24 เม.ย. 2566 466 8

ไขความจริงเกี่ยวกับคริปโต พร้อมเผยความเชื่อที่คุณอาจเคยเข้าใจผิด

ไขความจริงเกี่ยวกับคริปโต พร้อมเผยความเชื่อที่คุณอาจเคยเข้าใจผิด

บล็อกเชนและคริปโตถือว่ายังเป็นสิ่งใหม่สำหรับใครหลายคน จึงอาจทำให้เกิดความไม่เข้าใจ และความเชื่อที่ผิดในเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมนี้ได้ โดยบทความนี้จะมาช่วยสร้างความเข้าใจเพื่อให้ทุกคนได้รู้จักคริปโตและบล็อกเชนดียิ่งขึ้น โดยมุ่งประเด็นไปที่อักษรย่อที่หลายคนคุ้นเคย อย่าง ‘FUD’ ซึ่งมาจากคำว่า F-fear U- uncertainty และ D-doubt หรือ ความกลัว ความไม่แน่ใจ และความสงสัย

ข้อเท็จจริงที่ 1: คริปโตคือสินทรัพย์ที่ได้รับการคุ้มครอง

เทคโนโลยีบล็อกเชนสามารถให้ความปลอดภัยและความมั่นคงที่ดีกว่าระบบการเงินแบบเก่าได้หากมีกรอบการดำเนินการที่เหมาะสม ความเชื่อที่ว่าอาชญากรรมทางการเงินผ่านสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นสูงขึ้น เป็นความเชื่อที่ผิดเนื่องจากการขาดหลักฐานที่ประกอบที่ชัดเจน เพราะในความเป็นจริงแล้วความปลอดภัยของเทคโนโลยีบล็อกเชนนำมาซึ่งความโปร่งใสของการทำธุรกรรมต่างๆ เป็นเหตุให้อาชญากรรมนั้นเป็นไปได้ยากเพราะระบบสามารถตรวจสอบได้

ด้วยพื้นฐานของบล็อกเชนที่เป็น Public Ledger หรือสมุดบัญชีสาธารณะที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพื่อให้ทุกคนสามารถควบคุม ตรวจสอบ และบันทึกประวัติการทำธุรกรรมแต่ละรายการ พร้อมติดตามแหล่งที่มาและการเคลื่อนไหวของเงินทุนได้ ซึ่งรวมถึงหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่สามารถใช้ประโยชน์จากการตรวจสอบย้อนหลังของสินทรัพย์ดิจิทัลในการติดตามเส้นทางการเงินที่ผิดกฎหมายเพื่อต่อสู้กับอาชญากรรมทางการเงินทั่วโลก

ทั้งนี้ เช่นเดียวกับสถาบันการเงินรายใหญ่ ในปัจจุบันการแลกเปลี่ยนคริปโตยังมีการใช้เครื่องมืออันล้ำสมัย อย่างเช่น Refinitiv World-Check หรือแพลตฟอร์มจัดการความเสี่ยงของ Refinitiv ที่ครอบคลุมอาชญากรรมทางการเงินแทบจะทุกประเภท รวมถึงผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลบางรายยังมีการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงที่อยู่IP ของผู้ใช้ เพื่อให้มั่นใจว่าการทำธุรกรรมต่างๆ เป็นไปตามข้อกำหนดด้านการต่อต้านการฟอกเงินและไม่ขัดต่อบทลงโทษในเขตอำนาจศาลอีกด้วย

โดย Binance และแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนคริปโตแบบรวมศูนย์อื่นๆ ยังมีการใช้ระบบ Know Your Customer (KYC) ที่มีประสิทธิภาพเพื่อยืนยันผู้ใช้ทั้งหมดก่อนที่จะให้บริการใดๆ ซึ่ง Binance จะไม่เปิดให้บริการแก่ผู้ใช้ที่มีการกระทำอันน่าสงสัยเป็นอันขาด ไม่ว่าจะเป็น ผู้ที่มีการลงทะเบียนซ้ำซ้อน ไม่ยอมเปิดเผยตัวตน และแหล่งที่มาของเงินที่ไม่ชัดเจน เพื่อเป็นการปฏิบัติตามกฎการต่อต้านการฟอกเงินในเขตอำนาจศาลกว่า 200 แห่ง นอกจากนี้ Binance ยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในการบังคับใช้กฎหมายผ่านเครื่องมือที่หลากหลายเพื่อติดตามและตรวจสอบกิจกรรมบนบล็อกเชน ซึ่งจะทำให้แน่ใจได้ว่าธุรกรรมทั้งหมดบน Binance ถูกกฎหมายและเป็นไปตามข้อกำหนด

ข้อเท็จจริงที่ 2: สกุลเงินดิจิทัลกำลังถูกนำมาใช้จริงและมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

องค์ประกอบของมูลค่าสกุลเงินคือระดับของการยอมรับและการนำไปใช้จริง แม้ว่าการนำสกุลเงินดิจิทัลมาใช้ในการชำระเงินอาจยังมีข้อจำกัด แต่อย่างไรก็ตาม การยอมรับและการใช้งานสกุลเงินดิจิทัลก็เพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยการใช้งานคริปโตเคอเรนซียังสามารถเป็นได้มากกว่าแค่การชำระเงินและเครื่องมืออำนวยความสะดวกทางการค้า เพราะคริปโตยังสามารถถือครองเพื่อรักษามูลค่าได้เหมือนกับทองคำ ซึ่ง Bitcoin ถือเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดสำหรับกรณีนี้ เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่หายาก มีเพียงแค่ 21 ล้านเหรียญเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น คริปโตเคอเรนซีกลุ่ม Smart Contract อย่าง Ethereum และอื่นๆ ยังสามารถนำไปใช้เพื่อสร้างแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์พร้อมอรรถประโยชน์มากมายในอาณาจักรดิจิทัลได้อีกด้วย

ข้อเท็จจริงที่ 3: คริปโตถูกนำไปใช้ในวงกว้างและหลายประเทศให้การยอมรับในฐานะสกุลเงินรูปแบบหนึ่ง

มีการใช้คริปโตเพื่อซื้อและขายสินทรัพย์ รวมถึงสินค้าในโลกแห่งความเป็นจริงทุกวัน ทั้งนี้ แนวคิดของ 'เงินจริง' มักเกี่ยวข้องกับการเป็นสื่อกลางในชีวิตประจำวันเพื่อใช้ซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินทรัพย์ รวมถึงสินค้าในโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งผู้ที่ไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับคริปโต มักคิดว่าสินทรัพย์ดิจิทัลไม่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ อย่างไรก็ตาม เราจะเห็นได้ว่าสกุลเงินดิจิทัลถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์เหล่านี้มากขึ้นเรื่อยๆ

จากข้อเท็จจริงทั้งหมดที่กล่าวไปข้างต้นแสดงให้เห็นว่าการ Web3 และการรู้เท่าทันโลกคริปโตมีความสำคัญในการช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ใช้เข้าใจผิดจากข่าว FUD หรือความกลัว ความไม่แน่ใจ และความสงสัยได้ ซึ่งทัศนคติผิดๆ เกี่ยวกับคริปโตส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากการเข้าไม่ถึงข้อมูลหรือเครื่องมือทางการศึกษาที่ถูกต้อง ทั้งนี้ Binance หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะช่วยเป็นแหล่งข้อมูลและคลายความเข้าใจผิดเกี่ยวกับคริปต่อไป