นอกจากเทคโนโลยีอัจฉริยะอย่าง 5G คลาวด์ หรือพลังงานดิจิทัล เทคโนโลยี AI หรือปัญญาประดิษฐ์ก็ถือเป็นเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงในหลายภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมการผลิต การเงิน ไปจนถึงการสื่อสาร ทุกภาคส่วนล้วนนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในกระบวนการทำงานเพื่อ การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนทั้งสิ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีพื้นฐานที่จำเป็นต่อการรองรับการใช้ AI อย่างแพร่หลายได้ถูกสร้างขึ้นจนพร้อมใช้งานแล้วในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย อย่างไรก็ตาม คำถามสำคัญคือเหล่าผู้ประกอบการในไทย พร้อมแล้วหรือยังที่จะนำนวัตกรรมเหล่านี้มาใช้ในการทำธุรกิจที่จับต้องได้จริง และเทคโนโลยี AI จะผลักดันประเทศไทยไปในทิศทางใด
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีคลาวด์และ AI เป็นหนึ่งในกลุ่มเทคโนโลยีที่ช่วยผลักดันและสร้างประโยชน์ให้ทั้งฝั่งภาครัฐและภาคเอกชน ธุรกิจส่วนตัวและองค์กรต่างล้วนมองหาเทคโนโลยีที่จะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงที่จับต้องได้ โดยปัจจุบัน หัวเว่ย ประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในผู้นำที่ผลักดันให้เทคโนโลยีคลาวด์และ AI มาประยุกต์ใช้ในกลุ่มธุรกิจและองค์กรในประเทศไทยอย่างแพร่หลาย
โดยภายในงาน “HACKaTHAILAND 2023: DIGITAL INFINITY” ซึ่งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ร่วมมือกันจัดขี้นในปีนี้ และ ดร. ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เข้าร่วมงานและเผยข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยี AI ไปใช้โดยกลุ่มธุรกิจในประเทศไทยไว้ว่า
“การนำเทคโนโลยี AI มาใช้ จะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถของเทคโนโลยี AI ที่นำมาใช้จะสามารถสร้างความแตกต่างอย่างชัดเจนให้กับองค์กรของได้อย่างไร ซึ่งความสามารถและความรวดเร็วของแต่ละองค์กรในการเปิดรับเทคโนโลยี AI ขึ้นอยู่กับว่าเทคโนโลยี AI นั้นสามารถใช้งานได้จริงแค่ไหน ประเทศไทยเองถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีแนวทางและกลยุทธ์ ที่ชัดเจนในการสนับสนุนแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลซึ่งหัวเว่ยเชื่อว่าสามารถนำเทคโนโลยี AIสร้างความแตกต่าง ที่เห็นได้จริงในหลากหลายอุตสาหกรรมของไทย อย่างไรก็ตาม การจะทำให้สำเร็จได้นั้น เทคโนโลยีพื้นฐาน ทักษะของผู้ใช้งานความสามารถในการพัฒนาเชื่อมต่อและการนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อนโยบายด้านเทคโนโลยี AI ของประเทศ”
ดร. ชวพล เสริมว่า หัวใจสำคัญของการนำเทคโนโลยี AI มาใช้นอกจากจะขึ้นอยู่กับ ความสามารถในการประมวลผลของแต่ละอัลกอริทึมหรือระบบที่แตกต่างกันแล้ว ยังขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจในอุุตสาหกรรมนั้น ๆ ของตนเองด้วย ซึ่งจุดนี้เองที่อาจจะเป็นส่วนที่ประเทศไทยยังขาด เพราะปัจจุบันยังมีการขาดความรู้ความเข้าใจตลอดจนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในอุตสากรรมนั้น ๆ ดังนั้น และหนึ่งในพันธกิจสำคัญของหัวเว่ยคือเป็นการเติมเต็มช่องว่างเหล่านั้น ผ่านโครงการ Cloud Developer หรือโปรแกรม Spark เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในประเทศไทย
“ยกตัวอย่างการนำเทคโนโลยี AI Pangu มาใช้ในอุตสาหกรรมการทำเหมืองที่มีความเสี่ยงสูงในด้านอุบัติเหตุหรือความผิดพลาดร้ายแรง ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ได้ การนำ AI มาใช้ช่วยลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงานที่มีความอันตรายได้ ด้วยการระบบการจัดการปฏิบัติงาน รวมถึงช่วยตรวจสอบความผิดพลาดได้ทันที และอีกตัวอย่างคือ โมเดลการพยากรณ์อากาศ ซึ่งเหมาะกับประเทศที่พึ่งอุตสาหกรรมการเกษตรเป็นหลักอย่างประเทศไทย เพราะการพยากรณ์อากาศที่แม่นยำส่งผลให้เกษตรกร ธุรกิจในภาคเกษตรกรรม เข้าถึงข้อมูลที่มีประโยชน์ในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งทาง หน่วยงานการพยากรณ์อากาศแห่งทวีปยุโรป (European Weather Forecasting Agency) ได้มีการนำโมเดลการพยากรณ์อากาศของ Pangu ไปใช้งาน และสามารถพยากรณ์อากาศได้อย่างแม่นยำที่สุดเท่าที่เคยทำมา โดย Pangu สามารถพยากรณ์อากาศได้อย่างแม่นยำ ภายในเวลาเพียง 10 วินาที ซึ่งต่างจากสมัยก่อนที่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง ทำให้ผู้คนสามารถทราบสภาพอากาศ ที่แม่นยำได้แทบจะทันที” ดร.ชวพล กล่าวเพิ่มเติม
