22 พ.ย. 2566 390 19

ETDA ขอบคุณในความร่วมมือ ทุกแพลตฟอร์มทั้งสัญชาติไทยและต่างประเทศ แจ้งข้อมูลตามกฎหมาย DPS แล้ว 835 แพลตฟอร์ม

ETDA ขอบคุณในความร่วมมือ ทุกแพลตฟอร์มทั้งสัญชาติไทยและต่างประเทศ แจ้งข้อมูลตามกฎหมาย DPS แล้ว 835 แพลตฟอร์ม

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) เผยหลังพ้นกำหนดการแจ้งการประกอบธุรกิจ สำหรับแพลตฟอร์มดิจิทัลทั่วไป ตามมาตรา 8 วรรคหนึ่งแล้ว มีแพลตฟอร์มดิจิทัลแจ้งข้อมูล ทั้งสิ้น 835 แพลตฟอร์ม “จาก 15 ประเภทบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล” ทั้งไทย-ต่างชาติ ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ สำหรับแพลตฟอร์ม ที่ยังไม่ได้แจ้งตามกำหนด ETDA เตรียมส่งหนังสือ เพื่อให้แพลตฟอร์มชี้แจงเหตุผล ก่อนดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ ETDA เปิดเผยว่า หลังจากที่พันกำหนดระยะเวลาการแจ้งข้อมูลการประกอบธุรกิจ สำหรับแพลตฟอร์มดิจิทัลทั่วไปตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง ที่ได้มีการประกอบธุรกิจก่อนวันที่ 21 สิงหาคม 2566 แล้วนั้น ทาง ETDA ได้รับความร่วมมือจากแพลตฟอร์มทั้งของไทยและต่างชาติ ที่ครอบคลุมทั้ง 15 ประเภทบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ดำเนินการเข้ามาแจ้งข้อมูลแล้ว ทั้งสิ้น 835 แพลตฟอร์ม 

“ETDA ในฐานะ Regulator ได้มีการสื่อสารไปยังแพลตฟอร์มที่เข้าข่ายตามกฎหมายอย่างต่อเนื่อง ต้องขอขอบคุณทุกแพลตฟอร์ม ที่ให้ความร่วมมือในการเข้ามาแจ้งข้อมูล ภายใต้กฎหมาย DPS (พระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565) ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่าง ETDA และแพลตฟอร์มดิจิทัล ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดแนวทาง มาตรการในการดูแล ช่วยเหลือ แก้ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานจากผู้ใช้บริการ และนำไปสู่การยกระดับการให้บริการของแพลตฟอร์มดิจิทัลให้มีความโปร่งใสและเป็นธรรมมากขึ้น มุ่งเน้นความน่าเชื่อและความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการ ที่จะเป็นอีกหนึ่งกลไกในการช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางดิจิทัลของประเทศในระยะยาวอย่างยั่งยืน” 

สำหรับการดำเนินการหลังจากนี้  ETDA จะแบ่งเป็น 3 ส่วนสำคัญ คือ 

1) การตรวจสอบรายชื่อแพลตฟอร์มทั่วไป ที่เข้าข่ายลักษณะตามกฎหมาย DPS มาตรา 8 วรรคหนึ่ง ที่ยังไม่ได้ดำเนินการแจ้งข้อมูลตามที่กฎหมายกำหนด โดยทาง ETDA จะดำเนินการส่งหนังสือแจ้งให้แพลตฟอร์มดิจิทัล เร่งดำเนินการชี้แจงเหตุผลของการไม่ดำเนินการแจ้งข้อมูลตามระยะเวลาที่กำหนด ก่อนดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายในลำดับถัดไป

2) วิเคราะห์ข้อมูลจากแพลตฟอร์มเพิ่มเติม เพื่อจัดกลุ่มธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลว่า แพลตฟอร์มใดบ้างที่เข้าข่ายแพลตฟอร์มดิจิทัลขนาดใหญ่ ตามมาตรา 18 (1) ที่มีรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทบริการเกิน 300 ล้านบาทต่อปี หรือ รวมทุกประเภทเกิน 1,000 ล้านบาทต่อปี หรือ จำนวนผู้ใช้บริการเฉลี่ย (AMAU) เกิน 10% ของจำนวนประชากร ที่จะต้องมีหน้าที่เพิ่มเติมตามมาตรา 19 รวมถึงเพื่อพิจารณาดูว่า แพลตฟอร์มที่แจ้งข้อมูลใดบ้างที่เข้าข่ายบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีลักษณะเฉพาะตามความเสี่ยง ตามมาตรา 18 (2) และมีผลกระทบในระดับสูง ตามประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่จะต้องมีหน้าที่เพิ่มเติมตามมาตรา 20 ก่อนประกาศรายชื่อต่อไป

