NT เปิดผลงานธุรกิจโทรคมนาคมและดิจิทัล ครึ่งปีแรก 2566 (ม.ค - มิ.ย 2566) เผยเดินหน้ายกระดับระบบคลาวด์กลางภาครัฐต่อเนื่อง เปิดให้บริการ National Single Window เพิ่มความสะดวกเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจสำหรับการนำเข้า-ส่งออก และระบบเคเบิลใต้น้ำเส้นใหม่ ADC คืบกว่า 90% หนุน ASEAN Digital Hub
พันเอก สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เปิดเผยความคืบหน้าการดำเนินธุรกิจในช่วงครึ่งแรกของปี 2566
ว่า ภายหลังการควบรวมกว่า 2 ปี NT ยังคงอยู่ระหว่างเร่งหลอมรวมศักยภาพของสององค์กรเดิมคือ
บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT และ บริษัท กสท
โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เข้าด้วยกันเพื่อลดความซ้ำซ้อนในด้านการลงทุนและใช้ศักยภาพที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยเฉพาะในด้านโครงข่าย
สินทรัพย์ และบุคลากร
โดยวางเป้าหมายสำคัญในการผลักดันนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการขับเคลื่อนระบบงานภาครัฐไปสู่รัฐบาลดิจิทัล
พร้อมกับการพัฒนาและขยายบริการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและดิจิทัลผ่านสถานะความเป็นกลาง
สำหรับความคืบหน้าในการสนับสนุนโครงการที่เป็นนโยบายภาครัฐในครึ่งปีแรกของปี 2566 นั้น พันเอก สรรพชัยย์ฯ กล่าวว่า NT มีหลายโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ อาทิ โครงการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ NT ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการจัดหาทรัพยากรด้านการประมวลผล (Computing Resource) ให้กับภาครัฐในรูปแบบการให้บริการ Cloud Service รองรับหน่วยงานรัฐให้เข้าถึงทรัพยากรด้านคลาวด์มาตรฐานสากล โดยเพิ่มพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลภาครัฐด้วยเทคโนโลยีใหม่ทันสมัยเป็นการขยาย Capacity รองรับการใช้งานภาครัฐที่มีความต้องการสูงขึ้น รวมทั้งได้เพิ่มบริการ Market Place บน GDCC ให้บริการแพลตฟอร์มไอที แอปพลิเคชันใหม่ๆ เพิ่มขึ้น และมองไปในอนาคตที่จะเป็นแพลตฟอร์มกลางที่เปิดให้พันธมิตรทุกรายเข้ามาเชื่อมต่อ โครงการ ASEAN Digital Hub ขณะนี้มีความคืบหน้าในการจัดสร้างระบบเคเบิลใต้น้ำ ASIA Direct Cable (ADC) กว่า 90% คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จ ทดสอบระบบฯ รวมถึงส่งมอบสิทธิการใช้งานได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2567 โครงการนี้ส่งผลให้จะช่วยดึงดูดความสนใจจากผู้ประกอบกิจการคอนเทนต์ (Content Provider) รายใหญ่เข้ามาตั้งฐานข้อมูลในประเทศไทย โดยเริ่มมีผู้สนใจเริ่มติดต่อเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากประเทศเพื่อนบ้านมีข้อจำกัดด้านทรัพยากร
