15 ธ.ค. 2566 284 0

AIS จัดเวทีแลกเปลี่ยนระดมความคิดด้าน พัฒนาคน สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนใน Singtel Group People and Sustainability Symposium 2023

AIS จัดเวทีแลกเปลี่ยนระดมความคิดด้าน พัฒนาคน สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนใน Singtel Group People and Sustainability Symposium 2023

AIS เป็นเจ้าภาพจัดงาน “Singtel Group People and Sustainability Symposium 2023” การประชุมระดมสมองเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่จะช่วยต่อยอดการทำงานด้านการพัฒนาคนและการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนด้านสังคม สิ่งแวดล้อม ของบริษัทโทรคมนาคมชั้นนำในกลุ่ม Singtel จาก 6 ประเทศ ประกอบด้วย AIS ไทย, Singtel สิงคโปร์, Airtel อินเดีย, Globe ฟิลิปปินส์, Optus ออสเตรเลีย และ Telkomsel อินโดนีเซีย ชูแนวคิด การทำงานในโลกยุคใหม่ที่โอบกอดความแตกต่าง ความหลากหลาย และสร้างความเท่าเทียมให้แก่ทุกคน (Re-Imagine Work with inclusive Sustainability) ในขณะที่เน้นย้ำ การนำวิสัยทัศน์การทำงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์สู่แนวทางการทำงานอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม (Eco Vision to Action) โดยการประชุมครั้งนี้ AIS ได้สร้างต้นแบบการจัดงานผ่านแนวคิดความยั่งยืนในทุกมิติขยายผลนำองค์ความรู้และประสบการณ์ของผู้บริหารกลุ่ม Singtel ส่งต่อในรูปแบบของการเป็นเมนเทอร์ ให้เยาวชน กลุ่มสภาเมืองคนรุ่นใหม่ กทม. (BKK Ranger) เพิ่มทักษะในการคิด วิเคราะห์ วางกลยุทธ์ เพื่อนำไอเดียมาต่อยอดในการพัฒนาและแก้ปัญหาเมืองในอนาคต


สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า “การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และประสบการณ์เป็นสิ่งที่เรา บริษัทในกลุ่ม Singtel ให้ความสำคัญมาโดยตลอด เพื่อให้สามารถยกระดับการดำเนินงาน เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการลูกค้า รวมไปถึงการดูแลสังคม สิ่งแวดล้อม และพัฒนาทรัพยากรบุคคล ที่เป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน รวมถึงสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจได้อย่างมี


นัยสำคัญ  โดยในปีนี้ได้ข้อสรุปและกรอบความร่วมมือจากการประชุม ดังนี้

* กลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนแบบมีเป้าหมาย (Purpose-led sustainability strategy)

1. E-Environment and Climate การป้องกันและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยมีกระบวนการหรือกิจกรรมที่มุ่งเน้นในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การลดการใช้วัสดุหรือการใช้ทรัพยากรโดยคงประสิทธิภาพและคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Dematerialization) เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติมุ่งสู่ Net Zero

2. S-Social Impact การหาแนวทางความเป็นไปได้ในการสร้างความปลอดภัยทางดิจิทัล สิทธิมนุษยชน ความหลากหลาย ความเสมอภาค และการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

3. G-Governance การจัดตั้งคณะกรรมการผู้บริหารด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน การปฏิบัติตามข้อกำหนด การให้ความรู้และการฝึกอบรมต่างๆ

4. V-Value Creation การสร้างคุณค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การสร้างคุณค่าที่มุ่งเน้นไปยังความต้องการของลูกค้า เพื่อนำไปสู่การเป็นแบรนด์ที่เป็นผู้นำด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน

*การแลกเปลี่ยนความร่วมมือเพื่อวิเคราะห์หาโอกาสการพัฒนาแผนกลยุทธ์โครงการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Opportunity Framework) ภายในกลุ่ม Singtel ได้มีการอัปเดตแลกเปลี่ยนความรู้และความสนใจร่วมกันทั้งด้านงาน Sustainability ในฐานะโครงการและกิจกรรมที่สำคัญเกี่ยวกับ ESG ที่ตนเองทำ และมองหาความสนใจร่วมกัน เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการร่วมมือกัน เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของการบริหารและการรวม ESG เข้ากับธุรกิจและเป็นไปตามแนวทางการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ

* กรอบความร่วมมือระหว่าง People และ Sustainability ในการ Empower Every Generation: การสร้างบุคลากรที่มีสามารถขับเคลื่อนวัฒนธรรมขององค์กรผ่านแนวทางปฏิบัติด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างผลลัพธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นต่อองค์กร โดยกรอบความร่วมมือระหว่าง People และ Sustainability นั้นยังคำนึงถึงการปรับทิศทางของค่าตอบแทนหรือแรงจูงใจให้สอดคล้องกับแนวทางด้านความยั่งยืน


“นอกจากนี้ในฐานะเจ้าภาพ AIS ยังสร้างต้นแบบการจัดประชุมผ่านแนวคิดความยั่งยืน (Sustainability) ในทุกมิติตามแนวทางชดเชยคาร์บอนจากการจัดกิจกรรม (Carbon Neutral Event)  ตั้งแต่การวางแผนเดินทางจากทั้งในและต่างประเทศ การเลือกโรงแรมที่พักซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, การใช้รถ EV Bus, รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า MuvMi, การจัดเลี้ยงจากเมนูอาหารผ่านแนวคิด Food Waste ท่ามกลางวิถีการใช้ชีวิตของชุมชนบ้านครัว พร้อมขยายผลร่วมนำความรู้และประสบการณ์จากผู้บริหารกลุ่มสิงเทล ส่งต่อให้แก่เยาวชนในสภาเมืองคนรุ่นใหม่ กทม. (BKK Ranger) โดยใช้เวลารวมกว่า 230 ชั่วโมง ในการเป็นผู้ให้คำปรึกษา ฝึกฝนทักษะสำคัญ อาทิ ความสามารถในการระบุปัญหา วางแผนงาน กลยุทธ์ งบประมาณ และการดำเนินงานผ่านมุมมองเรื่องความยั่งยืน (Sustainability Lens) ให้สามารถนำไปต่อยอดโครงการเพื่อสังคม หรือนำแนวคิดไปประยุกต์ในเชิงธุรกิจอย่างสมเหตุ สมผลได้ในอนาคต รวมไปถึงทักษะในการนำเสนอโครงการได้อย่างมั่นใจ (Pitching Skill)  ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถนำไปต่อยอดการพัฒนาโครงการเพื่อแก้ปัญหาเมืองให้แก่ กทม. ได้อย่างดี”


โดย วรรธน์วรี ไชยมงคล นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตัวแทน จาก BKK Ranger กลุ่ม Student Report Incident  เผยความรู้สึกจากการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ว่า “หลังจากทีมได้รับการ แนะนำจากผู้บริหารเอไอเอส และกลุ่ม Singtel ทำให้ไอเดียของโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มพื้นที่แสดงความคิดเห็นของเด็กๆเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและเชื่อมโยงกับผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่าได้อย่างครบถ้วนมากยิ่งขึ้น”

ส่วนกลุ่ม Redeem Bottles for Ticket Vouchers ที่นำเสนอโครงการเปลี่ยนขวดพลาสติกเป็นตั๋ว

โดย ผกามาศ เอกผล นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ถือเป็นประสบการณ์ใหม่ ในการได้รับการโค้ชเพราะทำให้เห็นขั้นตอนการทำโครงการเพื่อความยั่งยืน  ช่วยให้ทีมพัฒนาโครงการได้อย่างมั่นใจ และมีหลักคิดที่ชัดเจนในการนำเสนอโครงการเพื่อต่อยอดกับหน่วยงานของ กทม. ได้เป็นอย่างดี”

สายชล ย้ำในตอนท้ายว่า “ความยั่งยืน คือ หัวใจสำคัญที่ต้องถูกสอดแทรกอยู่ในทุกกระบวนการทางธุรกิจและรูปแบบการใช้ชีวิต โดยเรายินดีที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อแนวคิดนี้ไปสู่สังคมในวงกว้างเพื่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวก ที่จะย้อนกลับมาเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตของทุกคนต่อไป”