26 ก.พ. 2566 1,291 22

NT เผยผลงานเมืองพัทยา จัดระเบียบสายสื่อสารลงท่อร้อยสายใต้ดินทั่วประเทศ พร้อมทยอยทำทั่วไทยระยะทางรวม 4,450 กม.

NT เผยผลงานเมืองพัทยา จัดระเบียบสายสื่อสารลงท่อร้อยสายใต้ดินทั่วประเทศ พร้อมทยอยทำทั่วไทยระยะทางรวม 4,450 กม.

NT เปิดผลงานท่อร้อยสายใต้ดินครอบคลุมทั่วประเทศระยะทางรวม 4,450 กิโลเมตร พร้อมให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนในการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน เดินหน้าโครงการจัดระเบียบสายสื่อสารแบบใช้โครงข่ายปลายทางร่วมกัน ลดจำนวนการพาดสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้า ลดการลงทุนซ้ำซ้อน โดยนำทีมสื่อมวลชนดูผลงานเป็นแห่งที่ 2 ต่อจากเขตบางรัก กทม.  คือ บริเวณถนนไร้สาย “พัทยาเหนือ .ชลบุรี” ปรับภูมิทัศน์เมือง ให้สวยงามเพิ่มศักยภาพและความปลอดภัยของโครงข่ายสื่อสาร


พงศกร  เหราบัตย์ รักษาการผู้จัดการฝ่ายขายและปฎิบัติการลูกค้าภาคตะวันออกตอนล่าง บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT กล่าวว่า  ในฐานะที่เป็น Neutral Operator และ Neutral Last Mile Provider ของประเทศ มีศักยภาพความพร้อมที่สนับสนุนโครงการจัดระเบียบสายสื่อสารลง ท่อร้อยสายใต้ดิน โดยมีโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จหลายโครงการ ด้วยความพร้อมของท่อร้อยสายใต้ดินครอบคลุมทั่วประเทศระยะทางรวม 4,450 กิโลเมตร แบ่งเป็น นครหลวง 3,600 กิโลเมตร ภูมิภาค 850 กิโลเมตร และพร้อมให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนในการนำสายสื่อสารลงใต้ดินทั่วประเทศ รวมถึงการจัดระเบียบสายสื่อสารแบบการใช้โครงข่ายปลายทางร่วมกัน เพื่อลดจำนวนการพาดสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้า ลดการลงทุนซ้ำซ้อน โดยผู้ประกอบการโทรคมนาคมลงทุนในโครงข่ายโทรคมนาคมหลัก (Core) และ NT เป็นผู้ลงทุนในส่วนโครงข่ายโทรคมนาคมปลายทาง (Last Mile) ทั้งแบบแขวนในอากาศและแบบที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งปัจจุบันได้มีการดำเนินการในรูปแบบแขวนบนอากาศบริเวณพื้นที่ถนนนาคนิวาส กรุงเทพมหานคร ส่วนแบบ Single Last Mile ที่อยู่ใต้ดินได้มีการดำเนินการในหลายพื้นที่ เช่น ถนนพัทยาเหนือ (.ชลบุรี) ถนนอุดรดุษฎีและถนนโพธิ์ศรี (เทศบาลเมืองอุดรธานี .อุดรธานี)  ถนนข้าวสาร (.กรุงเทพมหานคร) และมีแผนการดำเนินการอีกหลายพื้นที่ 

ภาพท้องถนนเมืองพัทยาที่ไร้สายสื่อสารรุงรัง 


ภาพเดิมๆ เมื่อพัทยาท้องถนนมีสายไฟฟ้าและสายสื่อสารพันกัน


ในปี 2565 NT มีท่อร้อยสายที่ครอบคลุมพื้นที่ ในโครงการสำคัญต่างๆ  ทั้งหมด 7 โครงการ รวมระยะทางทั้งสิ้น 449.19 กิโลเมตร ได้แก่ 1. โครงการปรับภูมิทัศน์เกาะรัตนโกสินทร์  2. โครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน 12 เส้นทางในเขต กทม.3. โครงการมหานครแห่งอาเซียน  4. โครงการพัฒนาระบบไฟฟ้า 4 เมืองใหญ่  5. โครงการ 1 จังหวัด 1 ถนนเพื่อเฉลิมพระเกียรติ  6. โครงการปรับสภาพภูมิทัศน์เมืองสำคัญและเมืองท่องเที่ยว  7. โครงการตามข้อตกลงความร่วมมือกับกองทัพเรือ 

สำหรับแผนงานในปี 2566 มีแผนการดำเนินการนำสายสื่อสารลงท่อร้อยสายใต้ดิน จำนวน 6 เส้นทาง รวมระยะทางทั้งหมด 57.609 กิโลเมตร ได้แก่ 

1.      โครงการความร่วมมือปรับปรุงท่อร้อยสายสื่อสารโทรคมนาคมและระบบสายนำสัญญาณใยแก้ว กับกองทัพเรือ ระยะทาง 15.745 กิโลเมตร 

2.      โครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน ถนนมีชัยช่วงตั้งแต่แยกดอนแดง ถึงตลาดวัดธาตุจังหวัดหนองคาย ระยะทาง 6.03 กิโลเมตร

3.      โครงการก่อสร้างถนนรามคำแหง ช่วงที่ 2 ก่อสร้างปรับปรุงถนนรามคำแหง จากคลองบ้านม้า ถึงคลองบางชัน ระยะทาง 20.503 กิโลเมตร

4.      โครงการก่อสร้างถนนสุทธิสารวินิจฉัย (อินทามระ) บริเวณถนนพหลโยธิน ถึงถนนวิภาวดีรังสิต ระยะทาง 1.39 กิโลเมตร

5.      โครงการก่อสร้างถนนเยาวราช บริเวณวงเวียนโอเดียน ถึงคลองโอ่งอ่าง ระยะทาง 1.44 กิโลเมตร

6.      โครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดินเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์จังหวัดสุรินทร์ ระยะทาง 11.73 กิโลเมตร

โดยแผนดำเนินการตามโครงการสำคัญ แบ่งเป็นนครหลวงและภูมิภาค รวมระยะทาง 399.7 กิโลเมตร   

- พื้นที่นครหลวง รวมระยะทาง 188.50 กิโลเมตร ได้แก่ โครงการปรับปรุงทางเท้าร่วมกับกรุงเทพมหานคร จำนวน 16 เส้นทาง โดยมีเส้นทางเร่งด่วน 2 เส้นทาง คือถนนเยาวราชช่วงจากวงเวียนโอเดียนถึงคลองโอ่งอ่างและถนนสุทธิสารวินิจฉัย (อินทามระ) ช่วงถนนพหลโยธินถึงถนนวิภาวดีรังสิต โครงการเคเบิลลงดินโดยไม่มีสภาพบังคับ จำนวน 12 เส้นทาง ระยะทาง 48.70 กิโลเมตร  โครงการมหานครอาเซียน จำนวน 39 เส้นทาง ระยะทาง 127.30 กิโลเมตร  โครงการรักษ์คูเมืองเดิม จำนวน 3 เส้นทาง ระยะทาง 1.50 กิโลเมตร และโครงการปรับภูมิทัศน์คูน้ำวิภาวดีรังสิต จำนวน 3 เส้นทาง ระยะทาง 11 กิโลเมตร

- พื้นที่ภูมิภาค รวมระยะทาง 211.2 กิโลเมตร ได้แก่โครงการ 1 จังหวัด 1 ถนน เพื่อเฉลิมพระเกียรติ 74 จังหวัด จำนวน 76 เส้นทาง ระยะทาง 80.10 กิโลเมตร โครงการปรับสภาพภูมิทัศน์ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระยะทาง 40.00 กิโลเมตร โครงการตามข้อตกลงความร่วมมือกับกองทัพเรือ จำนวน 6 เส้นทาง ระยะทาง 22.60 กิโลเมตร และโครงการพัฒนาระบบไฟฟ้า 4 เมืองใหญ่ เป็นการนำสายสื่อสารลงใต้ดินตามโครงการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ระยะทางรวมจำนวน 68 เส้นทาง 68.50 กิโลเมตร ได้แก่ นครราชสีมา หาดใหญ่ (.ธรรมนูญวิถี) เชียงใหม่ และ พัทยา (พัทยาเหนือ)


ขจรพัฒน์  วรรณศิริ โทรคมนาคมเมืองพัทยา  กล่าวว่า ปัจจุบันการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านโทรคมนาคมและดิจิทัล ประเภท ท่อ เสา สายโทรคมนาคม ขณะนี้ได้ดำเนินโครงการปรับสภาพภูมิทัศน์เมืองสำคัญและเมืองท่องเที่ยว โดย NT ได้ก่อสร้างท่อร้อยสายและได้มีการนำสายสื่อสารลงดินเรียบร้อยแล้วหลายจังหวัด และจังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้วในบางเส้นทาง  สำหรับพื้นที่พัทยา .ชลบุรี เป็นหนึ่งในโครงการมีจำนวนพื้นที่ที่ได้นำสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงใต้ดิน ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 7 เส้นทาง รวมระยะทาง 16.3 กิโลเมตร ได้แก่ 1.ถนนพัทยาเหนือ ระยะทาง 2 กิโลเมตร 2.ถนนสุขุมวิทระยะทาง 1.80 กิโลเมตร 3.ถนนพัทยากลาง ระยะทาง 2.20 กิโลเมตร 4.ถนนพัทยาสาย 1 ระยะทาง1.80 กิโลเมตร 5.ถนนพัทยาสาย 2 ระยะทาง 1.70 กิโลเมตร 6.ถนนพัทยา สาย 3 ระยะทาง 4.10  กิโลเมตร 7. ถนนพัทยาใต้ ระยะทาง 2.70 กิโลเมตร และมีเส้นทางเพิ่มเติมของ กฟภ. เส้นทางพัทยาสาย 3  เส้นทาง พัทยา เหนือ พัทยากลาง ระยะทาง 3.31 กิโลเมตร ที่อยู่ระหว่างลงนาม ในสัญญา คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี 2566 

พร้อมกันนี้ NT ได้บูรณาการการจัดระเบียบสายสื่อสาร โดยให้มีการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันเพื่อลดจำนวนการพาดสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้า รวมทั้งปรับปรุงระบบสายสื่อสารของผู้ประกอบกิจการให้มีสายสื่อสารปลายทางร่วมกันแบบ Single Last Mile โดยใช้โครงข่ายปลายทางร่วมกัน พร้อมเปิดให้บริการแล้วในบริเวณเส้นทางถนนพัทยาเหนือ ระยะทาง 2 กิโลเมตร โดยทาง NT จะเป็นผู้ติดตั้งและบำรุงรักษาสายเคเบิลใยแก้วนำแสง และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในการให้บริการโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต โดยนอกจากจะช่วยแก้ไขปัญหาสายสื่อสารรกรุงรัง และช่วยปรับสภาพภูมิทัศน์บ้านเมืองให้มีสภาพเรียบร้อยสวยงามแล้ว ยังช่วยลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน และสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกัน หรือ Infrastructure Sharing ทั้ง Telecom Infrastructure และ Digital Infrastructure ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน


นอกจากนี้ การนำสายสื่อสารลงดิน เมืองพัทยา ผู้บริหารส่วนภูมิภาค NT ยังได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ Adslthailand 

พงศกร เหราบัตย์ รักษาการผู้จัดการฝ่ายขายและปฎิบัติการลูกค้าภาคตะวันออกตอนล่าง บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT รับผิดชอบดูแลพื้นที่ EEC ภาคตะวันออกตอนล่าง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง โดย NT ชลบุรี แบ่งดูแลพื้นที่ ชลบุรี แหลมฉะบัง และพัทยา ส่วนระยองแบ่งเป็น ระยอง และมาบตาพุด และขจรพัฒน์  วรรณศิริ โทรคมนาคมเมืองพัทยา


หลักๆ แล้วการนำสายสื่อสารลงดินจะมีทุกพื้นที่ เรียกว่าถนนเฉลิมพระเกียรติ ตามนโยบายของผู้ว่าฯ ในส่วนของพัทยามี 9 เส้นทาง โดยประโยชน์ที่ได้คือ 1. เรื่องของภาพลักษณ์ 2. ความสวยงาม 3. ความปลอดภัย ถ้าดูหลายๆ พื้นที่ ไฟไหม้สายสื่อสาร และความปลอดภัยที่สายหย่อนลงมา แล้วเกี่ยวคอคนขับมอเตอร์ไซค์ถึงแก่ชีวิต

"สายสื่อสารทุกโอเปอเรเตอร์ ขึ้นหมดแล้ว แต่การลงดิน ความเป็นระเบียบยังไม่ได้ พัทยา 9 พื้นที่ (9 เส้นทาง) เริ่มเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา โดยมีหน่วยงานที่จัดระเบียบคือ คมนาคมของพัทยา ที่ดูแลเป็นหลัก ตอนนี้เสร็จไปแล้ว ประมาณ 2-3 เส้นทาง ซึ่งถ้าเสร็จทั้งหมด พัทยาจะไม่มีเสา (เสาไฟจะไม่มี) โดยทาง NT ทำร่วมกับการไฟฟ้าและเมืองพัทยา เจ้าภาพหลักในการทำคือ NT"

ส่วนเรื่องสายลงดิน ที่ทาง NT เมืองพัทยาเพิ่งมาทำตอนนี้ เนื่องจากแท้จริงมีโครงการจะทำในปี 2561 หลังจากนั้น ถูกกำหนดแผนโดย เมืองพัทยา แต่ยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนในการดำเนินการ และยังมีเรื่องค่าเช่าที่ไม่ได้ข้อสรุป ของทางเมืองพัทยา กสทช. โอเปอเรเตอร์ เพิ่งมาได้ข้อสรุปปี 2563 (พศจิกายน 2563) โดยสรุปคือ 9 เส้นทาง ดำเนินการไปแล้ว 3 เส้นทาง พัทยาเหนอ พัทยากลาง และพัทยาใต้ รวมทั้งเส้นทางสำคัญ แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ที่ยังไม่แล้วเสร็จ มีแผนอยู่แล้ว มีทำท่อเตรียมไว้ร้อยสายสื่อสารไว้อยู่แล้ว เหลือดำเนินการเอาสายลง หลักๆ ทำเรื่องค่าเช่าเรียบร้อย สาย 3 สุขุมวิท สาย 2 คาดว่าปี 2567 จะแล้วเสร็จ 100% ทุกเส้นทาง ปลอดเสา ลงดินครบถ้วน

ภาพท้องถนนมีสายสื่อสารรุงรัง 

ภาพท้องถนนที่ไร้สายสื่อสารรุงรัง 

ภาพท้องถนนที่ไร้สายสื่อสารรุงรัง 



"ฟังถึงตรงนี้ อาจจะมองว่า การลงสายใต้ดินสายกระทบผู้เช่า หรือลูกค้า ซึ่งการทำงานคือ ทำท่อร้อยสายใต้ดินก่อน แล้วนำสายที่อยู่บนเสาทั้งหมดลงดิน พอใช้งานได้สมบูรณ์แล้วจึงค่อยรื้อเสาไฟฟ้า ทำให้เสร็จก่อน แล้วค่อยโยกสายข้างบนมาอยู่ด้านล่าง ทำให้ไม่กระทบลูกค้า ใช้งานได้เหมือนเดิม ได้บริการดีกว่าเดิม ราคาเท่าเดิม ไม่กระทบการใช้งานผู้ใช้ไฟฟ้าและอินเทอร์เน็ต"

ลำดับการวางท่อร้อยสายใต้ดิน คือการดันท่อ การวางท่อเมนหลัก เมื่อท่อเมนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงเอาสายไฟเบอร์ร้อยเข้าไป จากนั้นนำสายสื่อสารของโอเปอเรเตอร์ทุกค่ายลงท่อใต้ดิน โดยหลักๆ คือวางท่อก่อน จากนั้นเอาสายร้อยไปตามท่อ เมื่อเสร็จเรียบร้อยก็ต้องเอาหน้าดินถมกลับเหมือนเดิม อีกส่วนหนึ่งในขณะที่งบประมาณไม่ได้มาทีเดียว ทั้ง 9 เส้นทาง จะได้งบแต่ละเส้นทาง เช่น พัทยาเหนือ ออกแบบดีไซน์เป็นล็อต โดยงบขึ้นอยู่กับระยะทางที่ทำ สายยาวที่สุดคือ เส้นสาย 3 ซึ่งใกล้จะแล้วเสร็จ ยาวประมาณเกือบ 10 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 40 กว่าล้านบาท เส้นระยะทางสั้นสุด บริเวณ Walking Street ประมาณ 1 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 10 กว้าล้านบาท สำหรับคู่ค้าที่ทำท่อร้อยสายลงดินให้ จะถูกกำหนดจากส่วนกลาง ฝั่งพื้นที่ NT เป็นคนใช้งาน เป็นเพียงกรรมการตรวจรับงาน การจัดซื้อจัดจ้างตามกฎระเบียบของรัฐ 

"ส่วนเรื่องค่าเช่า มีการเรียกโอเปอเรเตอร์ ผู้ประกอบการ คมนาคมเข้าร่วม ดูร่วมกันว่าโอเปอเรเตอร์รับราคานี้ได้หรือเปล่า มีการพิจารณาร่วมกัน ราคามาจากการประชุมหารือ ประมาณ 100 บาท ต่อ 1 ผู้ใช้ ที่ใช้งาน โดยแต่ละพื้นที่มีเทคโนโลยีในการติดตั้งต่างกัน ในส่วนที่ NT ทำ ทุกเส้นทางที่ทำ แม้ว่าจะแตกต่างเรื่องเทคโนโลยี ทุกโอเปอเรเตอร์รับได้ว่าราคาเท่ากันหมด หน้าที่คือทำตามนโยบายของรัฐเพื่อประชาชน แต่ถ้าถามว่าคุ้มทุนไหม อาจจะต้องใช้เวลา เช่น พัทยาเหนือ ลงทุน 40 ล้าน ลูกค้า 300 - 500 ราย เดือนละ 5,000 อาจจะเช่าท่อ ท่อราคาแพง แต่ NT เป็นหน่วยงานของรัฐ แม้จะไม่คุ้มทุน แต่รัฐต้องทำเพื่อประชาชน หลักๆ ไม่ได้รายได้ (income) แต่ได้ความปลอดภัย เรื่องเพลิงไหม้สายสื่อสาร ที่ผ่านมา อาทิตย์ละครั้ง ในเมืองพัทยา เสียค่าซ่อมบ่อย โอเปอเรเตอร์เสียค่าซ่อมเยอะ บ้านเรือนเสียหายจากเพลิงไหม้ หลังจากทำท่อไร้สายใต้ดิน เหตุเพลิงไหม้ พัทยากลาง พัทยาเหนือ น้อยลง นอกจากนี้ยังมีสายเคเบิ้ลทีวีอีก แต่สิ่งที่ได้คือลูกค้าได้บริการที่ดีขึ้นกว่าเดิม ไม่ต้องเสี่ยงกับสายไฟเบอร์ขาด โดนตัด สปีดตก แต่ใต้ดินแทบไม่เกิดปัญหาเลย" 

การบำรุงรักษาท่อร้อยสายใต้ดินต่างๆ ยกตัวอย่าง เช่น มีการแช่น้ำ ถูกน้ำท่วม มีอายุการใช้งานนานกว่าตากแดด ตากลม บนเสา บนอากาศ ไม่โดนแดด แต่การออกแบบเพื่อใช้งานใต้น้ำได้ เพราะ water-proof 100% ใช้งานได้ 10 - 20 ปีขึ้นไป และท่อไม่มีเรื่องไฟฟ้า จึงไม่มีเรื่องความร้อนเลย ส่วนการไฟฟ้าใช้คนละท่อกับสายสื่อสาร ดังนั้นเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนไป ก็มีการจัดการสารสื่อสารที่ดีขึ้น จัดระเบียบสายสื่อสารได้ดีขึ้น

ข้อแตกต่างของแผนและนโยบายท่อร้อยสายสื่อสารของพัทยากับจังหวัดท่องเที่ยวอื่น


"นโยบายการเดินท่อร้อยสาย จะมีแผนออกมาโดยการระบุว่า ถนนเฉลิมพระเกียรติที่จะมีการเอาสายลงดิน มีแผนออกมาว่าทำถนนเส้นนี้ ในปีใด โดยเน้นเมืองท่องเที่ยวต้องทำก่อน เช่น เชียงใหม่ หาดใหญ่ เพราะเป็นหน้าตาเป็นตาของประเทศ ข้อดีของการร้อยท่อใต้ดิน คือบริการดีกว่าเดิม ราคาไม่เพิ่มขึ้น ไม่กระทบลูกค้า ตลอดจนยังปลอดภัยอีกด้วย เพราะเรื่องสายตก สายหย่อน เพลิงไหม้ เมื่อเกิดเหตุ คนมอง NT เป็นเจ้าแรกที่เป็นต้นเหตุ อาจจะเป็นเพราะเวลาเกิดเหตุ ชาวบ้านแจ้ง อปภ. แล้วอปภ. ก็มาแจ้ง NT เพราะรู้จัก แต่ไม่ได้รู้จักเจ้าใหญ่ ซึ่งสิ่งที่กระทบกับประชาชนคือช่วงที่ดันท่อ เปิดหน้าดิน ต้องทำตอนกลางคืน หลังเที่ยงคืนถึงสว่าง ปิดการจราจรแค่ช่องเดียว เดินรถได้ 2 ช่องทาง ไม่กระทบการสัญจรของประชาชน มีแผนที่รัดกุม ที่ผ่านมาสะดวกเพราะทำช่วงโควิด รถไม่เยอะ จึงไม่กระทบประชาชนมากนัก"

