อดีตร้านโทรศัพท์มือถือ หรือ ที่ใครหลายคนต่างเรียกกันติดปากว่า "ร้านตู้มือถือ" หากย้อนไปเมื่อ 10 ปีก่อน ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่สร้างรายได้ผลกำไรเป็นกอบเป็นกำ หลายคนหันมาเปิดร้านตู้มากขึ้นทำเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม รวมถึง “พุทธิวงศ์ พงษ์เพียจันทร์” หนึ่งในพนักงานออฟฟิศที่ผันตัวมาเป็นเจ้าของกิจการร้านตู้มือถือ ปลุกปั้นธุรกิจท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงจนประสบความสำเร็จ กว่า 27 ปี จาก 1 สาขา สู่ 18 สาขา ทั่วกรุงเทพและปริมณฑล สร้างรายได้ 7-8 ล้านต่อเดือน เติบโตอย่างต่อเนื่องแม้ในยุคการแข่งขันสูง เพราะมีพันธมิตรที่ดีอย่าง “คอมมี่” คอยซัพพอร์ต
พุทธิวงศ์ พงษ์เพียจันทร์ เจ้าของร้านวันอินเตอร์ ผู้ให้บริการงานซ่อม และ จัดจำหน่ายอุปกรณ์เสริมสมาร์ทโฟน ในวัย 57 ปี เล่าไปถึงจุดเริ่มต้นของการเริ่มทำธุรกิจร้านตู้มือถือ ว่า “จุดเริ่มต้นของการดำเนินกิจการ "ร้านตู้มือถือ" เกิดขึ้นเมื่อปี 2539 ขณะนั้นตนยังคงเป็นพนักงานออฟฟิศประจำอยู่ในตำแหน่งช่างซ่อม เป็นวัยรุ่นคนหนึ่งที่มีความใฝ่ฝันอยากสร้างเนื้อสร้างตัว มีกิจการเป็นของตนเอง จึงได้ศึกษาหาความรู้มาเรื่อยๆ จนกระทั่งพบธุรกิจที่น่าสนใจคือ "ร้านตู้มือถือ" เนื่องจากในสมัยนั้นโทรศัพท์มือถือกำลังบูมในประเทศไทย แต่ช่องทางการจำหน่ายยังมีจำกัด ซึ่งส่วนใหญ่จะขายผ่านแบรนด์และร้านตู้ ประกอบกับราคาที่สูง รวมถึงความถี่ในการออกรุ่นใหม่ยังน้อยกว่าในปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้บริโภคนิยมใช้บริการร้านตู้ทั้งการซื้อและการซ่อมบำรุง
จึงได้ตัดสินใจลาออกมาเปิดร้านตู้มือถือด้วยการนำความรู้เรื่องช่างซ่อมมาปรับใช้ในการทำธุรกิจ ตั้งแต่การเป็นตัวแทนขายเครื่องโทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์ และงานซ่อมบำรุง ซึ่งได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี โดยเฉพาะการเปลี่ยนแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ ที่ถือเป็นรายได้หลักจากธุรกิจในขณะนั้นก็ว่าได้ จุดเด่นที่ทำให้เราแตกต่างคือ เราเลือกใช้แบตเตอรี่จากแบรนด์คอมมี่ ที่มีคุณภาพดีที่สุดในตลาดตอนนั้น ทำให้ผู้บริโภคพูดกันปากต่อปาก สร้างความเชื่อมั่นในเรื่องของคุณภาพและเข้ามาใช้บริการกันเป็นจำนวนมาก จากนั้นได้ขยายสินค้าให้หลากหลายมากขึ้นตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป อาทิ ฟิล์มกันรอย, หัวชาร์จ, สายชาร์จ, แบตเตอรี่, แบตเตอรี่สำรอง, หูฟัง และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ
ไม่นานโลกก็ค่อยๆ ขยับเข้าสู่ยุคดิจิทัล เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในอุตสาหกรรมไอที จากโทรศัพท์มือถือธรรมดาเปลี่ยนเป็นสมาร์ทโฟน เกิดการแข่งขันกันมากขึ้น จากเดิม 1 ปีจะออกรุ่นใหม่ 1 รุ่น กลายเป็น 1 ปี ออก 5 ซีรีส์ ปัญหาแรกที่ร้านตู้มือถือพบ คือ “สต๊อกบวม” เพราะต้องสต๊อกสินค้าเป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น ฟิล์มกระจกกันรอย ในสต๊อกก็ต้องลงสินค้าไว้รองรับสมาร์ทโฟนทุกรุ่นที่ออกใหม่ ต้องมีทุกแบรนด์ฟิล์มกันรอยเพื่อให้ผู้บริโภคเลือก พอของเก่ายังขายไม่หมดก็ถึงฤดูกาลเปลี่ยนรุ่นของสมาร์ทโฟนแล้ว ต่อมาคือ “ช่องทางการขาย” ก็เปลี่ยนไปด้วยเช่นกันจากเดิมสมาร์ทโฟนขายผ่านแบรนด์และร้านตู้เป็นหลัก ต่อมาก็ขยายไปสู่การขายร่วมกับเครือข่ายสัญญาโทรศัพท์มือถือ และการขายผ่านช่องทางออนไลน์ ส่งผลให้ผู้บริโภคซื้อสมาร์ทโฟนผ่านร้านตู้น้อยลง ช่วงนั้นร้านตู้มือถือประสบปัญหาอย่างมาก บางร้านถึงขั้นต้องปิดกิจการกันไปเลยทีเดียว
พุทธิวงศ์ กล่าวต่อว่า “เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจจึงต้องปรับตัวแบบ 360 องศาหรือปรับตัว โดยเริ่มจากการหันมาเน้นจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอุปกรณ์เสริมสมาร์ทโฟน (Mobile Gadget) เพิ่มมากขึ้น เพราะปัจจุบันสมาร์ทโฟนมีราคาแพง ผู้บริโภคจึงต้องการอุปกรณ์ในการช่วยป้องกันที่ดี และไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงต้องการ หยิบ จับ ดู ทดลอง สินค้าเหล่านี้ก่อนตัดสินใจซื้อ และในส่วนของสินค้ากลุ่มสมาร์ทโฟนก็จำหน่ายแค่สมาร์ทโฟนระดับกลางราคาประมาณ 5,000-10,000 บาท จับกลุ่มลูกค้าระดับกลางและกลุ่มผู้สูงวัยที่ไม่ต้องการฟังก์ชั่นเยอะและไม่ต้องการผูกติดกับสัญญาณค่ายโทรศัพท์
อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญในการทำธุรกิจร้านตู้มือถือในช่วงนี้คือ “พันธมิตร” (Partnership) ทางธุรกิจที่จะช่วยซัพพอร์ตด้านต่างๆ ทั้งการให้เครดิตสินค้า การรับประกันสินค้า และที่สำคัญคือการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ เพื่อช่วยลดสต๊อก อย่างแบรนด์คอมมี่ ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ฟิล์มไฮโดรเจลที่แข็งแรง ทนทาน ใช้ได้กับทุกจอสมาร์ทโฟน แทนฟิล์มกันรอยแบบกระจก และเครื่องตัดฟิล์มอัจฉริยะ สามารถตัดฟิล์มกันรอยทั้งแบบซูเปอร์ไฮโดรเจล และไฮโดรเจล ได้มากกว่า 8,000 แบบ รองรับจอสมาร์ทโฟนทุกแบรนด์บนท้องตลาด หน้าจอโน๊ตบุ๊ค จอแท็บเล็ต จอ LCD รถยนต์ จอสมาร์ทวอทช์ จอเครื่องเล่นเกมนินเทนโด จอกล้องดิจิทัล และอีกมากมาย ที่จะช่วยลดปัญหาสต๊อกบวมได้อย่างแท้จริง เพราะร้านค้าไม่จำเป็นต้องสั่งฟิล์มทุกรุ่น ทุกแบบมาสต๊อกให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าอีกต่อไป
“สำหรับใครที่กำลังมองหาอาชีพเสริมหรือต้องการทำธุรกิจร้านตู้มือถือ สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จคือ “ทำเลที่ตั้งร้าน” ต้องอยู่ในพื้นที่ที่คนเดินไปมาเป็นจำนวนมาก “ทักษะการบริหารสต๊อกสินค้า” ต้องวางแผนให้เป็น คำนวณให้ดี และสุดท้ายคือ “พันธมิตรที่ดี” มองหาพันธมิตรที่ใส่ใจเรื่องคุณภาพของสินค้า และมีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ อยู่เสมอ” พุทธิวงศ์ กล่าวทิ้งท้าย