5 ก.ค. 2566 35,819 1

ซิสโก้เผยนวัตกรรม คลาวด์ซีเคียวริตี้ที่มุ่งเน้น AI

ซิสโก้เผยนวัตกรรม คลาวด์ซีเคียวริตี้ที่มุ่งเน้น AI

ซิสโก้เปิดตัวโซลูชันใหม่ Security Service Edge (SSE) มอบประสบการณ์การทำงานแบบไฮบริดที่เหนือกว่า และเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงจากทุกที่ ทุกอุปกรณ์ และทุกแอปพลิเคชัน

  • ซิสโก้สาธิตความสามารถของ Generative AI ในคลาวด์ซีเคียวริตี้ ลดความซับซ้อนในการดำเนินการด้านความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
  • นวัตกรรมล่าสุดนี้ครอบคลุมทั้งไฟร์วอลล์, มัลติคลาวด์ และแอปพลิเคชันซีเคียวริตี้ ต่อยอดวิสัยทัศน์แพลตฟอร์มคลาวด์ซีเคียวริตี้ของซิสโก้

ซิสโก้ (CSCO) ผู้นำด้านระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัยระดับองค์กร นำเสนอเทคโนโลยีใหม่สำหรับคลาวด์ซีเคียวริตี้ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ซึ่งจะเพิ่มความสะดวกในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ และช่วยให้บุคลากรทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจากทุกที่ ท่ามกลางสถานการณ์ภัยคุกคามที่มีความซับซ้อนมากขึ้น  ซิสโก้ลงทุนในการพัฒนานวัตกรรมล้ำสมัยในด้านเอไอ (AI) และแมชชีน เลิร์นนิ่ง (Machine Learning) ซึ่งจะช่วยเสริมศักยภาพให้กับทีมงานฝ่ายรักษาความปลอดภัย โดยจะช่วยลดความยุ่งยากซับซ้อนในการดำเนินงานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

เชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันและทรัพยากรทั้งหมดอย่างปลอดภัยได้จากทุกที่

สภาพแวดล้อมด้านไอทีในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากการศึกษาล่าสุดโดยซิสโก้ หัวข้อ “My Location, My Device (ตำแหน่งของฉัน อุปกรณ์ของฉัน): ความท้าทายใหม่ด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ของงานรูปแบบไฮบริด” ชี้ให้เห็นว่า 9 ใน 10 (91%) ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทยกล่าวว่าพนักงานของตนใช้อย่างน้อยสองเครือข่ายในการล็อกอินเข้าสู่ระบบของที่ทำงาน และ 28% กล่าวว่าพนักงานของตนใช้มากกว่าห้าเครือข่าย[1]  และองค์กรส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาผลิตภัณฑ์ที่ติดตั้งเฉพาะจุดซึ่งเชื่อมโยงกันไปมาในลักษณะที่ซับซ้อนที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับสภาพแวดล้อมแบบกระจัดกระจาย

ทุกวันนี้ ผู้ใช้ต้องเจอประสบการณ์การเข้าถึงที่ต้องยืนยันตัวตนครั้งแล้วครั้งเล่าตลอดทั้งวัน ซึ่งบั่นทอนประสิทธิภาพการทำงาน  แต่ด้วย Cisco Secure Access ซึ่งเป็นโซลูชัน SSE ใหม่ของซิสโก้ การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีที่ผู้ใช้เชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันจะได้รับการจัดการอยู่เบื้องหลัง ทำให้ได้สิ่งที่ต้องการรวดเร็วยิ่งขึ้น และผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือ ผู้ใช้จะมีความปลอดภัยมากขึ้น ขณะที่การดำเนินการมีความยุ่งยากน้อยลงทั้งต่อผู้ใช้และทีมงานฝ่ายไอที


จีทู พาเทล รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายระบบรักษาความปลอดภัยและการทำงานร่วมกันของซิสโก้ กล่าวว่า “Cisco Secure Access ช่วยขจัดภาระและความยุ่งยากสำหรับผู้ใช้ และมอบประสบการณ์ที่เหนือกว่าด้วยการเข้าถึงแอปพลิเคชันทั้งหมดได้อย่างราบรื่น ไม่ใช่เพียงแค่แอปพลิเคชันบางตัวเท่านั้น เพื่อรองรับการทำงานแบบไฮบริดได้อย่างปลอดภัย  ความสามารถด้านการตรวจสอบเครือข่ายที่เหนือชั้นทำให้เรามีข้อได้เปรียบเหนือกว่าบริษัทอื่นๆ และทำให้เราเชื่อมั่นว่าซิสโก้คือบริษัทที่นำเสนอเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในโลกเมื่อความปลอดภัยต้องทำงานร่วมกับเครือข่าย”