โดยธุรกิจ
Mobile
ที่ตลาดลูกค้ารายย่อยมีความอิ่มตัว
ผลการดำเนินการของ NT เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
แต่ในส่วนของพันธมิตรมีการปรับลดปริมาณการใช้งานลง
จึงทำให้ผลการดำเนินงานในภาพรวมลดลง
ส่วนการดำเนินโครงการบริการ 5G นั้นจะมีการให้บริการใน 2 รูปแบบคือ บริการ 5G Retail
ที่จะใช้คลื่นความถี่ 700
MHz จะโอนย้ายลูกค้าจากคลื่น 850 MHz
ที่จะหมดลงในปี 2568 โดยมีแนวทางในการเพิ่มลูกค้าด้วยการเพิ่มจำนวน Dealer และ บริการ 5G Solution ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง
ๆ คาดว่าจะสามารถเริ่มเปิดให้บริการได้ในปี 2567 นอกจากนี้ยังมีบริการ
Trunked Mobile ที่ NT
มุ่งแนวทางที่จะวางโครงข่ายให้ครอบคลุมเพื่อให้หน่วยงานราชการมาร่วมบูรณาการใช้ร่วมกันเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการลงทุน
โครงข่าย และบุคลากร โดย Trunked Mobile มีรายได้ในปีนี้กว่า
400 ล้านบาทจากเดิมที่มีประมาณ 80 ล้านบาท
ในด้านการบริหารธุรกิจดาวเทียม ที่ NT เป็นผู้ให้บริการดาวเทียมไทยคม 4 บนวงโคจร
119.5E และไทยคม 6
วงโคจร 78.5E ซึ่งใกล้จะหมดอายุการใช้งาน NT อยู่ระหว่างการเจรจากับภาคีต่างๆ ในการประมูลส่งดาวเทียมดวงใหม่ โดยมอง
บทบาทของ NT ในการเป็นหน่วยงานที่บูรณาการการใช้งานดาวเทียมของหน่วยงานภาครัฐทั้งหมดเพื่อไม่ให้ภาครัฐต้องลงทุนเกินความจำเป็น
นอกจากนี้ NT ยังมีการเจรจาความร่วมมือกับพาร์ตเนอร์บริการดาวเทียมวงโคจรต่ำรายต่างๆ โดยเฉพาะ OneWeb ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างสถานีเกตเวย์ที่สถานีดาวเทียมสิรินธร
จ.อุบลราชธานี
"NT จะจัดสรรบูรณาการดาวเทียม Government ทั้งหมด โดยพิจารณาการใช้งาน ในอีก 5 ปีข้างหน้า ให้สอดคล้องกับการประมูลดาวเทียม ไม่ลงทุนจน Over Investment สร้างสถานี อย่างที่สิรินธร มีการเจรจา เช่น Starlink เพิ่งเริ่มมีการคุยกัน กำลังศึกษากฎหมาย เรื่องดาวเทียม มีบริษัทเอกชนในไทยถือหุ้นใหญ่ เริ่มมีการหารือกัน ส่วน Tiger มีการคุยกันบ้างแล้ว 1-2 ครั้ง ว่าจะมีความร่วมมือ เพื่อลดต้นทุน และจัดสรรการจ่ายเงินของภาครัฐให้ได้ประโยชน์มากที่สุด รวมอยู่ที่เดียว การจ่ายเงินไม่กระจัดกระจาย"
