7 ก.ย. 2566 1,697 21

เปิดนโยบายวันเริ่มงาน รมว. ดีอีเอส คนล่าสุด 'ประเสริฐ จันทรรวงทอง' คุมเกมหน้าทัพดิจิทัลไทย ฝ่าด่านงานที่ไม่ง่ายอย่างที่คิด

เปิดนโยบายวันเริ่มงาน รมว. ดีอีเอส คนล่าสุด 'ประเสริฐ จันทรรวงทอง' คุมเกมหน้าทัพดิจิทัลไทย ฝ่าด่านงานที่ไม่ง่ายอย่างที่คิด

อาจจะได้ขึ้นชื่อตอนนี้ว่าเป็นกระทรวงที่เล็กแต่ความจริงก็ไม่ได้เล็กนะ เนื่องด้วยความท้าทายในการต้องมาสานต่องานเพื่อคุมเกมและสร้างความเชื่อมั่น มั่นใจ ให้กับคนไอทีไทยและประชาชน ถ้าไม่พูดถึงการได้ตำแหน่งมาทางการเมืองแล้ว หากได้พูดคุยกับ "ประเสริฐ จันทรรวงทอง" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) คนล่าสุด ถือว่าทำการบ้านวันแรกเหยียบเข้าทำงานที่กระทรวงดีอีเอสได้ถือว่าดีพอสมควร อย่างไรก็ตาม ความชัดเจนของนโยบายที่จะออกมาหากจะเกิดขึ้น รวมทั้งบทบาทช่วยผลักดันและวางระบบเงินดิจิทัลวอลเล็ท 1 หมื่นบาท ร่วมกับสำนักนายกรัฐมนตรี ครม.เศรษฐา 1 จะเป็นอย่างไรต่อไป มาดูกันถึงความแน่นอนและเป็นไปได้อีกครั้งหลังแถลงเข้าสภาผู้แทนราษฎรนัดที่จะถึงเร็วๆ นี้


นโยบายป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์

"เรื่องของแก๊งคอลเซ็นเตอร์หรือข่าวปลอม การหลอกลวง ที่ผ่านมาประชาชนเดือดร้อน เสียหายจากภัยเหล่านี้จำนวนมาก เราต้องยกระดับความเข้มข้น ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน จริงๆ แล้วเรามีศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามทางเทคโนโลยีอยู่ แต่ในส่วนของธุรกรรมการเงิน อาจจะต้อง ตั้งศูนย์เฝ้าระวัง ติดตามการเคลื่อนไหวของกลุ่มธุรกรรมการเงินต่างๆ กำหนดทิศทางเพื่อทำเป็นดิจิทัลได้ และมีการเชื่อมโยงไปยังกระทรวงอื่นๆ" ประเสริฐ กล่าว

Smart 30 บาท จะเข้ามาทำงานร่วมกับหลายกระทรวงด้วยการใช้เทคโนโลยี 

เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียมกัน ให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ในอนาคตประชาชนจะได้สัมผัสเทคโนโลยี ทั้งทางบวกและทางลบ เป็นนโยบายที่รัฐบาล และกระทรวงให้ความสำคัญ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยนั้น ขอให้รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเสียก่อน แล้วจะแจ้งรายละเอียดให้ทราบเป็นระยะ โดยนโยบายที่จะแถลงในสภา เช่น รัฐบาลดิจิทัล เศรษฐกิจดิจิทัล คลื่นวิทยุความถี่ การใช้สิทธิวงโคจรดาวเทียม เป็นต้น

วงโคจรดาวเทียมมีความสำคัญต่อด้านโทรคมนาคมและประเทศชาติ

"ดาวเทียมมีเป็นหมื่นๆ ดวง เราไปใช้ของประเทศอื่นก็มี ส่วนข้อสงสัย ตลาดโทรคม กับดิจิทัลไทยในไทย เกิดความไม่แน่นอน จะมีนโยบายเรื่อง Cyber Security ที่ชัดเจนออกมาหรือไม่ กระทรวงดีอี มีหน้าที่ในการสร้างความเชื่อมั่นเรื่อง Cyber Security ให้ประชาชน ในประเทศและต่างประเทศ ก่อนหน้านี้มีการอบรมและเทรนนิ่ง ไม่มีนโยบายการป้องกัน ก็จะมีการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการประเมินความเสี่ยง ฝึกซ้อม มีการรับมือภัยคุกคาม โดยมี ThaiCERT ที่ดูแล รับมือภัยคุกคาม ไม่ให้เกิดความเสียหายที่บานปลาย มีการอัปเกรดก่อนเกิดผลกระทบ มีเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัย ที่มีการยกระดับมาตรฐาน และยกระดับให้ทุกหน่วยต้องรับมือภัยคุกคาม ตรวจสอบความปลอดภัย"

ทุกหน่วยงานจะต้องได้รับการดูแล ข้อมูลรั่วไหล เมื่อเกิดเหตุจะมีการระงับเหตุ แต่ทุกครั้งที่เกิดเหตุ มีความเสียหาย พยายามแก้ไขที่ต้นเหตุ และทำให้ดีขึ้น มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ยกระดับขีดความสามารถ ความพร้อม มีการฝึกอบรม แฮกเกอร์มีความพัฒนาตลอดเวลา ก็ต้องทันการณ์ 
 
การแบล็คลิสต์ของธุรกรรมที่น่าสงสัยต้องดูข้อกฎหมายกำหนด

โดยเก็บข้อมูลธุรกรรมที่เป็น Blacklist ได้ มีฐานข้อมูลคล้ายๆ แบบ Whoscall ส่วน White List ก็มี โดยมีการทำงานคล้ายๆ AI เข้าไปตรวจจับความผิดปกติในการทำธุรกรรม จะใช้ข้อมูลตรงนี้ในการติดตาม ป้องกัน และปราบปรามได้ ในขณะที่การตั้งศูนย์เฝ้าระวังอาชญากรรมทางการเงินมีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ทำเพิ่มคือ คือความตั้งใจในการจัดตั้งศูนย์ลงทะเบียนธุรกรรม ทำงานภายใต้พระราชกำหนด เมื่อเกิดการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล มีการเพิ่มความเข้มข้นขึ้น ตรวจสอบการลงทะเบียนธุรกรรมที่ต้องสงสัยทั้งหมด คิดว่าภายใน 3 เดือน จะเริ่มเห็นเป็นรูปเป็นร่าง (ก่อนปีใหม่ 2567 นี้)

โดยศูนย์ลงทะเบียนธุรกรรมฯ จะดูแล ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ การยืนยันตัวตนต่างๆ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ เพิ่มความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ โดยเน้นเป็นศูนย์ป้องกันอาชญากรรมมากกว่า ดูแล ตรวจสอบ บัญชีม้า การเปิดบัญชีธนาคาร ธุรกรรมการหลอกซื้อขายสินค้า แนะนำสินค้าเพื่อสุขภาพ เฟคนิวส์ หลอกว่าเป็นข้าราชการ พนักงานธนาคาร กรมสรรพากร หลอกลวง การหลอกเอาเงินไป ปัจจุบันมีพฤติกรรมที่หลากหลายมาก จะต้องทำงานล้ำหน้ากลุ่มนี้ ส่วนศูนย์เฟคนิวส์ยังมีอยู่ แต่เพิ่มการทำงานมากขึ้นคู่ขนานกันไป


เรื่องอ่อนไหวจึงไม่ปิดเฟสบุ๊คเพราะกระทบหลายธุรกิจโดยรวม

"สำหรับเรื่องการปิดเฟสบุ๊ค จากรมว.ท่านเดิมได้เคยพูดไว้ ถือเป็นประเด็นอ่อนไหว เฟสบุ๊คเป็นบริการที่ประชาชนนิยม มีหลายคนได้รับประโยชน์อย่างสุจริต แต่ก็มีบางธุรกิจก็ใช้เฟสบุ๊คในการทุจริต เรื่องนี้จะได้พูดคุยหารือกับเฟสบุ๊ค ต้องยอมรับว่าเฟสบุ๊คเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสาร ไม่ใช่แค่ขายของ มีคนใช้งานเยอะมาก แต่ยังไม่มีนโยบายปิดเฟสบุ๊ค ท่านนายกฯ ไปยูเอ็นก็น่าจะมีการเจรจาคุยกัน อาจจะเจรจากับตัวแทนเฟสบุ๊คในประเทศไทยหรือสิงคโปร์ จะทำความเข้าใจร่วมกัน การตัดสินใจเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เป็นประเด็นสำคัญ กลัวคนเสียประโยชน์จากการค้าขายเล็กๆ น้อยๆ ด้วยความสุจริต"

มอง พรบ คอมฯ ไม่ใช่เครื่องมือที่ใช้ในการกลั่นแกล้ง แต่คุ้มครองสิทธิของประชาชนในการแสดงออกทางอีเล็คทรอนิคส์ ทั้งนี้ ข้อกำหนดนโยบายดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอื่น หากเกิดกรณี เช่น บุคคลส่วนหนึ่งที่ได้รับโทษจากการถูกกลั่นแกล้งด้วยช่องทางนี้ จึงต้องพิจารณาว่าอะไรตึง อะไรหย่อน อะไรดีอยู่แล้ว ควรปรับแก้ไขอย่างไร ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำงานร่วมกัน มองว่างานกระทรวงดีเอสท้าทายถึงอนาคต 5 - 10 ปี แม้ตนจบบริหารธุรกิจการมีคนเก่งในมือ ช่วยเหลือทำงานร่วมกันจึงไม่มีคนเก่งที่สุด



