8 พ.ย. 2566 4,181 69

เปิดแผน “Single Grid” ทั่วประเทศหลังควบรวม ทรูดีแทคปูพรม 5G ครอบคลุม 97% ในปี 2568 ย้ำ..ลดเสาซ้ำซ้อนเท่านั้น ไม่มีผลกับคลื่นความถี่

เปิดแผน “Single Grid” ทั่วประเทศหลังควบรวม ทรูดีแทคปูพรม 5G ครอบคลุม 97% ในปี 2568 ย้ำ..ลดเสาซ้ำซ้อนเท่านั้น ไม่มีผลกับคลื่นความถี่


ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้เร่งขยายการเชื่อมต่อที่มีคุณภาพสูงสุด โดยผ่าน “โรมมิ่ง” ในช่วงแรกหลังควบรวมทรูและดีแทค โดยลูกค้ากว่า 76% ได้ใช้งานในย่านความถี่ 2600 MHz และ 700 MHz  ที่มีความเสถียรแม่นยำ และปัจจุบันเพิ่มแผนปูพรม “Single Grid” ทั่วไทย เพื่อลูกค้าทั้งหมดกว่า 50 ล้านหมายเลข คาดแล้วเสร็จภายในปี 2568 ทั้งนี้ ทรู คอร์ปอเรชั่นมีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเติบโตสู่เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยเต็มรูปแบบ ทั้ง โมบายล์และบรอดแบรนด์ โดยปัจจุบันโครงข่าย 4G ของทรู-ดีแทค นั้นครอบคลุมประชากร 99% โดยโครงข่าย 5G ของทรู-ดีแทคตั้งเป้าขยายให้ถึง 97% ภายในปี 2568


ประเทศ ตันกุรานันท์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เราเร่งเดินหน้าโครงการรวมโครงสร้างเสาสัญญาณระบบโครงข่ายเดียว (Single Grid) ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการดำเนินงานของเราที่ผสานจุดแข็งเสาสัญญาณของทรูและดีแทค เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของโครงข่ายในทุกคลื่นสัญญาณ ปรับเสาที่ซ้ำซ้อนและอาจก่อให้เกิดสัญญาณรบกวน โดยขยายโครงข่ายให้สัญญาณเพิ่มขึ้น ครอบคลุมขึ้น และดีขึ้นสำหรับลูกค้าของเรา ด้วยข้อมูลอินไซต์การใช้งานที่เจาะลึกในรายละเอียดแต่ละพื้นที่ พร้อมนำเทคโนโลยีเสาสัญญาณล้ำสมัยที่ผสานหลากหลายคลื่นความถี่จากทรูและดีแทครวมกันทำให้เรามีคลื่นให้บริการทุกย่านความถี่มากที่สุด”

ทั้งนี้ จากการที่มีข้อมูลบิดเบือนว่าเสาสัญญาณเป็นเสาดัมมี่นั้นไม่ได้เป็นข้อมูลตามจริง ในทางกลับกัน ทรูย้ำ “Single Gridได้เพิ่มประสิทธิภาพการประสานการทำงานของโครงข่ายในทุกคลื่นสัญญาณอีกด้วย และในการรวมโครงข่ายของทรู คอร์ปอเรชั่นจะมุ่งเน้นความสำคัญในการยกระดับประสบการณ์ใช้งานของลูกค้าให้ดีขึ้นด้วยการเพิ่มพื้นที่ครอบคลุมการใช้งานพร้อมนำคลื่นความถี่รวมกันเพื่อให้บริการมีประสิทธิภาพสูงสุดจากผสานคลื่นที่มีครบทุกย่านมากที่สุด คือ 700 MHz, 850 MHz, 900 MHz, 1800 MHz, 2100 MHz, 2300 MHz, 2600 MHz และ 26 GHz การสร้างเครือข่ายที่มีความครอบคลุมมากกว่าเดิม และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ 


