28 ก.ค. 2566 485 0

เส้นทางที่ความยั่งยืนและเทคโนโลยีมาทับซ้อนกัน

เส้นทางที่ความยั่งยืนและเทคโนโลยีมาทับซ้อนกัน

บทความโดย เฟตรา ชาห์บานา ผู้จัดการประจำกลุ่มประเทศเกิดใหม่ที่เติบโต (GEMs), นูทานิคซ์

ทุกคนทราบดีว่าฟุตพริ้นท์ของอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมนั้นมีความสำคัญ การสร้างข้อมูลมากขึ้นและการที่องค์กรเก็บสะสมข้อมูลไว้มากขึ้น ทำให้ความต้องการดาต้าเซ็นเตอร์ และพลังงานที่ต้องใช้เพื่อการทำงานของดาต้าเซ็นเตอร์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีการใช้ไฟฟ้าในดาต้าเซ็นเตอร์มากถึง 3 เปอร์เซ็นของการใช้ไฟฟ้าทั่วโลกในปัจจุบัน ซึ่งเทียบเท่ากับการจ่ายไฟให้เมืองนิวยอร์ก 10 เมืองในระยะเวลาหนึ่งปี ดาต้าเซ็นเตอร์ใช้พลังงานต่อหัวมากกว่าการใช้ทั่วทั้งสหราชอาณาจักร และคาดว่าจะมีการใช้ไฟฟ้าสูงถึง 4 เปอร์เซ็นต์ภายในปี พ.ศ. 2573

แต่ผลกระทบจากการใช้พลังงานเป็นเพียงส่วนหนึ่ง เพราะยังต้องพิจารณาประเด็นต่าง ๆ เช่น การใช้น้ำ และการสร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์ประกอบกันด้วย นับเป็นความโชคดีที่คอมมิวนิตี้ด้านไอทีส่วนใหญ่ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ และเห็นตรงกันว่า การเติบโตอย่างยั่งยืนกำลังเป็นเรื่องที่องค์กรให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ

ผลสำรวจ Enterprise Cloud Index (ECI) ประจำปี 2566 ของนูทานิคซ์พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจเกือบทั้งหมด (92 เปอร์เซ็นต์) เห็นตรงกันว่าความยั่งยืนมีความสำคัญกับองค์กรมากกว่าปีที่ผ่านมา ผลสำรวจนี้ชี้ให้เห็นว่า ทำไมการนำวิธีปฏิบัติที่ยั่งยืนรวมเข้ากับการดำเนินการทางเทคโนโลยี จึงมีความสำคัญต่อองค์กรมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจเดียวกันพบว่าผู้บริหาร 9 ใน 10 คนยอมรับว่าการบรรลุตามเป้าหมายด้านความยั่งยืนขององค์กรเป็นเรื่องที่ท้าทาย

เปลี่ยนสู่ความยั่งยืนอย่างเหมาะสม

หนึ่งในความท้าทายสำคัญที่ธุรกิจต้องเผชิญคือการจัดการสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อนและหลากหลาย ผลสำรวจ ECI เผยให้เห็นว่าในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา 44 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกทำการย้ายแอปพลิเคชันไปไว้บนสภาพแวดล้อมใหม่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน ซึ่งเป็นสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ที่ล้ำหน้าในอเมริกา หรือ EMEA อย่างมาก

ดังนั้น การนำเสนอกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ยั่งยืนที่รวมการดำเนินงานด้านไอทีไว้ด้วยจึงมีความสำคัญต่อธุรกิจมากขึ้น เมื่อใดที่ธุรกิจขยายโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีของตน ธุรกิจเหล่านั้นจะต้องหาแนวทางบริหารจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

องค์กรส่วนใหญ่มักต้องการคำแนะนำหนึ่งเดียวที่ครอบคลุมรอบด้าน และเป็นดั่งเข็มทิศนำทางสู่วิธีการที่ดีที่สุดในการจัดการกับความยั่งยืนทางเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่ในความเป็นจริง องค์กรทุกแห่งแตกต่างกัน และต้องการวิธีการที่เหมาะกับตนเพื่อพัฒนาและทำให้กลยุทธ์ดังกล่าวเป็นจริงได้ ดังนั้น องค์กรควรคิดแบบองค์รวมและพิจารณาผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงมิติทางสังคมและเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับความยั่งยืน เพื่อสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกและส่งผลที่มีนัยสำคัญ


กรุยทางสู่การใช้กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญ

ความยั่งยืนทางเทคโนโลยี ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ การใช้โซลูชันทางเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เช่น โครงสร้างพื้นฐานไฮเปอร์คอนเวิร์จอาจช่วยให้ธุรกิจลดการใช้พลังงานและคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้ ในขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถนะในการทำงานให้ดีขึ้น

