24 มิ.ย. 2566 601 0

ภารกิจระดับโลก ไก่ไทยจะไปอวกาศ CPF ผู้นำยกระดับมาตรฐานไก่ไทย สู่ มาตรฐานระดับอวกาศ

ภารกิจระดับโลก ไก่ไทยจะไปอวกาศ CPF ผู้นำยกระดับมาตรฐานไก่ไทย สู่ มาตรฐานระดับอวกาศ

ภารกิจระดับโลก "ไก่ไทยจะไปอวกาศ" CPF ผู้นำยกระดับมาตรฐานไก่ไทย สู่ มาตรฐานระดับอวกาศ อีกความภูมิใจของคนไทยทั้งประเทศ


บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ประกาศภารกิจเตรียมส่งไก่ไทยไปพิชิตอวกาศ ในโครงการ Thai food - Mission to Space โดยดำเนินโครงการวิจัยร่วมกับสองพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมอวกาศจากสหรัฐอเมริกา NANORACKS LLC และ บจก.มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี หรือ mu Space ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมอวกาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยภารกิจเตรียมส่งไก่ไทยไปพิชิตอวกาศครั้งนี้ ไก่ไทยต้องผ่านการรับรองความปลอดภัยมาตรฐานอวกาศ ซึ่งก็คือมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารขั้นสูงระดับเดียวกับที่นักบินอวกาศทานได้

ความสำเร็จของภารกิจนี้จะเป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ว่ามาตรฐานความปลอดภัยของเนื้อไก่แบรนด์ CP ของไทย จะก้าวสู่มาตรฐานความปลอดภัยที่ไม่ใช่แค่ระดับโลก แต่จะเป็นมาตรฐานความปลอดภัยระดับอวกาศ (Space Food Safety Standard) ซึ่งเป็นมาตรฐานตามหลักเกณฑ์ความปลอดภัยด้านอาหารขององค์การ NASA ฝากคนไทยเอาใจช่วย และร่วมภาคภูมิไปกับครั้งแรกของคนไทย ที่ผลิตภัณฑ์ของไทยจะไปพิชิตมาตรฐานอวกาศ มาตรฐานความปลอดภัยขั้นสุด


นอกจากนี้ ภายในงานดังกล่าวมีการจัดเวทีเสวนา Thai food - Mission to Space เชิญกูรูจากไทยและต่างประเทศมาร่วมเสวนา เพื่อขับเคลื่อนการพลิกโฉมอาหารไทยไปไกลสู่อวกาศ ด้วยความปลอดภัยมาตรฐานอวกาศในหลากหลายประเด็น อาทิ ทำไมมาตรฐานอวกาศถึงได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในมาตรฐานความปลอดภัยสูงที่สุด!! มาตรฐานอาหารของไทยที่ไปไกลถึงอวกาศมีความสำคัญอย่างไรต่อสุขภาพที่ดีขึ้นของคนไทย นวัตกรรมที่ยกระดับวงการปศุสัตว์ไทยและโอกาสของอุตสาหกรรมอาหารในอนาคต ซึ่งในงานเสวนาประกอบด้วย Mr. Michael Massimino อดีตนักบินอวกาศ NASA, Miss Vickie Kloeris นักวิทยาศาสตร์อาหารที่เคยทำงานในห้องวิจัยของ NASA มานาน 34 ปี, รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, น.สพ.สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์, ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และ อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์และพิธีกรรายการดัง “ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์”


ประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหารซีพีเอฟ เปิดเผยว่า การยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย สู่มาตรฐานอวกาศครั้งนี้ เกิดจากความเชื่อมั่นว่าเนื้อไก่ของซีพีเป็นหนึ่งในแบรนด์เนื้อสัตว์ที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดแล้วในโลก จึงตั้งเป้าใหญ่ที่จะพิชิตมาตรฐาน Space Food Safety Standard ให้เป็นอีกหนึ่งความภูมิใจของคนไทยในโครงการ Thai food - Mission to Space