ยืนยันคุณภาพสัญญาณโครงข่ายเดียว (Single Grid) และนำคลื่นความถี่มาอยู่ร่วมกัน

สัญญาณ 5G และ 4G แรง และเสถียรขึ้น โดยเฉพาะการใช้งานภายในบ้าน ช่องสัญญาณ (Capacity) รองรับการใช้งานได้มากขึ้นทุกคลื่นความถี่  ทั้งนี้จากการทดสอบ 5G คลื่น 2600 MHz, 5G คลื่น 700 MHz, 4G คลื่นความถี่ต่ำ (Low band), 4G คลื่นความถี่กลาง (Mid band) พบว่าความเร็วและคุณภาพสัญญาณดีขึ้นราว 2 เท่า

เป็นเครือข่ายช่วยลดผลกระทบ “Climate Change”


ทรู คอร์ปอเรชั่นมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน 42% ภายในปี 2573 พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน จากโซลูชันปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning (ML) รวมถึงการวางแผน รวมทั้งการปรับใช้โมเดลสถานีฐานด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Powered Cell Sites) โดย Single Grid” ลดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการวางแผน 15% ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน จากโซลูชันปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning (ML) 100% รวมศูนย์ฐานข้อมูล วิเคราะห์การใช้พลังงาน และติดตามเพิ่มประสิทธิภาพสูง

"ตั้งแต่มีการควบรวมทรูดีแทค มีการสำรวจปริมาณดาต้า 5G ของผู้ใช้ โครงข่ายของทรูและดีแทค ภายใต้ทรู คอร์ปอเรชั่น นับจากปริมาณดาต้า 5G ของคนที่ใช้เพิ่มขึ้น โดยนับจากปีที่แล้ว เดือนสิงหาคม 2565 - สิงหาคม 2566 คนใช้ 5G เพิ่มขึ้นมากกว่า 200% สิ่งแรกที่ทำหลังควบรวมก็คือ เปิดโรมมิ่ง ลูกค้าดีแทค ใช้เครือข่ายทรู ลูกค้าทรู ใช้เครือข่ายดีแทคได้ มีลูกค้า 40 ล้านคน รวมลูกค้าดีแทค และลูกค้าทรู นับเป็น 76% ที่ใช้บริการโรมมิ่งนี้ ใช้สัญญาณ 5G ที่ดีขึ้นก่อนหน้านี้ดีแทค ไม่มีคลื่น 2600MHz True มี 90MHz AIS มี 100MHz dtac ไม่มี การโรมมิ่งทำให้ลูกค้าดีแทคได้ประโยชน์ ได้ใช้คลื่น 2600MHz ของ True ด้วย ส่วนลูกค้าทรูก็ใช้คลื่น 700MHz ของดีแทคได้ด้วย ทำให้ประสบการณ์ในการใช้งาน 5G ดีขึ้น ลูกค้าดีแทคใช้งาน 5G เร็วกว่าเดิม 2.3 เท่า" 


จากภาพ คือ คลื่นที่ ทรู และ ดีแทค ภายใต้ ทรู คอร์ปอเรชั่น มีอยู่ในมือ หลังจากควบรวมกันแล้ว เปิดโรมมิ่งทำให้ลูกค้าทั้ง 2 ค่าย ใช้งานเครือข่ายร่วมกันได้ เพื่อให้ลูกค้าได้ประโยชน์มากที่สุด

Single Grid แท้จริงคือเทคโนโลยีอะไร?


คุณประเทศ ให้รายละเอียดต่อเนื่องว่า "เมื่อก่อนนี้ตอนที่ขยายเครือข่ายวาง Network ดีแทค จะวางโครงข่ายเรียกว่า Grid นึกภาพตารางหมากรุก หรือแต่ละไซต์ เรียกว่า Grid ฝั่ง True ก็มีตารางหมากรุก แต่พอมารวมเครือข่ายกันแล้ว นึกภาพว่าเอาตารางหมากรุก 2 อัน มาวางทับกัน จะพบว่า บางตารางทับกัน แต่บางตารางสับหว่างกันบ้าง หากตรงไหนทับกันตรงๆ ก็พิจารณาบริหารจัดการ ส่วนตรงไหนที่ยังพอมีระยะห่างกันพอสมควร ไม่ได้เบียดกันมาก ก็บริหารจัดการให้ดีที่สุดโดย dtac มี 24,000 ไซต์ เสา True 35,000 เสา พอเปิดให้ลูกค้าทั้ง 2 ค่าย มาใช้เสาร่วมกัน ทุกคนจะเห็นเสามากขึ้น โดย Single Grid จะทำให้ลูกค้าได้ประโยชน์มากขึ้น จากเสา Single Grid 42,000 จุดทั่วประเทศ"