คลิปอื่นๆ ผลงานท่อร้อยสาย นำสายสื่อสารลงดินเมืองพัทยา @AdslthailandCH https://youtube.com/@ADSLThailandCH


โครงการต่อไปสำหรับเมืองพัทยา

โครงการที่ 1 โครงการไฟฟ้าเมืองใหญ่ระยะที่ 1 ประกอบด้วย 9 ล็อต

โครงการที่ 2 โครงการไฟฟ้าระยะที่ 2 เริ่มที่ชายหาดจอมเทียน หมดจากจอมเทียนอาจจะขึ้นไปฝั่งเขา แล้วแต่ทาง กสทช และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กำหนด

ส่วนโครงการอู่ตะเภา มี 7 ล็อต มี 2 เส้นทางที่ทำเสร็จแล้วคือ สถานีอู่ตะเภา บริเวณท่าอากาศยานนานาชาติ ทั้งหมด และ ก.ม.10 แยกโรงพยาบาลสิริกิติ์ ไปจนถึงท่าเรือจุกเสม็ด มีท่อร้อยสายใต้ดินแล้ว เหลือแค่เอาสายเคเบิ้ลร้อยเข้าไป ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ที่เหลือขึ้นอยู่กับส่วนกลาง ทยอยทำไป แต่ออกแบบไว้เรียบร้อยแล้วในขณะที่ ระยอง ฉะเชิงเทรา ก็ทำตามนโยบายของจังหวัดนั้นๆ แต่อาจจะไม่ได้ปูพรมแบบพัทยา เป็นลำดับไป ว่าปีนี่กี่เส้น ขึ้นอยู่กับงบประมาณ



ด้านความยากของการทำท่อร้อยสายใต้ดิน ที่สนามบินอู่ตะเภา และเมืองพัทยา ที่สนามบินทำง่าย เพราะ ไม่มีประชาชนอยู่โดยรอบ แต่อาจจะเว้นช่วงที่มีการเสด็จฯ ก็ต้องหยุดทำ แม้ระยะทาง การใช้งบเท่ากัน แต่ความยากง่ายแตกต่างกัน อุปสรรคในการทำงาน ที่ทำให้เกิดความล่าช้า อันดับแรกคือ งบประมาณ บางทีกว่าจะได้งบก็ใช้เวลา อาจจะล่าช้า การคำนวณการคุ้มทุน NT เป็นบริษัทแล้วก็มีเรื่องการลงทุนที่กระทบจุดคุ้มทุน หรือเจอผู้รับเหมา ผู้รับจ้างไม่พร้อม แต่ถ้าดำเนินการได้ก็ครบถ้วนตามแผน

"นอกจากนี้ ปัจจุบันหลักๆ อินเทอร์เน็ตของ NT ในชลบุรี เป็นไฟเบอร์ออฟติก ที่เอาลงดิน แต่ยอมรับว่ามีบางส่วนเป็น adsl vdsl ตึกสูง อาคารเก่า โครงสร้างเก่า ยังเหมือนเดิม มีแบบมาตรฐาน สายทองแดงภายในอาคาร คล้ายๆ ซื้อแบบมาแล้ว มีแบบเดิม แต่คอนโดใหม่ๆ เป็นไฟเบอร์หมดแล้ว และถึงแม้อาคารเก่าจะมีงบ แต่นิติบุคคลไม่ยอม เจ้าของชาวต่างชาติไม่ยอม ก็ทำให้ไฟเบอร์เข้าไม่ถึง แต่ข้อดี adsl vdsl คือ traffic ไม่หนาแน่นแล้ว แต่สปีดอาจจะไม่ถึง 500 - 1000Mbps แต่มีแค่ 100Mbps" ผู้บริหารส่วนภูมิภาค NT กล่าวสรุป