“ซีพีเอฟ ตระหนักและให้ความสำคัญของความปลอดภัยและคุณภาพของอาหารอย่างที่สุด เมื่อได้พันธมิตรที่เชี่ยวชาญ อย่าง NANORACKS LLC และ mu Space มาร่วมดำเนินโครงการ Thai food - Mission to Space ที่จะปฏิบัติภารกิจร่วมกับ “ศูนย์วิจัยด้านอาหารอวกาศของสหรัฐฯ” จึงยิ่งมั่นใจว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะพิสูจน์ว่าไก่ของประเทศไทยมีมาตรฐานความปลอดภัยสูงถึงระดับอวกาศ ซึ่งจะต้องผ่านมาตรฐานความปลอดภัยและคุณภาพด้านอาหาร รวมถึงการตรวจสารตกค้างและเชื้อโรคปนเปื้อนต่างๆ ตามข้อกำหนดของ NASA มากมายหลายสิบการตรวจสอบ จึงจะได้รับการอนุมัติให้นำไก่ของเราขึ้นไปบนสถานีอวกาศได้ สิ่งนี้จะเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย เพราะเป็นครั้งแรกที่อาหารจากประเทศไทยจะได้รับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับนี้ นับเป็นการแสดงศักยภาพขั้นสูงของนวัตกรรมเทคโนโลยีและความปลอดภัยการผลิตเนื้อไก่ของไทย และที่สำคัญคือการยืนยันว่าคนไทยทุกคนได้กินไก่ปลอดภัยในระดับเดียวกับที่องค์กรระดับโลกยอมรับ” ประสิทธิ์ กล่าว


ด้าน Mr. Michael James Massimino อดีตนักบินอวกาศ NASA ร่วมบอกเล่าประสบการณ์การใช้ชีวิตในสภาวะไร้น้ำหนัก และกล่าวว่า อาหารที่นักบินอวกาศต้องรับประทานนั้น ความปลอดภัยไร้สารตกค้างเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะจะส่งผลต่อสุขภาพนักบินอวกาศในระยะยาว และสารอาหารที่เหมาะสมก็มีผลอย่างมากต่อมวลกระดูกและกล้ามเนื้อของนักบินแต่ละคน ดังนั้นอาหารหมวดโปรตีนจึงต้องมีการจัดเตรียมเป็นพิเศษ และที่ผ่านมาอาหารส่วนใหญ่จะออกมาในรูปแบบอาหารแห้ง (dehydrate food) ที่ต้องเติมน้ำบนนั้น หรือแบบพร้อมทาน (ready-to-eat) ด้วยเทคโนโลยีรีทอร์ต (Retort) ที่สามารถแกะกินได้ทันที แต่สิ่งที่ต่างกับขณะอยู่บนพื้นโลก คือ ลักษณะของอาหารและซอสต่างๆ จะมีความข้นเหนียว เพื่อให้มันติดกับช้อนให้คุณกินได้สะดวก หรือกินจากแพ็กเกจเลย และอีกสิ่งที่แตกต่าง คือ เรื่องประสาทสัมผัสการรับรสและกลิ่นของอาหารที่ลดลง ทำให้เรารับรู้รสชาติอาหารได้น้อยลง อาหารประเภทสไปซี่ฟู้ดจึงเป็นที่นิยมในหมู่นักบิน

Thaifood Mission to Space เป็นโครงการที่ดี ซึ่งไม่เพียงแต่นักบินอวกาศจะได้บริโภคอาหารที่หลากหลายและปลอดภัย ยังเป็นการยกระดับความปลอดภัยทางอาหารแก่ผู้บริโภคทั่วโลก และเป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่เนื้อไก่ของไทยด้วย” Michael กล่าว


