14 มี.ค. 2566 2,564 24

คุยกับผู้บุกเบิกพัฒนาเว็บไซต์ Accessibility ภาครัฐ เมื่อยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ไทยแลนด์ 4.0) กำหนดให้ทุกคนต้องเข้าถึงได้อย่าง 'เท่าเทียม'

คุยกับผู้บุกเบิกพัฒนาเว็บไซต์ Accessibility ภาครัฐ เมื่อยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ไทยแลนด์ 4.0) กำหนดให้ทุกคนต้องเข้าถึงได้อย่าง 'เท่าเทียม'

เว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ (อังกฤษweb accessibility) หมายถึงหลักการในการสร้างเว็บไซต์ ให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้โดยผู้ใช้ใดๆ โดยอุปกรณ์ใดๆ ไม่เว้นแม้แต่เว็บเบราว์เซอร์ และไม่มีข้อจำกัดด้านความพิการทางร่างกายเช่นความพิการในด้านการมองเห็นหรือด้านการได้ยิน

รู้จัก Web Content Accessibility Guidelines (WCAG)

WCAG ย่อมาจาก Web Content Accessibility Guidelines เป็นมาตรฐานการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์เพื่อให้ทุกคนที่รับชมจากทั่วโลกสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยมี Guideline ที่ถูกร่างขึ้นเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของนักพัฒนาเว็บเพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยถูกใช้อย่างแพร่หลายในแต่ละประเทศที่เจริญแล้ว รวมถึงประเทศไทยที่กำลังจะนำมาใช้ โดยในต่างประเทศมีข้อบังคับเป็นกฎหมายสำหรับหน่วยงานที่รับเงินจากภาครัฐให้ทุกเว็บไซต์ต้องรองรับ Web Content Accessibility Guidelines 

ในประเทศไทย แม้จะไม่ได้ระบุว่าจะต้องรองรับคนพิการตรงๆ แต่ภาครัฐต้องการสร้างความเท่าเทียมให้กับคนพิการ และถึงแม้ว่าในกฎหมายจะไม่ได้ระบุตรงๆ ว่าจะต้องใช้ WCAG ก็ถือว่าเป้าหมายจะต้องทำให้ทุกคนเข้าถึงเว็บไซต์ได้อย่างเท่าเทียมนั่นเอง

การออกแบบเว็บไซต์โดยคำนึงถึงความสามารถในการเข้าถึงเว็บ มักจะทำให้ได้ผลบวกในด้านการเข้าถึงใด ๆ โดยใครก็ตาม ไม่เว้นแม้แต่บอตสำหรับเครื่องมือค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต จึงทำให้เกิดเป็นโครงการระหว่าง สดช. จัดฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้การพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Web Accessibility) 


ดร.ภควัต รักศรี หัวหน้าทีมที่ปรึกษาโครงการ  สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ Adslthailand ว่า "โครงการดังกล่าวเริ่มเมื่อเดือนตุลาคม ปีที่แล้ว (2565) มีการตรวจสอบเว็บไซต์รัฐในระดับกรม โดยใช้ข้อมูลจาก data.go.th จำนวน 411 หน่วยงาน ของ 20 กระทรวง รวมสำนักนายกฯ ผลปรากฎว่า มี 4 ระดับ A = Best Practice, B = Good,  C = พอใช้  มี 25% D = ต้องแก้ไขโดยด่วน มี 40% ปัญหาคือเว็บรัฐไม่รองรับ Web Accessibility ซึ่งขัดต่อกฎหมาย หน่วยงานใดทั้งรัฐและเอกชน ที่รับทุนจากภาครัฐจะต้องรองรับการให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็น Web Accessibility หรือ เว็บไซต์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึง โดยหน่วยงานนั้นๆ จะต้องเป็นคนทำ แต่ก็พบว่ายังมีปัญหา เช่น แอปฯ รัฐ ไม่ได้ตระหนักถึง Accessibility โดยเฉพาะคนพิการทางสายตา ปกติผู้พิการทางสายตา จะมี 3 ระดับคือ ตาบอด เลือนลาง และตาบอดสี และคนพิการหูหนวกก็มีมาก ถ้าเว็บรัฐทำให้ Accessibility กับคนพิการทางการมองเห็น และการได้ยินคือได้ Accessibility 70% แล้ว" 

การพิการแบ่งเป็น 7 ประเภท การมองเห็น (ตา) การได้ยิน การเคลื่อนไหว ออทิสติก สติปัญญา ทางจิต เว็บไซต์ก็จะแตกต่างกันไป เช่น คนพิการทางจิต จะมีปัญหาเรื่องแสงวาบ หรือ Flash จะมีองค์ประกอบการเข้าถึงไม่เหมือนกัน คนที่เจอแสงแวบเยอะๆ ก็ไม่เอาแล้ว ปวดหัว ในขณะที่คนมองไม่เห็นจะใช้คีย์บอร์ด แป้นพิมพ์ โดยใช้คีย์บอร์ดคนทั่วไปแต่มีเสียงจากโปรแกรมพิเศษ (หูได้ยิน) ส่วนคนที่หูไม่ได้ยิน ก็จะใส่แคปชั่นบนวีดีโอ ตามองเห็นแต่อ่าน Subtitle เอา ดังนั้นองค์ประกอบต่างกัน แยก ตา หู สติปัญหา ออทิสติก คนที่มีปัญหาทางจิตก็ต้องเน้นคำ เนื่องจากไม่สามารถอ่านข้อความยาวๆ ได้ จึงถือเป็นเรื่องใหม่ของคนทำเว็บไซต์ แต่ประเทศไทยยังไม่ตระหนัก ทั้งที่เป็นเรื่องสากลที่ต้องเข้าถึงได้ทุกคน

"อาจจะต้องดูปัจจัย เช่น พิการทางการมองเห็น ตัวเว็บต้องเข้าถึงได้ด้วยแป้นพิมพ์ เช่นมองไม่เห็นใช้การเคาะคีย์บอร์ด [submit] การปัดหน้าจอมือถือ [ข้ามไป] ใช้ voice กับ text-to-speech ใช้ตัว screen reader อ่านข้อความบนหน้าจอให้ได้ยินเสียง คนไม่ได้ยินก็ดูวีดีโอ มีคำบรรยายอัตโนมัติ หากพิการทางจิต สมาธิสั้น จะอ่านอะไรยาวๆ ไม่ได้ ส่วนการพิการทางจิตแบบแพ้แสงวาบ เว็บไหนใช้ Flash มีการเคลื่อนไหวเร็ว เขาจะรู้สึกปวดหัว เป็นการ check-list ของคนพัฒนาเว็บ แต่ไม่อยากให้เรียกว่าฟีเจอร์ (มีหรือไม่มีก็ได้) แต่จำเป็นต้องมีคือ Fundamentals องค์ประกอบพื้นฐานสำหรับคนพิการ"



ทุกเว็บไซต์จะต้องรองรับ “การสื่อสารทุกประเภทคนพิการ” ปกติบัตรคนพิการจะเชื่อมโยงและแบ่งประเภทคนพิการไว้อยู่แล้ว หรือเรียกว่าอาจเป็น Tier 2 ของแอปฯ บัตรคนพิการ แต่ผู้พัฒนากำลังทำให้ personalize สำหรับคนพิการคนนั้นๆ ได้เลย โดยรัฐให้สิทธิขั้นพื้นฐานของคนพิการ โดยกรมคนพิการ (พก.) เช่น ขึ้นรถเมล์ฟรี เข้าใช้สถานพยาบาลได้ก่อน โดยบัตรคนพิการก็เชื่อมโยงกับบัตรประชาชนอยู่แล้ว ใช้วันเดือนปีเกิด แต่ไม่ใช่ว่าคนพิการทุกคนจะมีบัตร ต้องลงทะเบียนก่อนจึงได้มาซึ่งแอปฯ บัตรคนพิการ ปัจจุบันผู้พัฒนาพยายามทำให้แอปบัตรคนพิการใช้ดิจิทัลได้ทั้งหมด แต่ปัญหาที่ยังพบคือรถเมล์ไม่รับรู้ว่าบัตรคนพิการเป็นอย่างไร ทำให้อาจจะมีผู้แอบอ้าง สวมรอยเอาบัตรคนพิการขึ้นรถเมล์ฟรี ฉะนั้น บนรถเมล์ต้องมีข้อมูลที่ตรวจสอบได้ หรือควรมี NFC จากมือถือที่ยืนยันตัวตน หรือเป็น Dynamic QR Code เป็นต้น หลักๆ ช่วงแรกจึงมุ่งเน้นไปที่เว็บไซต์ก่อน ไม่นับ Social Media อย่าง Facebook Twitter LINE นอกจากนี้ เว็บไซต์ภาครัฐที่รองรับ Web Accessibility ต้องน่าเชื่อถือ เพื่อป้องกันเฟคนิวส์

"โจทย์ของเราคือทำให้เว็บรัฐ Accessibility หลักๆ เป็นเว็บไซต์ของกรม 411 เว็บก่อน เพราะถ้ารวม อบต อบจ 7,000 เว็บ หากรวมทั้งหมดโรงพยาบาลเป็นหมื่นเว็บ สถานศึกษาอีกเป็นหมื่นเว็บ เว็บที่สังกัดรัฐเป็นแสนเว็บ ตอนนี้รวมแล้ว น้อยกว่าร้อยละ 10 เว็บไซต์ ที่เป็น Web Accessibility จุดนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ เพราะไม่ได้เก็บข้อมูล แต่ทำให้เข้าถึง ดู อ่าน ฟัง ได้เข้าใจ เป็นการออกแบบให้คนพิการเข้าถึงได้เท่านั้น ส่วนเรื่องความปลอดภัย เว็บ อบต. ก็โดนเจาะข้อมูล ไม่เกี่ยวกัน แค่เป็นเรื่องการเข้าถึงเท่านั้น "


ดร.ภควัต กล่าวสรุปว่า ดังนั้น การทำให้เว็บไซต์รัฐเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกัน คือเป้าหมายของการอบรม จึงเน้นสร้างความเข้าใจเรื่อง Accessibility สร้างความรู้และนำไปปฏิบัติได้ เพื่อนำไปสู่การสร้างเว็บรัฐรูปแบบดังกล่าว มีเท็มเพล็ตใหม่ขึ้นมา ทำให้ทุกเว็บมีบริการ Accessibility ทั่วถึงกัน คนดูแลเว็บก็สามารถต่อยอดเอาไปทำงานได้ด้วย พร้อมกับจะต้องเข้าใจคนตาบอดอย่างเท่าเทียมกันเป็นสิ่งสำคัญจึงต้องนำเอาความเห็นจากคนตาบอด คนพิการ มาปรับปรุงและประยุกต์ใช้มากกว่าความเห็นจากคนทั่วไป



อ่านข่าวเพิ่มเติม : เว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Web Accessibility) ก.ดิจิทัล ส่งต่อ สดช. ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 สร้าง 'ความเท่าเทียมกัน' เพื่อกลุ่มคนพิการ adslthailand.com/post/13583 #ดีอีเอส #สดช #ปยป #WebAccessibility #Thailand40