3) เตรียมให้เครื่องหมาย Trust Mark สำหรับแพลตฟอร์มที่ได้มีการแจ้งข้อมูลมายัง ETDA แล้ว เพื่อสร้างการรับรู้ และความเชื่อมั่นต่อผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น 

ทั้งนี้ สำหรับแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีการเริ่มให้บริการหลังวันที่ 21 สิงหาคม 2566 จะต้องแจ้งการประกอบธุรกิจต่อ ETDA ก่อนเริ่มการประกอบธุรกิจ มิเช่นนั้น จะถือว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย 

ในโอกาสนี้ ทาง ETDA ต้องขอขอบคุณทุกแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ได้ให้ความร่วมมือแจ้งข้อมูลมายัง ETDA ทั้ง 835 แพลตฟอร์ม ซึ่งประเภทแพลตฟอร์ม 5 ประเภทที่มีการเข้ามาแจ้งมากที่สุด คือ

1) บริการตลาดออนไลน์ (online marketplace)

2) บริการสื่อสารออนไลน์ (Online Communication)

3) บริการรวบรวมและเผยแพร่เนื้อหาข่าวสาร (News Aggregator)

4) บริการ Sharing Economy Platform และ 5) บริการคลาวด์ (Cloud service) โดยประชาชนสามารถ เช็ครายชื่อแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แจ้งข้อมูลกับ ETDA แล้ว
ได้ที่ https://eservice.etda.or.th/dps/th/opendata/section14 

สรุปตัวอย่างบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ที่แจ้งข้อมูลมายัง ETDA จาก 15 บริการ

แหล่งข้อมูล https://www.etda.or.th/th/regulator/Digitalplatform/index.aspx

บริการตลาดออนไลน์ (online marketplace) ทั้งตลาดสินค้าและบริการ อาทิ Lazada, foodpanda, Robinhood, ช้อปปี้, Alibaba.com, Traveloka, Grab, www.nocnoc.com, LINE SHOPPING, iOS App Store, Agoda, LALAMOVE, Galaxy Store, Wongnai, SCGHome, เถาเป่า, eBay, Website GWM, Tellscore, , AliExpress, SE-ED, ONESIAM Application, Central, pantipmarket.com, Tops, supersports, Powerbuy, Bitkub NFT Marketplace, เป็นต้น 

บริการรวบรวมและเผยแพร่เนื้อหาข่าวสาร (News Aggregator) อาทิ LINE TODAY, Dek-D.COM, คิดเรื่องอยู่ (Think of Living), WISESIGHT TREND, Thai PBS, Central Life X, Techsauce, Mandala AI., ZOCIAL EYE, AR Website, ARIP Website, iqnewsclip, CredenData, ทริปไนซ์เดย์ เป็นต้น

บริการสื่อสารออนไลน์ (Online Communication) ทั้งบริการการสื่อสารออนไลน์ทั่วไปและบริการสื่อสารออนไลน์ที่มีฟังก์ชันสนับสนุนการซื้อขาย อาทิ WhatsApp, LINE Official Account, LINE OpenChat, LINE Messenger, wechat ,  www.pantip.com, AIS eBusiness Portal,ออมสินหนุนทุน ลาซาด้าหนุนโปร, บริการเสนอขาย ประกันภัยผ่านเว็บไซต์ของธนาคาร, ZWIZ.AI, 1st card, TSX, YelloTalk,cheewajit.com, amarinbabyandkids.com, praewwedding.com, Baanlaesuan.com, ซี้ด เว็บส์ เป็นต้น