ส่วน Miss Vickie Kloeris นักวิทยาศาสตร์อาหารที่เคยทำงานในห้องวิจัยของ NASA มานานกว่า 34 ปี และเป็นผู้จัดการระบบอาหารสำหรับเที่ยวบินแรกสู่สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) กล่าวว่า อาหารที่จะถูกส่งขึ้นไปกับนักบินอวกาศนั้น ต้องครบถ้วนทั้งด้านความปลอดภัยและโภชนาการ โดยมีเกณฑ์กำหนดจาก Nasa ที่เข้มงวดมากกว่าอาหารที่ขายทั่วไป เพราะในอวกาศเป็นสถานที่ห่างไกลโรงพยาบาลและหมอมากที่สุด นักบินอวกาศจึงต้องปลอดภัยจากเชื้อโรคและสารปนเปื้อนให้ได้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็ต้องได้รับสารอาหารที่เหมาะสมอย่างครอบคลุมตรงตามความต้องการของร่างกายของนักบินแต่ละบุคคล สำหรับโครงการ Thai food - Mission to Space นั้น จากการที่ได้ไปดูงานวิจัยที่ห้องแล็บและวิธีการเลี้ยงดูแลไก่ของ CPF ตัวเธอรู้สึกประทับใจในมาตรฐานการผลิตเนื้อสัตว์ที่สูงมากของไทย ที่ทำให้มั่นใจได้ว่าเนื้อไก่ ซีพีนั้นปลอดสาร ปลอดภัยจากยาปฏิชีวนะ สารเคมีตกค้างและเชื้อโรคปนเปื้อนใด ที่จะสามารถพิชิตมาตรฐานอวกาศ ตรงตามมาตรฐานความปลอดภัยในระดับที่ NASA กำหนด และแน่นอนว่าอาหารไทยขึ้นชื่อเรื่องความอร่อยติดอันดับโลก หากมีการส่งไก่จากไทยในเมนูแบบไทยขึ้นไปบนสถานีอวกาศเป็นครั้งแรกนั้น จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีของนักบินอวกาศบนนั้นแน่นอน

“ขอชื่นชมซีพีเอฟ ที่มีความพยายามในการสร้างความเชื่อมั่นมาตรฐานความปลอดภัยทางอาหาร ซึ่งไม่ง่ายเลยที่จะขึ้นไปในอวกาศได้ และในฐานะนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารอวกาศ ก็ตื่นเต้นแทนนักบินที่จะได้ลิ้มลองรสชาติอาหารใหม่ๆ เช่น อาหารไทย” Vickie กล่าว


ทั้งนี้ ซีพีเอฟได้รับมาตรฐานการผลิตและความปลอดภัยด้านอาหารระดับนานาชาติสูงสุดถึง 6 มาตรฐาน โดยล่าสุดยังเป็นบริษัทรายแรกในอาเซียนที่มีมาตรฐานการผลิตอาหารของตนเอง (CPF Food standard; PS 7818:2018) โดยการสนับสนุนจาก BSI หรือสถาบันมาตรฐานอังกฤษ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่เกิดจากการบูรณาการมาตรฐานสากลหลายๆ มาตรฐานเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย HACCP(CODEX), ISO 9001, ISO 22000 รวมถึงกฎระเบียบภายในและต่างประเทศ ตลอดจนมาตรฐานความปลอดภัยอาหารของสมาคมผู้ค้าปลีกแห่งอังกฤษ (BRC) การปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดี (GHP) ระบบการจัดการสวัสดิภาพสัตว์เพื่อส่งออก และสามารถตรวจสอบย้อนกลับตลอดห่วงโซ่การผลิตได้ 100% ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ขณะที่มาตรฐานอวกาศจะต้องผ่านกระบวนการตรวจเชื้อโรค สารตกค้าง ความปลอดภัย และคุณภาพด้านอาหารต่างๆ ตามหลักเกณฑ์ของ Space Food Lab อีกถึงมากกว่า 40 การตรวจสอบ