นอกจากนี้ สุรศักดิ์ วนิชเวทย์พิบูล หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี แผนกธุรกิจคลาวด์ ประเทศไทย บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ยกอีกตัวอย่างที่น่าสนใจของการนำเทคโนโลยี AI ไปใช้ในองค์กรภาคเภสัชกรรม ซึ่งสามารถนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาประมวลเพื่อพัฒนาแนวทางการ และประมวลผลข้อมูลยาเพื่อการรักษารักษาผู้ป่วย ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ในธุรกิจแฟชั่นของประเทศจีน ยังได้นำ AI ของ Pangu มาใช้ เพื่อวิเคราะห์เทรนด์แฟชั่นในอนาคต รวมถึงการช่วยตรวจสอบและป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ในชิ้นงานออกแบบใหม่ๆ ในธุรกิจการเงินก็ได้นำ Pangu AIมาใช้เพื่อคาดการณ์ สถานการณ์ในอนาคต โดยมีความแม่นยำถึงร้อยละ 90 เทียบกับการคำนวณด้วยเครื่องมือของบริษัทฯ ที่มีความแม่นยำเฉลี่ยเพียงร้อยละ 70-80 เท่านั้น ซึ่งการใช้งาน AI ของ Pangu สามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจในประเทศไทยได้ เพื่อช่วยให้เหล่าอุตสาหกรรมและองค์กร ไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐหรือเอกชนได้เดินหน้าไปสู่ความสำเร็จและการเพิ่มประสิทธิผลขององค์กรในทุกมิติ
“ในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะได้เห็นองค์กรส่วนใหญ่นำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ โดยในปี พ.ศ. 2567 Pangu AI จะสนับสนุนการใช้งานภาษาไทย เพื่อมอบความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้งาน” สุรศักดิ์กล่าวปิดท้าย
ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) (ที่ 2 จากซ้าย) และ ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์
ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ขวาสุด) เยี่ยมชมบูธจัดแสดงของหัวเว่ย ภายในงาน “HACKaTHAILAND 2023: DIGITAL
INFINITY”
ในด้านการเสริมสร้างอีโคซิสเต็มทางดิจิทัล ทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และหัวเว่ย ได้ร่วมกันลงนาม ในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อเดินหน้าร่วมขับเคลื่อนศูนย์นวัตกรรมประเทศไทย (Thailand Innovation Center) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อผสานความร่วมมือ ของทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการบริการทางด้านดิจิทัลผ่านการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ AI และบิ๊กดาต้า รวมถึงการบ่มเพาะบุคลากรดิจิทัลรุ่นใหม่ ผ่าน Huawei Spark Incubator Program และ Huawei Developer Program นอกจากนี้ หัวเว่ยประเทศไทยยังได้จัดบูธภายในงาน HACKaTHAILAND 2023: DIGITAL INFINITY เพื่อยกระดับ ความเข้าใจและทักษะทางเทคโนโลยีให้กับคนรุ่นใหม่และผู้คนที่สนใจ เพื่อเตรียมความพร้อมกับโลกในอนาคต ที่เทคโนโลยีดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทในทุกแง่มุมของชีวิต
หัวเว่ย ประเทศไทย ยังคงยึดมั่นในพันธกิจที่จะตอบแทนสังคม เดินหน้าสร้างผู้นำทางเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้าง ให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ บนเส้นทางการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีคลาวด์ และ AI มาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือ ส่งเสริมให้ผู้คนได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หัวเว่ยเชื่อมั่นและเดินหน้าลงทุนในประเทศไทย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เพื่อการสร้างประเทศไทยอัจฉริยะที่มีการเชื่อมต่ออย่างสมบูรณ์แบบ ภายใต้พันธกิจ “เติบโตในประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย”