ในยุคปัจจุบันที่ทุกสิ่งเชื่อมถึงกัน ผู้คนทั่วโลกต่างนิยมใช้สมาร์ทดีไวซ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน โทรทัศน์ ตู้เย็น ไปจนถึงหุ่นยนต์ดูดฝุ่นทำความสะอาด ทำให้จำนวนสมาร์ทดีไวซ์ทั่วโลก มีมากกว่า 15,000 ล้านชิ้น ในอีกมุมหนึ่งซึ่งสำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือ การโจมตีทางไซเบอร์ทั่วโลกก็เพิ่มขึ้นด้วย ข้อเท็จจริงเหล่านี้สะท้อนชัดว่า ผู้นำที่เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีจำเป็นจะต้องสร้างสรรค์และมอบประสบการณ์การใช้งานสมาร์ทดีไวซ์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น เพราะอุปกรณ์เหล่านี้มีบทบาทในทุกด้านของชีวิต
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีการโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน การปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลส่งผลให้ทั้งบุคคลและองค์กรต่างๆ ต้องเผชิญกับภัยคุกคามด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวอย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจโดยคลาวด์แฟลร์ (Cloudfalre) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2023 ระบุว่า 78% ของผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ 4,000 คนจาก 14 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อาทิ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม กล่าวว่าพวกเขาเคยพบเหตุการโจมตีทางไซเบอร์อย่างน้อย 1 ครั้งในระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา รายงานเดียวกันนี้ยังระบุว่า ใน 14 ประเทศนี้ เป็นการโจมตีผ่านเว็บไซต์เป็นบ่อยครั้งที่สุด (ร้อยละ 60)[1] และเป้าหมายหลักในการโจมตีคือการฝังสปายแวร์ (ร้อยละ 59)
นวัตกรรมด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยที่แข็งแกร่งที่สุดจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อปกป้องประสบการณ์ออนไลน์ของทุกคน ไม่ว่าจะใช้งานในอุปกรณ์ใด อีกทั้งยังช่วยให้ประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ปลอดภัยยิ่งขึ้นโดยไม่ส่งผลต่อความเป็นส่วนตัว ความสะดวก และผลิตภาพตลอดทุกจุดในอีโคซิสเต็ม ไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์ใดๆ
วันนี้ผู้บริโภคและทุกองค์กรสามารถใช้ Samsung Knox แพลตฟอร์มความปลอดภัยที่มีคุณสมบัติด้านการป้องกันแบบองค์รวมในอุปกรณ์กาแล็คซี่ได้แล้ว
นวัตกรรมด้านความปลอดภัยของซัมซุงออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ยุคนี้ที่เทคโนโลยีเชื่อมต่อถึงกัน พร้อมมอบประสบการณ์การใช้งานอุปกรณ์มือถือที่สะดวก ปลอดภัยให้กับทุกคน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าซัมซุง พร้อมแล้วสำหรับบทบาทเชิงรุกด้านการขจัดภัยคุกคามให้กับผู้บริโภค และพร้อมนำเสนอนวัตกรรมความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวแบบเป็นองค์รวมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ใช้สร้างโอกาสได้เต็มที่ ในโลกยุคนี้ที่เชื่อมต่อกันได้อย่างไร้ขีดจำกัด
นวัตกรรมความปลอดภัยที่สะดวกทรงพลัง เพื่อโลกนี้ที่ทุกสิ่งเชื่อมโยงกัน
วันนี้โลกแห่งการเชื่อมต่อในอนาคต จะได้รับการปกป้องอย่างปลอดภัยด้วยนวัตกรรมอันทรงพลังที่เป็นไปได้และเกิดขึ้นแล้วของ Samsung Knox Matrix และ Samsung Knox Vault
เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซัมซุงได้ทำการอัพเดท Knox Matrix เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดสำหรับผู้ใช้ One UI 6 ในงานประชุมนักพัฒนาประจำปีของซัมซุง รวมถึงคุณสมบัติของครีเดนเชียลซิงก์ (Credential Sync) ที่จะช่วยปกป้องข้อมูลเชิงลึก ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าและถอดรหัสได้โดยใช้อุปกรณ์ของซัมซุงเท่านั้น แม้เซิร์ฟเวอร์จะถูกจู่โจมหรือมีการขโมยข้อมูลบัญชี คุณสมบัตินี้จะช่วยให้ข้อมูลมีความปลอดภัย เพราะจะมีเพียงผู้ใช้เท่านั้นที่เข้าถึงข้อมูลที่ถ่ายโอนระหว่างอุปกรณ์
กาแล็คซี่ได้ เช่น อุปกรณ์มือถือ ทีวี และตู้เย็นแฟมิลี่ฮับ
ไม่เพียงเท่านั้น Knox Matrix ยังเพิ่มความสะดวกสบายในการแชร์ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านต่างๆ ระหว่างอุปกรณ์โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัย ผู้ใช้จะค้นพบวิธีใหม่ในการจัดการและปกป้องตัวตน รวมถึงชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านต่างๆ โดยใช้ พาสคีย์ ซึ่งสิ่งนี้เป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่มาพร้อมระบบครีเดนเชียลซิงก์ ในขั้นตอนก่อนเข้าสู่การเข้าใช้บัญชีต่างๆ โดยไม่ต้องใช้รหัสผ่าน พาสคีย์จะช่วยให้ผู้ใช้ สลับไปใช้อุปกรณ์ใหม่ได้ง่ายโดยไม่ต้องลงชื่อเข้าใช้บัญชีต่างๆ อีกครั้ง โดยพาสคีย์จะทำงานกับเว็บไซต์และแอปพลิเคชันที่ลงทะเบียนไว้ ทำให้ผู้ใช้มั่นใจได้ว่า จะได้รับการปกป้องจากเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่ไม่ปลอดภัย รวมไปถึงการโจมตีฟิชชิ่งต่างๆ อีกด้วย
ในกรณีที่อุปกรณ์สูญหาย ถูกขโมย หรือแม้แต่กรณีที่ฮาร์ดแวร์ถูกจู่โจมเพื่อเจาะข้อมูลส่วนตัวด้วยเครื่องมือระดับสูง Samsung Knox Vault ยังสามารถปกป้องข้อมูลสำคัญในอุปกรณ์ไว้ได้ Knox Vault เป็นระบบพื้นฐานของฮาร์ดแวร์ที่ช่วยป้องกันการถูกเจาะ โดยสามารถปกป้องข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนลงไปที่หน้าจอล็อก เช่น พิน รหัสผ่าน และการลากเส้นเพื่อ
ปลดล็อกจอ
เพื่อให้มั่นใจว่ากุญแจเข้ารหัสข้อมูลส่วนบุคคลมีความปลอดภัยอย่างแท้จริง Samsung Knox Vault ยังสามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการทำงานที่แยกจากหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำหลัก นับตั้งแต่ผู้ใช้ป้อนข้อมูลสำหรับการปลดล็อกหน้าจอ Samsung Knox Vault จะติดตั้งอยู่ในสมาร์ทโฟนรุ่น Flagship อย่างกาแล็คซี่[2] รวมถึง Samsung Neo QLED 8K TVs รุ่นวางจำหน่ายปี 2023 และสมาร์ทโฟน Galaxy A รุ่นที่ใช้ One UI 6 หรือสูงกว่า[3] ในปี 2024 ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้อุปกรณ์กาแล็คซี่ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยและสะดวกสบายที่สุด
เสริมความแข็งแกร่ง ด้วยระบบความปลอดภัยที่ใช้ง่าย
เทคโนโลยีที่ดีต้องทำงานทันที ไม่ต้องรอให้สั่งการ ด้วยการปรับแต่งที่หลากหลายตัวเลือกมากมายทำให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งการทำงานของอุปกรณ์กาแล็คซี่ได้ผ่านระบบควบคุมต่างๆ ที่จำเป็นต่อการใช้งานอุปกรณ์มือถือยุคใหม่ One UI 6 ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อเสริมความแข็งแกร่งของระบบความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ อีกทั้งยังมีการอัพเดท Permission Manager ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้อุปกรณ์กาแล็คซี่ตัดสินใจได้ว่าจะให้แอปใดเข้าถึงข้อมูลได้มากน้อยแค่ไหน อีกทั้งยังใช้งานหรือปรับเปลี่ยนค่าต่างๆ ได้สะดวก สอดรับกับโลกยุคที่ข้อมูลมีความสำคัญสูงสุด
