2 มิ.ย. 2566 37,758 12

หัวเว่ย เผยโฉมโซลูชันระบบขนส่งทางรถไฟอัจฉริยะแห่งอนาคต ในกรุงเทพมหานคร

หัวเว่ย เผยโฉมโซลูชันระบบขนส่งทางรถไฟอัจฉริยะแห่งอนาคต ในกรุงเทพมหานคร

หัวเว่ย ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชันไอซีทีชั้นนำของโลก เผยโฉมโซลูชันระบบขนส่งทางรถไฟอัจฉริยะแห่งอนาคตภายในงาน ‘Asia Pacific Rail 2023’ ซึ่งถือเป็นงานประชุมสุดยอดประจำปีของอุตสาหกรรมการคมนาคมขนส่งด้วยระบบรางในภูมิภาค โดยหัวเว่ย ในฐานะผู้สนับสนุนรายหลัก แสดงความมุ่งมั่นที่จะส่งมอบระบบการขนส่งทางรถไฟอัจฉริยะที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนแก่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่มากถึง 4,200 ล้านคน (คิดเป็น 61 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก) กำลังเผชิญกับภาวะการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว นำมาสู่ความต้องการที่เพิ่มขึ้นในด้านบริการคมนาคมขนส่งที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่าการลงทุนทั่วโลกในด้านระบบไอทีเพื่อการคมนาคมขนส่งทางรถไฟจะสูงถึง 57,900 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี พ.ศ. 2573 โดยการลงทุนเพื่อพัฒนาทางรถไฟจะเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นหลัก ซึ่งหลายประเทศในภูมิภาคกำลังเปลี่ยนมาใช้โซลูชันไอซีทีแบบใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับระบบรถไฟ


“ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี ในอุตสาหกรรมการขนส่งทางราง โดยเฉพาะในด้านโซลูชันเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล หัวเว่ยได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่มีต่อภาคอุตสาหกรรมนี้ นั่นก็คือการพัฒนาการเชื่อมต่อ ปรับปรุงแพลตฟอร์ม และสร้างความอัจฉริยะให้กับระบบ” เซียง ซี รองประธานหน่วยธุรกิจการขนส่งระดับโลกของหัวเว่ย กล่าว

อุตสาหกรรมการคมนาคมขนส่งทางรางได้รับการสนับสนุนด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอย่างรวดเร็วในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา และหัวเว่ยมีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการดำเนินงาน รวมถึงการบำรุงรักษาระบบขนส่งทางรางด้วยโซลูชันไอซีทีรุ่นใหม่ล่าสุด ซึ่งได้มาจากการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูง ไม่ว่าจะเป็น Data Capture and Analysis, Autonomous Systems, Artificial Intelligence (AI), Machine Learning, FRMCS, MSN, Station Network, Storage, และ IoT ส่งผลให้หัวเว่ยสามารถปรับโฉมการทำงานและการบริหารจัดการของระบบการขนส่งทางรางรถไฟ โดยโฟกัสไปที่การพัฒนาเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการบูรณาการการขนส่งรูปแบบต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ รวมไปถึงการบูรณาการระบบขนทางรางเข้ากับแง่มุมอื่นๆ ของสังคม


“สถานีอัจฉริยะคือโซลูชันนวัตกรรมใหม่ ที่มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของผู้โดยสารและยกระดับประสิทธิภาพด้านการดำเนินงาน โดยระบบสามารถรวบรวมข้อมูลทั้งหมดจากทุกแอปพลิเคชันมาไว้ที่สถานีเดียว ระบบไอซีทีแบบใหม่นี้จะเป็นรากฐานให้กับสถานีอัจฉริยะ เราจึงควรเปลี่ยนจากระบบไอซีทีแบบแยกส่วน เช่น เซิร์ฟเวอร์ ระบบจัดเก็บข้อมูล เน็ตเวิร์ก และดาต้า มาใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มแบบคลาวด์แทน” สตีเวน ซง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีประจำหน่วยธุรกิจการคมนาคมขนส่งทางรางของกลุ่มธุรกิจองค์กร หัวเว่ย กล่าว