เสา Single Grid สั่งอุปกรณ์ใหม่บางส่วน ของเดิมบางส่วนที่ใช้งานได้ก็ใช้ต่อ

"ย้ำว่า Single Grid จำนวนสถานีฐาน Base Station ไม่ลดลงจากกรณีที่มีกระแสข่าวเรื่องเสาดัมมี่เปล่า สิ่งที่ True - dtac ทำคือ ลดจุดที่มีเสาซ้ำซ้อน มีการนำอุปกรณ์ที่อยู่บนเสาต้นนึง มาใส่บนเสาอีกต้น มีอุปกรณ์ สถานีฐาน รวมไว้บนเสาเดียวกัน ลดการรบกวนสัญญาณให้น้อยลง ยืนยันไม่มีเสาดัมมี่ ถ้ารื้อเสา คงไม่ทำเสาไว้เปล่าๆ ก็คงจะเอาอะไรไปติดเรื่องเสาดัมมี่ อาจจะเกิดจากความเข้าใจผิด หากใครมองว่าควบรวมแล้วจะทำให้แย่ลง มีแต่อยากให้เสาเยอะขึ้น เครือข่ายดีขึ้น เรื่องเสา ทรูยืนยัน ทำตามข้อกำหนด การควบรวม ของ กสทช. 100% และควบคุมคุณภาพของบริการให้ดีที่สุด แต่เดิม วางเสา ทรู - ดีแทค ใกล้ๆ กัน และเมื่อควบรวมกัน ทำยังไงให้ลูกค้าได้ประโยชน์มากที่สุดในกล่องๆ เดียว โดยการทำ Network Planning"


Single Grid ทำแล้วได้ประโยชน์ จะไม่ทำก็ได้ แต่ผู้ใช้มือถือจับสัญญาณได้ทีละเสา

เมื่อทำแล้วลูกค้าจะได้ประสบการณ์ที่ดี มีประสิทธิภาพในการใช้งานดีขึ้น ซึ่งการขยายเครือข่ายขึ้นอยู่กับพื้นที่ บางคลื่นความถี่เห็นประโยชน์ ตัวอย่างเช่น ลูกค้าดีแทค เมื่อก่อนไม่เคยใช้ 2600 MHz เลย ทุกวันนี้ ประสบการณ์ใช้งานดีขึ้น ลูกค้าดีแทคได้ใช้ 5G ทำให้ลูกค้า True - dtac ได้ใช้คลื่นที่มีทั้งหมดหรือทั้งกระดาน ลูกค้า dtac ใช้งาน 5G บน 2600MHz หากดู Traffic ผู้ใช้ 5G เดือนสิงหาคม 65 - สิงหาคม 66 เพิ่มขึ้น เพราะคนใช้ 5G 2600MHz มากขึ้น อนาคตน่าจะได้ทำมากขึ้น บางคนไม่มีเครื่อง 5G ใช้เครื่อง 4G ก็จัดสรรคลื่นให้ลูกค้าใช้ประโยชน์ได้ทั่วถึง ทั้งคนที่ใช้งานมือถือ 4G และเครื่องที่รองรับ 5G ดังนั้น 5G ในอนาคตอาจจะทำให้เร็วขึ้นได้ สำหรับคลื่นความถี่ 3500 MHz เป็นคลื่นแรกของ 5G มีคนใช้มาก แต่ปัจจุบันมีอุปกรณ์รองรับน้อย คลื่น 5G ในไทยเป็น 2600 MHz เพราะอุปกรณ์รองรับมากกว่า แท้จริงแล้วคลื่นใดก็ทำได้ บางประเทศใช้ 2100 MHz ทำ 5G แล้วเอาคลื่นอื่นมาทำ 4G 

