24 ต.ค. 2566 3,540 6

สดช. จัดเวทีระดมความคิดเห็น หนุน Soft power ไทย ผลักดันมาตรการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม Digital Content ครั้งแรก ถกประเด็นผ่าน Policy Lab

สดช. จัดเวทีระดมความคิดเห็น หนุน Soft power ไทย ผลักดันมาตรการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม Digital Content ครั้งแรก ถกประเด็นผ่าน Policy Lab

สดช. จัดเวทีระดมความคิดเห็น หนุน Soft power ไทย ผลักดันมาตรการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม Digital Content ครั้งแรก ดึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ถกประเด็นผ่านกระบวนการ Policy Lab 


สดช. ผลักดันมาตรการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม Digital Content ด้านวัฒนธรรม สอดรับนโยบายรัฐบาลด้านการส่งเสริมพลังสร้างสรรค์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน หนุนเสริม Soft Power ยกระดับและพัฒนาความสามารถด้านความรู้ ความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย ควบคู่กับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาศิลปะ วัฒนธรรม และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น หวังต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มทางวัฒนธรรมและสร้างรายได้ให้กับประเทศ


วันนี้ (24 ตุลาคม 2566) ภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการโดยผ่านกระบวนการห้องปฏิบัติการนโยบายสาธารณะ (Policy Lab) ครั้งที่ 1 หัวข้อ “การประชุมระดมความคิดเห็น เพื่อทำความเข้าใจสภาพปัญหาและกำหนดโจทย์ที่ชัดเจนในการออกแบบนโยบายหรือมาตรการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม Digital Content ด้านวัฒนธรรม เพื่อสร้าง Soft Power ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศ” โดยมี ธีรวุฒิ ธงภักดิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมด้วย วรรณศิริ พัวศิริ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนานโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ภาคประชาชน เข้าร่วม ณ โรงแรมรามาการ์เดนส์ ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ


ภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า จากการแถลงนโยบายรัฐบาล เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับนโยบายการสร้างพลังสร้างสรรค์ หรือ Soft Power ของประเทศ เพื่อยกระดับและพัฒนาความสามารถด้านความรู้ ความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยให้สร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้ รวมทั้งการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาต่อยอดศิลปะ วัฒนธรรม และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำมาต่อยอดในการสร้างมูลค่าเพิ่ม

โดยที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ได้ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของการปรับปรุงนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561 - 2580) และโครงการส่งเสริมการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสู่รูปแบบดิจิทัลในปี 2564 และ ปี 2566 เพื่อเป็นข้อริเริ่มทางนโยบายในการกระตุ้นให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้อยู่ในรูปแบบ Digital Content ซึ่งเป็นการนำร่องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมให้อยู่ในรูปแบบเนื้อหาดิจิทัล (Digital Content) อย่างสร้างสรรค์ อันเป็นการธำรงรักษามรดกทางวัฒนธรรมของไทยให้สามารถคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน และสามารถเข้าถึงได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการนำเสนอภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ อีกทั้งยังเป็นปัจจัยสนับสนุนการท่องเที่ยวของประเทศอีกด้วย


ภุชพงค์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า สดช. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กองทุนดีอี) เพื่อดำเนินโครงการส่งเสริมการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสู่รูปแบบดิจิทัล (Digital Cultural Heritage) ระยะที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อยอดการสร้างประโยชน์ในการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาติในรูปแบบ Digital Content ให้เกิดการสร้าง Soft Power ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศ โดยมีกิจกรรมสำคัญ คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้และแข่งขันเชิงสร้างสรรค์ (Hackathon) สาขาเทคโนโลยี และสาขาสื่อมัลติมีเดีย สำหรับกลุ่มประชาชนทั่วไป และกลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา ภายใต้ธีม “Hackulture 2023 Illuminate Thai : อัปเวลแฟชั่นไทย ด้วยดิจิทัล” และกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติโดยผ่านกระบวนการห้องปฏิบัติการนโยบายสาธารณะ (Policy Lab) เพื่อจัดทำมาตรการ/ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม Digital Content ในมุมมองด้านวัฒนธรรม 


สำหรับการจัดกิจกรรมฯ ในครั้งนี้ ได้ดำเนินการผ่านกระบวนการห้องปฏิบัติการนโยบายสาธารณะ หรือ Policy Lab ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวความคิดในการพัฒนานโยบายสาธารณะในรูปแบบที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในทุกกระบวนการ ผ่านการร่วมคิด ร่วมเสนอแนะ และให้ความเห็นในการสร้างสรรค์นโยบายและนวัตกรรมเชิงนโยบายในรูปแบบใหม่ ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ประชาชน หรือผู้ที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายอย่างแท้จริง และภายหลังจากที่ได้ข้อเสนอแนะดังกล่าวแล้ว สดช. จะนำข้อเสนอแนะฯ เสนอต่อคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติต่อไป