15 ก.พ. 2566 404 7

รายงานเทรนด์ดิจิทัลของอะโดบีชี้ แบรนด์ชั้นนำใน APAC ลงทุนด้าน Content Creation และปรับปรุงเวิร์กโฟลว์ เพื่อความสำเร็จในปี 2566

รายงานเทรนด์ดิจิทัลของอะโดบีชี้ แบรนด์ชั้นนำใน APAC ลงทุนด้าน Content Creation และปรับปรุงเวิร์กโฟลว์ เพื่อความสำเร็จในปี 2566
  • 79% ของผู้บริหารระดับสูงใน APAC มองว่า ความต้องการด้านคอนเทนต์ของลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก
  • 43% ของผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญด้านการจัดการคอนเทนต์เวิร์กโฟล์วสูงที่สุดในปี 2566
  • เกือบสองในสาม (65%) ของผู้ตอบแบบสอบถามมุ่งเน้นไปที่ความต้องการและความท้าทายเร่งด่วน รวมถึงการปรับปรุงกระบวนการทำงานระยะสั้นและเทคโนโลยี

อะโดบีเผยแพร่รายงานดิจิทัลเทรนด์ (Digital Trends Report) ประจำปี 2566 นำเสนอข้อมูลเจาะลึกเกี่ยวกับการตลาดของแบรนด์ต่างๆ รวมถึงภารกิจสำคัญด้านไอทีโดยมีการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหาร นักการตลาด พนักงานฝ่ายการตลาด และพนักงานเอเจนซี่กว่า 9,000 คนทั่วโลก (ประกอบด้วยผู้ตอบแบบสอบถามใน APAC 800 คน) และสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนด้านเทคโนโลยีและกลยุทธ์ที่ช่วยให้องค์กรที่เป็นผู้นำอุตสาหกรรมก้าวล้ำเหนือคู่แข่ง

รายงานประจำปีนี้เผยให้เห็นว่า แบรนด์ชั้นนำต่างๆ ควรให้ความสำคัญกับการลงทุนเพิ่มความเร็ว ความสามารถในการสเกล และประสิทธิภาพในการสร้างคอนเทนต์ รวมถึงขั้นตอนการทำงานหรือเวิร์กโฟลว์ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และความสำเร็จของแบรนด์ในปี 2566 ในขณะเดียวกัน แบรนด์เหล่านี้ก็กำลังปรับปรุงกระบวนการทางการตลาดและเทคโนโลยีที่มีอยู่ เพื่อประโยชน์สูงสุดจากการลงทุน และสำหรับทุกโอกาสในปีนี้



ดันแคน อีแกน รองประธานฝ่ายการตลาดประสบการณ์ดิจิทัล อะโดบี เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น
กล่าวว่า “การนำเสนอประสบการณ์ personalized ผ่านคอนเทนต์ที่น่าสนใจนับเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้น เพราะคอนเทนต์ที่ดีจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ของแบรนด์กับลูกค้าให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ขณะที่ซัพพลายเชนด้านคอนเทนต์ได้กลายเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงฝ่ายการตลาดของแต่ละแบรนด์ ส่วนแบรนด์ที่เป็นผู้นำตลาดก็สามารถตัดสินใจเรื่องการลงทุนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมเพื่อปรับใช้แนวทางใหม่ด้านการตลาด”

Content Creation at Scale

จากผลสำรวจ 79% ของผู้บริหารระดับสูงใน APAC ชี้ว่าความต้องการด้านคอนเทนต์เพิ่มขึ้นอย่างมาก ถึงแม้จะพบว่าลูกค้าต้องการประสบการณ์ดิจิทัลแบบไดนามิกจากช่องทางต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น แต่มีเพียงหนึ่งในสี่ (25%) ของแบรนด์เท่านั้นที่ระบุว่าตนสามารถสร้างและนำเสนอคอนเทนต์ในระดับที่ "ดี" ได้

ด้วยเหตุนี้ ผู้นำอุตสาหกรรมจึงต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิด ปรับปรุง และเพิ่มความคล่องตัวให้กับทุกขั้นตอนการทำงานตั้งแต่ซัพพลายเชนด้านคอนเทนต์ทั้งหมด รวมถึงการวางแผนแคมเปญ การสร้างคอนเทนต์ การส่งคอนเทนต์ และการการวิเคราะห์ข้อมูล “ประสิทธิภาพ และการลดค่าใช้จ่าย” ยังคงเป็นหัวใจสำคัญ โดยผู้บริหารระดับสูงใน APAC (43%) กล่าวว่าพวกเขาได้ปรับปรุงกระบวนการด้านคอนเทนต์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การจัดการเวิร์กโฟลว์มีความสำคัญสูงสุด

ในอดีตพนักงานต้องใช้เวลางานและอาจต้องเสียเวลาส่วนตัวไปเพื่อเร่งสร้างคอนเทนต์ โดยสองในห้า (41%) ของพนักงานฝ่ายการตลาดใน APAC ระบุว่า การไม่มีเวลาเพื่อใช้ความคิดสร้างสรรค์ถือเป็นอุปสรรคสำคัญในการนำเสนอประสบการณ์ลูกค้าที่ดีเยี่ยมให้ นอกจากนี้:

  • พนักงานฝ่ายการตลาดเพียงหนึ่งในสี่ (25%) ระบุว่าองค์กรของตนอยู่ในระดับที่ ‘ดี’ หรือ ‘ดีมาก’ ในเรื่องของการวางแผน การกำหนดขอบเขต การจัดลำดับความสำคัญ และการกำหนดคอนเทนต์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม เทียบกับ 33% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลก
  • ที่สำคัญก็คือ 41% ระบุว่าปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเวิร์กโฟล์วเป็นอุปสรรคสำคัญที่ฉุดรั้งการดำเนินงานของฝ่ายการตลาด

เพื่อแก้ไขปัญหานี้และเสริมความแข็งแกร่งให้กับฝ่ายผลิตคอนเทนต์ขององค์กรในปี 2566 แบรนด์ชั้นนำใน APAC จึงให้ความสำคัญกับการจัดการเวิร์กโฟลว์และการทำงานร่วมกันผ่านดิจิทัลของทีมงานด้านคอนเทนต์

  • มากกว่าหนึ่งในสาม (37%) ของผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญสูงสุดกับการจัดการเวิร์กโฟลว์ที่จะช่วยยกระดับการทำงานในปี 2566 นี้
  • และ 43% ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงประสิทธิภาพหรือทำให้กระบวนการทำงานร่วมกันเป็นไปโดยอัตโนมัติเพื่อให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย (38%) ของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลก

การปรับปรุงเทคโนโลยีที่มีอยู่

การลงทุนในคอนเทนต์และเวิร์กโฟลว์ด้านครีเอทีฟสะท้อนให้เห็นว่าองค์กรที่เป็นผู้นำให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกระบวนการและเทคโนโลยีเพื่อให้ประสบความสำเร็จในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน รายงานยังระบุเพิ่มเติมว่า ในปี 2566 นี้ เกือบครึ่ง (45%) ของผู้นำใน APAC วางแผนจะลงทุนกับเทคโนโลยีด้านการตลาดและข้อมูล นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้นกับเทคโนโลยีที่มีอยู่ โดยเกือบครึ่งหนึ่ง (33%) มีแผนที่จะใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากเทคโนโลยีด้านการตลาดและข้อมูลที่มีอยู่

การวางแผนในอนาคตของแบรนด์บางแบรนด์อาจประสบปัญหาเนื่องจากความกังวลด้านเศรษฐกิจ: ผู้บริหารระดับซีเนียร์ของแบรนด์ต่างๆ ใน APAC ราว 65% ระบุว่าการมุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการระยะสั้นทำให้ต้องสูญเสียโอกาสสำหรับการวางแผนงานและกลยุทธ์ในระยะยาว แต่ยังดีที่การมุ่งเน้นความต้องการที่เร่งด่วนนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกองค์กร กล่าวคือ บางองค์กรใน APAC กำลังมองหาแพลตฟอร์มดิจิทัลและช่องทางการติดต่อสื่อสารในรูปแบบใหม่ โดย 41% กล่าวว่าองค์กรของตนกำลังเรียนรู้เกี่ยวกับการตลาดใน Metaverse เป็นต้น

หากต้องการดาวน์โหลดรายงานดิจิทัลเทรนด์ของอะโดบีประจำปี 2566 คลิกที่นี่

เกี่ยวกับรายงาน Adobe Digital Trends Report 

รายงานดิจิทัลเทรนด์ของอะโดบี เป็นการสำรวจความคิดเห็นทั่วโลกที่อะโดบีจัดทำขึ้นโดยร่วมมือกับ Econsultancy ซึ่งสำรวจว่าองค์กรชั้นนำใช้เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับบุคลากร พลิกโฉมธุรกิจ และเชื่อมต่อกับลูกค้าอย่างไร  ปีนี้เป็นปีที่ 13 ที่มีการจัดทำรายงานดังกล่าว โดยรายงานฉบับล่าสุดนี้นำเสนอการเปรียบเทียบระหว่างองค์กรที่เป็นผู้นำในแวดวงอุตสาหกรรมและองค์กรที่เป็นผู้ตาม เพื่อเผยให้เห็นถึงกลยุทธ์ เทคโนโลยี และประเด็นปัญหาที่แบรนด์ต่างๆ จำเป็นต้องให้ความสำคัญเพื่อความสำเร็จและสร้างความแตกต่างเหนือคู่แข่ง

ระเบียบวิธีที่ใช้ในการศึกษา

รายงานดิจิทัลเทรนด์ของอะโดบีประจำปี 2566 อ้างอิงจากการสำรวจออนไลน์ระหว่างเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน 2565 ตามรายชื่อที่ผ่านการคัดสรรโดย Econsultancy และอะโดบี  ข้อมูลที่พบอ้างอิงคำตอบจากผู้ตอบแบบสอบถามที่มีคุณสมบัติเหมาะสม 9,247 คน และมีการระบุองค์กรที่เป็น ‘ผู้นำ’ และ ‘ผู้ตาม’ ในแวดวงอุตสาหกรรม โดยพิจารณาจากคำตอบของแบรนด์ต่างๆ ต่อคำถามในแบบสำรวจที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของบริษัทในปี 2565 เมื่อเทียบกับคู่แข่งในภาคธุรกิจนั้นๆ  การมุ่งเน้นที่ผู้นำและผู้ตามช่วยให้อะโดบีและ Econsultancy สามารถค้นพบปัจจัยที่สร้างความแตกต่างเหนือคู่แข่งให้กับองค์กรที่ประสบความสำเร็จในด้านธุรกิจ