ด้วยความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาความท้าทาย และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในอุตสาหกรรมขนส่งทางรางและรถไฟในเมือง หัวเว่ยได้นำเทคโนโลยีไอซีทีแบบใหม่ล่าสุดมาใช้เพื่อสนับสนุนหลายเมืองในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในการยกระดับระบบโครงสร้างพื้นฐาน นำมาซึ่งการพัฒนาความเป็นเมืองและการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลให้กับภูมิภาค


ภายในงาน หัวเว่ยจัดแสดงโซลูชันที่ล้ำสมัยและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในหลายๆ ด้าน เช่น IP และเครือข่ายแบบออฟติคัล ซึ่งจะเป็นแกนหลักให้กับเครือข่ายทางรถไฟในอนาคต โซลูชัน Future Railway Mobile Communication System (FRMCS) และ Wifi-6 ซึ่งให้การเชื่อมต่อบรอดแบนด์แบบไร้สายระหว่างรถไฟและภาคพื้นดิน ระบบไอทีอัจฉริยะ ที่เพิ่มประสิทธิภาพด้านการประสานงานระหว่างกันและการจัดเก็บข้อมูล พร้อมด้วยเทคโนโลยีใหม่ของหัวเว่ยที่ช่วยป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ และโซลูชันสถานีอัจฉริยะ (Smart Station) ที่เพิ่มประสิทธิภาพด้านการดำเนินงานและบริหารจัดการ (O&M) พร้อมยกระดับประสบการณ์ผู้โดยสาร    

“เครือข่ายสถานีรถไฟยุคใหม่ต้องการระบบรักษาความปลอดภัยขั้นสูง แบนด์วิดท์ที่รวดเร็ว และการดำเนินการอัตโนมัติที่เป็นอัจฉริยะ เทคโนโลยีออฟติคัลที่ล้ำสมัยของหัวเว่ยช่วยให้การยกระดับประสิทธิภาพเป็นไปอย่างราบรื่นและเรียบง่าย” ผาน โชค เทค ผู้จัดการอาวุโส หน่วยธุรกิจโซลูชันการขนส่งทางรางของกลุ่มธุรกิจองค์กร หัวเว่ย เอเชียแปซิฟิก กล่าว

นอกจากนี้ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้จับมือกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ร่วมกัน เพื่อสร้างความร่วมมือในโครงการทางพิเศษอัจฉริยะในประเทศไทย ซึ่งประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอัจฉริยะ เพื่อรองรับการพัฒนาสำหรับอนาคตที่ยั่งยืนของทางหลวงประเทศไทย

ในปีนี้ หัวเว่ยได้จัดงานประชุมระดับสูงพร้อมเรียนเชิญผู้นำทางความคิด ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายใหญ่ในอุตสาหกรรม ลูกค้ารายสำคัญ และหน่วยงานภาครัฐในภูมิภาค เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสำรวจเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยสำหรับอุตสาหกรรมคมนาคมขนส่งทางรางในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

หัวเว่ยได้จัดตั้งหน่วยธุรกิจอุตสาหกรรมการบินและรถไฟ เพื่อสำรวจแนวทางการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับภาคอุตสาหกรรม พร้อมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ๆ โดยศึกษาจากสภาพการณ์ความเป็นไปได้ต่างๆ ของอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจุบัน หัวเว่ยให้บริการโซลูชันไอซีทีแก่ท่าอากาศยานและสายการบินกว่า 130 แห่งทั่วโลก รวมถึงผู้ให้บริการทางรถไฟในเส้นทางต่างๆ รวมมากกว่า 300 เส้นทาง ในกว่า 70 ประเทศทั่วโลก รวมระยะทางรางมากกว่า 150,000 กิโลเมตร