กลุ่มสามารถ แจงรายได้
9 เดือนแรก ปี 2566 จำนวนรวมทั้งสิ้น 7,419
ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนถึง 1,205 ล้านบาท หรือสูงขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้
เป็นผลจากการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสนามบินและการเดินทาง ตลอดจนการรับรู้รายได้ที่เพิ่มขึ้นของโครงการหลัก เช่น Digital Trunked Radio, โครงการ Direct Coding
และโครงการที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น ปัจจุบัน กลุ่มบริษัทสามารถมีมูลค่างานในมือรวมกันราว
10,000 ล้านบาท
วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ รองประธานกรรมการบริหารฝ่ายกลยุทธ์องค์กร บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าปี 2566 ยังคงเป็นปีที่ท้าทาย แม้จะมีปัจจัยบวกที่สนับสนุนการขับเคลื่อนธุรกิจ เช่น การฟื้นตัวของการท่องเที่ยว การเดินทาง และการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศด้วยนโยบายส่งเสริมของภาครัฐ แต่ก็ยังคงมีความท้าทายอีกมากที่เราต้องเผชิญ อาทิงบประมาณภาครัฐที่ค่อนข้างจำกัด การลงทุนของภาคเอกชนที่ชะลอตัว ภาวะสงครามและความไม่สงบในต่างประเทศ ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ดังนั้นภารกิจหลักของกลุ่มสามารถในช่วงที่ผ่านมา คือ
1.ขยายฐานลูกค้าและเทคโนโลยีในสายธุรกิจ
Digital ICT Solutions
โดยขยายโซลูชันและบริการไปสู่รัฐวิสาหกิจและเอกชนมากขึ้น
อาทิ บริษัท พอร์ทัลเน็ท จำกัด ร่วมกับ IBM นำเสนอ "IBM
Maximo" จนสามารถเซ็นสัญญาโครงการพัฒนาระบบงาน CMMS หรือ ระบบบริหารจัดการงานซ่อมบำรุง จาก กฟน. มูลค่า 135 ล้านบาท นอกจากนี้ยังชูเทคโนโลยีในด้าน
Security, Big Data, E-Document, ERP,
โซลูชันสำหรับภาคการเงินและธนาคาร อีกทั้ง บมจ. สามารถเทลคอม ยังได้จับมือกับ PowerSchool
ผู้ให้บริการ Digital Education Platform ชั้นนำจากสหรัฐอเมริกา
เพื่อรุกธุรกิจเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในประเทศไทย
2.ขยายธุรกิจเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมและตรวจสอบ
อาทิ โครงการ Direct Coding ซึ่งตอบโจทย์การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีให้แก่กรมสรรพสามิต
โดยในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา
บริษัทมีรายได้จากค่าบริการรวม 637 ล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วง
High Season ในไตรมาสที่ 4 จึงคาดว่าจะมีรายได้ทั้งปี จำนวน 900 ล้านบาทนอกจากนี้
บริษัท สามารถคอมมิวนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด ในกลุ่มสามารถเทลคอม ก็ได้งานโครงการจัดหาระบบตรวจสอบสิ่งของสัมภาระที่ติดตัวผู้โดยสารกับกรมศุลกากร
มูลค่า 373 ล้านบาท เป็นต้น
3.เร่งขยายฐานผู้ใช้บริการระบบสื่อสาร
Digital Trunked Radio ทั้งนี้
ปัจจุบันมีการรับรู้รายได้เดือนละประมาณ 30 ล้านบาท หลังจากการส่งมอบเครื่องโครงการมหาดไทยครบถ้วน
และบริษัทได้ตั้งเป้าในการขยายฐานผู้ใช้บริการไปยังหน่วยงานอื่นๆ อาทิ การปกครองส่วนท้องถิ่น
หน่วยงานที่ดูแลความมั่นคง ความปลอดภัย และสาธารณสุข เป็นต้น โดยคาดว่าจะสามารถเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการได้อีกราว
30,000 รายในปีหน้า
4.เสริมความแข็งแกร่งและขยายโอกาสการเติบโตให้แก่สายงาน
Utilities & Transportation
อาทิ การนำ SAV หรือ บมจ.
สามารถเอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ เข้าจดทะเบียนใน ตลท.เมื่อปลายเดือน ก.ย 2566 โดยมีการจ่ายปันผลแก่ถือหุ้น ในอัตราหุ้นละ 0.75 บาท
เมื่อวันที่ 31 ต.ค ที่ผ่านมา จากรายได้ที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ
SAV ในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมา รวมจำนวน 1,110
ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28 เปอร์เซ็นต์ SAV จึงเป็นกำลังสำคัญในการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่กลุ่มสามารถ และมีความพร้อมในการขยายสู่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
ในอนาคต นอกจากนี้ ในสายธุรกิจ UTrans ยังประกอบด้วยธุรกิจออกแบบ
ก่อสร้างสถานีและสายส่งไฟฟ้าแรงสูงครบวงจรภายใต้บริษัท เทด้าและทรานเซ็ค ซึ่งในช่วง
9 เดือนที่ผ่านมา มีรายได้รวมกันกว่า 800 ล้านบาท และมีมูลค่างานในมือรวม 4,780 ล้านบาทในปัจจุบัน
“นอกจากภารกิจหลักข้างต้นแล้ว
บริษัทยังเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับงานในอนาคต โดยเฉพาะงานที่เรามีประสบการณ์และความชำนาญเป็นทุนเดิมเช่น
การติดตั้งระบบอุปกรณ์และการบริหารจัดการในสนามบิน การพัฒนาโครงสรางพื้นฐานด้านการขนส่ง
การเดินทาง และพลังงาน เป็นต้น
การก้าวสู่ยุคดิจิตอลนี้เป็นโอกาสของการขยายผลและต่อยอดธุรกิจ
ผมจึงมั่นใจว่ากลุ่มสามารถมีโอกาสเติบโตได้อย่างมั่นคง ด้วยรายได้ประจำที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนและโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ
ที่รออยู่” วัฒน์ชัย กล่าวทิ้งท้าย