ NT มีแนวทางพัฒนาบทบาทเป็น Neutral Operator และ Neutral Last Mile Provider เพื่อผู้ให้บริการสามารถใช้โครงสร้างร่วมกันได้ทั้งเสาโทรคมนาคมและ สายสื่อสาร Core Fiber โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม เช่น บริการบรอดแบนด์ผู้ให้บริการไม่จำเป็นต้องลงทุนสายทั้งหมด แต่ใช้โครงข่ายกลางและลากเฉพาะสาย last mile เข้าสู่บ้านเพื่อให้บริการลูกค้าได้  ซึ่งลดต้นทุนของผู้ให้บริการในภาพรวม อีกทั้งสร้างทัศนียภาพภาพลักษณ์ที่ดีให้กับบ้านเมืองโดยช่วยลดความไม่เป็นระเบียบของสายสื่อสาร