8 มิ.ย. 2566 681 0

CyberGenics ชูแนวคิด ความปลอดภัยทางไซเบอร์ Business & Cyber Resilience ที่มีส่วนร่วมทั้งองค์กร ในงาน Smart Cybersecurity Summit Thailand 2023

CyberGenics ชูแนวคิด ความปลอดภัยทางไซเบอร์ Business & Cyber Resilience ที่มีส่วนร่วมทั้งองค์กร ในงาน Smart Cybersecurity Summit Thailand 2023

ไซเบอร์จีนิคส์ (CyberGenics) เข้าร่วมงาน Smart Cybersecurity Summit Thailand 2023 นำทีมโดย สุธี อัศวสุนทรางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไซเบอร์จีนิคส์ จำกัด (ที่ 2 จากขวา) ปราโมทย์ ผ่องสุวรรณ์ (ที่ 1 จากขวา) Head of Corporate Marketing&Branding ซึ่งทางเจ้าภาพจัดงานได้แก่ นุชรินทร์ ภารดีวิสุทธิ์ (ที่ 1 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็กซโปซิส จำกัด และแอนดี้ คิวานูก้า (ที่ 2 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ เอเชียแปซิฟิก บริษัท โคลสเซอร์สติลมีเดีย โดมินิค พินโฟล์ด (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้อำนวยการการจัดงานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในเอเชีย บริษัท โคลสเตอร์สติลมีเดียร์

งาน Smart Cybersecurity Summit Thailand 2023 เป็นงานประชุมระดับประเทศที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญทางด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์แถวหน้าทั้งในและต่างประเทศ โดยมีผู้บริหารและผู้ที่ทำงานสายไอทีมาร่วมฟังสัมมนากันคับคั่ง

โดยครั้งนี้ จีเอเบิล (G-Able) และ ไซเบอร์จีนิคส์ ได้ร่วมเปิดบูทและอภิปรายให้ความรู้บนเวที เพื่อแนะนำบริการต่าง ๆ ของบริษัทฯ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการความมั่นคงและเฝ้าระวังภัยคุกคามทางด้านภัยไซเบอร์แบบครบวงจรจากทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง


โดยในช่วงเช้าของงาน มีการอภิปรายเนื้อหาจาก Security Expert จากทีมผู้เชี่ยวชาญจากไซเบอร์จีนิคส์ ในหัวข้อ Evolve Your Cybersecurity Strategy : Work Anywhere, Secure Anytime โดย ธนพล ประสิทธิ์ไพฑูรย์ เป็นการเล่าถึงแนวทางในการเปลี่ยนถ่ายแนวคิดในการออกแบบระบบความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ให้ตอบโจทย์การทำงานในยุคใหม่ เมื่อนโยบายและรูปแบบการทำงาน การเข้าถึงและบริหารจัดการแอปพลิเคชันภายในขององค์กรเปลี่ยนไป ส่งผลให้หน่วยงานด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security) มีความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนและทลายข้อจำกัดต่างๆ เพื่อให้สามารถรองรับรูปแบบการทำงานขององค์กรในรูปแบบใหม่ๆ

ไม่ว่าจะเป็นการขยายขีดความสามารถในการควบคุมและตรวจสอบด้านความปลอดภัยในการใช้งานอินเทอร์เน็ตให้มีความรวดเร็ว ปลอดภัยและทันสมัยไม่ว่าผู้ใช้งานจะอยู่ที่ไหนของโลกใบนี้ การพัฒนารูปแบบในการเข้าถึงแอปพลิเคชัน ภายใน ภายใต้คอนเซ็ปต์ Zero Trust ที่สามารถกำหนดขอบเขตให้เข้าถึงเฉพาะเท่าที่จำเป็นและปรับเปลี่ยนตามความเสี่ยงของผู้ใช้งาน (Dynamic User access Profile) การลดความซับซ้อนในการบริหารจัดการระบบการเข้าถึงจากภายนอก (Remote Access) การป้องกันด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบเครือข่ายที่อยู่ภายในจากการเชื่อมต่อจากผู้ใช้งานที่อยู่นอกองค์กร และการตรวจสอบความเสี่ยงของอุปกรณ์และผู้ใช้งานทุกๆการร้องขอการเชื่อมต่อ ทำให้หน่วยงานด้านความมั่นคงปลอดภัยมีขีดความสามารถในการดูแลและป้องกันการใช้งานขององค์กรให้ปลอดภัยและสอดรับกับนโยบายและรูปแบบการทำงานใหม่ขององค์กร ที่สามารถทำงานที่ไหนก็ได้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและราบรื่น


นอกจากนี้ ยังได้ร่วมงานเสวนาในหัวข้อ Smart cybersecurity ในหลากหลายประเด็นที่อยู่ในกระแสปัจจุบัน เช่น ChatGPT, Cyberinsurance, Security Transformation เป็นต้น โดยมี อลงกรณ์ หงส์สวัสดิ์ Senior consultant จาก ไซเบอร์จีนิคส์ มาร่วมให้ข้อมูลใน Session นี้ ในประเด็นของ Cyber Resilience ซึ่งในมุมมองของคุณอลงกรณ์ ได้กล่าวถึงว่า ในปัจจุบัน Cyber Resilience เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากมีภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่หลากหลายรูปแบบและมักจะมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่บางครั้งเราก็ไม่อาจป้องกันได้ทั้งหมด ดังนั้นทุกองค์กรจึงจำเป็นต้องมีกระบวนการจัดการ มีการวางแผนการรับมือ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยรวมอยากมุ่งเน้นไปที่ตัวบุคคลในองค์กรให้มี Cybersecurity Awareness เพิ่มขึ้น เนื่องจากในการพัฒนาในส่วนของแอปพลิเคชัน หรือโปรแกรมต่างๆ ในปัจจุบัน มีการใส่ซีเคียวริตี้ไว้แล้ว แต่ทั้งนี้ภัยคุกคามไซเบอร์ก็ยังเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ ส่วนใหญ่เกิดจากการไปกดลิงก์ต้องสงสัย ทั้งเจตนาและไม่เจตนานั่นเอง ซึ่งในประเด็นนี้ ชี้ให้เห็นว่าการสอดส่องและเฝ้าระวังไม่ได้จำกัดอยู่ในกลุ่มของพนักงานด้านไอทีเท่านั้น แต่คือทุกคนในองค์กรหมั่นสังเกตและเฝ้าระวัง จะช่วยให้เกิด tolerance และ resilience ขึ้นได้เอง