นอกจากนี้ NT ยังมีธุรกิจอื่นๆ Non-Telecom เช่น พลังงานสะอาด แอปฯ Fintech คุยกับธนาคาร และทำยังไงในการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบัน ตามแผนงบติดลบ ในปี 68 อีก 2-3 ปีข้างหน้า ธุรกิจใดที่จะมีโอกาส Deposit เป็นหมื่นล้าน (บาท) มองหาโอกาสใหม่ๆ ปีนี้ตั้งเป้าไว้ที่ 1,600 ล้านบาท ได้ประมาณ 800 ล้านบาท ถ้าเทียบ 6 เดือน ดีกว่าเล็กน้อย ในปีนี้ ภาพรวมเมื่อเทียบ 6 เดือนที่ผ่านมา รายได้ต่ำกว่าแผน ในเกือบทุกบริการ แต่มี 2 บริษัทที่รายได้ไม่ต่ำกว่าแผนคือ Infrastructure และ Digital แต่รายจ่ายต้องต่ำกว่าแผน
ส่วนการจัดระเบียบสายสื่อสารและนำสายสื่อสารลงท่อร้อยสายใต้ดินนั้น NT มีความพร้อมที่จะให้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่น การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค องค์กรภาครัฐ ผู้ประกอบการโทรคมนาคม ฯลฯ ด้วยท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินซึ่งพัฒนาเป็นระบบ Single Last Mile ที่เชื่อมต่อกับบ้านลูกค้าแล้วครอบคลุมพื้นที่ในเขตเมืองทั่วประเทศ 4,450 กิโลเมตร NT ผู้ให้บริการต่างๆ จึงได้รับความสะดวกในการเช่าใช้งานด้วยหลักการ Infrastructure sharing ที่จะช่วยลดการลงทุนในการสร้างและบำรุงสายสื่อสารของโอเปอเรเตอร์ทุกราย โดยสามารถลดต้นทุนจากการเช่าตามที่ใช้จริงและตามระยะเวลาที่มีลูกค้าใช้บริการ และยังมีส่วนร่วมในการช่วยรักษาทัศนียภาพของเมืองให้มีความสวยงามอีกด้วย
การจัดระเบียบสายสื่อสาร และท่อร้อยสายลงดิน สรุปในปีนี้ 2566 NT ทำไป 2 เรื่อง ได้แก่
1) การจัดระเบียบสายสื่อสาร โอเปอเรเตอร์ และ กทม.
2) การทำท่อร้อยสายลงดิน กำลังจะมีงบทำในภาพรวมของ กทม. ทั้งหมด 17 เส้นทาง ทำไปแล้วจำนวน 34 กิโลเมตร
"ท่อ - เสา - สาย มีการเติบโตเล็กน้อย ตัวเลขที่เห็นคือ 4,800 ล้านบาท เติบโตขึ้นจาก 4,700 ล้านบาท ประมาณ 10% ไม่ได้เยอะแต่ถือว่าดีแล้ว เริ่มจะเห็นการ Merge ของโอเปอเรเตอร์ ทำให้ใช้ Infrastructure น้อยลง เมื่อก่อนมีเสา 3 เจ้า ใช้ 3 เสา 4 เจ้า มี 4 เสา ตอนนี้รวมกัน ทำให้ใช้สายน้อยลง การเติบโต ประมาณ 4,270 - 4,280 ล้านบาท ถือว่าอยู่ในพื้นฐานที่น่าจะพอรับได้ จากสภาพแวดล้อม โดยภาพรวมถือว่าโตขึ้นเล็กน้อย ซึ่งสิ่งที่เป็นข้อจำกัดของ NT คือบริการ Fixed Line และ Broadband มีการแข่งขันค่อนข้างรุนแรง ลงทุนไป ต้องคุ้มทุน ทำให้ลูกค้าต้องอยู่นาน ต่ำๆ ถึง 8 เดือนกว่าจะคุ้มการลงทุน ธุรกิจนี้ มีการลงทุน Infrastructure ก็เลยต้องหาลูกค้าเพิ่มขึ้น ทุกคน Suffer รายได้ต่ำกว่าปีที่แล้ว 22% ซึ่งเราไม่ได้กลัวเรื่องราคาแพ็กเกจ แต่ห่วงข้อจำกัดเรื่องบริการหลังการขาย มีการแจ้งเตือน การชำระเงิน แจ้งสัญญาณมีปัญหา ใช้งานไม่ได้ ยังไม่มีตรงนี้ เป็นเรื่องที่ต้องทำ" พันเอก สรรพชัยย์ กล่าว
การเร่งเครื่องเดินหน้าโครงสร้างพื้นฐาน 5G บนคลื่นความถี่ 700 MHz. และ 26 GHz.