"ลูกค้าทรู กำลังจะได้ใช้ คลื่น 2300MHz ของดีแทค ถือว่าคลื่น 2300MHz มีประโยชน์ หวังว่าคงจะได้นำไปใช้ประโยชน์ดีมากที่สุด ตอนนี้คลื่น 700MHz ใช้ DFS (Dynamic Spectrum Sharing) แม้ 5G โตเยอะ แต่ก็ยังถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยอยู่ ดังนั้น การเปิด 5G บน 700MHz จะปรับตามปริมาณความต้องการในการใช้งาน 5G ของผู้ใช้ ให้มีประสบการณ์ดีขึ้น ลูกค้าเดิม ใช้ซิมเดิม ทำ Download Speed ได้ดีขึ้น ในขณะที่ 5G CA และ 5G SA ปัจจุบันมีเปิดให้บริการอยู่ แต่ไม่ได้โฆษณามาก ณ วันนี้ หากลูกค้าทรูติดต่อทรูช้อป ใช้งาน 5G SA ใช้ซิมโปรไฟล์ 5G SA กับเครื่องที่รองรับ 5G SA ได้เลย"

Case Study ของต่างประเทศ ในเชิงเทคนิค วิศวกรรม การจัดสรรคลื่นความถี่ ทุกๆ การควบรวมทำเช่นนี้


เพราะการควบรวม มีการรวมเครือข่าย 2 เครือข่าย ตาราง 2 Network มาทับกัน ทำให้จะต้องมีการบริหารจัดการเครือข่าย เช่น Ooredoo อินโดนีเซีย เป็นต้น เมื่อควบรวมบริษัท เสาคือภาพที่ผู้บริโภคเห็น แต่หลังบ้านมีรายละเอียดมาก ดังนั้น ปีหน้า และปีถัดไป ทำ Single Grid เป็นหลัก เป็นหนึ่งในหน้าที่หลักที่จะต้องทำ ทรูยืนยันว่า ไม่มีการรวมกันแล้วตั้งใจทำให้เครือข่ายแย่ลง เพราะตั้งใจทำเพื่อให้ดีขึ้น แต่การนำเสาออกเพราะมีการกวนสัญญาณกัน ก็ทำให้ดีขึ้น ส่วน Indoor Antenna ก็มีการทำ Single Grid ด้วยเช่นกัน 

SMS Broadcast ส่งผ่านคลื่น 4G 5G ไปยังเครื่องที่สามารถรับข้อความนี้ได้

การโทรผ่าน LINE, WhatsApp ควบคุมได้ยาก เพราะข้อมูลไม่ได้วิ่งบนเครือข่ายทรู ดีแทค โดยตรง เนื่องจากรันไปที่เซิร์ฟเวอร์ของ LINE, WhatsApp ก่อน ทำให้ควบคุมยาก เทคโนโลยีใหม่ๆ นอกจากปรับปรุงสัญญาณให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เมื่อมีอุปกรณ์ใหม่ทำให้ประหยัดพลังงานได้ ลดการใช้พลังงานลง นำ AI ต่างๆ มาช่วยเหลือ และมี ML (Machine Learning) ดูแลใช้งานของลูกค้า การบริหารพลังงานเสา การจัดการเครือข่าย ต่อไปจึงควรเป็น Single Grid เพื่อการรองรับได้ดีขึ้น ทราบถึงจำนวนไฟที่ใช้ ค่าไฟที่จ่ายต่อทราฟฟิก ต่อเสาหรือบางเสา หากทราฟฟิกน้อยแต่กินไฟเยอะ ก็สามารถตรวจสอบความผิดปกติเพื่อประสิทธิภาพอุปกรณ์ที่ส่งสัญญาณคลื่นไปยังผู้บริโภค

หลังควบรวมตามข้อกำหนดของ กสทช. เพื่อประสานคลื่นความถี่ทรู-ดีแทค ให้สัญญาณกว้างขึ้นเพิ่มประสิทธิภาพ 5G และ 4G ทรู "Single Grid" จึงเข้ามาลดการวางเสาซ้ำซ้อนและสัญญาณกวน แต่อุปกรณ์ส่งสัญญาณคลื่นความถี่ ประสิทธิภาพยังมีมากเท่าเดิม สำคัญ คือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย AI