ในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับการลงทุนมากขึ้น เนื่องจากการลงทุนในรูปแบบต่างๆ สามารถให้ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นและเป็นที่น่าพึงพอใจต่อผู้ลงทุน ซึ่งการลงทุนในด้าน “สินทรัพย์ดิจิทัล” (Digital assets) นับเป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง และในวันนี้ OPEN-TEC ศูนย์รวมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Tech Knowledge Sharing Platform) ภายใต้การดูแลของ TCC TECHNOLOGY GROUP ได้หยิบยกมุมมองและประสบการณ์ด้านสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital assets) และกรณีศึกษาต่างๆเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลจากภาคเอกชน สัญชัย ปอปลี (CEO & Founder Cryptomind), เฟอร์ดินานด์ กูเทียร์เรซ (CEO & Founder Ampverse) และ ทชา ปัญญาเนรมิตดี (CEO & Co-Founder Alpha Venture DAO) ภายในงาน “Digital Transformation Summit” มาแบ่งปันภายใต้หัวข้อ “Foundation and Understanding to the Landscape today & Use cases of digital assets, and why it’s here to stay” ดังนี้
คุณสัญชัย ได้กล่าวไว้ว่า สินทรัพย์ต่างๆในยุคปัจจุบันมีการนำนวัตกรรมเข้ามาปรับใช้อย่างหลากหลาย หนึ่งในนวัตกรรมที่ผู้คนส่วนใหญ่รู้จักกันอย่างกว้างขวางคือ “สกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency)” ที่มีการทำงานผ่านระบบอัจฉริยะที่ไร้ตัวกลาง (smart contract) ในขณะที่ในอดีตหากต้องการทำธุรกรรมทางการเงินจะต้องดำเนินการผ่านตัวกลาง ซึ่งในปัจจุบันนี้ สกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโจทย์การใช้งานจริงของผู้ใช้บริการ ดังนี้
1. Bitcoin
บิทคอยน์ (Bitcoin) นับเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ก่อกำเนิดในยุคต้นของสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถถือ ครอบครองไว้ได้ในระยะยาว และเป็นการกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนในรูปแบบต่างๆ
2. Ethereum
อีเธอร์ (Ethereum) ได้ถูกพัฒนาขึ้นต่อจากบิทคอยน์ (Bitcoin) เพื่อลดขั้นตอนในการดำเนินการในการซื้อขายสินค้าและสามารถสร้างแอพพลิเคชั่นบนบล็อกเชน (blockchain) ผ่านระบบอัจฉริยะที่ไร้ตัวกลาง (smart contract) ได้ ซึ่งอีเธอร์ (Ethereum) นับว่าเป็น Decentralized computing platform ประเภทหนึ่ง เช่น ในอดีตเมื่อมีการเซ็นต์สัญญาซื้อขาย ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีการกรอกเอกสารบนกระดาษ แต่เมื่อนำ อีเธอร์ (Ethereum) มาใช้ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถนำสกุลเงินดิจิทัลนี้ไปค้ำประกันและนำเงินออกมาใช้ก่อนได้ โดยไม่จำเป็นต้องเซ็นต์สัญญา หรือซื้อขายผ่านตัวกลาง เป็นต้น
3. NFT
NFT (Non-Fungible Token) เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถใช้ในการซื้อขายสินค้าบนแอพพลิเคชั่นของ Ethereum (อีเธอร์) ได้ โดยการตั้งราคาซื้อขายนั้นจะเป็นไปตามการตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งจะถูกพบเห็นได้บ่อยในการซื้อขายงานศิลปะ เกม เพลง และการสะสมในประเภทต่างๆ เป็นต้น
4. Metaverse
ในอนาคต metaverse หรือโลกเสมือนจริงนั้นจะถูกเชื่อมต่อกับผู้คนมากขึ้น ซึ่งทุกคนจะสามารถซื้อขายผ่านสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) หรืแแลกเปลี่ยนข้อมูลได้สะดวกขึ้นบนโลกออนไลน์
ในขณะที่ทางด้าน เฟอร์ดินานด์ ได้แบ่งปันประสบการณ์กรณีศึกษาของการนำสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) มาใช้ในการให้บริการทางด้าน Gaming และ E-sport โดยได้กล่าวไว้ว่า ปัจจุบัน E-sport กลายเป็นหนึ่งอาชีพที่ผู้คนให้ความสนใจอย่างกว้างขวาง สำหรับเกมที่ถูกนำมาแข่งขันเพื่อสร้างรายได้ ผู้เล่นสามารถนำสกุลเงินดิจิทัล (NFT) มาซื้อสิทธิ์ในการซื้อเกมได้ มากไปกว่านั้น หากผู้เล่นไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอต่อการซื้อเกม ก็สามารถสมัครสมาชิกและเช่าเกมโดยใช้สกุลเงินดิจิทัล (NFT) ได้เช่นกัน
นอกจากนี้ทางด้านคุณทชา ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงเทคโนโลยีในโลกปัจจุบันที่มีความเสถียรขึ้น และเล็งเห็นถึงความสำคัญของสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital assets) โดยการออกแบบบริการภายใต้ชื่อ “Homola” ที่เปรียบเสมือนธนาคารที่ปราศจากตัวกลาง ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถนำสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) มาเชื่อมต่อกับ Homola เพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น การปล่อยกู้และกำหนดดอกเบี้ยได้เอง เป็นต้น
ในตอนท้าย สัญชัย, เฟอร์ดินานด์ และ ทชา ได้ฝากแง่คิดที่คล้ายคลึงกันในด้านสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital assets) ไว้ว่า สินทรัพย์ดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทกับผู้คนในอนาคตมากขึ้น พร้อมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานโดยผ่านระบบอัจฉริยะที่ไร้ตัวกลาง
จากที่กล่าวไปข้างต้นนั้นเป็นเพียงแค่เนื้อหาบางส่วนที่ OPEN-TEC ได้รวบรวมไว้ จากภายในงาน “Digital Transformation Summit 2022” ภายใต้หัวข้อ “Digital Investment, Fund & Digital Assets” ที่จัดขึ้นโดย สมาคมซีไอโอไทย (Thai Chief Information Officer Association: TCIOA) เท่านั้น หากท่านต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าไปฟังได้ที่เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=tSnAT8RwW6w&t=1893s
บทความโดย OPEN-TEC
Read More
1. Digital Transformation Governance & Leadership