บริการ Sharing Economy Platform ทั้งบริการแบ่งปันแรงงาน แบ่งปันพื้นที่ แบ่งปันความรู้/การศึกษา บริการรถยนต์/รถจักรยานยนต์รับจ้างโดยสารสาธารณะ อาทิ LINE MAN , Robinhood, airasia Superapp, Taxsee Driver, FreelanceBay.com, Jobs prompt, บิทคับ อะคาเดมี, YourNextU, OpenDurian, Health Up, jordsabuy, ธัญวลัย (Tunwalai), Pinto, ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาแห่งชาติ เป็นต้น

บริการคลาวด์ (Cloud service) อาทิ INET Cloud, True IDC Cloud, samart safe cloud, OLS Cloud Service, SEA Cloud, VAYU CLOUD, optiwise.io, ซอร์ท, แชทคอนเน็กซ์,  TFU Cloud, VMware Tanzu, เอสไอเอสคลาวด์เซอร์วิส, Enterprise Cloud Nutanix, t-reg Thailand Regulatory เป็นต้น

เว็บเบราว์เซอร์ (Web Browsers) อาทิ UC Turbo, UC Mini, TQM Life, InsightEra Website, Playpark, Mverge Website, First Logic Website, H&G Learning, G-Able Website, CyberGenics Website, Plus Site, PDMS, EPMS เป็นต้น

โฆษณาออนไลน์ (Advertising Service) อาทิ ทรูไอดี, Gurumalist, finspace, ไทยรัฐออนไลน์, กระปุกดอทคอม, ปันโปร, Thai Corporate News, DDproperty, Living Insider, ShopBack, THAN Thailand Ads Network, LINE Ads, PlugoAds, Zogoodnews เป็นต้น

บริการระบบปฏิบัติการ (Operating System) อาทิ PEAK Account, ระบบศูนย์อาหาร, Shipsmile Services, Carbonwize, One Box, One Platform for สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย, iThesis, HumanOS เป็นต้น

บริการผู้ช่วยเสมือนจริง (Virtual Assistants) อาทิ Anissa, Friday, รีคัลท์, myAIS, ARMShare, Smarthome MQDC, ITD Expert Anywhere, ChatMe Chatbot, Chatbot By Chatme, BIGBOT เป็นต้น

บริการโฮสต์ (Hosting Service) อาทิ  ANET Hosting, Bangmod.Cloud, แพลตฟอร์มเรดดี้แพลนเน็ต, HangHost, ThaitumwebPlus, P&T Hosting, Z.com, Mail hosting, web hosting เป็นต้น

บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) อาทิ ANET Corporate Internet, INEXT Broadband, True Move H, Corporate Internet Service, True Online, KSC Internet, Dtac WiFi, Direct Internet, INET Internet, BBIX Internet service, Samart Infonet, Corporate Internet เป็นต้น

บริการสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ทั้งบริการสื่อสังคมออนไลน์ บริการสื่อสังคมออนไลน์ที่มีฟังก์ชันสนับสนุนการซื้อขาย (Social commerce) อาทิ LINE Voom, TikTok, ดีโหวต, พาทัวร์, ดัมมี่, สลาฟ ในแดนมหัศจรรย์, GO by Krungsri Auto - Auto Club, ปันบุญ by ttb, blockdit, Onebinar as a service By VGR, 2read เป็นต้น

บริการสืบค้น (Searching Tools) ทั้งบริการสืบค้นแหล่งที่ตั้งของข้อมูลคอมพิวเตอร์ รวมถึงข้อมูลเฉพาะทาง (Specialized Search Tools) อาทิ Jobs DB Thailand, Refinn, Thai Digital Collection (TDC), UC-TAL, TARR เป็นต้น

บริการสื่อโสตทัศน์และเพลง (Audio-Visual and Music Sharing อาทิ TrueID,  AIS PLAY, VIPA, Thai PBS Podcast, Youku, Beeber, Fungjai, Pillow Live, Calling Melody, VDO Calling Melody, LOOX TV เป็นต้น

บริการแผนที่ออนไลน์ (Maps) อาทิ iTIC, พร้อมไป, Longdo Map, ฮาลาลรูท, Klaiklai เป็นต้น

#ETDAThailand #ETDA #กฎหมายDPS #DigitalPlatformService #แพลตฟอร์มดิจิทัล

#ชีวิตดีเมื่อมีดิจิทัล