วีระ อารีรัตนศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทย กล่าวว่า “ในโลกปัจจุบันที่มีการใช้งานเครือข่ายกระจัดกระจายอย่างกว้างขวาง ธุรกิจต่างๆ ต้องการวิธีที่ชาญฉลาดในการจัดการการเชื่อมต่อ ควบคู่ไปกับการปกป้ององค์กรให้รอดพ้นจากภัยคุกคามใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น  ขณะที่องค์กรธุรกิจในไทยปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบการทำงานแบบไฮบริดและการทำงานจากทุกที่ องค์กรเหล่านี้จึงต้องการแพลตฟอร์มแบบบูรณาการที่จะช่วยให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันและอุปกรณ์ใดๆ ก็ตามได้อย่างราบรื่นและปลอดภัยในทุกสถานที่ และนั่นคือการที่นวัตกรรมของเรา เช่น Cisco Secure Access สามารถตอบโจทย์และมอบคุณประโยชน์สูงสุดให้แก่พวกเขา”

จุดเด่นของ Cisco Secure Access มีดังนี้:

  • ประสบการณ์การเข้าถึงในรูปแบบเดียวกัน: มอบวิธีการเพียงหนึ่งเดียวที่ง่ายดายในการเข้าถึงแอปพลิเคชันและทรัพยากรทั้งหมด (ไม่ใช่แค่บางส่วน) โดยควบคุมการรับ-ส่งข้อมูลอย่างชาญฉลาดและปลอดภัยไปยังปลายทางทั้งแบบส่วนตัวและสาธารณะ โดยไม่มีการแทรกแซงจากผู้ใช้
  • คอนโซลหนึ่งเดียวที่จัดการผ่านระบบคลาวด์: ลดความซับซ้อนของการดำเนินงานด้านความปลอดภัย ด้วยการรวมฟังก์ชั่นต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันเป็นโซลูชันหนึ่งเดียวที่ใช้งานง่ายซึ่งทำหน้าที่ปกป้องแทรฟฟิกทั้งหมด  โดยแทนที่จะต้องจัดการชุดเครื่องมือต่างๆ ผู้ดูแลระบบและนักวิเคราะห์จะสามารถไปที่คอนโซลเดียวเพื่อดูการรับ-ส่งข้อมูลทั้งหมด กำหนดนโยบายทั้งหมด และวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ซึ่งทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่าย และช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับสภาพแวดล้อมด้านไอที
  • การตรวจจับและการตอบสนองที่เร็วขึ้น: นำเสนอการวิเคราะห์เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการสอบสวน และยังได้รับการสนับสนุนจาก Cisco Talos ซึ่งเป็นระบบข้อมูลข่าวกรองเกี่ยวกับภัยคุกคามที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อรองรับการตรวจจับและสกัดกั้นภัยคุกคามได้มากขึ้น

ซิสโก้ร่วมมือกับผู้จำหน่ายอุปกรณ์มือถือชั้นนำเพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ปลอดภัยและดีที่สุด ไม่ว่าผู้ใช้จะทำงานอยู่ที่ใดก็ตาม  ซิสโก้ได้ร่วมมือกับแอปเปิลเพื่อผนวกรวมความสามารถ Zero Trust Access (ZTA) ที่ขับเคลื่อนด้วย Cisco Secure Access เข้ากับประสบการณ์แบบเนทีฟบน iOS และ macOS ซึ่งจะช่วยขยายขอบเขตการเข้าถึงแอปพลิเคชันอย่างปลอดภัย และช่วยให้ฝ่ายไอทีทำงานได้ง่ายขึ้น ขณะที่ผู้ใช้ทุกคนจะได้รับความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น

Cisco Secure Access ถือเป็นส่วนหนึ่งของ Cisco Security Cloud โดยจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยและระบบเครือข่ายในผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของซิสโก้ รวมถึงความสามารถในการตรวจสอบเครือข่ายแบบในตัวจาก Cisco ThousandEyes และสามารถบูรณาการเข้ากับโซลูชั่นของบริษัทอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย โซลูชัน Cisco Secure Access จะเริ่มวางจำหน่ายอย่างจำกัดในเดือนกรกฎาคม 2566 และจะวางจำหน่ายทั่วไปในเดือนตุลาคม 2566