NT ดำเนินโครงการบริการ 5G บนคลื่นความถี่ 700
MHz. และ 26 MHz. โดยใช้ทรัพย์สินที่มีร่วมกันคือ
Core Network ซึ่งลดการลงทุนซ้ำซ้อน อีกทั้งเป็นการใช้ 2 คลื่นความถี่ร่วมกันอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดในการให้บริการ
5G เพื่อต่อยอดเทคโนโลยีสร้างบริการอัจฉริยะต่างๆ
ได้เกิดประสิทธิภาพและครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ
โดยมีการให้บริการใน
2 รูปแบบคือ
- บริการ 5G Solution สำหรับองค์กร ดำเนินการให้บริการในโครงการติดตั้งเทคโนโลยี 5G สำหรับระบบบริหารเมืองอัจฉริยะ ณ เขตเทศบาลตำบลบ้านฉาง เพื่อให้บริการต่างๆ แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว อาทิ Mobile Applications สำหรับเทศบาลและประชาชน ระบบฐานข้อมูลเมืองเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลการบริการ ระบบติดตามและตรวจสอบบุคคลสูญหายหรือบุคคลต้องสงสัย ระบบการเชื่อมโยงข้อมูลเมืองเพื่อความปลอดภัย เช่น สถานีตำรวจ ดับเพลิง
- บริการ 5G Retail อยู่ระหว่างการทดสอบด้านเทคนิคในการเปิดให้บริการ/ Roaming 5G/4G 700 และความพร้อมของระบบ รวมทั้งการกำหนดแผนการย้ายลูกค้าและกำหนดโปรโมชันช่วง Soft Launch บน 700 MHz
ปรับกลยุทธ์รักษาฐานรายได้กลุ่มธุรกิจหลัก กลุ่มธุรกิจ Mobile
- ผลักดันกลยุทธ์สำคัญเพื่อรักษาฐานลูกค้า เช่น จัดทำรายการส่งเสริมการขายสำหรับผู้ใช้บริการที่โอนย้ายจากโครงข่าย 850 MHz ไปยังโครงข่าย 700 MHz ภายในระยะเวลาที่กำหนด ร่วมกับการเพิ่มช่องทางจำหน่ายแบบออนไลน์เพิ่มตัวแทนขาย และกระตุ้นยอดขายตัวแทนจำหน่ายในทุกพื้นที่ พร้อมจัดทำแคมเปญกระตุ้นตัวแทนขาย ควบคู่กับขยายตลาดเพิ่มเซกเมนต์ภาครัฐ โดยจัดทำแพ็คเกจให้บริการแบบ Total Solution และ IOT
"กลุ่ม Mobile เรามีรายได้ปัจจุบันอยู่ที่ 23,497 ล้านบาท ระยะเวลา 6 เดือน ครึ่งปีแรก เมื่อเทียบกับปีก่อน 26,000 ล้านบาท ลดลงมาประมาณ 80% เกิดจากตัวพันธมิตร ใช้ sourcing เราลดลง แต่ตัวที่เพิ่มก็ยังมี โดยเราไม่ได้มองคำว่า Mobile เป็นโทรศัพท์มือถือ แต่มองบริการ Trunked มี 2 ส่วน คือ Digital Trunk เน้นการสื่อสารทางเสียง SMS สั้นๆ กับ LTE Trunk ให้บริการตำรวจ และหน่วยงานภาครัฐ รายได้เพิ่มขึ้น ตกประมาณ 400 - 500 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อยู่ที่ประมาณ 80 ล้านบาท สื่อสารบนคลื่นที่ใช้ดูแล ติดต่อสื่อสารด้านภัยพิบัติเป็นหลัก ดังนั้น จึงไม่ได้มีคู่แข่ง และใช้เป็นช่องทางสื่อสารในยามที่มีภัยพิบัติในกรณีช่องทางสื่อสารปกติขาดตอน จุดมุ่งหมายคือให้บริการ Corporate ทั่วประเทศ โดยให้หน่วยงานภาครัฐมาใช้บริการนี้ ดีกว่าลงทุน Trunk เอง และลดค่าใช้จ่าย ลดการลงทุนทีเดียว ไม่ต้องซ้ำซ้อนการตั้งสถานี ไม่ต้องซ้ำซ้อนเรื่องการลงทุนอุปกรณ์ โดยนำเสนอไปแล้ว ทางรัฐบาลก็เห็นชอบในการทำงาน มีโอกาสเติบโตได้เป็นพันล้าน" กรรมการผู้จัดการใหญ่ NT กล่าว