บริษัท Natures Organics เป็นผู้ผลิตที่เป็นตัวอย่างที่ดีของความสำเร็จด้านนี้ บริษัทฯ ต้องการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่ใช้พลังงานมากและขาดประสิทธิภาพให้ดีขึ้น การรายงานทางธุรกิจได้รับผลกระทบเพราะฐานข้อมูลหมดอายุ ซึ่งเป็นการจำกัดความสามารถในการตัดสินใจที่ต้องพึ่งพาข้อมูล สถานการณ์เช่นนี้ส่งผลลบต่อการดำเนินธุรกิจในส่วนของสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีความเคลื่อนไหวรวดเร็ว และต้องการความคล่องตัวทางธุรกิจอย่างมาก

Natures Organics ติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานไฮเปอร์คอนเวิร์จของนูทานิคซ์ ผ่านการทำงานร่วมกับ Australian Sentinel ซึ่งเป็นพันธมิตรของนูทานิคซ์ และเริ่มย้ายแอปพลิเคชันและฐานข้อมูลไปไว้บนโครงสร้างพื้นฐานใหม่นี้ ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านไอทีโดยรวมลงได้ 32 เปอร์เซ็นต์ และลดการใช้พลังงานลง 55 เปอร์เซ็นต์

นอกจากเรื่องโครงสร้างพื้นฐานไอทีแล้ว บริษัทต้องพัฒนากลยุทธ์ด้านความยั่งยืนที่ครอบคลุม โดยพิจารณาถึงผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีที่จะมีต่อสังคมและเศรษฐกิจในวงกว้าง การจะทำเช่นนี้ได้จำเป็นต้องเข้าใจความต้องการและลำดับความสำคัญที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าและพนักงานของบริษัท ไปจนถึง ผู้ลงทุนและหน่วยงานกำกับดูแล และเมื่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมและทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาวิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืนร่วมกันแล้ว ธุรกิจจะกลายเป็นผู้นำแนวทางด้านนี้ให้กับอุตสาหกรรม และช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดผลเชิงบวก

กล่าวคือ ไม่มีธุรกิจใดสามารถแก้ไขความท้าทายด้าน ESG ของโลกได้เพียงลำพัง แต่จำเป็นต้องผสานความร่วมมือจากทุกอุตสาหกรรม เพื่อแสดงออกให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง และขับเคลื่อนผลลัพธ์ด้านความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญ เช่น บริษัทด้านเทคโนโลยีต้องทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์และพันธมิตรเพื่อส่งเสริมการให้บริการอย่างมีความรับผิดชอบ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากซัพพลายเชนฟุตพริ้นท์ของบริษัท

กฎระเบียบยังส่งผลต่อรูปแบบของความยั่งยืนของอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี หลายประเทศกำลังออกกฎระเบียบต่าง ๆ ที่กำหนดให้ธุรกิจลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์และใช้แนวทางที่ยั่งยืนมากขึ้น เช่น รัฐบาลออสเตรเลีย ประกาศลงทุนด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและความปลอดภัยทางไซเบอร์ 1.2 พันล้านดอลลาร์ โดยเน้นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2593 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี พ.ศ. 2608 รัฐบาลจึงเร่งผลักดันนโยบาย สร้างแรงจูงใจต่าง ๆ เช่น แรงจูงใจด้านภาษี และส่งเสริมการใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ออกมาตรการต่าง ๆ เช่นมาตราการทางภาษีเพื่อจูงใจให้ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการของไทยดำเนินการในลักษณะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ในขณะเดียวกันเราต้องตระหนักว่าความยั่งยืนไม่ได้เป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจด้วย พันธสัญญาด้านความยั่งยืนของอุตสาหกรรมต้องขยายไปยังชุมชนที่ธุรกิจนั้น ๆ ดำเนินงานอยู่ด้วย ไม่ใช่เพียงการดำเนินงานขององค์กรเท่านั้น นอกเหนือจากกระบวนการต่าง ๆ แล้ว องค์กรต้องพิจารณาด้านการลงทุนกับชุมชุนในท้องถิ่น สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน และส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม การลงทุนเพื่อให้ชุมชนที่องค์กรดำเนินกิจการอยู่มีความเป็นอยู่ที่ดี จะช่วยให้เราสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับทุกคนได้

ความยั่งยืนในอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องพิจารณานำมาใช้กับทุกแง่มุมของการทำธุรกิจในปัจจุบัน การรวมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนเข้ากับการดำเนินงานทางเทคโนโลยีเป็นความท้าทายสำคัญ แต่ประโยชน์ที่ได้นั้นสำคัญกว่ามาก แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนต่าง ๆ จะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและเพิ่มชื่อเสียงให้กับแบรนด์ นอกจากนี้ ธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับความ ยั่งยืนมีแนวโน้มที่จะดึงความสนใจและรักษาลูกค้าที่ต้องการทำงานกับองค์กรที่เห็นคุณค่าและให้ความสำคัญกับแนวทางที่สอดคล้องกับตนไว้ได้