5 เม.ย. 2566 25,984 13

'วีเอสที อีซีเอส' ย้ำภาพจำตัวจริงตลาดสินค้าไอทีในไทยปี 2566 เดินหน้าลุยกลุ่ม Consumer และโครงการจากภาครัฐ กำรายได้ยังฉลุยที่ 3 หมื่นกว่าล้านบาท

'วีเอสที อีซีเอส' ย้ำภาพจำตัวจริงตลาดสินค้าไอทีในไทยปี 2566 เดินหน้าลุยกลุ่ม Consumer และโครงการจากภาครัฐ กำรายได้ยังฉลุยที่ 3 หมื่นกว่าล้านบาท

VSTECS หรือ วีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) จำกัด (เดิมชื่อบริษัทเดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด) ก่อตั้งมายาวนานหลายสิบปี โดยผ่านหลายสรภูมิการแข่งขันด้านไอทีและเผชิญมาหลายโครงการภาครัฐ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมีช่องทางการจัดจำหน่ายกว่า 48,000 ราย กระจายอยู่ในประเทศจีน, ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, เมียนมาร์ และลาว

วีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าด้านไอทีผ่านทางธุรกิจ 4 กลุ่มหลัก คือ คอนซูเมอร์, คอมเมอร์เชียล, โซลูชันและดีไวซ์แอนด์ไลฟ์สไตล์ ภายใต้แบรนด์ชั้นนำระดับโลกกว่า 50 แบรนด์

สมศักดิ์ เพ็ชรทวีพรเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร VSTECS กล่าวให้สัมภาษณ์พิเศษ Adslthailand ถึงทิศทางดำเนินงานและสถานการณ์ตลาดสินค้าไอทีประจำปี 2566 ว่าสินค้าประเภทรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ยังคงทำตลาดอยู่อย่างต่อเนื่อง ในความท้าทายอยู่ที่การต่อสู้กับพฤติกรรมของผู้ใช้ ที่ส่วนใหญ่คนขับมอเตอร์ไซค์จะชื่นชอบความแรงของรถ ต้องออกตัวเร็ว ซึ่งขัดกับลักษณะของรถไฟฟ้าอยู่บ้าง แต่หลายองค์กร ตัวอย่าง คือ เซเว่นฯ เน้นใช้รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าในการส่งของให้แก่ลูกค้าแล้ว  ปัจจุบันกำลังมีการเปิดประมูลจำนวน 300 คัน


“รถมอเตอร์ไซต์ไฟฟ้า ตอนนี้ก็ขายได้เรื่อยๆ เดือนละประมาณ 20 คัน ไม่หวือหวา แต่มองเห็นเทรนด์การเติบโต ถ้ามีการทำไมโครไฟแนนซ์ให้กับกลุ่ม delivery คิดว่าตลาดคงไปได้อีกไกล เช่น การเปิดให้ผ่อนเดือนละ 300-800 บาท เป็นต้น ซึ่งตอนนี้ก็ติดอยู่ที่เราไม่สามารถทำให้กับกลุ่มรายย่อยได้ ถ้าทำธุรกิจผ่านกลุ่มองค์กรได้จะลดความเสี่ยงให้กับเรามากกว่า เชื่อว่าเติบโตขึ้นแน่นอนเพราะรัฐบาลก็ช่วยเรื่องภาษีอยู่แล้วถึง 18,000 บาท โดยแผนต่อไป คือ ต้องหาทีมงานสำหรับวิ่งงานโปรเจ็คเฉพาะเพื่อเข้าหาบริษัทที่มีการขนส่งเยอะ ตลอดจนแสวงหาความร่วมมือกับธนาคาร เช่น ออมสิน เพื่อขอกู้กับแบงค์ได้”

ทั้งนี้ พนักงานทั้งหมด 625 คนของ VSTECS ยังมีตำแหน่งงานที่ว่างอยู่ถึง 70 ตำแหน่ง เช่น เซลส์ มาร์เก็ตติ้ง พรีเซลส์ เทคนิเคิล โปรดักส์ ภาพรวมเศรษฐกิจ แม้จะมีหลายภาวะเกิดขึ้น แต่ในส่วนของไอทีเรียกว่าดี แม้ว่าจะเป็นช่วงสงครามยูเครน-รัสเซีย ตั้งแต่ Q3 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน ภาพรวมตัวเลขยอดขาย notebook consumer จึงเติบโตในระดับ single digit ในส่วนของภาพรวมปีที่แล้วโตขึ้นประมาณ 13% ฝั่งที่เติบโตสูงสุดคือ Corporate & Enterprise

เดือนมกรา-กุมภา ฝั่ง Consumer achieve 80% แต่ Enterprise achieve เกิน 100% เมื่อสรุปยอดแล้ว revenue ของเรา achieve 100% อย่างเช่น โปรเจคต์ที่ delay จากปีที่แล้ว ของค้างส่ง ก็เข้ามาและเริ่มทยอยส่ง และโปรเจคต์ใหม่ก็ยังมีเกิดขึ้น ตลาดด้านคอร์ปอเรทและราชการยังมีงบในการใช้จ่ายอยู่


ธเนศ พันธ์สุขุมธนา รองประธานบริหาร VSTECS กล่าวต่อมา "จากเหตุการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ในส่วนสินค้าไฮเอนด์ไม่พบปัญหา แต่จะมีเฉพาะด้านของเอนเตอร์ไพรส์ อาทิ network, server เช่น ของ Cisco เพราะความต้องการสูงมาก มีการลงทุนใน Cloud center สูง อีกปัจจัยคือชิพเซ็ทขาดช่วงอันเนื่องจากโควิด แต่คาดว่าหลัง Q2 ไปแล้วน่าจะดีขึ้นมาก”

ธเนศ ให้ความเห็นในส่วนของฝั่งธุรกิจ Commercial ต่ออีกว่า “ในส่วนของ notebook ฝั่ง commercial ที่มีการประมูลนั้นก็เติบโตในระดับ double-digit คือ notebook corporate ถ้าดูภาพรวม IDC แล้วจะเห็นว่าทั้งปีติดลบ เพราะที่ผ่านมาโตเยอะไปแล้วจากยอดการ WFH ของคนทำงาน แต่ของเราจะโตกว่าภาพของตลาดประมาณ 20% เนื่องจากเราได้โปรเจคต์ช่วง 5 ปีที่แล้วที่ภาครัฐมีการใช้เงินกับโปรเจคต์ค่อนข้างมาก ขนาดของโปรเจคต์ในปี 2020 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 10-20 ล้านบาทไปจนถึงเกือบร้อยล้านบาท ทำให้ตัวเลขของเราโตขึ้นมาเยอะ ครึ่งปีแรกนี้ฝั่ง commercial ก็ยังโตอยู่ ต้องรอดูครึ่งปีหลังว่ารัฐบาลใหม่จะมีการใช้จ่ายเท่าไหร่ มากเท่าปีที่แล้วหรือไม่ ในส่วนของธนาคารก็มีโปรเจคต์เยอะในช่วง 3 ปีที่ผ่านมานี้ ซึ่งเป็นช่วงที่เค้าจะอัพเกรดพวกพีซีและโน้ตบุ๊ค และยิ่งเมื่อทำโมบายแบงค์กิ้งมากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือเรื่อง security และการทำ virtualize”

สมศักดิ์ CEO กล่าวเสริมว่า “ทุกบริษัทต้องมีการลงทุนในด้าน security ในส่วนของ VSTECS เองก็มีการลงทุนไป 5-6 ล้านในปีที่ผ่านมา และปีนี้ก็ต้องมาคอยตรวจดูช่องโหว่กันตลอดว่ายังมีจุดใดที่ต้องป้องกันอีกหรือไม่ ซึ่งจะกลายเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องลงทุนอัพเกรดต่อเนื่องไปเรื่อยๆ”

การคาดการณ์การใช้จ่ายด้านไอที มั่นใจว่าปีนี้น่าจะเป็นปีที่ดี เติบโตประมาณ 10% หลังจากผ่าน Q1 มา ซึ่งเป็นปีแรกๆ ที่ VSTECS มีความover achieve 100% ตาม budget ใน Q1 ดังกล่าว ผู้บริหารเชื่อว่า Consumer จะดีขึ้นหลังเลือกตั้งพฤษภาคมนี้


บุญชัย อัศวชัยสุวิกรมประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ VSTECS



ธนเสฏฐ์ โมระศิลปิน ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาดผลิตภัณฑ์ดีไวซ์และไลฟ์สไตล์ ให้ความเห็นในด้านเทรนด์สินค้าไลฟ์สไตล์ว่า “เมื่อเร็วๆ นี้บริษัทได้รับเชิญไปดูงาน Pet Fair ที่เซิ่นเจิ้น ได้เจอผู้ผลิตรายใหญ่หลายราย และเป็นโอกาสที่ดีมากที่เราได้พบเบอร์ 1 ผู้พัฒนา AI ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่อันดับ 1 ของจีน สาเหตุที่คนจีนให้ความสนใจตลาด Smart Pet เพราะพฤติกรรมคนเปลี่ยนไป ปัจจุบันคนจีนให้ความสนใจเรื่อง อาหาร อากาศ น้ำดื่ม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและด้าน Emotional จะเห็นว่าคนจีนมีสัตว์เลี้ยงเยอะ แต่ไม่มีสินค้าแนว Emotional Support ที่เข้ามาซัพพอร์ตตรงจุดนี้ ซึ่งตอนนี้เรามีแผนในใจแล้วว่าจะมุ่งไปที่บริษัทผู้นำด้าน AI และสินค้าแนวไอทีเทคแฟชั่น เพราะสินค้า PET นอกจากเน้นด้าน Function แล้ว ยังต้องมีความเป็นแฟชั่นอีกด้วย

