สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) จัดพิธีเปิดงาน “นิทรรศการสัปดาห์วิชาการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ปี 2566 (Thailand National Cyber Week 2023)” กำหนดจัดระหว่างวันที่ 17 - 18 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10.00 – 17.00 น. ณ สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์ กรุงเทพมหานคร เร่งพัฒนาขับเคลื่อนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยมี ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประธานกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และประธานกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เป็นประธานในพิธีเปิดงานฯ พร้อมด้วย พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และ พลตรี ธีรวุฒิ วิทยากรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
เพื่อพัฒนาศักยภาพและขับเคลื่อนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการและสร้างมาตรการและกลไกเพื่อพัฒนาศักยภาพหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน สถาบันการศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย คณาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา ตลอดจนประชาชนที่สนใจ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ในด้านเทคโนโลยีและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมถึงส่งเสริมการสร้างความตระหนักรู้ ตื่นตัว เห็นความสำคัญในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถ สร้างเครือข่ายและศักยภาพให้กับผู้ประกอบการในการป้องกัน รับมือ ลดความเสียหายให้กับโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ รวมถึงปกป้องเศรษฐกิจของประเทศไทย
ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และประธานกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ กล่าวว่า ในโลกปัจจุบันการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก จากผลสำรวจของ National Cyber Security Index หรือ NCSI ได้จัดอันดับความมั่นคงทางไซเบอร์ของประเทศไทย อยู่อันดับที่ 41 จากทั้งหมด 161 ประเทศ และเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน วัดจากความสามารถในการจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยได้คะแนนการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลได้ 100 % ในส่วนการดำเนินงานที่ผ่านมา สกมช. ได้ให้ความสำคัญในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศเป็นอย่างมาก เห็นได้จากมีการกำหนดนโยบายในการเตรียมความพร้อมและการขับเคลื่อนนโยบายและแผนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ การจัดทำกฎหมายลำดับรอง การส่งเสริมความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและต่างประเทศ การเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากที่กล่าวมานี้ ทำให้เกิดแนวคิดในการจัดงาน “นิทรรศการสัปดาห์วิชาการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ปี 2566 (Thailand National Cyber Week 2023)” ในครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้คำขวัญที่ว่า “Secure your cyber, Secure your future” การปกป้องโลกไซเบอร์ ก็เป็นการปกป้องอนาคตของคุณด้วยเช่นกัน อีกทั้ง ยังจะช่วยส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแล หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ หน่วยงานเอกชน สถาบันการศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย คณาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนที่สนใจ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ในด้านเทคโนโลยี และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมถึงส่งเสริมการสร้างความตระหนักรู้ในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพิ่มขีดความสามารถให้กับทุกภาคส่วนในการป้องกันและรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์ รวมทั้งส่งเสริมผู้ประกอบการในการสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันกับต่างประเทศ และสร้างโอกาสในการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ อีกทั้งยังเผยแพร่และสื่อสาร เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมถึงจะได้ร่วมกันบูรณาการความรู้และใช้ประโยชน์จากงานในครั้งนี้ให้มากที่สุด เพื่อเป็นการปกป้องตนเองและต่อยอดธุรกิจด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์พร้อมทั้งสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการและหน่วยงานต่าง ๆ ทุกภาคส่วนในการแข่งขันกับต่างประเทศและภัยคุกคามในอนาคตต่อไป
พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) กล่าวว่า ปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เป็นหน่วยงานที่มุ่งขับเคลื่อนการจัดการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศที่มีประสิทธิภาพ พร้อมตอบสนองต่อภัยคุกคามไซเบอร์ทุกมิติ รวมไปถึงนโยบายในการยกระดับความมั่นคงปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ (Critical Information Infrastructure: CII) ให้มีประสิทธิภาพ และผลักดันให้ทุกหน่วยงานมีมาตรการในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ พร้อมรับมือกับความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางไซเบอร์ของประเทศ เพื่อให้ประเทศและประชาชนมีภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ที่เข้มแข็ง จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรจัดงาน “นิทรรศการสัปดาห์วิชาการด้านความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์ปี 2566 (Thailand National Cyber Week 2023)” ซึ่งเดือนพฤศจิกายน 2565 ถึงต้นกุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา สกมช. ได้จัดให้มีการเสวนาด้านความมั่นคงปลอดภัยผ่าน Webinar จำนวน 3 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 การเสวนา “NCSA Virtual Summit: Cybersecurity & Privacy Trends” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำให้กับผู้ที่สนใจได้รับความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและแนวโน้มของความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต, ครั้งที่ 2 การเสวนา NCSA Virtual Summit: แนวโน้มและแผนการพัฒนาบุคลากรด้านไซเบอร์ของไทยปี 2566 (Cybersecurity Certificates & Careers) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานทางด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และครั้งที่ 3 การประชุมออนไลน์ (Virtual Conference) NCSA Thailand National Cyber Week 2023 ซึ่งรวมหัวข้อการบรรยายเกี่ยวกับแนวทางและนวัตกรรมล่าสุดด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลกว่า 10 หัวข้อ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยภายในงานนี้จะมีการแสดงนิทรรศการผลงานงานวิจัยและผลิตภัณฑ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์โดยบริษัทสตาร์ตอัป นิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาของไทย การให้คำปรึกษาด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พร้อมกับการประชุม-สัมมนา โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งในและต่างประเทศ พร้อมด้วยการนำเสนอความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีความมั่นคงปลอดภัยจากบริษัทและหน่วยงานชั้นนำทั้งในและต่างประเทศมากกว่า 80 บริษัท มาร่วมกัน อับเดตภัยคุกคาม
ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ Cybersecurity & Privacy Trends ในปี 2023 และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลล่าสุดที่หน่วยงานรัฐและองค์กรธุรกิจควรตระหนักรู้ รวมถึงประเด็นด้านไซเบอร์ที่น่าสนใจที่จะเกิดขึ้นในปี 2023 เช่น กฎหมายด้านไซเบอร์ การเปลี่ยนผ่านสู่ Cyber Resilience, Cyber Risk VS. Digital Risk และ Digital Divide VS. Digital Inequality Enter รวมถึงการเจรจาธุรกิจ (Business Matching) ระหว่างเจ้าของผลิตภัณฑ์/บริการและบริษัทที่สนใจนำผลิตภัณฑ์/บริการมาจัดจำหน่ายให้แก่ธุรกิจและบุคคลทั่วไป
นอกจากนี้ พบกับมิติใหม่ของมหกรรมรับสมัครงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Job Fair) เปิดโอกาสในการสมัครงานแบบไร้ข้อจำกัดกับองค์กรที่มีคุณภาพ หน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนชั้นนำที่จะเปิดบูธรับสมัครงานรวมกว่า 10 ราย และพบกับชหัวข้อสัมมนาเพื่ออัปเดตแนวโน้มตลาดแรงงานด้าน Cybersecurity ของไทย ไขข้อข้องใจว่าสายงานด้านไหนที่กำลังขาดแคลนและเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งนักศึกษาที่จบใหม่และผู้ที่มีประสบการณ์ใบรับรอง และทักษะสำคัญใดที่ควรมีเพื่อให้เป็นที่สนใจของเหล่า HR รวมถึงร่วมฟังการเสวนาและแชร์ประสบการณ์กับเหล่าบริษัทไอทีชั้นนำ และสถาบันฝึกอบรมและออกใบรับรองระดับโลก อีกทั้งการเสวนาด้านความมั่นคงปลอดภัยโดย สกมช. และผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ ครอบคลุมทั้งหน่วยงานความมั่นคงภาครัฐ บริการสำคัญภาครัฐ สาธารณสุข การเงินการธนาคาร พลังงาน และขนส่งโลจิสติกส์ ที่มาร่วมให้ความรู้ในการรับมือด้านความมั่นคงปลอดภัย
กิจกรรมที่สำคัญที่พลาดไม่ได้จริง ๆ กับการสาธิตวิธีการ "รู้ทันกลโกงมิจฉาชีพบนโลกออนไลน์" พร้อมเทคนิควิธีการทางการตลาดของเหล่ามิจฉาชีพที่ใช้หลอกลวงประชาชนบนโลกออนไลน์ ในเวทีของ สกมช. Live Hacking Demo: “แอปดูดเงิน VS เจาะระบบองค์กรขนาดใหญ่” ชม Live Hacking Demo: “ลองเป็นเหยื่อแอปดูดเงินเพื่อถอดรหัสโจร” เพื่อจะได้รู้เท่าทันป้องกันเงินในกระเป๋าของเรา และ “เจาะช่องโหว่ระบบ Active Directory ขององค์กรขนาดใหญ่” สัมผัสประสบการณ์พร้อมเรียนรู้พื้นฐานการเจาะระบบและการตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัย (Ethical Hacking & Security) เบื้องต้น จากหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญอันดับต้น ๆ ของไทย เปิดโอกาสสำหรับก้าวแรกสู่สาย Offensive Security และร่วมสนุกในเกมการแข่งขันทำโจทย์ตะลุยด่านด้าน Cybersecurity ชิงรางวัลรวมมูลค่ากว่า 100,000 บาท พร้อมรับประกาศนียบัตรจาก สกมช. และเปิดเวทีให้บริษัทสตาร์ตอัปและสถาบันการศึกษานำผลงานวิจัยและผลิตภัณฑ์มานำเสนอโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอีกด้วย ซึ่งทุกหน่วยงานจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ในด้านเทคโนโลยีและการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์ รวมถึงส่งเสริมการสร้างความตระหนัก รู้ตื่นตัว เห็นความสำคัญในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพิ่มขีดความสามารถให้กับทุกภาคส่วนในการป้องกันตนเองจากภัยคุกคามไซเบอร์ และส่งเสริมผู้ประกอบการในการแข่งขันและสร้างโอกาสในการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อีกด้วย
นอกจากนี้ ภายในงาน พลเอก ชูชาติ
บัวขาว ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (ที่ 2 จากซ้าย)
พลอากาศตรี อมร ชมเชย
เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (ที่ 3 จากซ้าย)
ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซบอร์
พร้อมด้วย พลตรี พีรพงศ์ โพธิ์เหมือน รองผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยี (ที่ 1
จากซ้าย) ป้องกันประเทศ และ พลตรี ธีรวุฒิ วิทยากร
รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เพื่อสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือบูรณาการองค์ความรู้และบุคลากรด้านเทคโนโลยีไซเบอร์
(ที่ 4 จากซ้าย)
และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศด้านไซเบอร์ พร้อมทั้งประสานความร่วมมือด้านการฝึกอบรม
การสร้างหลักสูตร การวิจัยแลพัฒนา รวมถึงสร้างความคุ้มกันและความพร้อมรับมือกับความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางไซเบอร์ของประเทศต่อไป
ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลได้ที่ www.thncw.com หรือ Facebook THNCW และ Facebook NCSA Thailand