24 มิ.ย. 2566 453 0

หัวเว่ย ประเทศไทย คว้ารางวัล Prime Minister Award

หัวเว่ย ประเทศไทย คว้ารางวัล Prime Minister Award

หัวเว่ย ประเทศไทยคว้ารางวัล Prime Minister Award ‘สุดยอดองค์กรดีเด่นด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์’ สะท้อนความมุ่งมั่นการเสริมแกร่งบุคลากรดิจิทัล

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด คว้ารางวัล Prime Minister Award ด้าน ‘สุดยอดองค์กรดีเด่นด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์’ (Best of Contributor in Human Capital Development Award) จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) โดยรางวัลอันทรงเกียรตินี้เป็นเครื่องพิสูจน์ความมุ่งมั่นของหัวเว่ยจากการเร่งขับเคลื่อนหลากหลายโครงการ โดยเฉพาะด้านอีโคซิสเต็มของเทคโนโลยี 5G คลาวด์ และด้านความยั่งยืน ทั้งนี้ หัวเว่ย คือบริษัทชั้นนำระดับโลกเพียงรายเดียวที่ได้รับรางวัล โดยมี นาย เดวิด หลี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้แทนรับรางวัลจากนาย ดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในพิธีมอบรางวัลที่บริษัทชั้นนำหลายแห่งต่างได้รับการเชิดชูเกียรติจากความมุ่งมั่นขับเคลื่อนประเทศไทย สู่การเป็นศูนย์กลางด้านบุคลากรในภูมิภาคอาเซียน


จากข้อมูลในสมุดปกขาวด้านการพัฒนาบุคลากรดิจิทัลในประเทศไทย ซึ่งร่วมจัดทำขึ้นโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหัวเว่ยได้มีการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัลถึง 500,000 คน ภายในปี พ.ศ. 2573 จากข้อมูลด้งกล่าว หัวเว่ยได้ตระหนักถึงความต้องการจากภาคอุตสาหกรรมและภาคสังคมในด้านนี้ จึงได้ร่วมขับเคลื่อนนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและโครงการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลในประเทศไทยมากว่า 20 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและอีโคซิสเต็มด้านไอซีทีในประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธกิจของหัวเว่ยในการปลดล็อคศักยภาพดิจิทัลเพื่อมอบชีวิตที่ดีขึ้น สร้างบุคลากรดิจิทัลเพื่อประเทศไทยที่ดีขึ้น ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และฟูมฟักทักษะดิจิทัลเพื่อสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศไทยเพื่อที่จะให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว หัวเว่ย ประเทศไทย ได้เปิดตัวโครงการต่างๆ หลายโครงการ ซึ่งรวมถึงโครงการ “Huawei ASEAN Academy (ประเทศไทย)” ในปี พ.ศ. 2562 แพลตฟอร์มซึ่งให้ความสำคัญกับเรื่องความเป็นผู้นำ อาชีพ การศึกษาสายอาชีวะ และความเท่าเทียม โครงการดังกล่าวได้จัดการฝึกอบรมเรื่องความเป็นผู้นำด้านดิจิทัล การเรียนรู้ภาคปฏิบัติ และช่วยแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนบุคลากรไอซีทีซึ่งเป็นที่ต้องการจากภาคอุตสาหกรรม ตามเป้าหมายด้านการสร้างบุคลากรไอซีทีในประเทศไทยให้ถึง 100,000 คน ภายในเวลา 5 ปี ซึ่งจนถึงปัจจุบัน ซึ่งโครงการนี้ได้ฝึกอบรมผู้เข้าร่วมไปแล้วกว่า 73,000 คน จากมหาวิทยาลัย 40 แห่ง และสร้างประโยชน์ให้แก่โครงการต่างๆ ในประเทศไทยมากกว่า 100 โครงการ

เดวิด หลี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงรางวัลดังกล่าวและวิสัยทัศน์ของหัวเว่ยว่า “เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ ซึ่งสะท้อนความมุ่งมั่นของหัวเว่ยตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและตอบแทนสังคมไทยตามพันธกิจ ‘เติบโตพร้อมกับประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย’ (Grow in Thailand, Contribute to Thailand) หัวเว่ยมุ่งหวังที่จะวางรากฐานอันมั่นคงเพื่อบ่มเพาะอีโคซิสเต็มบุคลากรดิจิทัลที่รุ่งเรือง เพื่อเสริมสร้างรากฐานแรงงานที่มีศักยภาพในการแข่งขันด้าน 5G คลาวด์ และอุตสาหกรรมดิจิทัลพาวเวอร์สำหรับประเทศ”

ในฐานะพาร์ทเนอร์เชิงกลยุทธ์ หัวเว่ยและสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้สนับสนุนเรื่องการบ่มเพาะบุคลากรที่มีทักษะมาอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2562 หัวเว่ยได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจด้านการพัฒนาสังคมที่มีนวัตกรรมอย่างยั่งยืน ร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และได้ทำงานร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยบ่มเพาะนิสิตนักศึกษา สตาร์ทอัพ และเอสเอ็มอี ขับเคลื่อนกระบวนการการฟูมฟักและเร่งการเติบโตองค์กรประเภทสตาร์ทอัพ เช่นเดียวกับการสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพด้านการขยับขยายธุรกิจของพวกเขาในอนาคต เพื่อผลักดันประเทศไทยในการก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลในอาเซียน

เพื่อสนับสนุนประเทศไทยบนเส้นทางของการมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางด้านบุคลากรในภูมิภาคอาเซียน หัวเว่ย ประเทศไทย ได้ดำเนินโครงการพัฒนาบุคลากรผู้มีทักษะดิจิทัลหลากหลายโครงการตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยในปี พ.ศ. 2551 หัวเว่ยริเริ่มโครงการ ‘Seeds for the Future’ ซึ่งเป็นโครงการฝึกอบรมทักษะดิจิทัลและการศึกษาดูงานเชิงวัฒนธรรมสำหรับเยาวชนผู้มากความสามารถ ในปี พ.ศ. 2558 หัวเว่ยได้เปิดตัวการแข่งขันด้านไอซีทีในระดับโลก ซึ่งตั้งเป้าเพื่อเชื่อมต่อและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักเรียนและเยาวชน ผ่านการส่งมอบการฝึกอบรม มอบประกาศนียบัตร และมหกรรมจัดหางาน ในประเทศไทย โครงการการแข่งขันดังกล่าวได้สร้างประโยชน์ให้แก่นักเรียนคุณภาพมากกว่า 1,000 คน จากมหาวิทยาลัยกว่า 30 แห่ง และตั้งแต่ช่วงต้นปี พ.ศ. 2565 เป็นต้นมา หัวเว่ยยังได้เปิดตัวโครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคม เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีไอซีทีให้แก่นักเรียนและคนงานกว่า 3,000 คน ในพื้นที่ต่างจังหวัด

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้ตั้งเป้าในปี พ.ศ. 2566 ในการพัฒนาวิศวกรด้านความยั่งยืนให้ได้ถึง 10,000 คน และนักพัฒนาด้านคลาวด์จำนวน 20,000 คนภายในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในวิสัยทัศน์ของบริษัทในการสนับสนุนประเทศไทยอัจฉริยะที่มีการเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์แบบ มุ่งสู่เศรษฐกิจดิจิทัลที่มีความยั่งยืน


รางวัล Prime Minister Award ซึ่งหัวเว่ยได้รับในครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่สาม โดยในปี พ.ศ. 2564 หัวเว่ยได้รับเกียรติจากการได้รางวัล Special Prime Minister Award ในด้าน “Digital International Corporation of the Year” ในปี พ.ศ. 2565 หัวเว่ย ประเทศไทย ยังคงมุ่งมั่นในการสร้างความยอดเยี่ยมด้านนวัตกรรมและความเป็นผู้นำด้านความปลอดภัยข้อมูล ซึ่งทำให้บริษัทได้รับรางวัลความปลอดภัยทางไซเบอร์ “Prime Minister Awards – Thailand Cybersecurity Excellence Award 2022” จากสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)