เทรนด์ในต่างประเทศที่จะนำมา apply ในเมืองไทย และเริ่มทำตลาดแล้วในนาม VSTECS โดยมีทั้งหมด 5 แบรนด์ คือ Petoneer, Petwant , Pawbo, Meet, Petkit และจะมีการนำเข้า พร้อมเปิดตัวสินค้าใหม่ในเดือนพฤษภาคมนี้ ปัจจุบันสินค้าที่มี potential มากที่สุด ก็คือ บ้านแมว และห้องน้ำแมว อีกสินค้าที่จะนำเข้ามาในอนาคต คือ house grooming ที่สามารถ อาบน้ำ ตัดขน อบขนแมวได้ ตลาดส่วนนี้อาจจะต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง แต่ทางบริษัทมองเห็นโอกาสที่ดีว่าจะเป็นเทรนด์ที่จะมาแรง

“ในอนาคตเรามีแผนที่จะขยายตลาดเข้าไปยังเซกเมนต์ใหม่ที่อยู่นอกเหนือจากกลุ่มไอที คือ ร้านขายอาหารสัตว์เลี้ยงใหญ่ๆ โดยอาจจะแยกกลุ่มรีเซลเลอร์ไปเลย ส่วนสินค้า gadget ถ้าร้านไอทีอยากจะเข้ามาทำ ก็ต้องมองไปที่กลุ่ม large format อย่าง JIB, Advice, Com7, IT City หรือร้านค้าที่มีความเข้าใจแนวสัตว์เลี้ยง คาดว่าเซกเมนต์นี้จะสามารถไปผสานรวมกับฝั่ง Enterprise ในอนาคต เช่นการจัดทำเป็นโซลูชัน One Click คือ การรวมทุกโซลูชันไปอยู่ที่แพลตฟอร์มเดียว นำแพลตฟอร์มทั้งหมดที่เราขายทำเป็นแอปของเราเองที่สามารถควบคุมอุปกรณ์ทุกตัวที่ซื้อจากเราได้ ให้เป็น Smart Home โดยผ่านการเชื่อมต่อ Wi-Fi เพื่อให้ตลาด Smart Home เกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงระบบ Security กล้องวงจรปิด ไฟส่องสว่าง และอุปกรณ์สัตว์เลี้ยง อนาคตจึงต้องมองหาเอาท์ซอร์สที่เป็นสตาร์ทอัพในบ้านเราเขียนโปรแกรมนี้ขึ้นมา” สมศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติม

ธนเสฏฐ์ ยังสรุปภาพรวมตลาดมือถือ ให้ความเห็นว่า “เนื่องจากเราเป็นตัวแทนจำหน่ายสมาร์ทโฟนครบทุกเซกเมนต์ ทั้ง hi, mid และ low กลยุทธ์การดำเนินงาน คือ เราทำงานใกล้ชิดกับเวนเดอร์ แบรนด์ที่เราถือก็มีทั้ง fighting brand, รวมถึงแบรนด์ที่กำลังจะไปๆมาๆ และแบรนด์ที่อยู่ตัวแล้ว เราปฏิบัติตามนโยบายของเวนเดอร์ และเรา speed market ของเราค่อนข้างที่จะเร็ว และนี่คือข้อได้เปรียบของเรา มือถือในปีที่ผ่านมาตัวเลขของเราทรงตัว โตในระดับ digit อย่างที่ทราบกันคือ market size บ้านเราจะอยู่ที่เดือนละ 1,200,000 เครื่อง โดยเราอยู่ในแชร์ของตลาดที่ประมาณ 12% และเราเห็นเทรนด์ที่กำลังจะมาก็คือ เนื่องจากผู้นำตลาด ไม่สนใจตลาดที่เป็น ultra low-cost คือตัวที่ราคาต่ำกว่า 100 ดอลลาร์ เค้ามุ่งจะไปที่ตลาดระดับกลางและบน

จึงนับเป็นโอกาสที่ดีของแบรนด์ใหม่จะเข้ามาซึ่งเป็นแบรนด์ของจีนทั้ง 4 แบรนด์ สนใจที่จะทำตลาดดังกล่าว โดย VSTECS ได้เป็นตัวแทนจัดจำหน่าย จึงเกิดปรากฎการณ์ที่เราสามารถทำสถิติขายได้สูงสุดภายใน 2 สัปดาห์ (Break High Record Unit Sold) เมื่อเดือนที่แล้ว หากเทียบกับอันดับรายอื่นในตลาดเดียวกัน แม้ VSTECS ถือว่าแชร์ส่วนแบ่งของมือถือยังเป็นรายเล็ก ไม่ใช่รายใหญ่ เนื่องจากเน้นนโยบาย ตีตลาดนอกเมืองเข้ามาในเมือสัดส่วนรายได้ของมือถือ จึงคิดเป็นประมาณ 8% จากยอดรวมธุรกิจทั้งหมดที่ 34,000 ล้านบาท


หากไม่รวมตลาดมือถือ VSTECS คือเบอร์หนึ่งในตลาด้านไอที ขยายสาขาไปในอีกหลายประเทศทั่วเอเชีย โดยมีสำนักงานสาขาที่สหภาพเมียนมาร์ เปิดมาตั้งแต่ปี 2557 และกัมพูชา เปิดเมื่อปีถัดมา 2558 เพื่อดำเนินธุรกิจด้านเอนเตอร์ไพรส์ซิสเตมส์โดยเฉพาะอย่างต่อเนื่องอีกด้วย