นโยบายทุนผูกขาด เอื้อเอกชน

"ผมยืนยันว่าไม่มีและจะดำเนินการด้วยความโปร่งใส จากนโยบายของนายกรัฐมนตรี เศรษฐา มอบหมายสำหรับการทำงาน ได้แก่ 1.ไม่มีการทุจริต 2.การโยกย้ายข้าราชการ ห้ามรับเงิน ห้ามรับสินบน ทุนใหญ่ เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย และเรื่องทีมที่ปรึกษา ยังไม่เป็นทางการ ขอตั้งหลักก่อน แต่ได้เริ่มมองๆ ไว้แล้ว

"ส่วนตัวผมเองเป็นคนชอบเทคโนโลยี ชอบมองการพัฒนาแอปเรื่อยๆ เช่น 7-11 App มองตั้งแต่การซื้อของ พัฒนาการโอนเงิน ฝากเงิน เป็นธนาคาร (**เป็นการยกตัวอย่าง แต่ไม่ได้ไปสนับสนุน) จึงมองว่าต้องมีคนเก่ง ไม่มีใครเก่งที่สุด เทคโนโลยีใหม่ๆ เปลี่ยนเร็ว ต้องเรียนรู้ ต้องโฟกัส เทรนด์ใหม่ๆ ในโลกที่เกิดขึ้นทุกวัน"

ไม่ใช้แอปเป๋าตังค์จ่ายเงิน 10,000 บาท แทนทำเทคโนโลยี Blockchain

ข้อดีที่รัฐบาลเลือกทำดิจิทัลวอลเล็ท แน่นอนแล้วว่าจะยังใช้ระบบบล็อกเชนเพื่อง่ายในการตรวจสอบผู้ใช้งานที่ผิดวัตถุประสงค์ หรือนำเงินที่แจกไปใช้เล่นการพนัน ใช้ซื้อแอลกอฮอลล์ โดยโครงสร้างในปัจจุบันคือ Infrastructure เราสามารถจะประชุมได้ทุกที่ในโลก หรือแม้แต่กระทรวงเกษตรยังมี Smart Farmer, Smart 30 บาท กระทรวงศึกษาฯ เช่นกัน แม้แต่ในส่วนแอป NDID, แอปภาครัฐ บางบริการไม่สามารถเอาข้อมูลมาเชื่อมกันได้ จึงอยากพัฒนาบล็อกเชนในแอปเดียวกันให้เป็นแบบ SuperApp ของภาครัฐ

"ประชาชนเข้าไปแอปนี้ รู้ทุกเรื่อง รู้ทุกกระทรวง เชื่อมต่อกระทรวงอื่นๆ ได้อย่างไม่สะดุด ต้องพิจารณาปัญหาว่าอยู่ตรงไหน รวมทุกสิ่งอย่างอำนวยความสะดวกให้ประชาชนได้ เช่น ประชาชนอยากรู้ว่าควรปลูกข้าวโพด การพยาการณ์อากาศเป็นอย่างไร แม่นยำเกือบ 100% เชื่อมกับกระทรวงพาณิชย์เรื่องราคา จะได้ประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อไปจะต้องทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง ให้ประชาชนเข้าถึงเทคโนโลยี ลดความเหลื่อมล้ำ แต่ยังมีบางหน่วยงานยังไม่ยอมเอาข้อมูลมาเชื่อมต่อ แต่บางหน่วยงานมีการเชื่อมต่อกันแล้ว อาจจะต้องทำความเข้าใจ แก้ไขกฎหมายหรือสิ่งที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหา"


เฟสบุ๊ค : ประเสริฐ จันทรรวงทอง

อย่างไรก็ตาม ด้านการโยกย้ายข้าราชการ หรือแต่งตั้งให้ทำงานร่วมกัน รมว.ดีอีเอส กล่าวทิ้งท้ายว่าถ้ามีปัญหาอะไรก็มาพูดคุยกัน ไม่คิดว่าใครเป็นพวกไหน ถ้าทำดีอยู่แล้วก็ไม่เป็นธรรมถ้าคนทำงานดีได้รับผลประทบ แต่หากทำงานไม่โปร่งใสก็ต้องพิจารณา