One UI 6 ยังได้พัฒนานวัตกรรมด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ให้เป็นระบบพื้นฐานของอุปกรณ์กาแล็คซี่ที่ช่วยปกป้องข้อมูลให้ปลอดภัยในทุกระดับ ตั้งแต่ชิปจนถึงแอป มีการตรวจจับภัยคุกคามแบบเรียลไทม์ พร้อมประสานความร่วมมือด้านความปลอดภัยร่วมกับพาร์ทเนอร์ และเมื่อเร็วๆ นี้ ยังได้นำเสนออีกหนึ่งคุณสมบัติสำคัญ นั่นคือออโต้บล็อกเกอร์ (Auto Blocker) ที่ผู้ใช้สามารถปรับแต่งระบบความปลอดภัยและคุณสมบัติต่างๆ ของอุปกรณ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดหรือปิดการใช้งานไซด์โหลดดิ้ง (Sideloading) การเปิดการตรวจสอบความปลอดภัยของแอปเพื่อค้นหาแอปที่อาจเป็นมัลแวร์ หรือการเปิดใช้งานซัมซุงเมสเสจการ์ดเพื่อป้องกันการโจมตีช่องโหว่แบบซีโร่คลิกจากแอปรับส่งข้อความชื่อดังจากนักพัฒนาภายนอก เช่น เมสเซนเจอร์ วอทส์แอป และเทเลแกรม
เมื่อต้องแชร์ข้อมูลส่วนตัว ผู้ใช้ส่วนใหญ่มักกังวลเรื่องการละเมิดความเป็นส่วนตัวหรือการเสียสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของข้อมูล อุปกรณ์กาแล็คซี่จึงได้พัฒนา การแชร์ส่วนตัว (Private share)[4] ที่ช่วยแชร์ไฟล์พร้อมรักษาข้อมูลความเป็นส่วนตัวได้ ทั้งยังสามารถปรับแต่ง กำหนดผู้รับ การอนุญาตเข้าถึง วันหมดอายุไฟล์ การตั้งค่าให้อ่านได้อย่างเดียว พร้อมการตั้งค่าห้ามส่งต่อ การลบสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลได้ทุกเมื่อ และอื่นๆ อีกมาก เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแชร์ข้อมูลส่วนตัวได้อย่างสบายใจ ไร้กังวล
เหนือกว่า.. อีกระดับความปลอดภัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย
“ซัมซุงเชื่อมั่นว่าความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วนก่อให้เกิดโซลูชันที่ดียิ่งขึ้น นอกเหนือจากการมอบอิสระให้ผู้ใช้ปรับแต่งประสบการณ์การใช้งานอุปกรณ์มือถือของตน อีโคซิสเต็มแบบเปิดยังเอื้อต่อการสร้างระบบความปลอดภัยที่ดีขึ้น เปิดกว้างมากขึ้น ไร้ปัญหาใดๆ และเพื่อมอบความปลอดภัยไม่สิ้นสุด เราทำงานอย่างต่อเนื่องกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมเพื่อกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ พร้อมกันนี้เรายังให้ความสำคัญกับระบบป้องกันตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับความส่วนตัวในแบบที่ต้องการมากที่สุด” คาร์ล นอร์เดนเบิร์ก หัวหน้าธุรกิจโมบายล์ เอ็กซ์พีเรียนซ์ ระดับภูมิภาคของซัมซุงอิเลคโทรนิคส์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย กล่าว
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลส่วนตัว และการรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ซัมซุง ได้ที่ https://security.samsungmobile.com/main.smsb
[1] อ้างอิงจากการสำรวจ Securing the Future: Asia Pacific Cybersecurity Readiness Survey โดยรูปแบบของการโจมตีทางไซเบอร์ที่กลุ่มตัวอย่างพบในระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมาคือ การโจมตีผ่านเว็บ (60%), ฟิชชิ่ง (50%), DDOS (41%) และภัยคุกคามจากบุคคลภายในหรือการขโมยรหัสผ่าน(41%)
[2] เช่นสมาร์ทโฟน S series, Z series, S FE series และ Tab S series
[3] กำหนดการหรือขีดความสามารถอาจแตกต่างกันตามรุ่นอุปกรณ์
[4] แอปการแชร์ส่วนตัวใช้งานได้ในสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ตั้งแต่รุ่น P ขึ้นไป ต้องติดตั้งแอปนี้เองจาก Samsung Galaxy Store หรือ Google Play หากแอปไม่ได้โหลดมาล่วงหน้ากับสมาร์ทโฟน แอปนี้จะโหลดมาล่วงหน้ากับสมาร์ทโฟนที่ใช้ส่วนประสานผู้ใช้ One UI 3.1 แอปนี้ใช้งานในแท็บเล็ตและคอมพิวเตอร์พีซีไม่ได้ ใช้งานได้กับสมาร์ทโฟนกาแล็คซี่เท่านั้น ไฟล์ที่สามารถแชร์ด้วยแอปการแชร์ส่วนตัวได้ประกอบด้วยไฟล์รูปภาพ (นามสกุล .jpg, .jpeg, .png, .gif, .bmp, .webp) ไฟล์วิดีโอ (นามสกุล .webm, .mp4, .3gp, .mkv) ไฟล์เสียง (นามสกุล .mp3, .wav, .ogg, .m4a) และไฟล์ข้อความ (นามสกุล .txt) ภาพหน้าจอและเมนูของแอปอาจแตกต่างกันตามรุ่นของอุปกรณ์และซอฟต์แวร์