กลุ่มธุรกิจ
Broadband
- ปรับกลยุทธ์ด้านการบริหารเพิ่ม Product Manager เพื่อดูแลบริการที่ครบวงจรและเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งองค์กร รวมถึงส่งเสริมการขายด้วยโปรโมชัน Up Speed เพิ่มบริการฺ Bundle และเน้นลูกค้าเดิมให้มีการใช้บริการต่อเนื่อง
กลุ่มบริการดิจิทัลมาแรงแนวโน้มการเติบโตต่อเนื่อง
NT สามารถเพิ่มรายได้ในภาพรวมจากกลุ่มบริการดิจิทัลได้ชัดเจนขึ้น โดยบริการเดิมอย่าง NT CLOUD ยังรักษาการเติบโตเฉลี่ยปีละ 20-25 % และบริการใหม่ที่เริ่มทำรายได้ เช่น ระบบ National Single Window (NSW) ที่เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นมา คาดว่าจะสร้างรายได้รวมในปี 2566 ประมาณ 160 ล้านบาท และ บริการ NT Big Data & AI ซึ่งเปิดให้บริการมา 4 ปี มีอัตราการเติบโตก้าวกระโดดปีละ 45% จากเทรนด์ปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการทำธุรกิจ
ขณะที่ NT Data Center ให้บริการ 13 แห่งทั่วประเทศ รองรับได้มากกว่า 1,200 racks ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้บริการแล้วกว่า 90% NT จึงมีแผนในการสร้าง Data Center แห่งใหม่ความจุมากกว่า 1,000 racks เพื่อรองรับความต้องการที่สูงขึ้นทุกปี อีกทั้งขยายการพัฒนาธุรกิจบริการดิจิทัลด้าน Application Platform & Digital Solutions เพื่อตอบสนองความต้องการของหน่วยงานภาครัฐด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City)
ทั้งนี้ คาดบริการดิจิทัล จะไปถึง 5,000 - 7,000 ล้านบาทได้ ในอนาคตอันใกล้นี้ Cloud Services, Big Data, Cyber Security, Transformation Solutions ต่างๆ มีส่วนร่วม ช่วย Transform ภาครัฐ ต้องลงทุนเพราะมี Demand สูง ต้องขยายเพิ่มเติม ด้านแพล็ตฟอร์มบริการ ใช้ระบบเดียวกัน ทุกบริการเชื่อมโยง เชื่อมต่อกัน เช่น แอปเชื่อม AWS สิงคโปร์ ถ้าสามารถทำ cloud กลาง ทุกบริการวิ่ง traffic เดียวกัน ทำให้เกิดขึ้นได้ กฎหมาย ต้องรองรับ Cloud มีการบริการจัดการได้ดีกว่า หากมีการซื้อเป็น Volume มานำเสนอโซลูชั่น
ดังนั้น NT ไม่ได้แข่งเรื่อง Subscribers แต่ทำให้ประเทศพัฒนา ทำยังไงให้ประเทศ transformations โจทย์ของ NT คือทำให้ทุกหมู่บ้านมีเทคโนโลยี อาจจะไม่ใช่ Broadband อาจจะเป็น Mobile แต่อาจจะไม่จำเป็นต้องเป็น 5G ขอ 4G ที่ใช้งานได้ก็พอ นำเสนอเทคโนโลยีครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ควรใช้งานได้และไม่มีข้อจำกัดในการใช้งาน ไม่ต้องสปีดสูง แต่เน้นใช้งานได้ เข้าถึงได้
"ปัจจุบัน NT ยังมีค่าใช้จ่ายบุคคลากร 30-40% ของรายจ่าย เมื่อเทียบกับโอเปอเรเตอร์รายอื่น มองเรื่อง Ealy-Retire ช่วง 3 ปี จะเบาลง แต่ยังไม่เข้าเป้า มองไว้ 1,600 คน ได้ประมาณ 800 คน เพื่อลดค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่าย 6 เดือนแรกของปี 66 อยู่ที่ 42,447 ล้านบาท ถ้าต่อปี ถ้าเป็นปีก่อน ตกประมาณ หมื่นล้านบาท การควบรวม CAT + TOT โดยจะมีการปรับโครงสร้างด้าน HR ในเดือนกันยา-ตุลา 2566 นี้ และช่วง 1 มกราคม 2567 โดยสิ่งที่โฟกัสมากที่สุดในปีนี้คือ ลดค่าใช้จ่าย และรายได้ทำให้ได้ตามแผนธุรกิจ มีต้นทุน ค่าไฟ หลักล้านต่อจุดต่อเดือน ลูกค้าหลักหมื่น ต่อไปจะมีการนำเสนอเรื่องการลดต้นทุน Mobile Unit การลงทุนระบบ core-network 800 ล้านบาท ลดเหลือ 600 กว่าล้านบาท ลดไป 140 ล้านบาท ก่อนสิ้นปีมาดูกันว่าลด cost ไปเท่าไหร ดังนั้นการควบรวม ให้เหลือหนึ่งเดียว ต้องลด Cost อย่างไรก็ตาม สำนักงานใหญ่ NT และสำนักงานแจ้งวัฒนะ มองเรื่อง Work From Anywhere จะมีการจัดพื้นที่ส่วนกลางให้ จะลด cost ตึก อาคาร มาปล่อยเช่า สร้างรายได้เพิ่ม"
แผนงาน 5 ปี ของ NT มองภาพปีปัจจุบัน คือ 2566 - 2571 ปีหน้าวางแผนคือ 2567 - 2572
5G คลื่นความถี่ 700MHz ลงทุน 33,000 ล้านบาท ค่าคลื่น 17,000 ล้านบาท ใช้งานโครงข่ายร่วมกับพันธมิตร 9,000 ล้านบาท ลงทุน Core-Network 800 ล้านบาท
5G คลื่นความถี่ 26GHz ลงทุนประมาณ 600 กว่าล้านบาท NT พยายามขยายการให้บริการไปพร้อมทำ Project-Based บริการลูกค้าราวต้นปีหน้า
"ยึดตามต่างประเทศ การใช้งาน 5G ในธุรกิจ 1.Smart Factory 2.Smart Health 3. Smart City 4.Smart Transformation โดย Smart City รายได้ไม่ดี แต่ถ้ารัฐบาลมองเห็นการลงทุน Indirect benefit โอกาสในการลงทุนทางอ้อมมี เช่นในสิงคโปร์ รัฐบาลมีการ subsidired มองเรื่องการสร้างระบบนิเวศทางอ้อม มีโรงพยาบาล โรงเรียน การลงทุนอาจจะมองทางตรงไม่ได้จึงมีข้อจำกัด อาจจะมีผลประโยชน์ตอบแทนเข้ามาพิจารณาในการลงทุน" กรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวสรุปทิ้งท้าย
5G ยังทำให้อุปกรณ์ IoT เข้ามาเชื่อมต่อจำนวนมากถึง 1 ตารางกิโลเมตร โดยมี SIM ที่เป็น e-sim บริเวณดังกล่าวมากขึ้นอีกด้วย
ทั้งนี้ ผลประกอบการในครึ่งปีแรกของปี 2566 NT ประมาณการรายได้ 42,447 ล้านบาท รายจ่าย 40,900 ล้านบาท (รวมค่าใช้จ่ายโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด 2,185 ล้านบาท) ขาดทุนสุทธิ 638 ล้านบาท