Generative AI ปรับปรุงการตอบสนองต่อภัยคุกคาม เพิ่มความสะดวกในการจัดการนโยบายความปลอดภัย

ทุกวันนี้ องค์กรส่วนใหญ่ใช้วิธีปะติดปะต่อผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัยที่หลากหลาย ส่งผลให้ทีมงานต้องตั้งค่าและดูแลนโยบายความปลอดภัยที่ซับซ้อนอย่างมาก ทั้งยังต้องคอยตรวจสอบติดตามและแก้ไขภัยคุกคามในโซลูชันต่างๆ มากมาย  ด้วยการต่อยอดวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ด้านการรักษาความปลอดภัย ซิสโก้จึงได้นำเสนอความสามารถของ Generative AI มาใช้ใน Security Cloud ดังต่อไปนี้

  • ลดความซับซ้อนของนโยบาย: Cisco Security Cloud จะใช้ประโยชน์จาก Policy Assistant ที่ขับเคลื่อนด้วย Generative AI ซึ่งช่วยให้ผู้ดูแลระบบรักษาความปลอดภัยและระบบไอทีสามารถอธิบายนโยบายความปลอดภัยแบบละเอียด และประเมินวิธีการปรับใช้ที่ดีที่สุดในแง่มุมต่างๆ ของโครงสร้างพื้นฐานด้านการรักษาความปลอดภัย  สำหรับการใช้งานครั้งแรก ลูกค้าจะสามารถให้เหตุผลกับ AI Assistant ของซิสโก้ เพื่อประเมินและกำหนดนโยบายไฟร์วอลล์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเทคโนโลยีนี้จะสามารถใช้งานได้ในปลายปีนี้
  • ตรวจจับและแก้ไขภัยคุกคามอย่างรวดเร็ว: SOC Assistant ของ Cisco จะสนับสนุนศูนย์ปฏิบัติการด้านการรักษาความปลอดภัย (Security Operations Center - SOC) เพื่อให้สามารถตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามได้เร็วขึ้น กล่าวคือ เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น โปรแกรมผู้ช่วยดังกล่าวจะตรวจสอบบริบทของเหตุการณ์โดยพิจารณาจากอีเมล เว็บ อุปกรณ์ปลายทาง และเครือข่าย แล้วแจ้งให้นักวิเคราะห์ SOC ทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้นและก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไรบ้าง  ทั้งนี้ ฟีเจอร์การสรุปข้อมูลเหตุการณ์จะพร้อมใช้งานภายในสิ้นปี 2566 ส่วนฟีเจอร์อื่นๆ จะพร้อมใช้งานในช่วงครึ่งแรกของปี 2567

ความปลอดภัยเครือข่ายรองรับการทำงานแบบไฮบริด

โลกของเรามีลักษณะผสมผสานแบบไฮบริด และผู้ใช้ต้องการประสบการณ์การเชื่อมต่อที่ราบรื่นทั้งในสำนักงานและบนท้องถนน  ผลิตภัณฑ์ใหม่ Cisco Secure Firewall 4200 Series ยกระดับประสิทธิภาพและความยืดหยุ่น ด้วยการเพิ่มความรวดเร็วในการเข้ารหัส การทำคลัสเตอร์ และโมดูลาร์

Secure Firewall 4200 ใช้ระบบปฏิบัติการใหม่ล่าสุดเวอร์ชั่น 7.4 โดยมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้:

  • การสกัดกั้นภัยคุกคามที่เข้ารหัสโดยใช้ AI และ ML โดยไม่ต้องทำการถอดรหัส  
  • การพัฒนาปรับปรุง Zero Trust Network Access (ZTNA) พร้อมการตรวจสอบภัยคุกคามอย่างรอบด้านและการกำหนดนโยบายสำหรับแต่ละแอปพลิเคชัน  
  • การกำหนดเส้นทางสาขาที่ง่ายขึ้น ช่วยยกระดับความปลอดภัย การควบคุม และการตรวจสอบแทรฟฟิกจากรีโมทออฟฟิศไปยังแอปพลิเคชันในดาต้าเซ็นเตอร์แบบไฮบริด

อุปกรณ์ Cisco Secure Firewall 4200 Series จะวางจำหน่ายโดยทั่วไปในเดือนกันยายน 2023 โดยรองรับระบบปฏิบัติการเวอร์ชัน 7.4 ระบบปฏิบัติการ 7.4 จะพร้อมใช้งานโดยทั่วไปสำหรับอุปกรณ์ตระกูล Secure Firewall ที่เหลือในเดือนธันวาคม 2566

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Cisco.com/go/security

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม: