27 มี.ค. 2566 898 16

โค้งสุดท้าย..สดช. จัดฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้การพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Web Accessibility) รุ่นที่ 5-6

โค้งสุดท้าย..สดช. จัดฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้การพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Web Accessibility) รุ่นที่ 5-6

สดช. ประเมินเว็บไซต์ 400 กว่าหน่วยงาน ผ่านเกณฑ์ WCAG ไม่ถึง 50% จึงทำให้เกิดการอบรมโครงการ  "เว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้" นี้ขึ้นมาเป็นรุ่นที่ 5-6 ทั้งหมดรวมจำนวน 6 รุ่น ล่าสุดมีผู้เข้าร่วมการอบรม 150 คน จัดขึ้น ณ โรงแรมเดอะบาซ่าโฮเทล กรุงเทพฯ  โดยส่งเสริมให้ 200 กว่าคนหน่วยงานภาครัฐ ต้องพัฒนาเว็บไซต์ให้ผ่านเกณฑ์ WCAG 2.2  รวมทั้งจัดการประกวดเว็บไซต์และมีการประเมินผลต่อเนื่อง 3 กลุ่มใหญ่ คือ 1.ผู้บริหาร ผลักดันให้ส่วนบริการต่างๆ พัฒนาเว็บไซต์ให้ผ่านเกณฑ์ WCAG (Web Content Accessibility Guide) 2.นักพัฒนา 3.นักสร้างคอนเทนต์ เนื้อหา อัปเดตให้เนื้อหาถูกต้องตามเกณฑ์ WCAG


ภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้เกียรติกล่าวรายงานการฝึกอบรมให้ความรู้เพื่อเพิ่มพูนทักษะให้บุคลากรภาครัฐและเอกชนที่ดูแลการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาเว็บไซต์หน่วยงานตามแนวทางการพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Web Content Accessibility Guidelines) ภายใต้โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Web Accessibility) ประจำปี 2566



โดยมีศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด การอบรมครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับคนพิการ สนับสนุนให้เกิดการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งยังลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเพิ่มความเท่าเทียมด้านการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารให้กับคนพิการ ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการอบรมจะได้รับความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ เพื่อนำไปพัฒนาเว็บไซต์ของหน่วยงาน โดยโครงการดังกล่าว ถือว่าเป็นแนวคิดที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนพิการและคนทุกกลุ่ม ดังนั้น การเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการปรับปรุงให้เว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐที่บริการให้แก่ประชาชนสามารถยกระดับผ่านตามมาตรฐานเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ จึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่จะช่วยให้ประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะคนพิการสามารถเข้าถึงแหล่งบริการและข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และเพิ่มช่องทางการให้บริการภาครัฐไปพร้อมกัน


"การอบรมดังกล่าว มองว่าเป็นส่วนหนึ่งของการปรับตัวเข้าสู่ส่วนหนึ่งของ Digital Government การเข้าสู่ความเป็นรัฐบาลดิจิทัล อยากให้คนที่ทำงานด้านดิจิทัลตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลก พิจารณาว่ามีความสามารถพร้อมแข่งขันในโลกดิจิทัลได้หรือไม่ ไม่กี่เดือนมานี้ มีเว็บรัฐไม่กี่หน่วยงานที่รอดพ้นจากเว็บพนัน ซึ่งเว็บรัฐมีเยอะมาก ที่ถูกแฮกกลายเป็นเว็บพนัน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ สะท้อนภาพลักษณ์ขององค์กร โดยเฉพาะการไม่เป็น Paperless การไม่มี Security ตอนนี้มีนโยบาย Paperless โดยใช้เงินประมาณ 3-4 แสนบาท ต่อปี ใช้เงินน้อยกว่าการเขียนโปรแกรม ดังนั้นจึงอยากให้ผลักดันการเป็น Paperless จึงอยากให้เริ่มเปลี่ยนเพื่อเป็น Digital Government แต่ก็ต้องมีระบบที่ดูแลคนที่เข้าถึงไม่ได้ ลดความเหลื่อมล้ำ ต้องไม่ลืมว่า คนที่ไม่สามารถเข้าถึงโลกดิจิทัล ไม่นับคนอ่านหนังสือไม่ออก เขียนหนังสือไม่ได้ และยังมีผู้พิการที่มีจำนวนไม่น้อย ทั้งพิการชั่วคราว และพิการถาวร ดังนั้น Accessibility จึงสำคัญมาก น่าจะประมาณ 2 ล้านคนขึ้นไป ปัจจุบันมีคนสูงอายุเยอะขึ้นมาก ทำให้มีคนเข้าไม่ถึงเพิ่มมากขึ้น"

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประชุมอนุกรรมการเรื่องคนพิการ โดยกำหนดเรื่องที่ต้องทำ 3 เรื่อง

1. รัฐบาลจะต้องให้บริการกับประชาชนอย่างเท่าเทียม ไม่ใช่ว่าให้เหมือนกัน แต่ให้อย่างเหมาะสมกับแต่ละบุคคล เรื่องเว็บไซต์ อยากทำให้ประชาชนเข้าถึงได้ คน Accessibility เข้าถึงได้ ตอนนี้ทุกคนใช้ Digital ID ได้ ติดต่อราชการได้สะดวก โดยไม่ต้องมาที่สำนักงานเขต ระบบเว็บไซต์ ระบบแอปพลิเคชัน จะต้องรองรับ Accessibility คือ สื่อของราชการจะต้องทำให้ทุกคนเข้าถึงได้ คนพิการอยากเข้าถึงได้เท่าเทียมกับคนทั่วไป โดยมีกฎหมายสำหรับคนพิการ จะต้องมีคนพิการทำงาน 1% และจะต้องมีการจ้างงานสำหรับคนพิการ ให้เขาทำงานได้เท่าเทียมกับคนทั่วไป ระบบที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการดูแล ระบบราชการ ไม่ได้เขียนเว็บเอง เพราะเขียนไม่เป็น ก็เลยต้องใช้เงินซื้อแอป แต่สุดท้ายก็ต้องมาทำเอง ฝากคนอื่นไม่ได้ตลอดไป จากการตรวจสอบ พบว่าเว็บไซต์ไม่มีการอัปเดต implementation ในหน่วยงานทำไม่ทัน ดังนั้นจึงต้องดูแลให้ได้มาตรฐาน เข้าถึงทั่วกัน

 2. คนพิการอยากได้ Accessibility โดยเฉพาะเรื่องไอที โดยคนพิการ 60-70% ขาดโอกาสในการอ่านหนังสือได้ ฟังได้ แปลเป็นตัวอักษรได้ สำหรับคนพิการทางสายตาและการได้ยิน สามารถรับข่าวสารได้เหมือนกับคนทั่วไป มีเครื่องมือในการเข้าถึง

 3. การทำแอป จะต้องมองเรื่องการสื่อสารกับคนพิการ 2 ล้านคนได้ด้วย เรามีการทำแอปเยอะมาก เช่นซื้อฉลากกินแบ่งผ่านเป๋าตังค์ ควรมีการสร้างแอปเฉพาะเจาะจงสำหรับคนพิการ โดยมีการพูดคุยกับสมาคมคนพิการ มีการดาวน์โหลดและใช้งานด้วย ไม่ใช่โหลดแล้วไม่ใช้ ควรมีการสร้างแพล็ตฟอร์มเพื่อให้คนพิการเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม ผู้บริหาร - จบแล้วสามารถดูแลการพัฒนาเว็บไซต์ที่ผ่านมาตรฐาน, โปรแกรมเมอร์ ผู้พัฒนาระบบ - Hard Code ส่วน Influencer การออกแบบสื่อด้วย Canva แบบ Accessibility และโปรแกรม Sigma

จุดหลักคือการเปลี่ยน Mind Set ไปสู่ดิจิทัล การอบรมเป็นจุดเริ่มต้น คนที่มาอบรมควรเป็นกลุ่ม Community นำเรื่องการพัฒนาเว็บไซต์สำหรับคนพิการ WCAG (Web Content Accessibility) เชื่อว่าปีนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ เรื่อง และสามารถต่อยอดดิจิทัลไปสู่เรื่องอื่นๆ ต่อไป 

เสวนา : ปัญหาของคนพิการที่ขาดการเข้าถึงบริการของรัฐ


ตัวแทนผู้พิการ กล่าวว่า "สังคมไทยคนพิการไม่ถูกนับตัวตนเป็นประชากร สมัยก่อนคนพิการไม่ต้องเรียนหนังสือก็ได้จึงไม่มีตัวตน อยู่ในความเมตตา สงสาร ไม่แจ้งเกิดก็ได้ ทำให้ขาดโอกาส ต่อมา มีตัวตน แต่ไม่เท่าคนอื่น ก็จัดที่ทางให้เขาอยู่ จึงอยู่ในระบบบริการเฉพาะเจาะจง เรียนหนังสือก็ลำบาก ก็เลยเรียนในที่ของตนเอง เข้าถึงอะไรไม่ได้เลย ทำงานก็ตามที่จัดไว้ให้ แต่มีความเหลื่อมล้ำ" 


แม้จะมีการเฉพาะเจาะจง แต่ก็ไม่เหมือนกับคนทั่วไป ไม่เท่ากับคนทั่วไป ถูกกำหนดการเลือก ให้หรือไม่ให้อะไร จึงมีการให้บริการบางเรื่อง ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำได้จริง “ทางเลือกบังคับ” เริ่มมีแนวคิดใหม่ มี 2 คำ คือ Inclusive กับ equality ความเท่าเทียมและเป็นธรรม โดยจากข้อมูลเชิงสถิติ ประชาชนจดทะเบียนคนพิการ มีแพทย์รับรอง 2 ล้านคน (คนพิการสัญชาติไทยที่จดทะเบียนตามกฎหมาย) ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้จดทะเบียน แต่คล้ายกับ 2 ล้านข้างต้น 1.7 ล้านคน รวมๆ มีผู้พิการ 3.7 ล้านคน

"Barrier ที่เกิดกับคนตาบอดคือ กระดาษ เอกสาร พอทำเป็นดิจิทัลก็เป็นการสแกนเป็น PDF คนตาบอดอ่านไม่ได้ เพราะไม่ได้เป็นอักษรเบลล์ แม้แต่คนสูงอายุ สายตาฝ้าฟาง คนพิการรวมถึงคนที่ไม่ระบุว่าตัวเองเป็นคนพิการด้วย เช่น ตาบอดข้างเดียว ตามกฎหมายไทย ไม่เป็นคนพิการตาบอด เพราะยังมองเห็นอยู่ บอดข้างเดียว ประเทศไทยใช้การวินิจฉัยทางการแพทย์ มองว่า มองเห็นได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ แต่อาจจะทำงานในบางสาขาอาชีพไม่ได้ กฎหมายไทยไม่อนุญาตให้จดทะเบียนเป็นคนพิการตาบอด หรือคนทำงานโรงงาน นิ้วก้อยหาย ไม่ถือว่าพิการ แต่นิ้วโป้ง ถือว่าเป็นคนพิการ ต้องพิจารณาจาก พรบ. ประกันสังคม ดูว่ามีผลต่อการใช้ชีวิตหรือไม่ เป็นองค์ประกอบสำคัญ" ตัวแทนผู้พิการ กล่าวสรุปย้ำภายในงาน